"นายกฯ" ควง "ผบ. เหล่าทัพ" ชมนิทรรศการอาวุธ ก่อน ถกสภากลาโหม

"นายกฯ" ควง "ผบ. เหล่าทัพ" ชมนิทรรศการอาวุธ ก่อน ถกสภากลาโหม

"นายกฯ" ควง "ผบ. เหล่าทัพ "ชมนิทรรศการอาวุธ ก่อน ประชุมสภา กห. ชื่นชมฝีมือ กห. -ดีทีไอ วิจัยยุทโธปกรณ์ ใช้ได้จริงพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนการประชุมสภากลาโหม พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม พร้อมด้วย ปลักกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ และ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ ชมบูทนิทรรศการแสดงงานวิจัย พัฒนายุทโธปกรณ์ ที่ห้องสุรศักดิ์มนตรี ศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม จัดขึ้นโดยสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

โดย ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธฯ และสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (DTI) โดยได้ทำการวิจัย พัฒนา และผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ที่สามารถนำมาทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ และนำไปใช้งานจริงในกองทัพด้วยราคาที่ต่ำกว่าการจัดซื้อ  จากต่างประเทศ 

พลเอก ประยุทธ์ กล่าวชื่นชมในงานวิจัย ฝีมือคนไทย และขอให้ภูมิใจในหน่วยงานกลาโหม และ DTI ที่มีขีดความสามารถในการ พัฒนาอุตสาหกรรมประเทศ สามารถ นำไปใช้ได้จริงในเหล่าทัพ

ในระหว่างชมงานนิทรรศการพลเอกประยุทธ์ ยังได้ทดลองเล็งปืนเล็กยาวที่มีการวิจัยพัฒนาให้เหมาะสม กับสรีระของทหารไทยปรับปรุงให้ง่ายต่อการบำรุงรักษา และซ่อมบำรุง ทั้งนี้ ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ได้พัฒนาปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มิลลิเมตร    ซึ่งเป็นการต่อยอดจากงานวิจัยของ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ในปี 2563ให้สามารถนำมาใช้งานได้จริง โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2564จนถึงปัจจุบัน และมีแผนนำเข้าประจำการในปี 2567- 2568  หน่วยได้ทำการวิเคราะห์ทางวัสดุศาสตร์และทางวิศวกรรม โดยวัสดุที่ต้องการมีแพร่หลายภายในประเทศ ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ สามารถทำการผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ ของปืนได้ และผ่านกระบวนการวิจัยร่วมกันทั้ง สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จนได้ปืนต้นแบบที่มีความยาวลำกล้อง 14.5นิ้ว และ 20 นิ้ว เข้ารับการทดสอบจากคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหม จำนวน 15สถานี ทดสอบการยิงในด้านความทนทาน การยิงในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ณ สนามฝึกทางยุทธวิธี กองพลทหารราบที่ 9จังหวัดกาญจนบุรี     เมื่อวันที่ 19-30กรกฎาคม 2565จนได้รับการรับรองมาตรฐานจากคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 25ตุลาคม 2565ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลเดียวกับต่างประเทศกำหนด

\"นายกฯ\" ควง \"ผบ. เหล่าทัพ\" ชมนิทรรศการอาวุธ ก่อน ถกสภากลาโหม

 โดยมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศมาก ปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดสอบสายการผลิต เพื่อเตรียมความพร้อมของเครื่องจักร รวมทั้งทดสอบการจัดหาวัสดุชิ้นส่วนและดำเนินการผลิต Pilot Lot จำนวน 25กระบอก เพื่อเป็นหลักประกันความสำเร็จและความเป็นมาตรฐานระดับสากลในราคาต้นทุนที่ต่ำกว่าการจัดซื้อจากต่างประเทศ

สำหรับในขั้นตอนต่อไป ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธฯ จะนำไปประจำการเพื่อใช้ในการรักษาการณ์และการฝึกของหน่วย จำนวน 400กระบอก โดยจะเริ่มดำเนินการในปี 2567- 2568เพื่อให้สามารถรับทราบ FEED BACK จากการใช้งานจริงในระยะยาวและนำมาปรับปรุงต่อไป
การผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ที่ขาดแคลน อาทิ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ขาดแคลนชิ้นส่วนปืนซุ่มยิง Ballet 0.50 นิ้ว และ Stoner SR - 25 สป. ได้ร่วมกันแก้ปัญหาโดยผลิตชิ้นส่วนที่ขาดแคลนที่มีมาตรฐาน สามารถทำงานได้อย่างปกติและมีความทนทานสูง และยังคงมีโครงการร่วมกันในอนาคต เพื่อแก้ไขปัญหาชิ้นส่วนอาวุธอื่น ๆ ที่มีอยู่ต่อไป

ปืนขนาด 9มิลลิเมตร ทั้งปืนยาวและปืนสั้น โดยเกิดจากการขยายผลจากองค์ความรู้ที่ได้จากการพัฒนาปืนเล็กยาวขนาด 5.56มิลลิเมตร ขยายสายการผลิตเพื่อสนองตอบต่อความต้องการใช้งานของหน่วยงานอื่น ๆ อาทิ ตำรวจตระเวนชายแดน กรมป่าไม้ หรือกระทรวงมหาดไทย

\"นายกฯ\" ควง \"ผบ. เหล่าทัพ\" ชมนิทรรศการอาวุธ ก่อน ถกสภากลาโหม
 
 ในส่วนของ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (DTI) ได้มีการร่วมทุนกับบริษัทเอกชน และจัดทำ โครงการวิจัยยานเกราะล้อยางแบบ 8x8 “พยัคฆ์ทะเล” ให้กับกองทัพเรือ ตามบันทึกข้อตกลงระหว่างกัน โดยการวิจัยพัฒนาตอบสนองการใช้งานให้กับนาวิกโยธิน ทั้งนี้ผลงานดังกล่าวได้ผ่านการรับรองมาตรฐานจากคณะกรรมการมาตรฐานยุทโธปกรณ์กองทัพเรือแล้ว และปัจจุบันบริษัทได้รับการเชิญเข้าสู่กระบวนการจัดหาของกองทัพเรือในการจัดหายานเกราะลำเลียงพลแบบ 8x8 ในปีงบประมาณ 66ซึ่งในการผลิตมีชิ้นส่วนในประเทศประมาณ 40%
โครงการผลิตอากาศยานไร้คนขับร่วมกับมิตรประเทศ (จีน) เพื่อให้เกิดการต่อยอด        องค์ความรู้ โดยมีกองทัพบกเป็นผู้ใช้งาน และจากการวิจัยทำให้ สทป. ได้ต้นแบบอุตสาหกรรมของ อากาศยาน  ไร้คนขับ รุ่น DP20 โดยพร้อมส่งมอบให้กองทัพบก ในเดือนเมษายน ๒๕๖๖ และในปัจจุบันสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ได้ทำการวิจัยต่อยอดเพื่อให้ได้อากาศยานไร้คนขับแบบติดอาวุธ ตามดำริของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม คือ รุ่น DP20/A ซึ่งจะสามารถส่งให้กองทัพบกได้ ได้ในปี ๒๕๖๗

สำหรับผลงานวิจัยที่พร้อมจำหน่ายให้กับเหล่าทัพ ประกอบด้วย
1) อากาศยานไร้คนขับ รุ่น D - EYE 01 และ D - EYE 02 เป็นผลงานวิจัยที่เป็นต้นแบบอุตสาหกรรมพร้อมผลิตและขาย ทั้งนี้ทั้ง ๒ รุ่นได้ผ่านการทดสอบทดลองใช้งานมาในระดับหนึ่งแล้วจาก       เหล่าทัพ โดยเฉพาะ D - EYE O2 ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานจากคณะกรรมการมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหม แล้ว เมื่อปี 2563ทั้ง 2ระบบเป็น UAV มาตรฐานทางทหาร
๒) หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด (EOD ROBOT) รุ่นหนูนา และ D - EMPRIER เป็นหุ่นยนต์ที่ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศได้ร่วมวิจัยพัฒนากับสถาบันการศึกษา รวมทั้งได้รวบรวมความต้องการจากหน่วยงานภายในกระทรวงกลาโหม เพื่อทำการวิจัยให้ตรงความต้องการของหน่วยใช้จนสามารถตอบสนองความต้องการ และได้ต้นแบบอุตสาหกรรม ทั้ง 2รุ่น รวมทั้งได้ผ่านการรับรองมาตรฐานของคณะกรรมการมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหมแล้วเช่นกัน ปัจจุบันสามารถเข้าสู่กระบวนการผลิตและขายได้แล้ว    1รายการ คือ รุ่นหนูนา โดยมี กรมสรรพาวุธทหารเรือ กองทัพเรือ (สพ.ทร.) เป็นผู้จัดหา  และอยู่ในกระบวนการจัดหาอีก 1รายการ คือ D - EMPRIER โดยมี กรมสรรพาวุธทหารอากาศ กองทัพอากาศ        เป็นผู้จัดหา
ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้พึ่งพาตนเองได้และมีศักยภาพในการแข่งขันในระดับสากล สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมจะมุ่งมั่นขับเคลื่อนงานด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหารให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงกลาโหม เพื่อให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติภายใต้บริบท “วิจัย พัฒนา ทดสอบ และปรับปรุงสู่การบรรจุใช้งานจริง ในราคาต้นทุนที่ต่ำกว่าการจัดซื้อจากต่างประเทศ”

\"นายกฯ\" ควง \"ผบ. เหล่าทัพ\" ชมนิทรรศการอาวุธ ก่อน ถกสภากลาโหม