พยากรณ์อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา เตือน ตะวันออก-ใต้ ฝนตกหนัก ทะเลคลื่นสูง 2 เมตร

พยากรณ์อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา เตือน ตะวันออก-ใต้ ฝนตกหนัก ทะเลคลื่นสูง 2 เมตร

"พยากรณ์อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา" ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนทะเลคลื่นสูง 2 เมตร

"พยากรณ์อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา" ในช่วงวันที่ 16-17 กรกฎาคม 2565 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมา ประเทศลาวตอนบน และประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

 

 

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร บริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

 

ส่วนในช่วงวันที่ 18-21 กรกฎาคม 2565 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนน้อย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

 

ข้อควรระวัง : ในช่วงวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2565 ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

 

 

พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 15-21 กรกฎาคม 2565

 

ภาคเหนือ

 

ในช่วงวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 17-21 กรกฎาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

ในช่วงวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 17-21 กรกฎาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-37 องศาเซลเซียส

 

ภาคกลาง

 

ในช่วงวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 18-21 กรกฎาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส

 

ภาคตะวันออก

 

ในช่วงวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2565 มีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

 

หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 18-21 กรกฎาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส

 

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

 

ในช่วงวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 18-21 กรกฎาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่

 

ในช่วงวันที่ 16-21 กรกฎาคม 2565 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส

 

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

 

ในช่วงวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2565 มีฝนตกหนักบางแห่ง

 

ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

 

ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

 

ส่วนในช่วงวันที่ 18-21 กรกฎาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส

 

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

 

ในช่วงวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 18-21 กรกฎาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส

 

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2565