ทบ.ต่อประกันชีวิตทหารครอบคลุม “ทหารเกณฑ์-อาสาสมัครทหารพราน”

ทบ.ต่อประกันชีวิตทหารครอบคลุม “ทหารเกณฑ์-อาสาสมัครทหารพราน”

"กองทัพบก" ต่อสัญญากรมธรรม์ประกันชีวิตทหาร แบบภัยสงคราม -พิทักษ์พล ครอบคลุม “ทหารเกณฑ์-อาสาสมัครทหารพราน”

พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก พร้อมด้วย นายไชย ไชยวรรณ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)  น.ส.ศรีสุดา พูลพิพัฒนันท์ กรรมการบริหาร บริษัท ไทยประกันชีวิตจำกัด (มหาชน) นาย สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย นายชูฉัตร ประมูลผล รองเลขาธิการ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย ได้ร่วมลงนามต่อสัญญากรมธรรม์ประกันชีวิตทหารประจำปี 2566 จำนวน 2  กรมธรรม์ 

ได้แก่กรมธรรม์แบบ“ภัยสงคราม”เป็นการดำเนินการในปีที่ 37 ให้กับกำลังพลของกองทัพบกที่ได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติราชการสนามเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยทั้งภายในและภายนอกประเทศตามแผนหรือคำสั่งที่กองทัพบก และหรือกระทรวงกลาโหมกำหนดหรือสั่งการใช้กำลัง การปฏิบัติการตามแผนหรือคำสั่งในสายงานกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร 

รวมทั้งกำลังพลที่ปฏิบัติงานในหน่วยที่มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงอันตรายแล้วได้รับอันตรายในระหว่างปฏิบัติหน้าที่จนถึงแก่ ความตาย หรือพิการทุพพลภาพจนต้องปลดออกจากประจำการ ที่ผลการสอบสวนระบุว่าเกิดจากการกระทำของข้าศึกศัตรูหรือกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1เม.ย.2566 ถึง 31 มี.ค. 2567 วงเงินเบี้ยประกัน10 ล้านบาท 

โดยบริษัทฯ จ่ายค่าสินไหมทดแทน ดังนี้ ข้าราชการชั้นสัญญาบัตร, ลูกจ้างประจำชั้นสัญญาบัตร และบุคคลที่ทำหน้าที่ทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดเทียบเท่าข้าราชการชั้นสัญญาบัตร จำนวนเงินเอาประกัน1,200,000  บาทข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร, ลูกจ้างประจำต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร, พลทหารประจำการ (พลอาสาสมัคร) และบุคคลที่ทำหน้าที่ทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดเทียบเท่าข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตจำนวนเงินเอาประกัน   960,000 บาททหารกองประจำการ, อาสาสมัครทหารพราน, พนักงานราชการ, ลูกจ้าง ชั่วคราว และบุคคลที่ทำหน้าที่ทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดเทียบเท่า ทหารกองประจำการ750,000 บาท

กรมธรรม์แบบ “พิทักษ์พล” เป็นการดำเนินการในปีที่ 32 ให้กับกำลังพลของกองทัพบก ที่ได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วย จนถึงแก่ความตาย หรือพิการทุพพลภาพจนเป็นเหตุให้ต้องถูกปลดออกจากประจำการ หรือเลิกจ้าง หรือถูกปลดออกจากกองประจำการ หรือถูกปลดพ้นสภาพความเป็นนักเรียนทหาร จากสาเหตุการปฏิบัติงาน การฝึกศึกษา ทางธุรการ และอื่น ๆ เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 เม.ย.2566 ถึง 31 มี.ค.2567 วงเงินเบี้ยประกัน 30 ล้านบาท 

บริษัทฯ จ่ายค่าสินไหมทดแทน ข้าราชการทหารชั้นสัญญาบัตร, ลูกจ้างประจำชั้น สัญญาบัตร, บุคคลที่ทำหน้าที่ทหารตามที่กระทรวงกลาโหม กำหนดเทียบเท่าข้าราชการทหารชั้นสัญญาบัตร, นักเรียน นายร้อย, นักเรียนแพทย์ทหาร และนักเรียนพยาบาลของกองทัพบก ยามปกติ 150,000 บาท  ฝึก หรือใช้อากาศยาน หรือ หน้าที่สำคัญและเสี่ยงภัย 750,000 บาท 
ข้าราชการทหารต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร, ลูกจ้างประจำ ต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร, พลทหารประจำการ (พลอาสาสมัคร), บุคคลที่ทำหน้าที่ทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด เทียบเท่าข้าราชการทหารต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร, นักเรียน นายสิบ, นักเรียนดุริยางค์และนักเรียนผู้ช่วยพยาบาลของ กองทัพบก 

ยามปกติ 60,000 บาท ฝึก หรือใช้อากาศยาย หรือ หน้าที่สำคัญและเสี่ยงภัย 3,000,000 บาท อาสาสมัครทหารพราน, พนักงานราชการ,ลูกจ้างชั่วคราว และทหารกองประจำการ ยากปกติ  30,000 บาท ฝึก หรือใช้อากาศยาน หรือ หน้าที่สำคัญและเสี่ยงภัย  150,000 บาท บุคคลที่ทำหน้าที่ทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด เทียบเท่าทหารกองประจำการ ยากปกติ 30,000 บาท ฝึก หรือใช้อากาศยาย หรือ หน้าที่สำคัญและเสี่ยงภัย 150,000 บาท
 
สำหรับโครงการประกันชีวิตทหาร เริ่มดำเนินการเมื่อ พ.ศ. 2530 โดย พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบก ในขณะนั้น ได้ตระหนักถึงความเหนื่อยยาก เสียสละของกำลังพลที่ออกปฏิบัติราชการสนาม จึงได้สั่งการให้จัดทำโครงการประกันชีวิตทหารขึ้น โดยได้ตกลงทำสัญญากับบริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ในสัญญากรมธรรม์แบบ “ภัยสงคราม” เพื่อเป็นสวัสดิการ และเป็นขวัญกำลังใจให้กำลังพลเหล่านั้น

และเป็นการแสดงออกถึงความห่วงใยของผู้บังคับบัญชา และเป็นหลักประกันความมั่นคงในชีวิตรับราชการ จากการดำเนินโครงการประกันชีวิตทหาร แบบ “ภัยสงคราม” ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง ในปี พ.ศ.2535กองทัพบกจึงมีการขยายขอบเขตการประกันชีวิตให้ครอบคลุมถึงข้าราชการ, นักเรียนทหาร, ลูกจ้าง, อาสาสมัครทหารพราน และทหารกองประจำการ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในยามเวลาปกติจึงได้ตกลงทำสัญญากรมธรรม์แบบ “พิทักษ์พล” ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง