ลพบุรี เตรียมรับมือ "น้ำท่วม" หลังเตือนท้ายเขื่อนเจ้าพระยาระดับน้ำเพิ่มสูง

ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ลงพื้นที่เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วมในเขตอำเภอเมืองลพบุรี หลังชลประทาน เตือนระดับน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น

เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 65 นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี พร้อมด้วยผู้อำนวยการโครงการชลประทานลพบุรี หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลพบุรี โยธาธิการจังหวัด นายอำเภอเมืองลพบุรี กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตพื้นที่อำเภอเมืองลพบุรี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำ และการระบายน้ำ จำนวน 4 จุด ดังนี้

1. โครงการแก้มลิง ร.31 รอ. ตำบลถนนใหญ่ (งบกลาง) ดำเนินการโดยโครงการชลประทานลพบุรี ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการขุดลอก คิดเป็นร้อยละ 80 และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2565 ซึ่งหากดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถเก็บกักน้ำและระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ได้ให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลพบุรี จัดเตรียมเครื่องสูบน้ำ บริเวณหน้าประตูทางเข้า ฝั่งตรงข้ามเยื้องสถานีดับเพลิงท่าแค

2. สถานีสูบน้ำป่าตาล เป็นสถานีสูบน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำที่ท่วงขังบริเวณตลาดเสาธง รวมทั้งบริเวณกองบิน 2 ลงสู่คลองชัยนาท-ป่าสัก

3. สถานีสูบน้ำคลองชัยนาท-ป่าสัก ขวา 21 (ปากคลองซอย 21 ) ชุมชนสีดา อุปกรณ์ได้ถูกโจรกรรมไม่สามารถใช้การได้ จึงได้ประสานทางเทศบาลเมืองลพบุรีเร่งดำเนินการซ่อมแซมโดยด่วน

4. โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำลพบุรี บริเวณวัดชีแวะ หมู่ที่ 5 ตำบลงิ้วราย อำเภอเมืองลพบุรี โดยจะดำเนินการก่อสร้างต่อจากโครงการเดิมระยะทางประมาณ 60 เมตร โดยใช้งบประมาณจังหวัดที่เสนอขอรับงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อป้องกันการพังทลายของตลิ่ง และส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนของพี่น้องประชาชน

หลังจากได้รับการแจ้งเตือนจากสำนักงานชลประทานที่ 12 เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาทถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดใน 7 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัด อุทัยธานี, ชัยนาท, สิงห์บุรี, อ่างทอง, สุพรรณบุรี, พระนครศรีอยุธยา และลพบุรี คาดการณ์ว่าปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาจะมีแนวโน้มสูงขึ้นอยู่ในเกณฑ์ประมาณ 350 - 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ริมน้ำมีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่บริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ถึงบริเวณตำบลกระทุ่ม ตำบลหัวเวียงอำเภอเสนา และตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประมาณ ..50 - 1.00 เมตร นั้นเนื่องจาก ยังมีฝนตกและมีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาไหลลงเหนือเขื่อนเจ้าพระยาในอัตราเพิ่มมากขึ้น ตรวจวัดปริมาณน้ำไหลผ่านสถานี
 

C๒ จังหวัดนครสวรรค์ วัดได้631ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที สมทบกับแม่น้ำสะแกกรังผ่านสถานี Ct19 จังหวัดอุทัยธานี

ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ริมน้ำมีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่บริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ถึงบริเวณ ตำบลกระทุ่ม ตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา และตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าวยังคงอยู่ในตลิ่งลำน้ำ ทั้งนี้ สำนักงานชลประทานที่ ๑๒ จะควบคุมปริมาณการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ให้อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าว ด้วยการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยมิให้มีผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตร หากมีปริมาณน้ำเหนือเพิ่มขึ้น ที่จะส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยามากกว่า700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะแจ้งให้ทราบต่อไป