“เชียงใหม่” ขุนวาง....มากกว่า นางพญาเสือโคร่ง

“เชียงใหม่” ขุนวาง....มากกว่า นางพญาเสือโคร่ง

“เชียงใหม่” ขุนวาง....มากกว่า นางพญาเสือโคร่ง จากภูเขาหัวโล้นกลายเป็นแหล่งเกษตรดอยสูง กาแฟ ข้าวไร่ นาปรัง ไม้ผลเมืองหนาว พืชผักต่างๆ รวมทั้งไม้ดอกไม้ประดับพลิกฟื้นผืนดินที่แห้งแล้ง ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่ใครๆก็อยากไปถ่ายรูปเช็คอิน

เชียงใหม่ หนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่หลายคนเฝ้ารอคอยในแต่ละปีก็คือ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง)   เพราะที่นี่

เป็นที่ๆหนึ่งที่มี ดอกนางพญาเสือโคร่ง สีชมพูสวย บานเกือบทั่วทั้งบริเวณ  โดยเฉพาะบริเวณที่ปลูกริมถนนภายในศูนย์ แล้วกิ่งมันโน้มลงมาปกคลุมถนนจนดูเป็นอุโมงค์ดอกไม้สีชมพู 

อีกทั้งที่นี่ก็เดินทางได้สะดวก สามารถนำรถยนต์ส่วนตัวทุกประเภทไปได้  ไม่ต้องไปต่อรถกระบะ ฝ่าฝุ่นหรือทางทุรกันดารไปแบบภูลมโล  ขุนช่างเคี่ยน   

หรือขุนห้วยแม่ยะ  ที่นี่จึงเป็นหมุดปลายปลายทางของนักท่องเที่ยวอย่างมาก ยิ่งมาอยู่ใกล้กับ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์  ใกล้ศูนย์วิจัยกล้วยไม้รองเท้านารี 

ระหว่างเส้นทางจากอุทยานฯ ดอยอินทนนท์ ไปยังศูนย์วิจัยฯขุนวาง เป็นเส้นทางที่สวยงามในทุกฤดูกาลด้วยแล้ว  เลยทำให้

ศูนย์วิจัยฯขุนวาง  กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสุดฮิตไปโดยปริยาย  ไปดูเถอะ ในช่วงฤดูท่องเที่ยว

โดยเฉพาะช่วง นางพญาเสือโคร่ง บานนั้น   ด้านหน้าสถานี แทบไม่มีที่จอดรถ  รถติดกันยาวเหยียด

แต่กว่าที่ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) จะเป็นอย่างเช่นทุกวันนี้   ไม่ใช่ใช้เวลาแค่พลิกฝ่ามือ  แต่ต้องฟันฝ่าอุปสรรคมามากมาย เป็นระยะเวลานับสิบๆปี กว่าจะมาถึงวันนี้

ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่(ขุนวาง)แห่งนี้   ขึ้นอยู่กับสถาบันวิจัยพืชสวน    กรมวิชาการเกษตร   กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

พื้นที่ของบ้านขุนวาง อย่างที่เรารู้กันมาในอดีตแล้วว่าประเทศไทยนั้นแต่ก่อนเราเป็นประเทศเกษตรกรรม สินค้าที่ส่งออกก็มีข้าว และทรัพยากรที่มีมาก่อน

แค่ตัดหรือขุดออกมาขาย อย่างไม้สักหรือแร่ธาตุ ส่งออกไปแบบนั้นเลย ทางเหนือนั้นตัดไม้สักส่งออก สิ่งที่ตามมาคือ การเข้าไปหักร้างถางพง 

เข้าไปตั้งถิ่นฐานตามหมอนไม้ ในช่วงก่อนปี 2520 จึงมีแต่เขาหัวโล้นเยอะไปหมดจนแทบจะเป็นทะเลทราย  ปางไม้ก็ตัดไม้ใหญ่

ชาวบ้านก็ถางป่าจับจอง  ปลูกพืชไร่ โดยเฉพาะฝิ่นปลูกกันมากไปเห็นภาพในอดีตจะสะท้อนใจ

“เชียงใหม่” ขุนวาง....มากกว่า นางพญาเสือโคร่ง นักท่องเที่ยวอย่างมากมายในฤดูนางพญาเสือโคร่งบ้านราวปลายปี

จนในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงอยากให้เกษตรกรเลิกปลูกฝิ่น พยายามส่งเสริมให้ชาวเขาที่อยู่บนดอย ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำนั้น  เปลี่ยนมาปลูกพืชทดแทนการปลูกฝิ่น 

“เชียงใหม่” ขุนวาง....มากกว่า นางพญาเสือโคร่ง สวนดอกไม้ภายในสถานี ในช่วงนางพญาเสือโคร่งบาน

และสร้างผืนป่าให้กลับคืน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกรมป่าไม้   ก็สนองพระราชดำริ  มีการปลูกป่าฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำเยอะมาก

หลายพื้นที่เลยอย่างเช่น ภูฟ้าที่น่าน จากดินฝุ่นแห้งในช่วงนั้น เดี๋ยวนี้ไปดูครับ เป็นป่าและจนเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแล้ว หรืออย่างขุนห้วยแม่ยะ

“เชียงใหม่” ขุนวาง....มากกว่า นางพญาเสือโคร่ง ซึ่งเป็นที่ดู ดอกนางพญาเสือโคร่ง อีกที่หนึ่ง เชียงใหม่ หรือภูลมโล นี่ก็เหมือนกัน เป็นพื้นที่ปลูกป่าเพื่อฟื้นสภาพทั้งนั้น  ง่ายๆเลย ท่านผู้อ่านเคยไปห้วยน้ำดังแน่   

พื้นที่อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังในอดีต ถูกแผ้วถางจนโล่งเตียน จนต้องมาปลูกป่าฟื้นสภาพ  แล้วไปดูตอนนี้สิครับ ป่าทั้งนั้น

มาที่ ศูนยวิจัยฯขุนวาง กันต่อ ในเวบไซค์ของกรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/hc/cmrarc/?page_id=177) เขาเขียนเล่าว่า

“เชียงใหม่” ขุนวาง....มากกว่า นางพญาเสือโคร่ง

 “...วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2523 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  บรมนาถบพิตรเสด็จพระราชดำเนินโดย

เฮลิคอปเตอร์ พระที่นั่งไปยังหน่วยหลวงอนุรักษ์ต้นน้ำที่ 5 (หน่วยขุนวาง) และเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรพื้นที่ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ของชาวไทยภูเขา หมู่ที่ 10 (ปัจจุบัน คือ หมู่ที่ 12)

ตำบลแม่วิน อำเภอสันป่าตอง (ปัจจุบันเป็นอำเภอแม่วาง) จังหวัดเชียงใหม่ แต่เดิมพื้นที่แห่งนี้เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ทำให้น้ำเสีย  พระองค์ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ กรมวิชาการเกษตร ดำเนินการ

“เชียงใหม่” ขุนวาง....มากกว่า นางพญาเสือโคร่ง ใช้ทุ่งหญ้าแห่งนี้เป็นสถานที่ทดลอง และขยายพันธุ์พืชสำหรับเกษตรกรบนที่สูง เช่น กาแฟ ข้าวไร่ นาปรัง ไม้ผลเมืองหนาว พืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับ

กรมวิชาการเกษตร จึงได้ดำเนินงานตามพระราชดำริโดยให้กองพืชสวน (สถาบันวิจัยพืชสวน) ทำการบุกเบิก ทำเป็นสถานีทดลองสถานีวิจัย 2 แห่งเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2523

“เชียงใหม่” ขุนวาง....มากกว่า นางพญาเสือโคร่ง สภาพสถานีวิจัยฯในช่วงแรกๆ ครั้งที่ ร.9 ทรงเสด็จ ที่มีแต่ความแห้งแล้ง แตกต่างจากปัจจุบันอย่างมาก

โดยสถานีแรกคือ สถานีทดลองเกษตรที่สูงขุนวาง อ.สันป่าตอง (ปัจจุบันคือ อ.แม่วาง) จ.เชียงใหม่  ซึ่งขณะนั้นสถานีฯ ไม่มีงบประมาณเป็นของตัวเอง แต่ได้รับการสนับสนุนพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์

ผ่านโครงการหลวง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอาชีพด้านการปลูกพืชสำหรับเกษตรกรบนที่สูง หรือชาวไทยภูเขา

“เชียงใหม่” ขุนวาง....มากกว่า นางพญาเสือโคร่ง และสถานีที่ 2 คือ สถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวง อ. แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ซึ่งได้รับงบประมาณโดยตรงจากกรมวิชาการเกษตร

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปัจจุบันมีพื้นที่ปฏิบัติงาน 5 แห่ง ได้แก่ แม่เหียะ ขุนวาง แม่จอนหลวง โป่งน้อย และผาแง่ม

“เชียงใหม่” ขุนวาง....มากกว่า นางพญาเสือโคร่ง ต้นแมคคาดิเมีย ที่สมเด็จพระขนิษฐาธิราช ทรงปลูก ข้างๆกับต้นที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯทรงปลูก

“เชียงใหม่” ขุนวาง....มากกว่า นางพญาเสือโคร่ง แมคคาดิเมียที่เป็นผลผลิต

โดยมีหน้าที่และภารกิจคือ 

 1) ศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านพืชเมืองหนาวและกึ่งหนาว

2) ผลิตพันธุ์พืชหลักและพันธุ์ดี 3) ปฏิบัติงานส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 4) ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตร และให้บริการทางวิชาการ 5) ปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ

ต่อมา ปี 2543 กรมวิชาการเกษตรได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านการเกษตร ภายใต้การสนับสนุนของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2543

“เชียงใหม่” ขุนวาง....มากกว่า นางพญาเสือโคร่ง อนุมัติให้มีการดำเนินโครงการไทยเที่ยวไทยและท่องเที่ยวเชิงเกษตร ภายใต้มาตรการส่งเสริมการพัฒนาชนบทและชุมชน (มพช.) กวก. คัดเลือกศูนย์วิจัยฯ  9 แห่ง

ปัจจุบันมีศูนย์วิจัยฯ ที่ดำเนินงานโครงการท่องเที่ยวฯ ของกรมวิชาการเกษตร รวม 22 แห่ง โดย ศกล.ชม.(ขุนวางและแม่จอนหลวง) เข้าร่วมดำเนินโครงการดังกล่าว โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.ปรับปรุงพันธุ์พืชเมืองหนาว และกึ่งหนาวบางชนิด

-ไม้ผลเมืองหนาว และกึ่งหนาว เช่น พี้ช สตรอว์เบอร์รี พลับ  พลัม  เกาลัด  ฯลฯ

-ไม้ผลอุตสาหกรรม ได้แก่ มะคาเดเมีย กาแฟอะราบิกา ชาจีน และชาน้ำมันพืชผัก สมุนไพรและเครื่องเทศ เช่น กล้วยไม้ และสมุนไพร

-ไม้ดอกและไม้ประดับ เช่น ซิมบิเดียม และเฟิร์น

“เชียงใหม่” ขุนวาง....มากกว่า นางพญาเสือโคร่ง 2.วิจัยเทคโนโลยีการผลิตพันธุ์พืชให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

3.วิจัยระบบการปลูกพืชบนพื้นที่สูง

4.เป็นแหล่งเรียนรู้ ดูงาน และฝึกงาน ของ เกษตรกร นักเรียน นิสิต นักศึกษา หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป

5.เป็น แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านการเกษตร   (ขุนวาง–แม่จอนหลวง)  ซึ่งศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ มีพื้นที่งาน  ทดลองอีก 5 สถานที่ ได้แก่ แม่เหียะ  ขุนวาง  แม่จอนหลวง  โป่งน้อย  และผาแง่ม...

ทุกอย่างที่เขาเขียนบอกไว้ มีให้ดูในสถานีวิจัยนี้ทั้งสิ้น ทั้งแปลงดอกไม้  กล้วยไม้ เฟิร์น พืชไร่ พืชเมืองหนาว  พืชอุตสาหกรรม มีหมดทุกอย่าง

“เชียงใหม่” ขุนวาง....มากกว่า นางพญาเสือโคร่ง รถยนต์พระที่นั่งที่เสด็จมายังศูนย์แห่งนี้

มีบ้านพักสำหรับการท่องเที่ยวด้วย เมื่อเราเข้าไปในสถานี จึงไม่ได้มีแต่อุโมงค์ ดอกนางพญาเสือโคร่ง อย่างเดียว   แต่มีสารพัดให้ดู เดินดูได้เป็นวันๆ

และสิ่งหนึ่งที่เห็นผลในวันนี้ คือหัวข้อที่ว่าถ่ายทอดความรู้ทางการเกษตรไปสู่ชาวบ้าน ส่งเสริม แนะนำ จนด้านหน้าศูนย์วิจัย

“เชียงใหม่” ขุนวาง....มากกว่า นางพญาเสือโคร่ง แปลงปลูกกาแฟ

ในฤดูท่องเที่ยวจึงเป็นตลาดสินค้าเกษตรที่ออกมาตั้งร้านนำพืชผลทางการเกษตรมาขาย เขาตั้งชื่อตลาดว่าตลาดชุมชนบ้านขุนวาง  ขายดิบขายดี

“เชียงใหม่” ขุนวาง....มากกว่า นางพญาเสือโคร่ง แปลงวิจัยข้าวบาเลย์

จะเห็นว่ากว่าจะพลิกฟื้นผืนดินแห้งแล้ง ให้กลับมาเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวควรจะได้มาเยี่ยมชมอย่างเช่นทุกวันนี้นั้น ต้องใช้ทั้งเวลาและความอุตสาหะ

ที่สำคัญที่สุด คือพระมหากรุณาธิคุณ ที่สถาบันกษัตริย์ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน พระราชทานไว้ให้กับพสกนิกรได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเฉกเช่นทุกวันนี้

ไปเที่ยวขุนวาง นอกจากจะไปในดินแดนของความสวยงามแล้ว ก็คิดถึงพระผู้ทรงพระราชทานไว้ให้อย่างมิลืมเลือน......