วอนรัฐบาล ดันกฎหมายป้องกัน ปชช. ถูกฉ้อโกงหลอกลวง เข้าสภาฯ

วอนรัฐบาล ดันกฎหมายป้องกัน ปชช. ถูกฉ้อโกงหลอกลวง เข้าสภาฯ

"สามารถ" วอนรัฐบาล ดันกฎหมายป้องกัน ปชช. ถูกฉ้อโกงหลอกลวง เข้าสภาฯ ย้ำทบทวนกฎหมาย พรบ.ป้องกันและปราบปรามการฉ้อโกงประชาชนที่ล้าหลัง

นายสามารถ เจนชัยจิตรวณิช อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม ได้โพสต์ความคิดเห็นผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัวว่า วันนี้ (15 มิ.ย.) ผมเห็น ครม. เสนอกฎหมายร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร และสภาฯให้ผ่าน ซึ่งก็ตามที่ผมมั่นใจว่าจะมีคนโหวตให้ ครม.ผ่านหลักการในวาระที่ 1 โดย ส.ส. ที่เป็นมุสลิมก็จะงดออกเสียงในการโหวตเพราะขัดต่อหลักศาสนา

ทั้งนี้ สำหรับความคิดของตนเห็นว่าในเมื่อสังคมยังมีเห็นแตกต่างกันแต่ในเมื่อเป็นกฏหมายเฉพาะเป็นกฎหมายทางเลือกก็เข้าสู่สภาฯได้ แต่กฎหมายที่จะต้องปกป้องพี่น้องประชาชน และป้องกันประชาชนจากการถูกฉ้อโกงหลอกลวงก็ถือว่ามีความสำคัญเช่นกัน แต่กลับไม่ได้นำเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ​ เนื่องจาก​นายก​รัฐมนตรี​ไม่ให้ความเห็น​ชอบ​ 

วอนรัฐบาล ดันกฎหมายป้องกัน ปชช. ถูกฉ้อโกงหลอกลวง เข้าสภาฯ

วันนี้ประชาชนที่ถูกหลอก กว่าจะได้เงินคืนต้องรอเป็นเวลานานหลายสิบปี ในขณะที่ผู้ต้องหาที่ศาลตัดสินพิพากษาจำคุกเป็นหมื่นปี แต่ติดจริง4ปี5เดือนก็ออกจากคุกแล้ว นั่นก็คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสังคมว่าทำไมแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์จึงยังคงหลอกลวงประชาชน และการฉ้อโกงประชาชนจากแชร์ลูกโซ่มีมากมาย เพราะบทบัญญัติของกฏหมายปราบปรามอ่อนเกินไป

ผมอยากจะให้รัฐบาลได้มีกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองประชาชนในเรื่องทรัพย์สินตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ว่าประชาชนต้องได้รับความคุ้มครองทั้งชีวิตและทรัพย์สิน แต่ทุกวันนี้ Call Center โทรหาทุกวัน และวันละหลายๆรอบ

วอนรัฐบาล ดันกฎหมายป้องกัน ปชช. ถูกฉ้อโกงหลอกลวง เข้าสภาฯ

โดยล่าสุด วานนี้ (14 มิถุนายน) ผมก็ได้รับโทรศัพท์เปลี่ยนจากคราวก่อนอ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ไทย แต่คราวนี้แอบอ้างว่าเจ้าหน้าที่ของ กสทช. ซึ่งผมก็ประสบกับตัวเองโดนแก๊งค์คอลเซนเตอร์โทรเข้ามือถือวันละหลายรอบ ซึ่งเป็นข้อมูลที่สอดคล้องตรงกับที่พ่อแม่พี่น้องประชาชนได้ร้องเรียนผมว่าโดนหลอกทุกวัน บางคนสูญเสียเงินเมื่อไปแจ้งความแล้วก็ไม่ได้เงินคืน นั่นคือปัญหาของพ่อแม่พี่น้องประชาชนที่รับความเดือดร้อน

 

ผมจึงคิดว่ารัฐบาลควรที่จะต้องออกกฎหมายเฉพาะที่จะปกป้องพ่อแม่พี่น้องประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แถลงต่อรัฐสภาว่าเป็นเรื่ิองเร่งด่วนที่ต้องป้องกันประชาชน

วอนรัฐบาล ดันกฎหมายป้องกัน ปชช. ถูกฉ้อโกงหลอกลวง เข้าสภาฯ

ผมคิดว่านายกฯจะต้องทบทวนกฎหมาย พรบ.ป้องกันและปราบปรามการฉ้อโกงประชาชน เพราะกฎหมายอาญาที่มีอยู่นั้นล้าหลังเกินไปแล้ว และเรื่องการติดตามทรัพย์นั้นทรัพย์สินที่ยึดมาได้ก็ไม่คืนเหยื่อผู้เสียหาย เพราะจะต้องรอให้กระบวนการถึงที่สุด ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนลำบาก ซึ่งในอดีตคนถูกโกงแสนแปด  ต้องรอนาน30ปี แล้วเขาได้คืนเพียง 3,000 บาท  ซึ่งกฎหมายแบบนี้ใช้ไม่ได้แล้ว สุดท้ายเงินออกนอกประเทศ และนี่คือสาเหตุส่วนหนึ่งของปัญหาหนี้สินครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น และทำให้อาชญากรเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น รัฐบาลต้องเร่งด่วนในการแก้ไขกฏหมายดังกล่าว