ผนึกพลังนักศึกษาตามรอยพ่อสู้วิกฤติสารเคมีภาคเกษตร

ผนึกพลังนักศึกษาตามรอยพ่อสู้วิกฤติสารเคมีภาคเกษตร

นศ.รภ.ชัยภูมิผนึกพลังชุมชนต่อยอดแนวเกษตรอินทรีย์ตามรอยต่อพ่อหลวง ร.9 สู้วิกฤตเคมีภาคเกษตรไทย-ลดสารเคมีตกค้างจากภาคการเกษตร สานต่อหลักสูตรเสริมสร้างงานวิจัยภูมิปัญญาในท้องถิ่นในการใช้หลักการเกษตรอินทรีย์ต่อยอดสู่การสร้างความเข้มแข็ง

เมื่อวันที่ 11 ก.ย. 60 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่จ.ชัยภูมิ ได้มีกลุ่มตัวแทนนักศึกษากลุ่มพญาแล รุ่นที่ 9 สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสาตร์ และดร.เดือนเพ็ญพรชัยภักดี ประธานคณาจารย์คณะครุศาสาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ และนายณัฐวุฒิธิสา หัวหน้าส่วนยุทธศาสาตร์การเกษตรจากสำนักงานสภาเกษตรกรจ.ชัยภูมิ พร้อมด้วยตัวแทนผู้นำชุมชนปราญ์ชาวบ้าน นักวิชาการ นักวิจัยด้านภูมิปัญญาในท้องถิ่นของจ.ชัยภูมิ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรพอเพียงแบบผสมผสาน ตำสมุนไพร 9 ตัวแทนภาคองค์กรอิสระ เอกชน และตัวแทนสมาคมและชมรมสื่อมวลชนจ.ชัยภูมิกว่า 200 คน มาร่วมตัวกันเพื่อเปิดเวทีสัมมนาหลักสูตรการใช้เกษตรอินทรีย์ในการต่อยอดวิสาหกิจชุมชน ณ ห้องประชุม สระหงส์ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ

โดยในการสัมมนาทางวิชาการร่วมกันเกือบทุกฝ่ายในพื้นที่ของจ.ชัยภูมิ ในครั้งนี้ ได้มีการนำผลงานการวิจัยในพื้นที่จ.ชัยภูมิ ในการประกอบอาชีพภาคเกษตรของประชาชนในทุกพื้นที่ที่ปัจจุบัน กำลังเกิดปัญหาเข้าขั้นวิกฤตหนักสุดในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา ในทุกพื้นที่ทั้ง 16 อำเภอของจ.ชัยภูมิ ด้านการเกิดปัญหาการใช้สารเคมีในภาคการเกษตรจนเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมาในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ทั้งด้านการทำให้คุณภาพพื้นที่ดินเสื่อมโทรมลงเป็นจำนวนมาก จนนำไปสู่การเพาะปลูกที่ไม่ได้ผลผลิตลดน้อยลงมาต่อเนื่อง รวมทั้งยังส่งผลหลักต่อปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนที่เข้าขั้นวิกฤตหนัก มีการเจ็บป่วยสะสม รวมทั้งเกิดปัญหาต่อระบบนิเวศอื่นๆทั้งสัตว์ในพื้นที่ใกล้เคียงทั้งหมด ที่เดิมในอดีตในน้ำมีปลา ในนามีข้าว มีความสมบูรณ์ หาบริโภคได้ง่ายมากในท้องถิ่นโดยไม่ต้องไปซื้อหาและเคยลดรายจ่ายในครอบครัวได้ตามมาอีกเป็นจำนวนมากมาแต่อดีต แต่ปัจจุบัน ปัญหาการลดจำนวนของสัตว์น้ำในชุมชน อย่างกุ้งหอย ปูปลา เขียด อึ่ง ลดลงจนใกล้สูญพันธุ์หายไปจากชุมชนในหลายพื้นที่มาต่อเนื่องจนเข้าขั้นวิกฤตหนักใกล้สูญพันธุ์ตามมาอีกจำนวนมาก

ด้านดร.เดือนเพ็ญพรชัยภักดี ประธานคณาจารย์คณะครุศาสาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ เปิดเผยว่า ปัญหาในปัจจุบันที่ชาวบ้าน ยังไม่เข้าใจถึงหลักการทำเกษตรอินทรีย์ คือหันไปใช้ยาสารเคมีเพื่อมาเร่งการเกษตรให้ออกผลเร็วตามตลาดเท่านั้นจนเกิดปัญหาตามมาอีกจำนวนมากด้วย ซึ่งวันนี้ผลกระทบต่างๆเริ่มสะท้อนกลับมา ทั้งสิ่งตามาก็เกิดปัญหาล้นตลาดจาการปลูกพืชเชิงเดียว จนเกิดขาดทุนประกอบการเกษตรไม่ได้ผล เป็นภาระปัญหาหนี้สินในกลุ่มเกษตรกรตามมาในปัจจุบันเป็นจำนวนมาก จนเกิดการสะสมมาจนทุกวันนี้
การประกอบอาชีพการเกษตรแบบการมุ่งใช้แต่สารเคมีก็พาตัวเองเอาตัวไม่รอด แต่ยังส่งผลกระทบต่อตัวเอง ชุมชนตามมาสะสมจนเข้าขั้นวิกฤตหนักอีกจำนวนมาก ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมสภาพดิน สภาพแวดล้อมในชุมชนใกล้เคียง ระบบนิเวศปูปลา กุ้ง หอย ที่เคยอยู่ร่วมในพื้นที่ได้ก็ต่างเริ่มได้รับผลกระทบจากเคมีตกค้าง สูญพันธุ์หายไปด้วยหมด รวมทั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งสารเคมีที่ฉีดลงไปในพื้นที่ก็ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนรุนแรงหนักโดยตรงตามมาอีกเป็นจำนวนมาก คนเริ่มมีสุขภาพอ่อนแอ เจ็บป่วยง่ายได้มากขึ้น

“สิ่งเหล่านี้กำลังจะส่งผลจากการใช้สารเคมีตกค้างสะสมมาต่อเนื่องจนจนวิกฤตหนักในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมาต่อเนื่องแล้ว หากต่อไปในชุมชน เกษตรกร ยังไม่ปรับเปลี่ยนวิธีหรือให้ความสำคัญในการนำศาสาตร์พระราชตามรอยพ่อในหลวง ร.9 มาปรับใช้ ที่ครั้งนี้น่าจะเป็นแนวทางที่จะนำไปช่วยให้เกษตรกรกลับมาใช้หลักการใช้แนวทางเกษตรพอเพียง การทำเกษตรอินทรีย์มาต่อยอดเพิ่มความเข้มเข็มในการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจคนในชุมชนในแต่ละชุมชนร่วมกันให้มากขึ้น”

โดยคุณค่าการเกษตรทางเลือกจะมีความยั่งยืนจากนี้ไปและได้รับความสนใจจากตลาดอย่างยั่งยืนไม่ว่าทั้งในกลุ่ม AEC หรือไปทั่วโลกตามมาในอนาคตได้ รวมทั้งในส่วนของภาคสถานศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ เอง ก็ถือเป็นมหาวิทยาลัยของคนในท้องถิ่น และก็ถือว่าต้องตัวแทนด้านการศึกษาของชาวจ.ชัยภูมิ ด้วย ก็จะเพิ่มบทบาทด้านหลักสูตรผลงานนักศึกษานักวิชานักวิจัยลงไปสู่การช่วยการพัฒนาชุมชนให้เข็มแข็งของสถาบันลงไปเสริมสร้างช่วยเหลือสร้างความเข้มแข็งให้กับคนในชุมชนและภาคเกษตรกรของจ.ชัยภูมิ เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาจังหวัดชัยภูมิ ให้ต่อเนื่องให้มากขึ้นต่อจากนี้ไปด้วยอีกทางด้วย