กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ ทั่วไทยฝนตกหนัก 60-80% ทะเลคลื่นสูง 3 เมตร

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ ทั่วไทยฝนตกหนัก 60-80% ทะเลคลื่นสูง 3 เมตร

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า 6-12 สิงหาคม 2565 ไทยมีฝนเพิ่มขึ้น เตือน! ภาคเหนือ อีสาน กลาง ตะวันออก ใต้ รวมถึงกรุงเทพฯ ฝนตกหนัก 60-80% ส่วนทะเลคลื่นสูง 3 เมตร

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 6 - 12 สิงหาคม 2565 ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพฯและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนทะเลอันดามัน - อ่าวไทย มีคลื่นสูง 2-3 เมตร

 

 

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 6 สิงหาคม 2565 ร่องมรสุมกำลังอ่อนพาดผ่านประเทศเมียนมา และภาคเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวตอนบนและเวียดนามตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

 

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังแรงปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

 

ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 12 สิงหาคม 2565 ร่องมรสุมเลื่อนจะลงมาพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน โดยในช่วงวันที่ 7 - 9 สิงหาคม 2565 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้

 

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

 

หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 10 - 12 สิงหาคม 2565 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง และคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังอ่อนลง

 

 

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 7 - 8 สิงหาคม 2565 หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน จะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อนในระยะต่อไป และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศจีนตอนใต้ ในช่วงวันที่ 10 - 11 สิงหาคม 2565 โดยไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย

 

ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 7 - 9 สิงหาคม 2565 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเพิ่มความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง จนถึงวันที่ 9 สิงหาคม 2565

 

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า (6 - 12 สิงหาคม 2565)

 

ภาคเหนือ

 

ในช่วงวันที่ 6 และ 10 - 12 สิงหาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 9 สิงหาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

ในช่วงวันที่ 6 และ 11 - 12 สิงหาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 10 สิงหาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่

 

โดยในช่วงวันที่ 7 - 9 สิงหาคม 2565 มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส

 

ภาคกลาง

 

ในช่วงวันที่ 6 และ 11 - 12 สิงหาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 10 สิงหาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่

 

โดยในช่วงวันที่ 7 - 9 สิงหาคม 2565 มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส

 

ภาคตะวันออก

 

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 6 - 9 สิงหาคม 2565 มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 6 และ 11 - 12 สิงหาคม 2565 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

 

ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 10 สิงหาคม 2565 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-36 องศาเซลเซียส

 

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

 

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 7 - 9 สิงหาคม 2565 ในช่วงวันที่ 6 และ 11 - 12 สิงหาคม 2565 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

 

ในช่วงวันที่ 7 - 10 สิงหาคม 2565 ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

 

ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส

 

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

 

ในช่วงวันที่ 6 และ 10 - 12 สิงหาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดพังงา ขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

 

ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต ลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

 

ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 9 สิงหาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ มีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต ขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

 

ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ ลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-34 องศาเซลเซียส

 

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

 

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 7 - 9 สิงหาคม 2565 มีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส

 

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศ วันที่ 6 สิงหาคม 2565