ปิดตำนานครูบ้านนอก "ปิยะ ตระกูลราษฎร์" เสียชีวิต ด้วยโรคมะเร็ง

ปิดตำนานครูบ้านนอก "ปิยะ ตระกูลราษฎร์" เสียชีวิต ด้วยโรคมะเร็ง

เรื่องเศร้าคนบันเทิง ปิดตำนานครูบ้านนอก "ปิยะ ตระกูลราษฎร์" ดาราตุ๊กตาทอง เสียชีวิตอย่างสงบด้วยโรคมะเร็ง สิริอายุ 68 ปี

เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 65 เพจ ดาราภาพยนตร์ โพสต์ข่าวเศร้า นับเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญอีกครั้งของวงการบันเทิงและวงการเพลง รวมถึงวงการมวย กับการจากไปของ ปิยะ ตระกูลราษฏร์ เจ้าของรางวัลตุ๊กตาทองดารานำชายจากภาพยนตร์เรื่อง เทพเจ้าบ้านบางปูน ซึ่งมีผลงานฝากไว้ในการมากมายทั้งบทเพลงที่กลั่นน้ำตามาเป็นเพลงดังๆ ให้สายัณห์ สัญญา ขับร้อง เช่นเพลง ไก่จ๋า หนึ่งปีที่ทรมาน หรือเพลง ศึกอัศวินดำ ที่โด่งดังทั่วประเทศ เสียชีวิตอย่างสงบ หลังป่วยโรคมะเร็งและรักษาตัวมาอย่างยาวนานที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าเมื่อช่วงบ่าย เวลา 13.50 น ของวันนี้ (2 พ.ย.65) ด้วยวัย 68 ปี 

ปิดตำนานครูบ้านนอก \"ปิยะ ตระกูลราษฎร์\" เสียชีวิต ด้วยโรคมะเร็ง

 

 

ปิยะ ตระกูลราษฎร์ (12 พฤษภาคม พ.ศ. 2497) เป็นทั้งนักแสดง นักแต่งเพลง และนักพากย์มวย มีชื่อเสียงจากบทบาทครูในภาพยนตร์เรื่อง ครูบ้านนอก (2521) และงานแต่งเพลงลูกทุ่ง โดยเฉพาะเพลง "ไก่จ๋า"ปิยะ เกิดที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เรียนจบชั้น ม.ศ. 5 แล้วก็เข้ากรุงเทพฯ มาเป็นเด็กวัดพระพิเรนทร์ เคยเป็นช่างตัดผม รับจ้างแบกของในตลาดสด ขับรถสามล้อถีบ ปี 2516 เริ่มเข้าสู่วงการภาพยนตร์ด้วยการแสดงเป็นตัวประกอบหางแถวประเภทโป้งเดียวจอด รอคอยงานอยู่แถวหลังเฉลิมกรุง เช่นเรื่อง นี่หรือชีวิต (สมบัติ) แต่ที่แสดงแล้วมีชื่อเป็นที่รู้จักก็คือ มนต์รักแม่น้ำมูล (2520 สมบัติ-นัยนา-เนาวรัตน์) สร้างโดย ดวงกมลมหรสพ ของ กมล กุลตังวัฒนา โดยในเรื่องปิยะได้บทเป็นพระรอง มนต์รักแม่น้ำมูล ประสบความสำเร็จเกินคาด ทำให้กมลตัดสินใจที่จะสร้างภาพยนตร์แนวสะท้อนปัญหาสังคมไทยในเรื่อง ครูบ้านนอก บทประพันธ์ของ คำหมาน คนไค โดยผลักดันให้ สุรสีห์ ผาธรรม ผู้ช่วยผู้กำกับเรื่อง มนต์รักแม่น้ำมูล ขึ้นมาเป็นผู้กำกับการแสดง แต่พระเอกของเรื่องนั้น กมลเลือกปิยะขึ้นมาเป็นพระเอกท่ามกลางเสียงคัดค้าน แถมนางเอกก็ยังหน้าใหม่อีก หลายคนในทีมงานเริ่มไม่แน่ใจในอนาคตของครูบ้านนอกเพราะหน้าหนังขายไม่ได้ มีแต่เพียงกมลเท่านั้นที่เชื่อว่า ต้องขายได้

ปิดตำนานครูบ้านนอก \"ปิยะ ตระกูลราษฎร์\" เสียชีวิต ด้วยโรคมะเร็ง

ปิยะ ตระกูลราษฎร์ เกิดที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่บ้านมีฐานะยากจน จึงจบการศึกษาชั้น ม.ศ.5 แล้วมาทำงานอยู่ในกรุงเทพ เคยเป็นลูกศิษย์วัด เป็นช่างตัดผม รับจ้างแบกของในตลาด ขับรถสามล้อถีบ เริ่มเข้าสู่วงการจากการเป็นตัวประกอบภาพยนตร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 โดยภาพยนตร์เรื่องแรกที่ได้แสดงในฐานะตัวประกอบคือเรื่อง นี่หรือชีวิต ภาพยนตร์ขนาด 70 มม. เรื่องแรกของเมืองไทยจากการกำกับของ ชุติมา สุวรรณรัต ซึ่งนำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี และ ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา โดยปิยะรับบท บุรุษพยาบาลเข็นศพ

ปิยะ รับบทนำครั้งแรกในปี พ.ศ. 2521 จากภาพยนตร์สะท้อนปัญหาสังคมเรื่อง ครูบ้านนอก กำกับโดยสุรสีห์ ผาธรรม จากบทประพันธ์ของ คำหมาน คนไค แสดงคู่กับ วาสนา สิทธิเวช ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้เป็นอย่างมาก จนได้แสดงภาพยนตร์ในแนวนี้อีกหลายเรื่อง

ปิยะ ตระกูลราษฎร์ เป็นเพื่อนสนิทสนมกับ สายัณห์ สัญญา เคยแต่งเพลงให้สายัณห์ร้องหลายเพลง ที่มีชื่อเสียงคือเพลง "ไก่จ๋า" ซึ่งพรรณนาถึงความรักที่มีต่อนักแสดงสาว ปริศนา วงศ์ศิริ เป็นที่เลื่องลือในขณะนั้น ปิยะมีผลงานแต่งเพลงประมาณ 500 เพลง ให้กับนักร้อง เช่น วันชนะ เกิดดี เอกชัย ศรีวิชัย ช่วงหลังผันตัวมาเป็นนักพากย์มวยรายการศึกอัศวินดำ (อัศวินดำก่อเกียรติ)

ผลงานภาพยนตร์

  • นี่หรือชีวิต (2516)
  • ครูบ้านนอก (2521)
  • มนต์รักแม่น้ำมูล (2521)
  • 7 สิงห์ตะวันเพลิง (2522)
  • มนุษย์ 100 คุก (2522)
  • ลูกทาส (2522)
  • ทุ่งรวงทอง (2522)
  • ส.ต.ท.บุญถึง (2522)
  • หนุ่มบ้านนา สาวนาเกลือ (2523)
  • ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ (2523)
  • สู้ยิบตา (2523)
  • ลูกแม่มูล (2523)
  • เสี่ยวอีสาน (2523)
  • นักเลงบั๊กซิเด๋อ (2523)
  • ครูวิบาก (2524)
  • สาวน้อย (2524)
  • สันกำแพง (2524)
  • สวรรค์เบี่ยง (2524)
  • ทุ่งกุลาร้องไห้ (2524)
  • คุณรักผมไหม (2525)
  • มนต์รักลำน้ำพอง (2525)
  • เทพเจ้าบ้านบางปูน (2525)
  • ครูดอย (2525)
  • นักเลงข้าวนึ่ง (2526)
  • เพื่อนแพง (2526)
  • สวรรค์บ้านนา (2526)
  • นางสิงห์แก้มแดง (2526)
  • ไม้เรียวหัก (2527)
  • ครูปิยะ (2527)
  • 10 คงกระพัน (2527)
  • ครูชายแดน (2527)
  • ยอดนักเลง (2527)
  • หมอบ้านนอก (2528)
  • ด่วนยะลา (2530)
  • ฟลุ๊กแบบไม่ต้องโหด (2533)
  • ชู้ (2547)
  • อีนางเอ๊ย เขยฝรั่ง (2554)
  •  i love you ผู้ใหญ่บ้าน (2559)
  • นาคี ๒ (2561)

ปิดตำนานครูบ้านนอก \"ปิยะ ตระกูลราษฎร์\" เสียชีวิต ด้วยโรคมะเร็ง ปิดตำนานครูบ้านนอก \"ปิยะ ตระกูลราษฎร์\" เสียชีวิต ด้วยโรคมะเร็ง

ผลงานละครโทรทัศน์

  • พ.ศ. 2536 อยู่กับก๋ง
  • พ.ศ. 2538 เมื่อหมอกสลาย
  • พ.ศ. 2538 พรหมลิขิตจากนิ้วป้อมๆ
  • พ.ศ. 2539 ดอกแก้ว
  • พ.ศ. 2539 นายขนมต้ม
  • พ.ศ. 2540 ตะวันทอแสง
  • พ.ศ. 2541 โรงแรมผี
  • พ.ศ. 2542 แม่นาคพระโขนง
  • พ.ศ. 2542 ขุนเดช
  • พ.ศ. 2542 ลูกหว้า
  • พ.ศ. 2542 แก้วกินรี
  • พ.ศ. 2543 ดั่งสายน้ำไหล
  • พ.ศ. 2544 เขี้ยวเสือไฟ
  • พ.ศ. 2544 นายฮ้อยทมิฬ
  • พ.ศ. 2545 สุสานคนเป็น
  • พ.ศ. 2546 พุทธานุภาพ
  • พ.ศ. 2546 กษัตริยา
  • พ.ศ. 2547 ฟ้าใหม่
  • พ.ศ. 2547 มหาราชกู้แผ่นดิน
  • พ.ศ. 2548 บันทึกจาก(ลูก)ผู้ชาย
  • พ.ศ. 2548 เชลยบาป
  • พ.ศ. 2548 มนต์รักลูกทุ่ง
  • พ.ศ. 2550 ปู่โสมเฝ้าทรัพย์
  • พ.ศ. 2553 สามหัวใจ
  • พ.ศ. 2553 คู่เดือด
  • พ.ศ. 2554 มนต์รักแม่น้ำมูล
  • พ.ศ. 2555 หมูแดง
  • พ.ศ. 2556 สายใย
  • พ.ศ. 2557 หมอรัก...หมอเพลง
  • พ.ศ. 2557 รถไฟ เรือเมล์ ลิเก กองถ่าย
  • พ.ศ. 2558 เพื่อนแพง
  • พ.ศ. 2558 สองมือพ่อ
  • พ.ศ. 2558 สาบควายลายคน
  • พ.ศ. 2558 คาดเชือก
  • พ.ศ. 2559 สารวัตรเถื่อน
  • พ.ศ. 2559 ฉันทนาสามช่า
  • พ.ศ. 2559 บ่วงรักสลักแค้น
  • พ.ศ. 2559 แม่นาก
  • พ.ศ. 2560 เขี้ยวราชสีห์
  • พ.ศ. 2560 หมอเทวดา
  • พ.ศ. 2560 ละอองดาว
  • พ.ศ. 2560 บ่วงบรรจถรณ์
  • พ.ศ. 2561 นายร้อยสอยดาว
  • พ.ศ. 2561 สายโลหิต
  • พ.ศ. 2561 สุภาพบุรุษมงกุฎเพชร
  • พ.ศ. 2561 ฝันให้สุด Dream Teen
  • พ.ศ. 2562 ชุมแพ รับเชิญ
  • พ.ศ. 2562 ขุนปราบดาบข้ามภพ
  • พ.ศ. 2562 บุษบาเปื้อนฝุ่น
  • พ.ศ. 2562 ดอกคูนเสียงแคน
  • พ.ศ. 2563 ฟ้ามีตา ตอน มิตร....ฉาชีพ, หวัง...ของจ่าหวัง
  • พ.ศ. 2564 กำนันหญิง
  • พ.ศ. 2564 นางฟ้าอสูร