13 ตุลาคม 2566 วันคล้ายวันสวรรคต ในหลวง รัชกาลที่ 9 กษัตริย์อันเป็นที่รัก

13 ตุลาคม 2566 วันคล้ายวันสวรรคต ในหลวง รัชกาลที่ 9 กษัตริย์อันเป็นที่รัก

13 ตุลาคม 2566 ครบรอบ 7 ปีวันคล้ายวันสวรรคตในหลวง รัชกาลที่ 9 หรือเรียกวันนี้่ว่า "วันนวมินทรมหาราช"เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักของประชาชน

เวียนมาถึงอีกปี 13 ตุลาคม 2566 เป็นวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หรือในหลวง รัชกาลที่9 ในวาระครบรอบ 7 ปี  นับตั้งแต่ปีนี้วันที่  13 ตุลาคม จะใช้ชื่อว่า วันนวมินทรมหาราช 

จึงได้รวบรวมเรื่องราวการเป็นกษัตริย์ที่ทรงทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้ประเทศไทยเสียเอกราช

พระชนมายุ18 ปี เป็นพระมหากษัตริย์

ช่วงพระชนมายุ 18 ปี ทรงขึ้นครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เนื่องจากตอนนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตโดยกะทันหัน สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกัน

13 ตุลาคม 2566 วันคล้ายวันสวรรคต ในหลวง รัชกาลที่ 9 กษัตริย์อันเป็นที่รัก

แต่ตอนนั้นยังทรงมีพระราชภารกิจด้านการศึกษา จึงต้องทรงอำลาประชาชนชาวไทย เสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้ง และกลับมาเมืองไทยจัดพิธีราชาภิเษกวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 รวมๆ แล้วครองราชย์รวม 70 ปี 126 วัน เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่13 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดอันดับที่ 3 ของโลก  ส่วนพระมหากษัตริย์ที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในโลก ก็คือ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ระยะเวลา 72 ปี 110 วัน และอันดับ 2 คือ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่2 ระยะเวลา 70 ปี 214 วัน

13 ตุลาคม 2566 วันคล้ายวันสวรรคต ในหลวง รัชกาลที่ 9 กษัตริย์อันเป็นที่รัก ตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงครองราชย์ มีนายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่ง 30 คน ตั้งแต่ท่านปรีดี พนมยงค์ จนถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

พระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนัก

ช่วงที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงขึ้นครองราชย์ เป็นช่วงที่ประเทศไทยกำลังมีปัญหาหลายอย่าง พระองค์จึงทรงงานหนัก และต้องเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ เพื่อเจริญสัมพันธไมตรี

ซึ่งการเยือนอเมริกาและยุโรป ปีพ.ศ. 2503 ก็เพื่อดำรงไว้ซึ่งเอกราชของประเทศและหลังจากปีพ.ศ. 2510 พระองค์ไม่ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอีกเลย ยกเว้นปี พ.ศ. 2537 เสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวมๆ แล้วเกือบ 50 ปีที่พระองค์ไม่เสด็จออกนอกแผ่นดินไทย

"หลังจากรัชกาลที่ 8 สิ้นพระชนม์ คณะราษฎร์มีอำนาจมาก และสถาบันพระมหากษัตริย์สั่นคลอน ช่วงที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 ขึ้นครองราชย์ ตอนนั้นพระองค์ทรงพยายามทำให้นานาชาติเข้าใจประเทศไทยและสถาบันพระมหากษัตริย์” ไกรฤกษ์ นานา นักประวัติศาสตร์ เล่าไว้ในกรุงเทพธุรกิจ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ปี 2560

13 ตุลาคม 2566 วันคล้ายวันสวรรคต ในหลวง รัชกาลที่ 9 กษัตริย์อันเป็นที่รัก

ไกรฤกษ์ เล่าถึงการเยือนต่างประเทศของในหลวง รัชกาลที่ 9 ไว้ว่า ทรงมีเป้าหมายสองอย่างที่ต้องทำให้ได้ คือ

ข้อ1. เพื่อยืนยันว่า ประเทศไทยเป็นเสรีประชาธิปไตย โดยก่อนหน้านี้รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรป เพื่อที่จะบอกเป็นนัยๆ ว่า สยามประเทศไม่ใช่รัฐกันชน

ข้อ2. หลังจากพระองค์เสด็จเยือนอเมริกา พระองค์เสด็จยุโรปด้วย เพราะไทยเคยร่วมเป็นพันธมิตรญี่ปุ่น พระพิศาลสุขุมวิท หนึ่งในเสรีไทย เคยให้ข้อมูลไว้ว่า อังกฤษจะจับไทยแพ้สงครามตลอด ถ้าไทยแพ้สงครามในช่วงนั้นจะเสียดินแดนเพิ่ม

“อเมริกากลายเป็นกระบอกเสียงบอกยุโรปว่า ไทยไม่เคยประกาศสงคราม ถ้าตอนนั้นอเมริกาไม่รับรอง ไทยก็ไม่รอด” ไกรฤกษ์ กล่าว และโยงให้เห็นถึงพระราชภารกิจ เพื่อประเทศของในหลวง รัชกาลที่ 9

“ตอนเสด็จอเมริกา ทุกพระบรมฉายาลักษณ์ พระพักตร์ไม่แจ่มใส ต่างจากตอนที่พระองค์ทรงฉายพระรูปคู่พระราชินีอังกฤษ มีพระพักตร์แจ่มใส เนื่องจากอเมริกาได้รับรองว่า ไทยไม่ใช่พันธมิตรญี่ปุ่น เพื่อให้อังกฤษยอมรับ”

พระอัจฉริยภาพกษัตริย์

ช่วงเวลาที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 ครองราชย์ เป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุโรปกำลังย่ำแย่ อเมริกาต้องให้เงินสนับสนุนยุโรป ตอนเสด็จเยือนต่างประเทศ เส้นทางเสด็จประพาสยุโรปของรัชกาลที่ 9 ก็ไปตามเส้นทางของรัชกาลที่ 5 ทุกประเทศ พระมหากษัตริย์และพระราชินีที่ให้การต้อนรับในหลวง รัชกาลที่ 9 ก็เป็นพระนัดดาของพระมหากษัตริย์ที่ให้การต้อนรับในหลวงรัชกาลที่ 5

“ในหลวง รัชกาลที่ 9ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากประธานาธิบดี ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ แม่ทัพใหญ่ที่ยกพลขึ้นบกฝั่งนอร์มังดี ถ้าไม่มีประธานาธิบดีคนนี้ ยุโรปก็แย่ ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งเมื่ออเมริกาต้อนรับในหลวง รัชกาลที่ 9 อย่างดี ทางยุโรปก็ต้อนรับอย่างดีด้วย” ไกรฤกษ์ เล่า

ส่วนอีกเรื่องราวที่ต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ ก็คือประเทศไทยรอดจากการเป็นประเทศแพ้สงคราม กรณีนี้ ไกรฤกษ์ เล่าไว้ว่า ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยอยู่ฝ่ายญี่ปุ่น แต่ไม่ถูกจับเป็นฝ่ายแพ้สงคราม เพราะพระราชกุศโลบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 อีกอย่างเรามีเสรีไทยอยู่ที่อังกฤษ ซึ่งม.ร.ว. เสรี ปราโมช บอกนานาประเทศว่า เราจำยอมต้องเข้าข้างฝั่งญี่ปุ่น เพราะถูกบีบบังคับ

“เสรีไทยเป็นอีกหน่วยงานที่ประคับประคองไม่ให้ประเทศเรา อยู่ฝ่ายแพ้สงคราม แต่ภาพพจน์ในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่เสด็จประพาสอเมริกาและยุโรป ปีค.ศ. 2003 ก็สำคัญมาก เพราะตอนนั้นไม่มีประเทศใดอยากต้อนรับใคร เพิ่งฟื้นจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่อเมริกาต้องมาต้อนรับพระมหากษัตริย์ไทย”

พระราชกุศโลบายและพระอัจฉริยภาพของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทำให้ประเทศไทยไม่ถูกรุกรานจากประเทศที่ฝักใฝ่ระบอบคอมมิวนิสต์ เรื่องนี้ ไกรฤกษ์ บอกว่า ตอนนั้นถ้าไทยไม่ได้อเมริกา คงเป็นคอมมิวนิสต์ไปแล้ว

“ผมมีภาพในหลวง รัชกาลที่ 9 กับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปที่นครพนม ทหารที่นั่นไม่ใช่ทหารไทย เป็นทหารอเมริกันกำลังยันคอมมิวนิสต์จากฝั่งลาวที่กำลังจะเข้ามา ถ้าไทยไม่ได้ทหารอเมริกันกว่าหมื่นคน และไม่มีกษัตริย์เฉกเช่น ในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่เสด็จไปยืนยันว่า ไม่ได้ฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ ประเทศก็คงแย่ นี่คือนัยยะเรื่องของการเมืองและการต่างประเทศ เพื่อรักษาความมั่นคงให้ประเทศ" 

อ้างอิง

-กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 30 เมษายน 2562

-วิกีพีเดีย