"ฉายา"ไม่ใช่ชื่อเล่น คำเรียก "ทีมฟุตบอล" ที่คนไทยเข้าใจ แต่ต่างชาติสงสัย

"ฉายา"ไม่ใช่ชื่อเล่น คำเรียก "ทีมฟุตบอล" ที่คนไทยเข้าใจ แต่ต่างชาติสงสัย

รวมเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยว่าด้วย "ฉายาทีมฟุตบอล" ที่เข้าใจเฉพาะคนไทย แต่ต่างชาติฟังแล้วอาจสงสัย เพราะนี่คือการตั้งฉายาคำเรียก ที่เชื่อมโยงประเทศเหล่านั้นกับสังคมไทย

ฝอยทอง, สิงโตคำราม, นักเตะจากฟาร์มโคนม, ทีมจอมโหด และอีก ฯลฯ คือฉายาที่คนไทยและสื่อไทยใช้เรียกทีมฟุตบอลในมหกรรมกีฬาอย่างฟุตบอลโลกมาตลอดหลายสิบปี

ฉายา” เรียกในภาษาอังกฤษว่า Pet name ซึ่งแตกต่างจากชื่อเล่น (Nickname)  โดยฉายานั้น มักถูกตั้งโดยเพื่อนฝูงคนสนิท เป็นชื่อที่ไม่เป็นทางการ ขณะที่ชื่อเล่นจะถูกตั้งโดยพ่อแม่ มีความเป็นทางการไม่ต่างจากชื่อจริง หากแต่ถูกทำให้สั้นลงและกระชับกว่า

การตั้งฉายา ในสังคมไทยมักแสดงออกถึงความสนิทและความเชื่อมโยง โดยบทความวิชาการ “ประเภทที่มาและรูปแบบการสร้างฉายาดาราไทย พ.ศ. 2553-2561” คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อธิบายตอนหนึ่งว่า ฉายาเป็นชื่อประเภทหนึ่งที่ตั้งขึ้นเพื่อใช้เรียกหรืออ้างถึงบุคคลโดยชื่อที่ตั้งขึ้นไม่ใช่ชื่อจริง ส่วนมากคนไทยมักตั้งฉายาให้กับบุคคลในวงการบันเทิง ได้แก่ นักแสดง นักร้อง พิธีกร เนื่องจากเป็นผู้มีชื่อเสียง คนในสังคมรู้จักและให้ความสนใจ

เช่นเดียวกับในสื่อกีฬา ซึ่งมีงานวิจัยจำนวนไม่น้อย สรุปว่า การนำเสนอข่าว โดยเฉพาะในสื่อหนังสือพิมพ์จะมีลักษณะการใช้ภาษาที่มีกฎเกณฑ์พิเศษ แตกต่างไปจากภาษาไทยมาตรฐาน ซึ่งกฎเกณฑ์เรื่องพื้นที่และเงื่อนไขของเวลา ทำให้หนังสือพิมพ์ต้องคิดหาถ้อยคำภาษาให้สื่อความหมายอย่างรวดเร็ว น่าสนใจ และเร้าอารมณ์ผู้อ่านได้

“ฉายา” หรือ “สมญานาม” จึงแตกต่างกับ “ชื่อเล่น” เพราะการจะนิยามมาได้ ต้องอาศัยศิลปะและกลวิธีอันแยบคายเพื่อให้คำเรียกนั้นติดหู และถึงตรงนี้ในบรรดาทีมที่เข้าแข่งขันฟุตบอลโลก เกือบทุกทีมก็ล้วนมีฉายาซึ่งสื่อไทยและสังคมไทยเข้าใจดี แต่กับพลเมืองประเทศอื่นอาจยังไม่เข้าใจ ซึ่ง “กรุงเทพธุรกิจออนไลน์” รวบรวมฉายาที่น่าสนใจดังนี้

  • ทีมฝอยทอง ทีมชาติโปรตุเกส "ฉายา"ไม่ใช่ชื่อเล่น คำเรียก "ทีมฟุตบอล" ที่คนไทยเข้าใจ แต่ต่างชาติสงสัย

นี่คือตัวอย่างแรก ที่เข้าใจกันดีเฉพาะสังคมไทยและสื่อไทย นั่นเป็นเพราะ“ฝอยทอง” เป็นหนึ่งในขนมหวานซึ่งมีรากฐานมาจากโปรตุเกส

เมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา ท้าวทองกีบม้า(ลูกครึ่งโปรตุเกส-ญี่ปุ่น ภริยาของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์) ได้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าห้องเครื่องต้น เป็นผู้ทำอาหารเลี้ยงต้อนรับคณะราชทูตจากฝรั่งเศสที่มาเยือนกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น และได้นำฝอยทองแพร่เข้ามาในประเทศไทย พร้อมกับทองหยิบและทองหยอด เช่นนี้ฝอยทองจึงเป็นความหมายของประเทศโปรตุเกสและทีมชาติโปรตุเกส

"ฉายา"ไม่ใช่ชื่อเล่น คำเรียก "ทีมฟุตบอล" ที่คนไทยเข้าใจ แต่ต่างชาติสงสัย

สำหรับคำเรียกของทีมชาติโปรตุเกสในสากลนั้น จะถูกเรียกว่า “Seleccao das Quinas” หรือในภาษาอังกฤษว่า Team of the Castles สื่อความหมายถึง “ทีมถูกเลือกมาแล้ว

  • ทีมสิงโตคำราม ทีมชาติอังกฤษ

"ฉายา"ไม่ใช่ชื่อเล่น คำเรียก "ทีมฟุตบอล" ที่คนไทยเข้าใจ แต่ต่างชาติสงสัย

สัญลักษณ์ของสมาคมฟุตบอลอังกฤษ ซึ่งอยู่บนหน้าอกเสื้อของทีมฟุตบอลปรากฎเป็นรูปสิงโตสามตัว หรือ “The Three Lions” และนี่ก็เป็นชื่อเล่นจริงๆ ของทีมฟุตบอลอังกฤษ แต่สำหรับแฟนบอลไทย การจะเรียกสิงโตสามตัวก็ดูจะธรรมดาไปนิด การใส่บุคลิกที่ดูดุดัน ห้าวหาญ ซึ่งเป็นสไตล์การเล่นของทีม ก็ดูจะเรียกอารมณ์ให้กับผู้อ่านได้เป็นอย่างดี  

  • พลพรรคแซมบ้า ทีมชาติบราซิล

“แซมบ้า” เป็นที่ยอมรับไปทั่วโลกว่าเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของประเทศบราซิลและงานคาร์นิวัลบราซิลคือหนึ่งในการแสดงออกทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุด จนกลายเป็นอัตลักษณ์แห่งชาติของบราซิล

"ฉายา"ไม่ใช่ชื่อเล่น คำเรียก "ทีมฟุตบอล" ที่คนไทยเข้าใจ แต่ต่างชาติสงสัย "ฉายา"ไม่ใช่ชื่อเล่น คำเรียก "ทีมฟุตบอล" ที่คนไทยเข้าใจ แต่ต่างชาติสงสัย คนไทยคุ้นเคยท่าเต้นแบบแซมบ้าในงานคาร์นิวัล ซึ่งเป็นงานที่เฉลิมฉลองและถูกแพร่ภาพไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย มากกว่านั้นคนไทยยังคุ้นเคยกับท่าเต้นฉลองชัย หรือฉลองการทำประตูได้ จากนักกีฬาทีมชาติบราซิลที่เห็นกันอยู่บ่อยๆ ซึ่งเมื่อประมวลทั้งหมด ขุนพลแซมบ้า หรือพลพรรคแซมบ้าจึงเป็นฉายาของ ทีมชาติบราซิลที่คนไทยเข้าใจ

สำหรับชื่อเล่นของทีมชาติบราซิลที่แท้จริงคือคำว่า “Selecao” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า The selection หมายถึง ผู้ถูกเลือก

  • ทีมจอมโหด ทีมชาติอุรุวัย / ขุนพลฟ้าขาว ทีมชาติอาเจนตินา

นี่น่าจะเป็นฉายาที่สื่อไทยตั้งขึ้นจากสไตล์การเล่นของฟุตบอลอเมริกาใต้ ที่ได้ชื่อว่าถึงลูกถึงคน เล่นหนัก จนได้ฉายาว่า “ทีมจอมโหด”  ทั้งๆที่ชื่อเล่น ของทีมชาติอุรุกวัย คือ “เซเลสเต้” ที่แปลว่า “สีฟ้า”

"ฉายา"ไม่ใช่ชื่อเล่น คำเรียก "ทีมฟุตบอล" ที่คนไทยเข้าใจ แต่ต่างชาติสงสัย ขณะที่ทีมชาติอาเจนตินา ฉายาที่คนไทยตั้งให้ค่อนข้างตรงกับชื่อเล่นที่เป็นสากล โดยฉายาของทีมชาติ อาร์เจนตินา คือ “อัลบิเซเลสเต้”  โดย Albi แปลว่าสีขาว Celeste แปลว่าสีท้องฟ้า ฉายา “ฟ้าขาว” ของทีมชาติอาร์เจนตินาจึงมาจากสีธงชาติและสีเสื้อชุดเหย้าแบบตรง ๆ นั่นเอง

  • ทีมโคนม ทีมชาติเดนมาร์ก

"ฉายา"ไม่ใช่ชื่อเล่น คำเรียก "ทีมฟุตบอล" ที่คนไทยเข้าใจ แต่ต่างชาติสงสัย

ฉายาของทีมชาติเดนมาร์กในภาษาแดนิชคือ De Rød-Hvide  ที่แปลตรง ๆ ว่า แดง-ขาว ตามสีธงชาติของพวกเขา แต่คนไทยเรียก “ทีมโคนม” เพราะการมีองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)  ซึ่งมีที่มาจาก ความร่วมมือช่วยเหลือทางวิชาการการเลี้ยงโคนม ระหว่างรัฐบาลเดนมาร์คกับรัฐบาลไทย จนเป็นผลิตภัณฑ์นมไทย-เดนมาร์ก เช่นในปัจจุบัน

"ฉายา"ไม่ใช่ชื่อเล่น คำเรียก "ทีมฟุตบอล" ที่คนไทยเข้าใจ แต่ต่างชาติสงสัย

ตราสัญลักษณ์ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย

อื่นๆ ได้แก่ ทีมกระทิงดุ ทีมชาติสเปน ชื่อเล่นจริง La Roja ซึ่งแปลได้ว่า ‘สีแดง’

ทีมชาติ แคเมอรูน – Les Lions Indomptables คนไทยเรียก “ทีมหมอผี”

ทีมชาติฝรั่งเศส  – les Bleus หมายถึง "สีน้ำเงิน"  คนไทยเรียก “ทีมตราไก่”

ทีมเม็กซิโก – el Tri mexico  แปลว่า "3 สี" ซึ่งหมายถึงจำนวนสีบนธงชาติ คนไทยเรียก “ทัพจังโก้”

เนเธอร์แลนด์ – Oranje ซึ่งมาจากราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซา ซึ่งปกครองประเทศเนเธอร์แลนด์มายาวนาน คนไทยเรียก "อัศวินสีส้ม" และ “กังหันสีส้ม”

"ฉายา"ไม่ใช่ชื่อเล่น คำเรียก "ทีมฟุตบอล" ที่คนไทยเข้าใจ แต่ต่างชาติสงสัย

อ้างอิง : "สมญานามวงการกีฬาที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์สยามกีฬารายวัน ระหว่างเดือนกันยายน 2552 - มีนาคม 2553" มหาวิทยาลัยศิลปากร

ประเภทที่มาและรูปแบบการสร้างฉายาดาราไทย พ.ศ. 2553-2561” คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

Qatar 2022 - Team Nicknames