“กิมจิ” มี "พรีไบโอติก" เป็น “อาหารดูแลลำไส้”

“กิมจิ” มี "พรีไบโอติก" เป็น “อาหารดูแลลำไส้”

"สงครามกิมจิ” ระหว่างจีนกับเกาหลีอาจหาข้อยุติไม่ได้ และตอนนี้ราคากิมจิแพงขึ้น แต่ถ้ากิน “อาหารเกาหลี” ก็ต้องมี “กิมจิ" กินคู่กันช่วยชูรสและเป็น "อาหารดูแลลำไส้"

เพราะ กิมจิ มี โพรไบโอติก เป็น อาหารดูแลลำไส้ โพรไบโอติกเป็นอาหารของ พรีไบโอติก คือเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่อยู่ภายในลำไส้ของมนุษย์ หากมีปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยลดปัญหาสุขภาพและเสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย

การศึกษายุคใหม่ ระบุว่า ในแต่ละวันเราควรกินอาหารที่มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ จนมีคำกล่าวว่า ร่างกายที่แข็งแรงเริ่มจากลำไส้ที่แข็งแรง

“กิมจิ” มี "พรีไบโอติก" เป็น “อาหารดูแลลำไส้” กิมจิทำอาหารได้หลากหลาย (Cr: seriouseats.com)

กิมจิ คือ ผักดอง ต้องชี้ชัดว่าเป็น ผักดองเกาหลี เมื่อหลายเดือนก่อนชาวเน็ตจีนและเกาหลีทำสงครามกิมจิ ในโซเชียล เถียงกันว่า ผักดองของใครเกิดก่อน

และตอนนี้ ผักกาดในเกาหลีขาดตลาด ผลผลิตไม่พอเพราะโลกร้อน จึงต้องนำเข้าจากจีนคือนำเข้าเป็นกิมจิสำเร็จ คนจีนเลยเคลมว่า กิมจิ (จีน) ผ่าน ISO เป็นผู้ครองตลาดกิมจิ

ถ้ามองย้อนประวัติศาสตร์ เกาหลีเคยเป็นส่วนหนึ่งของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น ก่อนจะปกครองตนเองราวปี ค.ศ.313 ย่อมได้รับอิทธิพลจากจีน ก่อนหน้านี้จีนเคยออกมาพูดว่า “ชุดฮันบก” ของเกาหลีก็มาจากจีน ทำสงครามฮันบกไปยกหนึ่ง...

“กิมจิ” มี "พรีไบโอติก" เป็น “อาหารดูแลลำไส้” ข้าวผัดกิมจิ (Cr: carmy.com)

คนเกาหลีบอกว่า กิมจิ (kimchi) เป็นมรดกทางวัฒนธรรม สะท้อนวิถีชีวิตเกาหลี อยู่ในอาหารเกาหลีที่ “ขาดไม่ได้” กระทรวงเกษตรเกาหลี ส่งเสริมเป็นสินค้า GI มาหลายสิบปี และบอกว่า กิมจิ ก็คือ  김치 ไม่ใช่ “พ่าวช่าย” 泡菜 ผักดองแบบจีน เพราะกิมจิ อุดมด้วยพริกป่นสีแดง ๆ ในขณะที่ “พ่าวช่าย” มักดองในน้ำเกลือ น้ำตาล น้ำส้มสายชู

“กิมจิ” มี "พรีไบโอติก" เป็น “อาหารดูแลลำไส้” กิมจิแตงกวา (Cr: allrecipes.com)

คนจีนก็โต้ว่า พ่าวช่ายของจีนที่ดองกับพริกก็มีเป็นสไตล์เสฉวน และต้องกินกับอาหารเสฉวนเท่านั้น และไม่ถึงกับเป็นผักดองที่ “ขาดไม่ได้” ดังนั้น กิมจิ จึงมาจากจีน

คนเกาหลีก็สู้กลับ ไปค้นคว้าหาหลักฐาน รวมถึงหาโอ่งดินเผาโบราณที่ใช้ดองกิมจิ บอกว่า คนเกาหลีทำกิมจิ (ที่มีพริกเยอะ) มีเอกสารการเพาะปลูกพริก ในยุคสามอาณาจักรเกาหลี หรือราว 1,500 ปีก่อน

“กิมจิ” มี "พรีไบโอติก" เป็น “อาหารดูแลลำไส้”

กิมจิเกาหลี (Cr: OlkhichaAppa on Wikipedia)

อีกทั้ง กิมจิ ของเกาหลีไม่เหมือนจีน และไม่เหมือนญี่ปุ่น เรียกว่า tsukemono - 漬物 ที่ดองในน้ำเกลือ, น้ำตาล, น้ำส้มสายชู กิมจิมีมานานแล้วไม่ใช่มาจากชาวญี่ปุ่นที่นำพริกเข้ามา

 

 

 

 

“กิมจิ” มี "พรีไบโอติก" เป็น “อาหารดูแลลำไส้”

ส่วนผสมทำกิมจิ (Cr: eatingwell.com)

ดังนั้น ขอให้เปลี่ยนความเข้าใจใหม่ว่า กิมจิ (ที่มีพริก) ไม่ใช่มาจากชาวญี่ปุ่นที่เคยยึดครองเกาหลีเมื่อปี 1592 ที่อ้างว่าญี่ปุ่นนำมาจากชาวโปรตุเกสอีกต่อหนึ่ง

หลักฐานการกินพริกในไทยก็บันทึกว่า พริกมาจากชาวโปรตุเกส ที่เข้ามาค้าขายในไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา

“กิมจิ” มี "พรีไบโอติก" เป็น “อาหารดูแลลำไส้” กิมจิแบบไม่เผ็ด (Cr: commonsensehome.com)

ผักดอง เป็นการถนอมอาหารที่คนโบราณทำกันมาทุกภูมิภาค โดยเฉพาะคนเมืองหนาวที่ไม่มีพืชผักกินในสภาพอากาศหนาวเย็น เป็นภูมิปัญญาของคนยุคก่อนที่รู้ว่าอาหารหมักดองมีประโยชน์ นอกจากกินอร่อย และเชื่อว่าช่วยบำรุงสุขภาพ

ขนาดเมืองไทยร้อนระอุ เรายังมีผัก-ผลไม้ดอง ปลาร้า ปลาจ่อม ปลาส้ม ฯลฯ กินชูรส เปลี่ยนรสชาติ ทำให้อาหารอร่อยขึ้น เหตุผลสำคัญคือเสียดายอาหารที่จะเน่าเสียไปเปล่า ๆ

“กิมจิ” มี "พรีไบโอติก" เป็น “อาหารดูแลลำไส้” (Cr: seriouseats.com)

กิมจิ มีกี่ชนิด

บางคนบอก 200 บางคนบอกนับพัน นักสืบสายอาหารบอกว่า กิมจิ ที่มีมานานนับพันปีที่ได้รับการจดบันทึกจริง ๆ เกิดขึ้นราวศตวรรษที่ 7

- สมัยอาณาจักรโครยอ (ค.ศ.918-1392) สูตรกิมจิดองกับซอสถั่วเหลือง

- ยุคอาณาจักรโชซ็อน (ค.ศ.1392-1897) ดองกับเกลือ, เหล้า ต่อมาใส่ปลาหมัก ลูกแพร์ แอปเปิ้ล

“กิมจิ” มี "พรีไบโอติก" เป็น “อาหารดูแลลำไส้”

กิมจิเบอร์ริโต้ (Cr: feastingathome.com)

 

กิมจิที่มีหลัก ๆ คือ

  • กิมจิผักกาดขาว (แพชูกิมจิ)
  • กักดูกี (หัวผักกาด)
  • นาปักกิมจิ คือกิมจิแบบน้ำ เติมน้ำลงหมัก ใส่ลูกแพร์หรือแอปเปิ้ลให้เกิดรสหวาน
  • กิมจิแตงกวา
  • กิมจิสีขาว ใช้แต่หัวผักกาดขาวไม่ใส่พริกป่น

 

ผักทุกชนิดทำกิมจิได้

ผักกาดขาวเป็นหลัก ตามด้วยกะหล่ำปลี แครอท หัวไช้เท้า หอมใหญ่ ต้นหอม แตงกวา สูตรบ้านใครก็บ้านมัน แต่ละบ้าน ทำกิมจิ ใส่กล่องเก็บไว้ในตู้เย็น จะใส่ไหดินเผาฝังดินก็ได้ หิวก็แค่คลุกกิมจิกินกับข้าวสวย อร่อยแล้ว...

“กิมจิ” มี "พรีไบโอติก" เป็น “อาหารดูแลลำไส้”      กิมชิหัวไช้เท้า (Cr: oppacookshere.com)

สูตรหมักกิมจิ

สูตรหมักกิมจิบ้านใครบ้านมัน ได้แก่

  • แป้งข้าวเหนียว
  • กระเทียม
  • ขิง
  • หอมหัวใหญ่
  • สาลี่
  • ลูกแพร์
  • แอปเปิ้ล
  • น้ำ
  • น้ำตาล
  • เกลือ
  • พริกป่นเกาหลี
  • ซอสถั่วเหลือง
  • น้ำปลาหมัก
  • หอย
  • ปลาหมึก ฯลฯ

พริกในกิมจิ ทำให้กิมจิเป็นผักดองที่มีเอกลักษณ์ รสเผ็ดของพริกช่วยชูรส แก้เลี่ยน กินกิมจิกับข้าวเปล่าก็ได้ ต้มทำซุป ผัด ต้ม ตุ๋น ได้หมด ช่วยให้ผักสดกรอบ และอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินบีโคลิน, วิตามินซี, วิตามินเค, เบต้าแคโรทีน, กรดโฟเลท, โปตัสเซียม, แคลเซียม

“กิมจิ” มี "พรีไบโอติก" เป็น “อาหารดูแลลำไส้”     กิมจิแตงกวา (Cr: poshplate.com)

กิมจิ เป็น อาหารดูแลลำไส้ งานวิจัยยุคใหม่ใช้ โพรไบโอติก รักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ เช่น ท้องเสีย ท้องอืด อาหารไม่ย่อย โรคลำไส้แปรปรวน และเชื่อว่าช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน จากการศึกษาพบว่าระบบภูมิคุ้มกันส่วนใหญ่อยู่บริเวณระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นแหล่งที่มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลากหลาย

นอกจากนี้ยังมีการทดลองใช้ กิมจิ ที่มีเชื้อจุลินทรีย์ชนิดที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ได้รับโพรไบโอติกที่ช่วยลดอาการของโรคภูมิคุ้มกันบางประเภท ที่ทำให้เกิดการอักเสบตามร่างกาย เช่น โรคไขข้ออักเสบรูมาตอยด์

“กิมจิ” มี "พรีไบโอติก" เป็น “อาหารดูแลลำไส้”      ซุปกิมจิ (Cr: taste.com.au)

ยังมีการศึกษาพบว่า โพรไบโอติกอาจเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ลดความรุนแรงและระยะเวลาการป่วยจากโรคติดเชื้อ อย่างโรคไข้หวัด (Common Cold) รวมทั้งอาจช่วยบรรเทาอาการและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราบริเวณช่องคลอดเพศหญิงได้อีกด้วย

 

กิมจิช่วยลดไขมันสะสม

น้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และต้านสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ จึงมักแนะนำให้กินกิมจิ หรืออาหารที่มีโพรไบโอติก กินอย่างพอดี ๆ ช่วยลดความรุนแรงจากการอักเสบที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ

“กิมจิ” มี "พรีไบโอติก" เป็น “อาหารดูแลลำไส้”    ซุปกิมจิใส่เต้าหู้ (Cr: eatingwell.com)

ข้อควรระวัง :

กินกิมจิ แต่พอดี ๆ กินมากไปอาจเกิดผลข้างเคียง เช่น ท้องเสีย อาหารไม่ย่อย และเลือกกิมจิที่สะอาด ปลอดภัย โซเดียมต่ำ ไม่เค็มหรือเผ็ดจนลิ้นรับไม่ได้

อ้างอิง : poppad.com, dek-d.com, sciencedirect.com