RISC เปิด "Well-Being Design & Engineering" ปั้นผู้ขับเคลื่อนพัฒนาอาคารและเมือง เพื่อความอยู่ดีมีสุข

RISC เปิด "Well-Being Design & Engineering" ปั้นผู้ขับเคลื่อนพัฒนาอาคารและเมือง เพื่อความอยู่ดีมีสุข

RISC เปิดตัวหลักสูตร "Well-Being Design & Engineering Program" ดึงผู้เชี่ยวชาญด้าน "Well-Being" ปั้นผู้ขับเคลื่อนการพัฒนาอาคารและเมือง เพื่อความอยู่ดีมีสุข หรือ "New Army of Well-Being" รองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม และสิ่งแวดล้อมโลก

"Well-Being" หรือการมีสุขภาวะที่ดี เป็นประเด็นที่ได้รับความสำคัญอย่างมาก ยิ่งตอนนี้โลกกำลังกับเผชิญวิกฤติและความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งภาวะโลกร้อน ส่งผลให้โลกรวน ทำให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ และความไม่สมดุลของโลก อีกทั้งยังมีความเปลี่ยนแปลงเชิงประชากรที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตและพฤติกรรมของคนเรา ทั้งการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพจิตแย่ลง ความเครียดที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงในระดับสังคมและเมือง 

จากการตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงข้างต้น นำมาสู่ความตั้งใจสร้างหลักสูตร "Well-Being Design & Engineering Program" ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการส่งต่อองค์ความรู้ และงานวิจัยเชิงลึกด้าน "Well-Being" ของศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน หรือ RISC เพื่อสร้าง "New Army of Well-Being" หรือผู้เชี่ยวชาญผสานการออกแบบประยุกต์ความรู้สู่การพัฒนาอาคารและเมือง ร่วมสร้างความอยู่ดีมีสุขให้กับทุกชีวิตอย่างยั่งยืน (For All Well-Being)

RISC เปิด "Well-Being Design & Engineering" ปั้นผู้ขับเคลื่อนพัฒนาอาคารและเมือง เพื่อความอยู่ดีมีสุข
 

รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน  กล่าวว่า RISC มีการทำงานวิจัยและองค์ความรู้ มีประสบการณ์จากการแก้ปัญหามาแล้วพบว่า บุคลากรที่มีองค์ความรู้ในด้านนี้ยังมีโอกาสช่วยส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขนี้ให้เติบโตมากขึ้น จึงเกิดเป็นหลักสูตร "Well-Being Design & Engineering Program" ขึ้นมา เพื่อสร้างกลุ่มคน "New Army of Well-Being" หรือกองทัพผู้ขับเคลื่อนการออกแบบเพื่อความอยู่ดีมีสุข โดยใช้องค์ความรู้เชิงลึกจากงานวิจัยหลายศาสตร์ และประสบการณ์ทำงานที่ช่วยผลักดันความรู้เชิงเทคนิคที่ส่งเสริมให้เกิด Well-Being ในโครงการจริง เพื่อการออกแบบอาคารให้สอดคล้องกับข้อมูลจากงานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ ช่วยส่งเสริมสุขภาวะที่ดีและความอยู่ดีมีสุขครบด้าน ที่ไม่ใช่เพียงการสร้างความรู้สึก "มีความสุข" เท่านั้น แต่ยังผสานกับวิศวกรรมงานระบบเชิงประยุกต์ทั้งกระบวนการวางแผนและจัดการภาพรวม เชื่อมโยงทุกส่วนของการพัฒนาโครงการ เพื่อทำให้อาคารหรือโครงการ นำไปสู่ความอยู่ดีมีสุข (Well-Being) ได้อย่างยั่งยืน

รศ.ดร.สิงห์ กล่าวต่อว่า ตลอดหลักสูตรจะจัดการบรรยายโดย "ผู้เชี่ยวชาญการสร้างความอยู่ดีมีสุข" หลากหลายศาสตร์และครบด้าน ที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาโครงการจริงที่ส่งเสริมสุขภาวะที่ดี (ความอยู่ดีมีสุข หรือ Well-Being) เกิดการสั่งสมความรู้และประสบการณ์ที่พร้อมจะแบ่งปันในทุกแง่มุมของการประยุกต์ความรู้เชิงลึกในโครงการจริง และบอกแนวทางสร้างความเชื่อมโยงของงานส่วนต่างๆ ตลอดกระบวนการทำงานด้วย โดย "ผู้เชี่ยวชาญการสร้างความอยู่ดีมีสุข" มีทั้งผู้เชี่ยวชาญภายนอกที่คลุกคลีและทำงานร่วมกับ RISC นำความรู้เชิงลึกมาประยุกต์ใช้ในโครงการจริง เช่น คุณเกชา ธีระโกเมน ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท อีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค จำกัด ดร.ศิรวัจน์ อิทธิภูริพัฒน์ หัวหน้าศูนย์วิจัยและนวัตกรรมประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และทีมนักวิจัย RISC ที่มีความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ มาให้ความรู้ เช่น ดร.จิตพัต ฉอเรืองวิวัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส RISC ดร.สฤกกา พงษ์สุวรรณ ผู้อำนวยการ ฝ่ายบูรณาการงานวิจัยเพื่อการเผยแพร่ หัวหน้า Happiness Science Hub, RISC คุณ วสุธา เชน สถาปนิกวิจัยอาวุโส และผู้เชี่ยวชาญระดับ LEED AP BD+C, Fitwel Ambassador และ WELL AP, RISC และ คุณ ทิพทับทิม ภูมิพาณิชย์ สถาปนิกวิจัยอาวุโส Sustainable Building Materials, RISC เป็นต้น 

"หนี่งในวัตถุประสงค์ของหลักสูตรคือ สามารถแก้ปัญหาได้ โดยใช้องค์ความรู้ที่ครอบคลุมด้านความอยู่ดีมีสุข ผมขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดๆ ว่า เราจะทำอย่างไรเมื่อเจอปัญหา เราจะหาวิธีเอาตัวรอดจากปัญหาได้ โดย RISC ได้มีการจัดทำ Resilience Framework เป็นการวิเคราะห์และวางแผนตั้งแต่ต้น เมื่อเจอปัญหาเฉพาะเจาะจง เช่น น้ำแล้ง น้ำท่วม เราจะพบว่ามีโซลูชันที่ช่วยแก้ไขปัญหาได้หลายรูปแบบ บางโซลูชันมีอยู่แล้วนำมาใช้ได้เลย บางปัญหาโซลูชันแพงไปก็พัฒนามาใช้ หรือบางปัญหาไม่มีโซลูชันก็สามารถพัฒนามาใช้ได้ ตีโจทย์เหล่านั้นและนำมาประยุกต์ใช้เพื่อวางแผนพัฒนาอาคารและเมืองได้" รศ.ดร.สิงห์ กล่าว

สำหรับแนวทาง Resilience Framework นั้น รศ.ดร.สิงห์ ขยายความว่า เป็นสิ่งสำคัญในการเตรียมตัวสร้างสมาร์ทซิตี้ได้อีกด้วย โดยการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ล่วงหน้า โดยนำ "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) หรือ GIS มาใช้ สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิด ภัยพิบัติ เป็นต้นพร้อมหาแนวทางป้องกันปัญหาได้ในการสร้างอาคารและเมืองได้

RISC เปิด "Well-Being Design & Engineering" ปั้นผู้ขับเคลื่อนพัฒนาอาคารและเมือง เพื่อความอยู่ดีมีสุข

"Well-Being Design & Engineering Program" นับเป็นอีกหนึ่งหลักสูตรที่น่าสนใจ เข้ามาตอบโจทย์เพื่อให้สอดคล้องกับโลกปัจจุบันและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดย RISC เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้าน Well-Being ในมุมมองต่างๆ ที่พร้อมแบ่งปันองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านคุณภาพชีวิตของทุกชีวิต ทั้งจากองค์ความรู้ งานวิจัย และการลงมือทำเพื่อนำไปประยุกต์ใช้จริง โดยจะเริ่มเรียนในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2566 (วันเริ่มเรียนจะประกาศให้ทราบอีกครั้ง) จัดการเรียนการสอนทุกวันศุกร์ช่วงบ่าย มีตารางเรียนทั้งหมด 8 สัปดาห์ และสัปดาห์ที่ 9 จะเป็นการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์จากสถานที่จริง ลงทะเบียนและอ่านเงื่อนไขการรับสมัครโดย คลิกที่นี่ หรือสแกน QR code เพื่อลงทะเบียนเรียน  

RISC เปิด "Well-Being Design & Engineering" ปั้นผู้ขับเคลื่อนพัฒนาอาคารและเมือง เพื่อความอยู่ดีมีสุข

เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 20 มกราคม 2566 และจะประกาศผลผู้มีสิทธิ์เข้าเรียนโดยจะพิจารณาตามความเหมาะสม (ฟรีแบบมีเงื่อนไข) ผู้สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดหลักสูตรได้ที่ [email protected] หรือ 063-902-9346  

RISC เปิด "Well-Being Design & Engineering" ปั้นผู้ขับเคลื่อนพัฒนาอาคารและเมือง เพื่อความอยู่ดีมีสุข