11-15 ก.ค.นี้ เตือน "เหนือ-อีสาน-กลาง-ใต้" รับมือน้ำหลาก น้ำท่วมฉับพลัน

11-15 ก.ค.นี้ เตือน "เหนือ-อีสาน-กลาง-ใต้" รับมือน้ำหลาก น้ำท่วมฉับพลัน

ปภ. แจ้ง 22 จังหวัดภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ รับมือน้ำหลาก น้ำท่วมฉับพลัน ช่วงวันที่ 11 – 15 ก.ค. 65

เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 65  เวลา 13.00 น. กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาวะอากาศและปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับกองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้ประเมินสถานการณ์น้ำจากฝนคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบว่า จะมีปริมาณฝนตกสะสมต่อเนื่อง อีกทั้งสถานการณ์น้ำในลำน้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติบางพื้นที่ที่ฝนตกหนักอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก อาจส่งผลให้เกิดน้ำหลาก น้ำท่วมฉับพลัน โดยมีพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์ระหว่างวันที่ 11 – 15 กรกฎาคม 2565 ดังนี้

พื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำหลาก น้ำท่วมขัง

ภาคเหนือ 5 จังหวัด ได้แก่  

  • พะเยา (อำเภอเชียงคำ ปง ภูซาง)
  • ลำปาง (อำเภองาว แจ้ห่ม เมืองปาน วังเหนือ)
  • แพร่ (อำเภอร้องกวาง วังชิ้น สอง)
  • พิษณุโลก (อำเภอนครไทย)
  • เพชรบูรณ์ (อำเภอเมืองฯ วิเชียรบุรี หล่มสัก)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13 จังหวัด ได้แก่ 

  • เลย (อำเภอด่านซ้าย ปากชม) 
  • หนองบัวลำภู (อำเภอสุวรรณคูหา) 
  • อุดรธานี (อำเภอกุมภวาปี ทุ่งฝน นายูง น้ำโสม บ้านดุง บ้านผือ พิบูลย์รักษ์ เพ็ญ วังสามหมอ สร้างคอม หนองหาน) หนองคาย (อำเภอท่าบ่อ เฝ้าไร่ โพธิ์ตาก โพนพิสัย เมืองฯ รัตนวาปี สระใคร สังคม) 
  • สกลนคร (อำเภอกุดบาก คำตากล้า เจริญศิลป์ นิคมน้ำอูน บ้านม่วง ภูพาน วานรนิวาส วาริชภูมิ ส่องดาว อากาศอำนวย) 
  • ยโสธร (อำเภอกุดชุม ทรายมูล ป่าติ้ว เมืองฯ เลิงนกทา) 
  • ชัยภูมิ (อำเภอเทพสถิต หนองบัวแดง เกษตรสมบูรณ์) 
  • ขอนแก่น (อำเภอเขาสวนกวาง ชนบท เมืองฯ อุบลรัตน์) 
  • กาฬสินธุ์ (อำเภอเขาวง คำม่วง นาคู สมเด็จ สามชัย) 
  • ร้อยเอ็ด (อำเภอโพนทอง หนองพอก) 
  • อำนาจเจริญ (อำเภอชานุมาน พนา เมืองฯ ลืออำนาจ หัวตะพาน) 
  • นครราชสีมา (อำเภอเมืองยาง) 
  • อุบลราชธานี (อำเภอเขมราฐ โขงเจียม ตระการพืชผล ตาลสุม นาจะหลวย นาตาล พิบูลมังสาหาร โพธิ์ไทร ม่วงสามสิบ ศรีเมืองใหม่ สิรินธร)

ภาคใต้ 4 จังหวัด ได้แก่ 

  • ระนอง (อำเภอกระบุรี กะเปอร์ เมืองฯ) 
  • ชุมพร (อำเภอพะโต๊ะ เมืองฯ) 
  • สุราษฎร์ธานี (อำเภอท่าชนะ) 
  • พังงา (อำเภอคุระบุรี)

พื้นที่เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน 
บริเวณแม่น้ำน่านและลำน้ำสาขา แม่น้ำชี แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม ลำน้ำน ลำน้ำยาม และแม่น้ำตาปี

พื้นที่เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำกักเก็บสูงสุด (Upper Rule Curve) 2 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำน้ำพุง จังหวัดสกลนคร อ่างเก็บน้ำกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง 

พื้นที่เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำ 

ภาคเหนือ 3 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง น่าน และพะเยา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 จังหวัด ได้แก่ เลย สกลนคร ขอนแก่น นครราชสีมา นครพนม มุกดาหาร และอุบลราชธานี

ภาคกลาง 1 จังหวัด ได้แก่ ตราด

ภาคใต้ 1 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี

กอปภ.ก.ได้ประสานจังหวัดติดตามสถานการณ์และแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ หากมีแนวโน้มจะเกิดสถานการณ์รุนแรงในพื้นที่ ให้ถือปฏิบัติตามข้อสั่งการของกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งขาติ และเตรียมรับมือสถานการณ์ตามประกาศของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ 

ท้ายนี้ ประชาชนสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT” และหากความเดือดร้อนจากสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM รวมถึงสายด่วนนิรภัย1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือต่อไป