เที่ยวบางกอกน้อย (ฉบับไปเองก็ได้)ไหว้พระ ชมจิตรกรรมฝาผนัง เที่ยวบ้านบุ

เที่ยวบางกอกน้อย (ฉบับไปเองก็ได้)ไหว้พระ ชมจิตรกรรมฝาผนัง เที่ยวบ้านบุ

ชวนเที่ยวย่าน"บางกอกน้อย "ฝั่งธนบุรี จะเลือกไปวัด ชมจิตรกรรมฝาผนัง ไหว้พระ เดินตรอกซอกซอย เที่ยวชุมชนบ้านบุ แวะดื่มกาแฟ ยังมีย่านเก่าๆ ให้เดินเล่นอีกเยอะ

กลิ่นอายเรื่องราวในอดีต ความงามของวัดวาอาราม ไร่สวนเทือกนา ย่านเก่าเฉกเช่น บางกอกน้อย ยังมีเสน่ห์ชวนเดินเล่น

ยังจำบรรยากาศท่องเที่ยวล่องเรือใน คลองบางกอกน้อย เพื่อชมวัดวาอาราม แวะชุมชนบ้านบุ ในช่วงหลายปีได้ดี ตอนนั้นได้แวะวัดสุวรรณารามวรวิหาร และวัดระฆังโฆสิตารมวรมหาวิหาร ฯลฯ ชมวิถีชีวิตชาวบางกอกน้อย

ครั้งนั้นไปกับผู้ที่สามารถอธิบายเรื่องราวประวัติศาสตร์โยงใยกับวิถีชีวิตได้แตกฉาน วิทยากรโดยอาจารย์จุลภัสสร พนมวัน ให้ความรู้ความเข้าใจเต็มที่

 

เรื่องเล่าขานวัดสุวรรณารามฯ บางกอกน้อย
 แม้การท่องเที่ยวบางกอกน้อยจะถูกเล่าขานมาหลายครั้งหลายคราว ไม่ว่าจะเรื่องวัดสุวรรณารามราชวรวิหาร หรือวัดทอง ที่เราต่างรู้แง่มุมประวัติศาสตร์กันพอสมควร ขอทบทวนความรู้ระดับมัธยมอีกครั้ง

วัดนี้สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา มีการสถาปนาพระอารามใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 1 พระราชทานชื่อว่า วัดสุวรรณาราม และสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงปฏิสังขารวัดสุวรรณารามเพิ่มเติม

แต่เดิมมีเมรุหลวงสำหรับใช้พระราชทานเพลิงศพเจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ และใช้มาเนิ่นนานจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 

เที่ยวบางกอกน้อย (ฉบับไปเองก็ได้)ไหว้พระ ชมจิตรกรรมฝาผนัง เที่ยวบ้านบุ วัดสุวรรณาราม บางกอกน้อย (จากhttp://www.dhammathai.org/)

 

ส่วนคลองบางกอกน้อย มีความเป็นมาเช่นไร คงไม่ต้องทบทวนให้มากความ บรรยากาศแบบสวนๆยังมีกลิ่นอายให้สัมผัสอยู่บ้าง

มาคราวนี้นอกจากเรื่องราวประวัติศาสตร์การสร้างวัดสมัยนั้นสมัยนี้ ชมจิตรกรรมฝาผนัง ไม่ว่าวัดไหนก็ต้องมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องทศชาติของพระพุทธเจ้าในภพชาติต่างๆ 

พระอุโบสถวัดสุวรรณาราม ฐานมีรูปทรงแอ่นโค้งหย่อนท้องช้าง ดูงดงามแปลกตา สถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 1 สร้างตามแบบศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย คล้ายๆ โบสถ์ทรุด สร้างขึ้นจากความเชื่อตามพุทธศาสนา เหมือนการได้นั่งเรือข้ามการเวียนว่ายตายเกิด เพื่อไปสู่นิพพาน 

ว่ากันว่าในอดีตไม่นิยมเผาศพในพระนคร (กรุงรัตนโกสินทร์)  จะเผาศพกันสดๆ แบบเชิงตะกอนโดยเอาไม้ทับมัดตาสัง จนกระทั่งมีการสร้างเมรุปูนในวัดสุวรรณารามครั้งแรก เพื่อใช้พระราชทานเพลิงศพเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ แต่ปัจจุบันไม่เหลือร่องรอยเมรุ เพราะได้ผุพังไปตามกาลเวลา และเป็นที่ตั้งของสำนักงานเขตบางกอกน้อย 

เที่ยวบางกอกน้อย (ฉบับไปเองก็ได้)ไหว้พระ ชมจิตรกรรมฝาผนัง เที่ยวบ้านบุ

ยลโฉมจิตรกรรมฝาผนัง
จิตรกรรมฝาผนัง ส่วนใหญ่สื่อเรื่องราวคำสอนพุทธศาสนา และสะท้อนวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนไทยแต่ละยุคสมัย

ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่า ภาพจิตรกรรมในยุคแรกๆ จะมีแค่ 2 มิติ ไม่มีมิติความลึกเหมือนภาพวาดในปัจจุบัน คือมีขนาดใหญ่กว่าระดับสายตา จนกระทั่งรับอารยธรรมตะวันตกเข้ามาเริ่มปรับเปลี่ยนรูปแบบภาพวาดมีมิติความลึก และความเป็นธรรมชาติมากขึ้น 
หากไม่ใช่ผู้สนใจเรื่องราวจิตรกรรม คงไม่ค่อยมีใครเพ่งพินิจและอยากรู้ว่า ทำไมศิลปินในยุคสมัยนั้นวาดภาพลักษณะนี้ เพื่ออะไร แต่ถ้าเข้าใจวิธีการชมจิตรกรรมฝาผนังอยู่บ้าง ก็จะซาบซึ้งกับงานศิลปะมากขึ้น 

เที่ยวบางกอกน้อย (ฉบับไปเองก็ได้)ไหว้พระ ชมจิตรกรรมฝาผนัง เที่ยวบ้านบุ

เที่ยวบางกอกน้อย (ฉบับไปเองก็ได้)ไหว้พระ ชมจิตรกรรมฝาผนัง เที่ยวบ้านบุ

ออกจากวัดวาอาราม อาจไปเดินเที่ยวในชุมชนบางกอกน้อย หลายคนคงได้ยินเรื่องราวชุมชนบ้านบุ ที่นั่นยังมีการทำขันลงหินแบบโบราณ เหลืออยู่แห่งเดียวที่ ขันลงหินบ้านบุ เจียมแสงสัจจา 
ถ้ามีโอกาสข้ามฟากไปวัดสุวรรณาราม อาจแวะวัดศรีสุดารามวรวิหาร ริมคลองบางกอกน้อย ไหว้พระพุทธรูปหล่อสมเด็จพระพุฒจารย์โต ซึ่งใหญ่ที่สุดในประเทศ และเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้าน

จากนั้นอาจนั่งเรือมาด้านวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร  แวะนมัสการพระปรางค์ ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 แบบฉบับของพระปรางค์ที่สร้างในยุคต่อมา

ส่วนจิตรกรรมฝาผนังวัดระฆัง งานชุมนุมฝีมือช่างชั้นครูสมัยต้นรัตนโกสินทร์ แม้เนื้อหาเรื่องราวของพุทธประวัติจะไม่ต่างจากวัดย่านบางกอกน้อย สีภาพเขียนลายเส้นจืดจาง จนแทบจะไม่เห็นลวดลาย แต่ก็ถือว่าเป็นงานจิตรกรรมฝาผนังที่น่าชม

ถ้าจะดูรูปแบบจิตรกรรมฝาผนังที่เปลี่ยนไปในเรื่องการใช้สี ต้องเข้าไปชมที่หอไตร เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มมีการใช้รูปแบบการวาดรูปแบบตะวันตก

เที่ยวบางกอกน้อย

  • ชวนแวะวัดเก่าสุวรรณาราม ราชวรวิหาร
  • ลัดเลาะไปไหว้รูปพระพุทธรูปหล่อขนาดใหญ่สมเด็จพระพุฒจารย์โต วัดศรีสุดารามวรวิหาร
  • เข้าซอยมาขันลงหินบ้านบุ เจียมแสงสัจจา (ใกล้สำนักงานเขตบางกอกน้อย)  02 -4241689
  • แวะวังหลัง แถวศิริราช ไปเที่ยววัดระฆัง 
  • ทริปท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม อีกทางเลือกดูได้ที่เพจนัท จุลภัสสร พนมวัน 

.....................

เขียนโดย เพ็ญลักษณ์ ภักดีเจริญ