5 "ผักฤดูหนาว" กินแก้หนาว ป้องกันหวัด "เสริมภูมิต้านทาน"

5 "ผักฤดูหนาว" กินแก้หนาว ป้องกันหวัด "เสริมภูมิต้านทาน"

โควิดยังไม่จากไปง่าย ๆ เมื่อบวกกับฤดูหนาว อากาศเย็น ร่างกายเจ็บป่วยง่ายจึงต้อง "เสริมภูมิต้านทาน" ด้วย “5 ผักฤดูหนาว”

ผักฤดูหนาว หมายถึงพืชผักที่เติบโตพอดีกินในช่วงอากาศเย็น คนโบราณบอกว่า เมื่ออากาศเปลี่ยน ลมเย็นแรงและแห้ง ร่างกายกระทบความเย็นทำให้เจ็บป่วยง่าย จึงควรเพิ่มฤทธิ์ร้อนด้วยพืชผักที่เติบโตตามสภาพอากาศ สะสมธาตุอาหารที่เหมาะสมสำหรับคนในแต่ละภูมิภาค

คนเมืองหนาวมีผักหน้าหนาว ได้แก่ ผักตระกูลกะหล่ำ พืชกินหัวต่าง ๆ เช่น แรดิช พาร์สนิป บีทรูท แครอท สวิสชาร์ด มะเขือเทศ หอมใหญ่ ฯลฯ

คนไทยก็มีผักพื้นถิ่นฤดูหนาว ได้แก่ สะเดา ดอกแค ฟักข้าว มะรุม มะระ มะเขือยาว มะเขือเปราะ ตะลิงปลิง ลูกเหรียง กะเพรา พริกหวาน ผักปลัง ฯลฯ เป็นผักตามฤดูกาล กินเสริมภูมิต้านทาน

5 \"ผักฤดูหนาว\" กินแก้หนาว ป้องกันหวัด \"เสริมภูมิต้านทาน\"

    (Cr.gardeningchores.com)

เมื่อลมหนาวมาจึงควรกิน 5 ผักฤดูหนาว ป้องกันหวัด เสริมภูมิต้านทานร่างกาย

กินผักตามฤดูกาลดีอย่างไร :

- ราคาย่อมเยา เพราะเกษตรกรไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงเยอะ และสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกผักตามฤดู ช่วยลดการปลูก “ผักนอกฤดู”

- รสชาติอร่อย สด หวาน ตามธรรมชาติ

- มีสารอาหารสูง ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างเต็มที่

5 \"ผักฤดูหนาว\" กินแก้หนาว ป้องกันหวัด \"เสริมภูมิต้านทาน\"    กะหล่ำดาว (Cr.acouplecook.com)

5 ผักฤดูหนาว 

1   กะหล่ำดาว (Brussels Sprouts) หรือกะหล่ำปลีจิ๋ว มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก ได้แก่ ฟลาโวนอยด์, คลอโรฟิลล์ ช่วยปกป้องเซลล์ กะหล่ำดาว 1 ถ้วย มีวิตามินซี 97 มก. ป้องกันหวัด ช่วยสร้างคอลลาเจน และช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก ยังมีวิตามินเอ, เค

เป็นพืชที่มีโปรตีน ไฟเบอร์ กรดไขมันโอเมก้า-3 เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ต้านมะเร็ง เป็น ซูเปอร์ผัก กินอร่อยในฤดูหนาว

5 \"ผักฤดูหนาว\" กินแก้หนาว ป้องกันหวัด \"เสริมภูมิต้านทาน\"    กะหล่ำดาวเป็นซูเปอร์ผัก (Cr.lovethegarden.com)

นอกจากนี้ผักตระกูลกะหล่ำอื่น ๆ เช่น ดอกกะหล่ำ, บร็อกโคลี, ผักเคล ให้สารอาหารทรงคุณค่าไม่แพ้กัน และควรรับประทานแบบปรุงสุก

ข้อควรระวัง กะหล่ำดาวอาจก่อให้เกิดอาการแพ้อาหารได้ และคนที่แพ้กะหล่ำปลี มัสตาร์ด และลูกพีชมีโอกาสแพ้กะหล่ำดาวได้เช่นกัน นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นโรคไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) ควรหลีกเลี่ยงกินกะหล่ำดาวดิบ และผักตระกูลกะหล่ำไม่ควรกินมากเกินไป เพราะกะหล่ำดาวมีสารกอยโตรเจน (Goitrogen) ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ 

5 \"ผักฤดูหนาว\" กินแก้หนาว ป้องกันหวัด \"เสริมภูมิต้านทาน\"     (Cr.gardeningchorous.com)

2     ถั่วลันเตา (green pea, sweet pea) ถั่วลันเตา 1 ถ้วย (160 กรัม) โปรตีน 9 กรัม, วิตามินเอ ซี และเค ไรโบฟลาวิน ไธอามี ไนอะซิน และโฟเลท ล้วนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีวิตามินบี 12 และสารเลซิทิน ช่วยการทำงานของระบบประสาท และมีไฟเบอร์ 9 กรัม ช่วยดูแลระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ และสารซาโปนิน มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง

5 \"ผักฤดูหนาว\" กินแก้หนาว ป้องกันหวัด \"เสริมภูมิต้านทาน\"    ผักตระกูลกะหล่ำกับถั่วลันเตา เมนูน่ากินในหน้าหนาว (Cr.thespruceeats.com)

ถั่วลันเตาเป็นแหล่งโปรตีนสำหรับชาววีแกน เสริมสร้างการทำงานของกระดูก กล้ามเนื้อ และผิวหนัง มีเส้นใยดูแลการขับถ่าย ป้องกันมะเร็งลำไส้ สารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ ฟลาโวนอยด์ แคโรทีน และวิตามินซี ช่วยลดคอเลสเตอรอล ป้องกันเบาหวาน ต้านการอักเสบของเซลล์ ป้องกันโรคเบาหวาน

ข้อควรระวัง คนที่มีลมในกระเพาะมากควรกินอย่างเหมาะสม เพราะอาจทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะ ท้องอืดหรือเรอบ่อย และเป็นผักที่มีคาร์โบไฮเดรตมากกว่าผักชนิดอื่น กินมากไปอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาล

5 \"ผักฤดูหนาว\" กินแก้หนาว ป้องกันหวัด \"เสริมภูมิต้านทาน\"    หอมใหญ่ผัด (Cr.allrecipes.com)

3    หอมหัวใหญ่ มีฤทธิ์อุ่น กลิ่นฉุน ให้รสเผ็ดร้อน กินสดให้คุณค่าสารอาหารมากกว่าปรุงสุก แพทย์แผนจีนถือว่าเป็นผักสมุนไพร มีสรรพคุณทางยา ช่วยขับความเย็น ทำให้เกิดพลังหยาง ช่วยกำจัดพิษและปัจจัยที่กระทบจากภายนอกเนื่องจากความเย็น แต่ไม่มีฤทธิ์บำรุงหยาง และไม่ควรบริโภคติดต่อกันนานเกินไป

หอมใหญ่ อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง เช่นมีวิตามินซีและสารเควอซิทีน ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ความดัน คอเลสเตอรอล ช่วยยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งบางชนิด

5 \"ผักฤดูหนาว\" กินแก้หนาว ป้องกันหวัด \"เสริมภูมิต้านทาน\"    พืชกินหัวเป็นผักฤดูหนาวของคนเมืองหนาว (Cr.simplyrecipes.com)

สารอัลลิโพรพีไดซัลไฟด์ในหอมใหญ่ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันเบาหวาน สารฟลาโวนอยด์ช่วยป้องกันไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือด ยังมีแคลเซียม ช่วยเสริมการทำงานของเม็ดเลือดขาว

หอมหัวใหญ่ประโยชน์เยอะ เปลือกเอามาทำชาชงดื่ม บางคนใช้เนื้อหอมใหญ่ต้ม อาจผสมใบชานิดหน่อย ชงดื่มบำรุงสุขภาพ

5 \"ผักฤดูหนาว\" กินแก้หนาว ป้องกันหวัด \"เสริมภูมิต้านทาน\"    ก้านเซเลอรี (Cr.harvesttotable.com)

4    เซเลอรี (celery) คึ่นช่าย, ขึ้นฉ่าย ของจีนหรือของฝรั่งล้วนอุดมด้วยแอนตี้ออกซิแดนท์ เสริมภูมิคุ้มต้านทาน ป้องกันหวัด ใบมีวิตามินเอ บี ซี อี เค เบต้าแคโรทีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก ไฟเบอร์ และแร่ธาตุต่าง ๆ มีสารโพลีฟีนอลช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งบางชนิด ใบและก้านช่วยลดคอเลสเตอรอล ลดความดัน ช่วยทำความสะอาดหลอดเลือด เชื่อว่าเป็นผักปัดกวาดสารพิษ

5 \"ผักฤดูหนาว\" กินแก้หนาว ป้องกันหวัด \"เสริมภูมิต้านทาน\"    น้ำคั้นเซเลอรี (Cr.acouplecook.com)

งานวิจัยยุคใหม่บอกว่าช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ น้ำคั้นคึ่นช่ายช่วยให้หลับสบาย แต่ควรระวังไม่ควรบริโภคมากไปจะมีผลทำให้ปริมาณอสุจิลดลง

คึ่นช่าย มีกลิ่นฉุนแต่มีกลิ่นเฉพาะตัวทำให้อาหารอร่อยขึ้น กินสดในยำ ต้ม ผัด นึ่ง ในอาหารจีนหรืออาหารฝรั่ง และเป็นหนึ่งในวัตถุดิบสำคัญทำน้ำสต็อกผัก เมียร์พัวซ์ (mirepoix) ได้แก่ เซเลอรี แครอท หอมใหญ่

5 \"ผักฤดูหนาว\" กินแก้หนาว ป้องกันหวัด \"เสริมภูมิต้านทาน\"    ควรมีขิงติดครัว (Cr.acouplecook.com)

5    ขิง เป็นผักและสมุนไพรคู่ครัว คนจีนใช้ขิงทำอาหารหลายอย่าง โดยเฉพาะเมื่อร่างกายกระทบความเย็น โดนฝน โดนลมหนาว จะให้ดื่ม “น้ำขิง" ป้องกันหวัด แก้อาการไม่สบายตัว ปวดท้อง ปวดหัว ปวดประจำเดือน ท้องอืด อาหารไม่ย่อย แก้คลื่นไส้อาเจียน ฯลฯ

การแพทย์แผนไทยบรรจุ ขิง เป็นสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ มีรสร้อน กลิ่นฉุนเฉพาะ มีสารของกลุ่มน้ำมันหอมระเหย ใช้ทำยาและเป็นส่วนประกอบสำคัญรักษาโรคต่าง ๆ เช่น บรรเทาอาการปวดข้อ ช่วยลดความดันโลหิต ป้องกันเลือดแข็งตัวเป็นลิ่ม และป้องกันอีกสารพัดโรค คนจีนบอกว่าขิงเป็นยาอายุวัฒนะ

5 \"ผักฤดูหนาว\" กินแก้หนาว ป้องกันหวัด \"เสริมภูมิต้านทาน\"    น้ำขิงช่วยให้สบายท้อง (Cr.epicurious.com)

ช่วงโควิด ขิงเป็นส่วนผสมสำคัญในอาหารและยาต้านไวรัส ช่วยลดความรุนแรงจากการอักเสบของปอดและการขาดออกซิเจน

รสเผ็ดร้อนและกลิ่นหอมของขิงช่วยเจริญอาหาร มีวิตามินแร่ธาตุหลายชนิด และเส้นใย เป็นสมุนไพรที่ควรมีไว้ติดบ้านช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ขิงแก่ยิ่งให้รสเผ็ดร้อน ดังนั้นควรกินปริมาณพอดี ๆ คนมีหยางมากหรือร่างกายร้อนเป็นทุนเดิมควรรับประทานพอประมาณ

5 \"ผักฤดูหนาว\" กินแก้หนาว ป้องกันหวัด \"เสริมภูมิต้านทาน\"    (Cr.tasteofhome.com)

WHO (องค์การอนามัยโลก) บอกว่าควรกินผักทุกวัน กินทุกมื้อด้วยยิ่งดี แนะนำปริมาณ 400 กรัมต่อวัน หรือ 4-6 ทัพพี เช่นเดียวกับที่ สสส.แนะ “สูตรกินผัก” คือ 2-1-1 คือผัก 2 ส่วน, คาร์โบไฮเดรต (ชั้นดี) 1 ส่วน, เนื้อ (หรือโปรตีน) 1 ส่วน