ทำไม "ชัชชาติ" เตรียม "ย้ายศาลาว่าการ กทม." จาก "เสาชิงช้า" ไป "ดินแดง" แบบ 100%

ทำไม "ชัชชาติ" เตรียม "ย้ายศาลาว่าการ กทม." จาก "เสาชิงช้า" ไป "ดินแดง" แบบ 100%

เปิดเหตุผลทำไม "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ว่าที่ผู้ว่าฯกทม.คนใหม่ ประกาศย้ายที่ทำการ ศาลาว่าการ กทม. จาก "เสาชิงช้า" ไป "กทม. 2 ดินแดง" แบบ 100%

กำลังจะเป็นผู้ว่าฯ กทม.คนแรกที่เตรียมย้ายที่ทำการ กทม. จากศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) "เสาชิงช้า" ไปปฏิบัติภารกิจนั่งว่าการที่ศาลาว่าการ "กทม. 2 ดินแดง" อย่างเต็มรูปแบบ ภายหลัง "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ว่าที่ผู้ว่าฯกทม.คนใหม่ ประกาศความชัดเจนในครั้งนี้

จากเดิม ในยุค พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง เป็นผู้ว่าฯ กทม. ยังปฏิบัติหน้าที่ส่วนใหญ่ ที่ กทม.เสาชิงช้า แต่จะมาปฏบัติภารกิจที่ กทม.2 ดินแดง เฉพาะการประชุมสภา กทม. ที่ตึกไอราวัต พัฒนา ใกล้เคียงกับอาคารธานีนพรัตน์  ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลาว่าการ กทม. 2 บนถนนมิตรไมตรี แขวง ดินแดง เขตดินแดง 

ทำไม \"ชัชชาติ\" เตรียม \"ย้ายศาลาว่าการ กทม.\" จาก \"เสาชิงช้า\" ไป \"ดินแดง\" แบบ 100%
- อาคารไอราวัต พัฒนา กทม. 2 ดินแดง -

บทความที่เกี่ยวข้อง : ย้อนประวัติ "ศาลาว่าการ กทม. เสาชิงช้า" 66 ปี ก่อนโบกมือลา สู่ “กทม.2 ดินแดง”

แต่ขณะนี้ "ชัชชาติ" ยืนยันแล้วว่า จะย้ายหน่วยงาน และห้องคณะผู้บริหารฝ่ายประจำและฝ่ายการเมือง จาก กทม.เสาชิงช้า โดยเป็นการย้ายทั้งหมดแบบ 100 % ไปที่ศาลาว่าการ กทม. 2 ดินแดงซึ่งสร้างเสร็จมาตั้งแต่ปี 2560 

  •  ทำไมต้องย้ายศาลาว่าการกทม. ไปดินแดง

การที่ "ชัชชาติ" ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ เตรียมสั่งย้ายที่ทำการ กทม. ไปอยู่ที่เดียว คือ ที่ดินแดง โดยไม่ต้องนั่งทำงานสองที่อย่างในปัจจุบันนั้น ได้มีแผนจะทำการปรับปรุงที่ทำการเก่าอย่าง "กทม.เสาชิงช้า" ดังนี้

1. ปรับศาลา กทม. 1 เป็นพิพิธภัณฑ์คนเมือง

2. ปรับพื้นที่ลานคนเมืองจากลานจอดรถยนต์ของข้าราชการ เป็นศูนย์กลางการเดินทางของเกาะรัตนโกสินทร์ เขตพระนครให้เป็นฮับ (Hub) สำหรับการท่องเที่ยว กระจายออกไปจุดต่างๆ อาทิ เรื่องจักรยาน

ทำไม \"ชัชชาติ\" เตรียม \"ย้ายศาลาว่าการ กทม.\" จาก \"เสาชิงช้า\" ไป \"ดินแดง\" แบบ 100%

ขณะเดียวกัน เมื่อย้อนกลับไปดูที่นโยบายหาเสียงของ "ชัชชาติ" ซึ่งระบุไว้ในนโยบายด้าน "สร้างสรรค์ดี" เกี่ยวกับแนวทางเปลี่ยนศาลาว่าการและลานคนเมือง สู่พิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ และพื้นที่สร้างสรรค์ ไว้ 3 ข้อ ดังนี้

  1. คนกรุงเทพฯ จะได้ได้พิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ 
  2. ได้รู้จักกรุงเทพฯ มากยิ่งขึ้นได้พื้นที่สร้างสรรค์สาธารณะแห่งใหม่ใจกลางสะดือเมือง และ 
  3. เป็นโมเดลของการสร้างพื้นที่ประเภท Third Place ในระดับเมือง 

สำหรับรายละเอียดนโยบายนั้นระบุถึงในปี 2555 แนวคิดเรื่องการปรับศาลาว่าการกรุงเทพฯ เสาชิงช้าให้เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองได้ปรากฏขึ้น เนื่องจากมีแผนที่จะย้ายศาลาว่าการไปยังดินแดง แต่การก่อสร้างที่ล่าช้าอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้โครงการดังกล่าวถูกพับลง 

ปัจจุบันแม้ศาลาว่าการกรุงเทพฯ 2 ดินแดงจะเปิดใช้มากว่า 5 ปีแล้วก็ตาม ส่วนราชการบางส่วนยังคงทำงานอยู่ที่ศาลาว่าการกรุงเทพฯ 1 เสาชิงช้าอยู่เช่นเดิม

ส่วนลานคนเมืองที่โดยลักษณะทางกายภาพเป็นลานที่เหมาะสมกับการเป็นพื้นที่สาธารณะ แต่ในทางปฏิบัติมักถูกล้อมรั้ว อีกทั้งพื้นที่ส่วนหนึ่งยังใช้เป็นที่จอดรถของหน่วยงาน กทม.ทำให้การใช้ประโยชน์จากพื้นที่สาธารณะบริเวณดังกล่าวไม่เกิดขึ้นจริง ทั้งที่จริงแล้วเจตนารมณ์การทำให้ศาลาว่าการ โดยเฉพาะในส่วนของลานคนเมืองให้เป็นพื้นที่สาธารณะมีมาตั้งแต่เริ่มออกแบบในปี 2498

ดังนั้น เพื่อให้พื้นที่นี้เกิดประโยชน์สูงสุด นโยบายที่ชัชชาติประกาศไว้นั่นคือ กทม.จะดำเนินการเปลี่ยน "ศาลาว่าการ 1 เสาชิงช้า" ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ให้เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ ที่เล่าเรื่องเมืองกรุงเทพฯ ในทุกมิตินั่นเอง

โดยเพื่อให้พื้นที่นี้เกิดประโยชน์สูงสุด กทม.จะดำเนินการเปลี่ยนศาลาว่าการ 1 เสาชิงช้า ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯให้เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ ที่เล่าเรื่องเมืองกรุงเทพฯ ในทุกมิติ ดังนี้

1. ครอบคลุมลักษณะทางกายภาพและภูมิศาสตร์ ประเด็นของการพัฒนาเมือง เล่าเรื่องย่าน ที่มาที่ไปของชื่อย่าน รูปแบบสถาปัตยกรรม อิทธิพล วิถีชีวิตทั่วไป ชาติพันธุ์  ประวัติศาสตร์ของสามัญชน ฯลฯ โดยจะออกแบบการเล่าเรื่องให้เกิดประสบการณ์ท่ีแตกต่าง สร้างประสบการณ์เฉพาะตามบริบทของพื้นที่ 

2. ร่วมมือกับมืออาชีพในการทำพิพิธภัณฑ์ เช่น กรมศิลปากร สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) และเอกชน ทำงานร่วมกับผู้คนกรุงเทพฯ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์ ปราชญ์ชาวบ้าน โบราณคดี ศิลปะ นักออกแบบ ฯลฯเพื่อให้ได้พิพิธภัณฑ์ที่ครบถ้วนทางด้านเนื้อหาและถูกออกแบบเรื่องราวและประสบการณ์จากนักออกแบบ และร่วมมือกับมืออาชีพด้านสถาปัตยกรรมเพื่อการปรับปรุงออกแบบและอนุรักษ์อาคารศาลาว่าการกรุงเทพฯ อาคารที่มีรูปแบบศิลปะอันทรงคุณค่าและเป็นอาคารประวัติศาสตร์ที่เล่าเรื่องราวของเมือง ณ วันแรกสร้างได้อย่างดีเลิศ

3. พิพิธภัณฑ์ต้องมีฟังก์ชั่นที่นอกจากบอกเล่าเรื่องราวการจัดแสดงผ่านนิทรรศการต่างๆ ต้องส่งเสริมให้มีพื้นที่กิจกรรมสำหรับการแลกเปลี่ยน พูดคุยต่างๆ อย่างโอบรับ ทั้งรูปแบบกิจกรรม และรูปแบบสภาพแวดล้อมของพิพิธภัณฑ์

นอกจากนี้จะจัดสรรพื้นที่ส่วนหนึ่งของศาลาว่าการกรุงเทพฯ เสาชิงช้ารวมถึงลานคนเมืองให้เป็นพื้นที่สาธารณะเปิดให้ประชาชนเข้าใช้ เช่น พื้นที่แสดงความคิดเห็น จัดกิจกรรมการประชุม การหารือสร้างสรรค์นวัตกรรมเมือง การแสดงศิลปะ การแสดงดนตรี ฯลฯ เป็นต้น

  • ย้อนประวัติ "ศาลาว่าการ กทม." เสาชิงช้า

ส่วนประวัติ "ศาลาว่าการ กทม." เสาชิงช้า ตั้งอยู่ที่เลขที่ 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร โดยมีหม่อมเจ้าสมัยเฉลิมกฤดากร สถาปนิกพิเศษ กรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบศาลาว่าการเทศบาลนครกรุงเทพ(ชื่อขณะนั้น) มีห้องประชุมสภาเทศบาล ซึ่งเป็นแบบหลังคาสูงรอบในมีลานกลาง และสนามทางด้านหน้า ส่วนชั้นล่างของอาคารเป็นที่จอดรถ โดยได้มีการออกแบบในปี 2488 และจอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2499 

ทำไม \"ชัชชาติ\" เตรียม \"ย้ายศาลาว่าการ กทม.\" จาก \"เสาชิงช้า\" ไป \"ดินแดง\" แบบ 100%
- อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการ กทม. 2 ดินแดง -

ขณะที่ศาลาว่าการ กทม.2 ดินแดงนั้น มีโครงการก่อสร้างเริ่มมาตั้งแต่ปี 2535 ในสมัยที่ ร.อ.กฤษฎา อรุณวงษ์ณ อยุธยา เป็นผู้ว่าฯกทม. อาคารแห่งนี้เป็นอาคารสูง 37 ชั้น ถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย 1.ชั้น B1-6 เป็นที่ตั้งของสำนักงานทั่วไป 2.ชั้น 7-19 เป็นส่วนรับรองสมาชิกสภา กทม. และสำนักงานต่างๆ และ 3.ชั้น 20-37 เป็นส่วนของผู้บริหารฝ่ายการเมือง และสำนักงานต่างๆ เช่นกัน

จากนี้ภารกิจการย้ายหน่วยงาน กทม. 1 มาประจำที่ กทม.2 ดินแดง ในยุค "ชัชชาติ" เป็นผู้ว่าฯกทม. จะเดินหน้าอย่างชัดเจนตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ เพื่อเปิดพื้นที่ "ศาลาว่าการ กทม.1" เสาชิงช้า เป็นอีกหนึ่งศูนย์กลางประโยชน์ใช้สอยสำหรับคนกรุงเทพฯ อย่างแท้จริง

ทำไม \"ชัชชาติ\" เตรียม \"ย้ายศาลาว่าการ กทม.\" จาก \"เสาชิงช้า\" ไป \"ดินแดง\" แบบ 100%