'จุฬาพัสตร์' จาก 'ผ้าลายอย่าง' สมัยอยุธยา ฟื้นชีวิตสู่เศรษฐกิจชุมชน

'จุฬาพัสตร์' จาก 'ผ้าลายอย่าง' สมัยอยุธยา ฟื้นชีวิตสู่เศรษฐกิจชุมชน

นักวิจัยจาก 'สถาบันอยุธยาศึกษา' พัฒนา 'ผ้าลายอย่าง' วัดย่านอ่างทอง ที่คนโบราณใช้ห่อคัมภีร์ใบลาน สมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ มาศึกษาต่อยอดพัฒนาเป็นลายต้นแบบ สร้างอัตลักษณ์ สร้างรายได้สู่ชุมชน

สองนักวิจัย อ.ปัทพงษ์ ชื่นบุญ และ อ.อรอุมา โพธิ์จิ๋ว แห่ง สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา นำผลงานวิจัย จุฬาพัสตร์ สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน อนุรักษ์และถอดแบบลายผ้าโบราณสมัยอยุธยา แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ฯ มาพัฒนาต่อยอดให้เป็นผ้าที่มีโครงสร้างลวดลายที่สมบูรณ์ขึ้น

พร้อมพิมพ์ลงบนเนื้อผ้าฝ้าย ส่งมอบให้แก่ชุมชนวัดย่านอ่างทอง สร้างอัตลักษณ์ สร้างรายได้ ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน

 

\'จุฬาพัสตร์\' จาก \'ผ้าลายอย่าง\' สมัยอยุธยา ฟื้นชีวิตสู่เศรษฐกิจชุมชน     ผ้าจุฬาพัสตร์

ผ้าจุฬาพัสตร์ ชื่อนี้มีที่มา

อ.ปัทพงษ์ ชื่นบุญ เล่าถึงจุดเริ่มต้นของงานวิจัยว่า

สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ได้ลงพื้นที่สำรวจวัดโบราณแห่งหนึ่ง ที่อำเภอผักไห่ อยุธยา ชื่อ วัดย่านอ่างทอง อยู่ในเขตอยุธยา เป็นวัดเก่าแก่ มีวัตถุโบราณจำนวนมาก ส่วนหนึ่งคือผ้าห่อคัมภีร์ใบลาน จำนวน 77 ผืน ในบรรดาผ้าห่อนี้มีอยู่ 12 ผืน ที่เป็น ผ้าลายอย่าง”

ผ้าลายอย่างเป็นชื่อเรียกที่มีมาแต่โบราณ พบหลักฐานว่าเกิดขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ฯ

\'จุฬาพัสตร์\' จาก \'ผ้าลายอย่าง\' สมัยอยุธยา ฟื้นชีวิตสู่เศรษฐกิจชุมชน    กระเป๋าทรงบะจ่าง ตัดเย็บจากผ้าจุฬาพัสตร์

“เมื่อเราทำงานวิจัยใช้ชื่อ ผ้าจุฬาพัสตร์ มาจากชื่อเดิมของวัดย่านอ่างทอง ชื่อ จุฬาโลก เราตัดโลกออกเอาพัสตร์ใส่แทน ถ้าเรียกจุฬาโลก ดูเหมือนพระนามของรัชกาลที่ 1 ดูไม่เหมาะสม และเพื่อให้เกียรติกับต้นกำเนิด และปรับเปลี่ยนการเรียก ผ้าลายอย่าง ให้เป็น “ผ้าลาย” เฉย ๆ เพราะถ้าพูดในบริบทผ้าลายอย่าง ตามเอกสารสมัยกรุงศรีธยา เป็นผ้าที่พระมหากษัตริย์ทรงกำหนดและออกมาจากราชสำนัก ส่งให้อินเดียทำลวดลายตามอย่างที่ตัวเองทำ จึงเรียกว่า ผ้าลายอย่าง”

\'จุฬาพัสตร์\' จาก \'ผ้าลายอย่าง\' สมัยอยุธยา ฟื้นชีวิตสู่เศรษฐกิจชุมชน    สองนักวิจัย อ.ปัทพงษ์ ชื่นบุญ กับ อ.อรอุมา โพธิ์จิ๋ว

เมื่อนำผ้าลายอย่างจากยุคโบราณมาพัฒนา ทำโครงสร้างให้สมบูรณ์ขึ้น จากที่พบผ้าห่อคัมภีร์ ซึ่งเหลือแค่ 1 ใน 3 ส่วนของผ้าผืนยาว เนื่องจากโดนตัดแบ่งมาตั้งแต่ยุคนั้น

“เนื่องจากคนโบราณเขาต้องการอุทิศผ้ามาใช้เป็นผ้าพ่อคัมภีร์ นักวิจัยจึงนำลวดลายจากผ้า 2 ผืน มาออกแบบด้วยการเขียนมือ แล้วเข้าระบบคอมพิวเตอร์ ทำกราฟฟิกขึ้นมาใหม่ให้เป็นผ้าที่มีลวดลายสมบูรณ์เต็มผืน

โดยมีลักษณะของท้องผ้า เชิงผ้า กรวยเชิง ส่วนขอบผ้าที่เรียกว่า สังเวียน มีช่อแทงท้อง เราออกแบบลายให้ครบถ้วนตามโครงสร้างดั้งเดิมของผ้าลายอย่างแบบราชสำนัก

\'จุฬาพัสตร์\' จาก \'ผ้าลายอย่าง\' สมัยอยุธยา ฟื้นชีวิตสู่เศรษฐกิจชุมชน จากผ้าผืนเดิมที่มีสภาพเก่าแก่และชำรุด ทีมวิจัยได้นำส่วนที่เหลือนั้นมาประกอบชิ้นใหม่ให้เต็มรูปแบบของโครงสร้างผ้าลายอย่าง ประกอบด้วย

ส่วนท้องผ้าเป็นลายราชวัติ แบบกรอบจัตุรัส กลางลายแทรกด้วยลายดอกกุดั่น พื้นลายสีแดง และลายกรวยเชิง 2 ชั้น ทำเป็นลายผ้าต้นแบบ

\'จุฬาพัสตร์\' จาก \'ผ้าลายอย่าง\' สมัยอยุธยา ฟื้นชีวิตสู่เศรษฐกิจชุมชน จากนั้นทดลองพิมพ์ ซึ่งแต่เดิมผ้าลายอย่างแบบโบราณพิมพ์บนเนื้อฝ้าย แต่เมื่อเราพัฒนาต่อยอดของที่มีอยู่ในชุมชุนอยู่แล้ว และให้ชาวบ้านนำไปขายได้ นำไปผลิตเพื่อตอบสนองการใช้งานต่อคนรุ่นใหม่ จึงปรับเปลี่ยนโดยการพิมพ์ดิจิทัลบนเนื้อผ้าฝ้ายสังเคราะห์ สามารถตัดเย็บนุ่งห่มได้ แล้วโยนลงเครื่องซักผ้าปั่นได้เลย ไม่ต้องมานั่งซักมือแบบคนโบราณเหมือนแม่หญิงการะเกด”

\'จุฬาพัสตร์\' จาก \'ผ้าลายอย่าง\' สมัยอยุธยา ฟื้นชีวิตสู่เศรษฐกิจชุมชน ตอนนี้ผ้าลวดลายสมัยแม่หญิงการะเกด นอกจากตัดเป็นผ้าซิ่น ก็มีแอคเซสซอรี่ทั้งของผู้หญิงผู้ชาย ออกแบบร่วมสมัย

“เช่นตัดเย็บเป็นกระเป๋าทรงบะจ่าง (ทรงสามเหลี่ยม) ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ จากเนื้อผ้า 2 ชนิดคือ ผ้าเนื้อซาติน กับเนื้อชีฟอง รวมถึงเสื้อที่นำผ้าลายอย่างมาออกแบบบางส่วน เช่น ทำสาบเสื้อ ทำส่วนแขนเสื้อ หลังจากทดลองตัดเย็บเป็นเสื้อทั้งตัว ปรากฏว่าลายพร้อยเกินไป ไม่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่”

\'จุฬาพัสตร์\' จาก \'ผ้าลายอย่าง\' สมัยอยุธยา ฟื้นชีวิตสู่เศรษฐกิจชุมชน นักวิจัยเสริมว่า การนำของเก่ามาทำใหม่ก็ต้องทำควบคู่กับการอนุรักษ์ด้วย

“เราต้องรักษาโครงสร้างผ้าโบราณด้วย คือทำเป็นผ้าผืนยาวที่เป็นผ้าลายอย่างสมบูรณ์ ตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการนุ่งห่มเชิงอนุรักษ์ และตอนนี้เราตั้งกลุ่มเพื่อพัฒนาต่อยอดเรื่องการใช้ผ้าจุฬาพัสตร์”

\'จุฬาพัสตร์\' จาก \'ผ้าลายอย่าง\' สมัยอยุธยา ฟื้นชีวิตสู่เศรษฐกิจชุมชน     อ.ปัทพงษ์ ชื่นบุญ

ผ้าลายอย่าง ผ้าลายนอกอย่าง ผ้าลายน้ำจืด

ยุครุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยา ราชสำนักส่งลวดลายไปอินเดียให้ทอตามแบบอย่างที่กำหนดแล้วส่งกลับ มีลักษณะผ้าเนื้อดี มีลวดลายสวยงามวิจิตร ไม่มีขายตามท้องตลาด ส่งผลให้ผ้าลายอย่างกลายเป็นผ้าชนิดพิเศษที่มีความแตกต่างจากผ้าลายที่มีจำหน่ายทั่วไป

\'จุฬาพัสตร์\' จาก \'ผ้าลายอย่าง\' สมัยอยุธยา ฟื้นชีวิตสู่เศรษฐกิจชุมชน “ยุคนั้นอินเดียเป็นผู้ผลิต สมัยอยุธยาเรายังไม่มีความชำนาญในกระบวนการทำผ้าลักษณะแบบนี้มาก่อน สยามเราจะนิยมการทอผ้าแล้วย้อมด้วยสีพื้นเรียบ ๆ แต่ไม่ถนัดในเรื่องการผลิตผ้าที่มีลวดลาย และสารเคมีบางอย่างที่มาจากพืช โลหะ หรือสารสังเคราะห์ สยามยังไม่มี แต่อินเดียมี เพราะเขาผลิตผ้าส่าหรี ผลิตผ้าที่ใช้ในพิธีกรรม เขาจึงมีภูมิปัญญาในเชิงความลับที่มีมาอย่างต่อเนื่อง

\'จุฬาพัสตร์\' จาก \'ผ้าลายอย่าง\' สมัยอยุธยา ฟื้นชีวิตสู่เศรษฐกิจชุมชน

พอเรารู้ว่าอินเดียทำได้เราก็เลยส่งผ้าพื้นไปให้อินเดีย โดยที่เราเป็นคนออกแบบลวดลาย เป็นแพทเทิร์นส่งให้อินเดียทำ บางครั้งใช้ผ้าฝ้ายจากสยาม บางครั้งก็ใช้ผ้าฝ้ายอินเดีย”

ยุคนั้นการทำลวดลายใช้เทคนิคการผลิตด้วยวิธีกั้นเทียนเขียนสี และการพิมพ์ลายจากแม่พิมพ์ไม้ หรือแม่พิมพ์โลหะ ลงบนผืนผ้าที่ทอจากวัสดุเส้นใยฝ้ายและไหม หลังจากผลิตแล้วส่งกลับมาขายให้ราชสำนักอยุธยา โดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากพระคลังสินค้า จึงทำให้ผ้าชนิดนี้ได้ชื่อว่า ผ้าลายอย่าง ซึ่งได้รับความนิยมต่อเนื่องมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

\'จุฬาพัสตร์\' จาก \'ผ้าลายอย่าง\' สมัยอยุธยา ฟื้นชีวิตสู่เศรษฐกิจชุมชน

“พอผลิตเสร็จส่งกลับมา ใช้เป็นเครื่องแบบของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ รวมถึงเครื่องแต่งกายของพระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงพระมหากษัตริย์ด้วย ดังนั้นสามัญชนทั่วไปใส่ไม่ได้ จะใส่ได้ก็ต่อเมื่อใช้ผ้าที่ผลิตขึ้นเอง

อย่างไรก็ตาม สยามทดลองทำผ้าด้วยตัวเอง แต่สีมันไม่จับเพราะเราไม่มีเทคนิคอย่างอินเดีย พอเอาไปซัก 2-3 ที ลายมันก็จางลง คนยุคนั้นเลยเรียกว่า ผ้าลายน้ำจืด ถือว่าเป็นผ้าอย่างเลว แต่ก็ใช้ตามปกติ

\'จุฬาพัสตร์\' จาก \'ผ้าลายอย่าง\' สมัยอยุธยา ฟื้นชีวิตสู่เศรษฐกิจชุมชน

ในขณะที่ชนชั้นปกครองใช้ผ้าสั่งนำเข้าจากอินเดีย สมัยนั้นถือว่าเป็นของนอก เรียกว่า ผ้าลายนอกอย่าง คือลายที่อินเดียเขาสอดไส้กลับมา เผื่อคนสยามจะชอบจะได้สั่งเขาต่อ แต่พอเป็นผ้าลายนอกอย่าง ไม่สามารถกำหนดเป็นเครื่องแบบในราชสำนักได้ ผ้าลายนอกอย่างเลยได้รับการอนุโลมให้คหบดี พวกเศรษฐี พอจะซื้อไปนุ่งได้ตามอัธยาศัย”

\'จุฬาพัสตร์\' จาก \'ผ้าลายอย่าง\' สมัยอยุธยา ฟื้นชีวิตสู่เศรษฐกิจชุมชน

ลวดลายวิจิตรบนผ้าลายอย่างสู่ผ้าจุฬาพัสตร์

อาจารย์ปัทพงษ์ เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ผ้าสมัยอยุธยาอย่างสนุก สอดแทรกความรู้ว่า ความจริงผ้าอินเดียเป็นต้นแบบให้กับลวดลายของผ้าสยาม เช่น ผ้าส่าหรี่ที่มีกรวยเชิงเหมือนกับผ้าลายอย่างบ้านเรา

“สมัยนั้นลวดลายหลัก ๆ เช่น ลายดอกไม้ 4 กลีบ หรือลายกุดั่น ลายดอกพิกุล ลายเกล็ดพิมเสน ลายเครือเถา ลายช่องกระจก ลายราชวัติ ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง ลายเทพนมก้านแย่ง ลายแก้วชิงดวง ลายสัตว์หิมพานต์ ซึ่งอย่างหลังนี้เป็นนิยมมากในราชสำนักสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ส่วนลายดอกไม้ 4 กลีบ ก็สืบขนบมาจากอินเดีย แต่ลายประจำยามก้ามปู และลายกรวยเชิงเป็นลักษณะของลายไทยโบราณ

\'จุฬาพัสตร์\' จาก \'ผ้าลายอย่าง\' สมัยอยุธยา ฟื้นชีวิตสู่เศรษฐกิจชุมชน ความจริงโครงสร้างของผ้าลายอย่าง มาจากงานประดับตกแต่งสถาปัตยกรรม ถ้าเราเข้าไปวัดโบราณสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์หรืออยุธยา ถ้ามองขึ้นไปด้านบนจะเห็นลายประดับเรียกว่า ลายดาวเพดาน แรงบันดาลใจมาจากช่างหลวงสมัยอยุธยา นำมาถ่ายทอดบนผ้าลายอย่าง”

อ.ปัทพงษ์ เสริมว่า ในบรรดาผ้าลายอย่าง 12 ผืน ทีมนักวิจัยค่อย ๆ ทยอยทำไปทีละรูปแบบ เลือกผ้าที่มีความเด่นชัดของลวดลาย ที่สามารถสื่อความหมายไปถึงคนรุ่นใหม่ได้

\'จุฬาพัสตร์\' จาก \'ผ้าลายอย่าง\' สมัยอยุธยา ฟื้นชีวิตสู่เศรษฐกิจชุมชน “เช่น ลายสัตว์หิมพานต์ ลายปลาดุกกับราชสีห์ ลายกินรี ลายเทพนม ลายประจำยามก้ามปู ดังนั้นในผ้าผืนหนึ่งสามารถให้ความรู้ที่เป็นสหวิทยาการที่หลากหลายได้

แล้วพอผลิตขายจริงใช้ชื่อแบรนด์ จุฬาพัสตร์ เราจดลิขสิทธิ์ในนามของมหาวิทยาลัย แต่เราให้ชุมชนนำไปใช้ได้ ตอนนี้จัดตั้งกลุ่มที่ชุมชนวัดย่านอ่างทอง มีประธานกลุ่มดูแลการผลิต

\'จุฬาพัสตร์\' จาก \'ผ้าลายอย่าง\' สมัยอยุธยา ฟื้นชีวิตสู่เศรษฐกิจชุมชน

สีเริ่มแรกใช้สีแดงกับสีส้ม เอามาทำกระเป๋าบะจ่าง ตอนนี้กำลังพัฒนาให้ร่วมสมัยขึ้น คนรุ่นใหม่นำไปประยุกต์ใส่ได้ หรือซื้อเป็นผืนไปตัดเย็บเอง รับพรีออเดอร์ ผ้านุ่ง 2,900 บาท ผ้าคลุมไหล่มี 3 สี ผืนละ 900 บาท

งานวิจัยผ้าจุฬาพัสตร์ใช้เวลา 2 ปี เพราะทุนวัฒนธรรมในท้องถิ่นเขามีอยู่แล้ว เพียงแต่เรามาทำให้เขามีลมหายใจขึ้นมาอีกครั้ง แทนที่จะเก็บผุพังอยู่ในตู้คัมภีร์ใบลาน เราก็นำมาต่อยอดฟื้นชีวิตผ้าให้กลับมาอีกครั้ง”