วันอัฏฐมีบูชา 2565 ประวัติและงานบุญประเพณี

อัปเดต วันอัฏฐมีบูชา 2565 ประวัติและงานบุญประเพณี ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้าจำลอง

 วันอัฏฐมีบูชา เป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 8 วัน ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือนวิสาขะ ช่วงเดือน 6 ของไทย

งานบุญประเพณี 129 ปี อัฏฐมีบูชา จังหวัดนครปฐมจัดงานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม หนึ่งเดียวในภาคกลางวันถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้าจำลอง หรือวันอัฎฐมีบูชา ซึ่งเป็นประเพณีที่ชาวตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 129 ปี และมีเพียงหนึ่งเดียวในภาคกลาง

ที่วัดใหม่สุคนธาราม ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พระเทพศาสนาภิบาล (แย้ม กิตฺตินฺธโร) พระเทพศาสนาภิบาล นามเดิม แย้ม ฉายา กิตฺตินฺธโร เจ้าคณะภาค 14 เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง พระอารามหลวง เลขานุการหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 1 เจ้าคุณแย้ม มาเป็นประธานพิธีฝ่ายสงฆ์ ประธานฝ่ายสงฆ์ ส.ส.ปฐมพงศ์ สูญจันทร์ ประธานฝ่ายฆารวาสในพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้าจำลอง เนื่องในวันอัฏฐมีบูชา ประจำปี 2565
 

หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันวิสาขบูชา ชาวตำบลวัดละมุดจึงได้ถือเป็นประเพณีสืบทอดติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบันรวมเป็นระยะเวลา 129 ปี จนกลายเป็นงานบุญประเพณีประจำท้องถิ่น และมีหนึ่งเดียวในภาคกลางเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งพุทธศาสนิกชนชาวอำเภอนครชัยศรี ที่ยังคงน้อมรำลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และยึดมั่นในพระพุทธศาสนาให้สืบทอดอยู่คู่แผ่นดินไทยสืบต่อไป

สำหรับกิจกรรมภายในงานประเพณีวันอัฏฐมีบูชา ประกอบด้วย พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ถวายเป็นพุทธบูชา ประกอบด้วย

  • การแสดงพระธรรมเทศนา
  • การถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์
  • การเวียนเทียนเป็นพุทธบูชา
  • การจัดขบวนเหตุการณ์สมมุติพระพุทธเจ้าปางประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ขบวนคณะสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา ขบวนคติธรรม นรกภูมิ ขบวนพุ่มผ้าป่า

จากนั้น ขบวนนางรำ แต่ละหมู่บ้าน และขบวนนักเรียน สมมุติเหตุการณ์ และการล้อเลียนคนดังในปัจจุบัน เรือดำนำ้ ศาลพระภูมิเก่า หมอ แต่งตัวล้อเลียน และอื่นๆเป็นต้น

พิธีอัญเชิญพระบรมศพพระพุทธเจ้าจำลอง นำโดยคณะสงฆ์ จำนวน 500 รูป พร้อมด้วยคณะพราหมณ์ เทวดา นางฟ้า พระสาวกและสาธุชน เวียนทักษิณาวัตรรอบมณฑลพิธีจำลอง 3 รอบ แล้วอัญเชิญประดิษฐานเหนือจิตกาธาน เพื่อประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรม ศพ

นอกจากนี้ยังมีการแสดงถ่ายทอดพุทธประวัติ ประกอบแสง สี เสียง การเทศน์มหาชาติ การบรรยายธรรม การแข่งขันตอบปัญหาธรรมะ แข่งขันสวดมนต์หมู่ ประกวดวันงานจะ มี 2 วัน ในวันที่ 22 มีแข่งขัน เฉาะตาลสะท้านทุ่งกลุ่มชาวบ้านในชุมชนการแสดงของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครปฐม การแสดงพื้นบ้าน การสาธิตศิลปะต่อด้วยการแสดงของคนในคนในชุมชน และและการแข่งขันตะไลลอดบ่วงอีกด้วย

ในงาน 129 ปี อัฏฐมีบูชา "มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม หนึ่งเดียวในภาคกลางทำการแข่งขัน" เฉาะตาลสะท้านทุ่ง ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 เวลา 17.00 น. วัดใหม่สุคนธาราม ต.วัดละมุด อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ไม่จำกัดเพศ/วัย และอายุผู้เข้าทำการแข่งขัน จะต้องเตรียมมีดที่ใช้สำหรับแข่งขันมาเอง ลูกตาลที่ใช้ในการแข่งขัน ทางคณะผู้จัดการแข่งขันจะเป็นผู้เตรียมให้กฎ กติกา การแข่งขัน ทางคณะผู้จัดการแข่งขันจะแจ้งให้ผู้เข้าทำการแข่งขัน

ทราบหน้างานการตัดสินของคณะกรรมการ "ถือเป็นที่สิ้นสุดรางวัลการแข่งขัน รางวัลชนะเลิศ เงินสด จำนวน 3.000 บาทรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เงินสด จำนวน 2.000 บาทรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เงินสด จำนวน 1.000 บาท

ซึ่งในปีนี้ ไม่ได้จัดงานแถลงข่าว แต่ทาง วัดได้จัดงานขึ้น 2 วัน เป็นวันที่ 22-23 พ.ค. 2565 จัดแค่งานเล็ก ๆ ซึ่งชาวบ้านในตำบลวัดละมุดเขาขอให้จัด งาน 129 ปีอัฏฐมีบูชาเพราะไม่ได้จัดมา 2 ปี ตั้งแต่มีสถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาด