‘ท่องเที่ยวธรรมชาติ’ รอบลุ่มเขื่อนป่าสักฯ

‘ท่องเที่ยวธรรมชาติ’ รอบลุ่มเขื่อนป่าสักฯ

‘ท่องเที่ยวธรรมชาติ’ รอบลุ่ม เขื่อนป่าสักฯ เที่ยวลัดเลาะตามสายน้ำ สำรวจ บ้านเมืองของเราพบว่ามีที่เที่ยวมากมาย บางทีก็ไม่ต้องไปไกล ขอเพียงแต่ให้เราได้ออกไป เปิดโลกทัศน์ เที่ยวต่างประเทศก็อาจจะเห็นโลกกว้าง แต่อย่าลืมว่า บ้านเราก็มีความสวยงามไม่น้อย

‘ท่องเที่ยวธรรมชาติ’ รอบลุ่ม เขื่อนป่าสักฯ

 แม่น้ำมูล ก่อเกิดบนแผ่นดินที่ราบสูงในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ทางด้านครบุรี นครราชสีมา แล้วจึงไหลลงที่ต่ำกว่าทางทิศตะวันออก ผ่านจังหวัดทาง อีสานตอนใต้ ก่อนจะมีแม่น้ำชี ที่มาจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ฝั่งทางด้านชัยภูมิ แล้วไหลเลาะล่องผ่านจังหวัดในภาค อีสานตอนกลาง ก่อนจะไปบรรจบกับ แม่น้ำมูล ในเขตวารินชำราบ

ก่อนจะไหลไปลงแม่น้ำโขง ที่โขงเจียม อุบลราชธานี  ส่วนปิง-วัง มาจากภาคเหนือทางด้านตะวันตก ยมและน่าน มาจากภาคเหนือทางด้านตะวันออกบรรจบกัน ก่อนจะมาสมทบกันเป็น แม่น้ำเจ้าพระยา ที่นครสวรรค์  ส่วนภาคกลางตอนบน กลับได้รับการเอื้อเฟื้อของ แม่น้ำป่าสัก จะเรียกว่าลุ่มน้ำป่าสักก็ได้

ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากภูเขาในเขตด่านซ้ายเมืองเลย แล้วจึงไหลเข้าหล่มเก่า หล่มสัก ลงมาลพบุรี ผ่านสระบุรี เข้าอยุธยาและบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงวัดพนัญเชิง ที่เรารู้กันอยู่แล้ว  

แม่น้ำป่าสัก ทำหน้าที่เป็นมารดาของแผ่นดินในภาคเหนือตอนล่าง หล่อเลี้ยงชีวีตคนในที่ราบลุ่มสองฝั่งน้ำมายาวนาน ตอนน้ำแล้งก็แทบลงไปใช้แม่น้ำปลูกผักเลี้ยงวัวได้ แต่พอหน้าฝน ก็ถะถั่งล้นหลาก ก่อปัญหาน้ำท่วมในภาคกลางตอนล่าง   ซึ่งเกิดขึ้นแทบทุกปี

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงให้กรมชลประทานหาพื้นที่สร้างเขื่อนเพื่อควบคุมแม่น้ำป่าสัก และแก้ปัญหาต่างๆ โดยสร้างตั้งแต่ ธันวาคม ปี 2537 เริ่มกักน้ำปี 2541 

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง   และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงทำพิธีเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

เวลาที่เราเดินทางขึ้นไปเพชรบูรณ์ตามถนนหมายเลข 21 จะพบแยกต่างๆ   แยกไป อ.พัฒนานิคม แยกม่วงค่อม แยกมะนาวหวาน ฯลฯ  และถ้าดูแผนที่ทางอากาศ จะเห็นว่ามีการวางผังพื้นที่เป็นตาราง มีถนนเชื่อมต่อกันอย่างเป็นระเบียบ อันเป็นผลมาจากการจัดพื้นที่อันเนื่องมาจากการสร้าง เขื่อนป่าสัก นั่นเอง

‘ท่องเที่ยวธรรมชาติ’ รอบลุ่มเขื่อนป่าสักฯ ชีวิตเริมอ่างเก็บน้้ำทั้งนกทั้งคนต่างหากิน

อ่างเก็บน้ำของ เขื่อนป่าสัก ไม่ใช่หุบเขาลึก ที่มีภูเขาสูงขนาบข้าง หากแต่เป็นที่ลุ่มในพื้นที่  เวลาที่กักน้ำเต็มที่   น้ำจึงแผ่ กินพื้นที่กว้าง    แต่ระดับน้ำไม่ลึกมากนัก พอเวลาเข้าช่วงแล้งที่ระดับน้ำลดลงชายอ่างเก็บน้ำก็จะแห้ง กลายเป็นทุ่งกว้าง ชาวบ้านได้อาศัยเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ    ชาวบ้านในพื้นที่อาศัยช่วงน้ำลงนี้หาหอย ถ้าน้ำขึ้นก็ได้ทำประมง จับปลา รอบๆ   ก็พลอยได้อาศัยน้ำในการทำการเกษตรต่างๆ

‘ท่องเที่ยวธรรมชาติ’ รอบลุ่มเขื่อนป่าสักฯ เขื่อนป่าสักฯ ที่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว

ผลพลอยได้ที่สำคัญคือ กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ในยามที่ปริมาณน้ำมาก ก็กลายเป็นทะเลน้ำจืดขนาดใหญ่    กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของพื้นที่

‘ท่องเที่ยวธรรมชาติ’ รอบลุ่มเขื่อนป่าสักฯ ทางรถไฟเคยอยู่เหนือน้ำ พอน้ำลดเลยอยู่เหนือทุ่งหญ้า

ชายน้ำที่เว้าแหว่งนั้น ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเขาตัดถนนเลาะเลี้ยวไปตามชายเขื่อน กลายเป็นเส้นทางที่น่าขับรถเที่ยวชมทิวทัศน์ในมุมมองต่างๆ หรือจะปั่นจักรยานเลาะเลียบไปมาก็น่าสนุก  และด้วยชายเขื่อนที่เว้าเวียน วกวนไปมานี่เอง ที่ทางรถไฟที่เขาสร้างผ่านพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง ถึงมีอยู่หลายช่วง ที่ทางรถไฟผ่านเข้าไปในอ่างเก็บน้ำ    กลายเป็นรถไฟลอยน้ำไป   แต่ที่คนนิยมไปดูกันอย่างมากก็ที่บ้านโคกสลุง

‘ท่องเที่ยวธรรมชาติ’ รอบลุ่มเขื่อนป่าสักฯ ฝูงวัวที่เลี้ยงชายเขื่อนยามน้ำลด

ในช่วงที่น้ำลด(ตั้งแต่มีนาคม-สิงหาคม) จะมีพื้นที่ชายน้ำโผล่ขึ้นมามากมายแทบจะรอบเขื่อนอย่างที่บอก กลายเป็นทุ่งกว้างและสนามหญ้าขนาดใหญ่ ชาวบ้านเขาเลี้ยงวัวเลี้ยงควายกัน ส่วนนักท่องเที่ยวก็ไปหามุมสวยๆถ่ายภาพได้เลย  ลมเย็นพัดตลอดเวลา  แต่ก็ธรรมดาของที่โล่งนะครับว่าแดดมันจะแรง ไม่มีที่หลบแดด

‘ท่องเที่ยวธรรมชาติ’ รอบลุ่มเขื่อนป่าสักฯ สะพานรัชดาภิเษก โผล่พ้นน้ำเมื่อน้ำลง

ผมอุปมาง่ายๆแบบนี้นะครับว่าอ่างเก็บน้ำเป็นทรงยาวผืนผ้า วางทิศเหนือ-ใต้ นี่ว่าให้นึกภาพง่ายๆนะครับ จริงๆมันไม่ขนาดนี้ ด้านขวาของอ่างเก็บน้ำ จะมีชุมชนมะนาวหวาน เป็นชุมชนใหญ่ริมอ่างเก็บน้ำใกล้กับชุมชนมะนาวหวานก็มีน้ำตกสวนมะเดื่อ  แล้วริมอ่างเก็บน้ำด้านนี้ จะมีสะพานรัชมังคลาภิเษก ซึ่งเขาสร้างและใช้งานมาตั้งแต่ปี 2530   พอเริ่มกักน้ำในอ่างเก็บน้ำ สะพานที่เคยเชื่อมต่อถนน ก็ถูกน้ำท่วมไปโดยปริยาย    พอน้ำลงก็ถึงจะเห็นสะพานโผล่แต่ถ้าน้ำขึ้นสะพานก็จมน้ำไปเช่นเดิม

‘ท่องเที่ยวธรรมชาติ’ รอบลุ่มเขื่อนป่าสักฯ น้ำตกสวนมะเดื่อ

ส่วนตัว เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จะอยู่ทางใต้เขื่อนด้านตะวันตก ใกล้ๆกันก็จะเป็นย่านชุมชน อำเภอพัฒนานิคม ซึ่งก็ไม่ห่างจากอ่างเก็บน้ำมวกเหล็ก และใกล้กับอุทยานฯน้ำตกเจ็ดสาวน้อย จะเห็นว่าท่านผู้อ่านสายแค้มปิ้ง  สามารถมากางเต็นท์พักแรมที่อุทยานฯน้ำตกเจ็ดสาวน้อย แล้วขับรถไปเที่ยวได้สบาย

‘ท่องเที่ยวธรรมชาติ’ รอบลุ่มเขื่อนป่าสักฯ

‘ท่องเที่ยวธรรมชาติ’ รอบลุ่มเขื่อนป่าสักฯ ทิวทัศน์บนเขาพระยาเดินธง

ทีนี้ ทางด้านตะวันตกของอ่างเก็บน้ำ จะมีภูเขาสูงโดดเด่น ตระหง่าน มองมาจากทางไหนก็ตาม ถ้ามองมาทางตะวันตกก็จะเห็นเขาพระยาเดินธง   ซึ่งจะมีทางรถยนต์ขึ้นไปด้านบนได้ 

‘ท่องเที่ยวธรรมชาติ’ รอบลุ่มเขื่อนป่าสักฯ หน้าผาเหนือสุดบนเขาพระยาเดินธง เห็นบ้านโคกสลุงไกลๆ

ด้านบนจะเป็นหน้าผา  เป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงาม มีที่พักสงฆ์ด้านบน ถ้าท่านผู้อ่านจะขึ้นเขาพระยาเดินธง ผมแนะให้ใช้ถนนหมายเลข 21  พอถึงแยกมะนาวหวานก็เลี้ยวขวา เข้าไป ก็จะมีป้ายบอกไปตลอด  พอลงเขาพระยาเดินธง ก็ขับรถเลาะเที่ยวริมขอบอ่างเก็บน้ำได้เลย

‘ท่องเที่ยวธรรมชาติ’ รอบลุ่มเขื่อนป่าสักฯ ช่วงหนึ่งของทางรถไฟลอยน้ำ เห็นเขาพระยาเดินธงโดดเด่น

บ้านเมืองของเรานั้นมีที่เที่ยวมากมาย บางทีก็ไม่ต้องไปไกล ใกล้ๆแค่นี้ก็มีที่เที่ยวมากมายแล้ว ขอเพียงแต่ให้เราได้ออกไป ก็จะได้เปิดโลกทัศน์ เห็นโลกกว้างขึ้น   ต่างประเทศไปได้ เพื่อให้เห็นโลก แต่อย่าลืมว่า  บ้านเราก็มีสวยงาม ขอให้ออกไป ก็จะเห็น  เชิญชวนให้ออกไปเที่ยวกันครับ.......