เที่ยวไหนดี? ชัยภูมิฟื้นประเพณี แห่มาลัยดอกไม้ยาวที่สุดในโลก

เที่ยวไหนดี? ชัยภูมิฟื้นประเพณี แห่มาลัยดอกไม้ยาวที่สุดในโลก

จังหวัดชัยภูมิ ฟื้นประเพณีแห่มาลัยดอกไม้ยาวที่สุดในโลก ประเพณีบุญเดือน 6 ศาลเจ้าพ่อหมื่นแสน หลังงดจัดงานมา3 ปี 

นายศราวุธ  เหล่าพิพัฒน์ตระกูล นายกเทศมนตรีตำบลลาดใหญ่ ร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ จัดสืบสานงานประเพณีแห่มาลัยดอกไม้ ในช่วงประเพณีบุญเดือน 6 ของศาลเจ้าพ่อหมื่นแสน ประจำปี 2566 ซึ่งชาวบ้านลาดใหญ่ ต้องงดจัดงานดังกล่าวมานานเกือบ 3ปีที่เจอภาวะโควิด-19 ระบาด 

และในปีนี้หลังสถานการณ์คลี่คลายชาวบ้านในตำบลลาดใหญ่ทุกคนต่างพร้อมใจกันออกมาจัดงานประเพณีแห่มาลัยดอกไม้ ไปถวายศาลเจ้าพ่อหมื่นแสน ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านในพื้นที่มาแต่โบราณตั้งแต่ที่เจ้าพ่อพญาแล หรือ พระยาภักดีชุมพล เจ้าเมืองคนแรกผู้ก่อตั้งเมืองชัยภูมิมาได้จนปัจจุบันนานกว่า 200 ปี และมีชาวบ้านที่ตั้งรากฐานมาแต่บรรพบุรุษในจุดนี้มาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่ได้พากันจัดตั้งหมู่บ้านลาดใหญ่ ขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำชีไหลผ่านในจุดนี้

ซึ่ง จ.ชัยภูมิ เป็นแหล่งต้นกำเนิดแม่น้ำชี แม่น้ำสายหลักที่ช่วยหล่อเลี้ยงชาวบ้านเกือบทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ทั่วภาคอีสานมาช้านานจนปัจจุบัน  

ซึ่งงานสืบสานประเพณีแห่มาลัยดอกไม้ที่ถือว่ายาวที่สุดในโลกก็ว่าได้ที่จะมีขบวนแห่มาลัยดอกไม้เป็นระยะทางยาวต่อต่อกันกว่า 2กิโลเมตร ที่มีจุดไฮไลน์ในงานที่ช่วยสร้างสีสันความสนุกสนานให้ชาวบ้านในพื้นที่คือ การแห่ขบวนมาลัยดอกไม้ที่ยาวที่สุดในโลก ออกจากวัดบูรพา ในหมู่บ้านลาดใหญ่ ออกไปรอบทั่ว ต.ลาดใหญ่ อ.เมือง จังหวัดชัยภูมิ ที่จะมีผู้เฒ่าผู้แก่นำขบวนโดยหญิงสูงอายุที่ชาวบ้านเคารพนับถือในพื้นที่ ผ่านไปตามถนนกลางหมู่บ้าน ระยะทางยาวประมาณ 2 กิโลเมตร ไปยังศาลเจ้าพ่อหมื่นแสน ซึ่งขบวนมาลัยดอกไม้ที่ยาวที่สุดในโลก

เป็นความร่มรื่นในพื้นที่ จะออกไปจัดหาทั้งดอกไม้นานาชนิดไม่ว่าจะเป็นดอกดาวเรือง ดอกรัก ดอกมะลิ รวมไปถึงดอกไม้ป่าหลายชนิดจากป่าชุมชนใกล้หมู่บ้าน 

เพื่อนำมาร้อยเป็นพวงมาลัยขนาดต่าง ๆ นำมาใส่ในไม้คานร่วมกันหาบและหามต่อแถวกันยาว ตามคิวเป็นขบวนมาลัยดอกไม้ที่ยาวที่สุดในโลกมีแห่งเดียวในโลกที่หากชมได้ยากในประเทศไทย หรือทั่วโลกในขณะนี้ก็ว่าได้ 

ซึ่งผู้ที่ร่วมในขบวนแห่มาลัยดอกไม้ ต่างมีสีหน้าแสดงออกถึงความสุขที่หนึ่งปีจะได้สืบสานประเพณีดังกล่าวขึ้นครั้งหนึ่งในช่วงประเพณีบุญเดือน 6  และ ภายในขบวนยังมีหญิงตั้งแต่รุ่นเยาวชนไปจนถึงรุ่นผู้สูงอายุ กว่า 200 คน ร่วมในขบวนเพื่อฟ้อนรำถวายศาลเจ้าพ่อหมื่นแสน ที่ช่วยสร้างความรักสามัคคีของคนในชุมชนทุกครั้งที่มีการจัดงานได้เป็นอย่างดี รวมทั้งบรรยากาศที่สนุกสนานยิ่งได้ยินเสียงเพลงจากรถแห่ที่จ้างมาหลังบ้านเมืองเงียบเหงามานานช่วงโควิด-19 ระบาด ต้องงดจัดงานมานานเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา ได้กลับมาฟื้นมีชีวิตชีวาได้อีกครั้งในปีนี้