'พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน' โฉมใหม่ เล่าประวัติเมืองน่านเชิงศาสนา – ปกครอง

'พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน' โฉมใหม่ เล่าประวัติเมืองน่านเชิงศาสนา – ปกครอง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ชวนชมห้องจัดแสดงนิทรรศการโฉมใหม่ เรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองน่าน เจ้าผู้ครองนคร ความเชื่อเชิงศาสนา ชมเครื่องแต่งกายพื้นเมือง ภาพถ่ายเก่าแก่เมืองน่าน โบราณวัตถุ

หลังดำเนินโครงการปรับปรุงการจัดแสดงและพื้นที่ภายในอาคาร ตั้งแต่ 31 มีนาคม 2565 บัดนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ขอเชิญชมห้องจัดแสดงนิทรรศการโฉมใหม่ ซึ่งดำเนินการปรับปรุงแล้วเสร็จและเปิดให้เข้าชมแล้วตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2566

‘พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน’ ได้รับการพัฒนาให้มีความทันสมัย รองรับการใช้บริการ และส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญของ จ.น่าน 

โดยดำเนินการปรับปรุงการจัดแสดงโถงนิทรรศการหมุนเวียนชั้นล่าง และห้องนิทรรศการชั้นบน จำนวน 5  ห้อง ประกอบด้วย

 

ห้องนิทรรศการชั้นล่าง จำนวน 1 ห้อง ได้แก่ ห้องโถงบรรยายสรุปและนิทรรศการหมุนเวียน

\'พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน\' โฉมใหม่ เล่าประวัติเมืองน่านเชิงศาสนา – ปกครอง ห้องนิทรรศการชั้นล่าง

  • ห้องโถงบรรยายสรุป

มีพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมประชุมออนไลน์ และบรรยายสรุปการนำชมพิพิธภัณฑ์ โดยมีจอวีดีทัศน์เรื่อง “กรมศิลปากรกับการอนุรักษ์และสร้างสรรค์หอคำเมืองน่าน” ใช้ประกอบการบรรยาย 

\'พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน\' โฉมใหม่ เล่าประวัติเมืองน่านเชิงศาสนา – ปกครอง ห้องนิทรรศการชั้นล่าง 

  • นิทรรศการหมุนเวียน 

ปัจจุบันจัดแสดงเรื่องการแต่งกายของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในจังหวัดน่าน อาทิ ลัวะ มลาบรี ขมุ ม้ง เมี่ยน เป็นต้น 

โดยนำเสนอผ่านบอร์ดกราฟิกในรูปแบบของภาพลายเส้นการแต่งกายของกลุ่มชาติพันธุ์ ประกอบกับลวดลายผ้าอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติพันธุ์ต่างๆ ตลอดจนแผนผังแสดงการกระจายตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดน่าน

 

ห้องนิทรรศการชั้นบน จำนวน 5 ห้อง ประกอบด้วย

\'พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน\' โฉมใหม่ เล่าประวัติเมืองน่านเชิงศาสนา – ปกครอง พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร จากโบสถ์วัดท่าปลา

\'พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน\' โฉมใหม่ เล่าประวัติเมืองน่านเชิงศาสนา – ปกครอง เรือเงินจากพระธาตุจอมแจ้ง 

  • ห้องเครื่องพุทธบูชา ๑ 

จัดแสดงโบราณวัตถุเนื่องในศาสนาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ประกอบด้วย พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร จากโบสถ์วัดท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์, แผงพระพิมพ์ไม้จากวัดชนะไพรี อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน และเรือเงินจากพระธาตุจอมแจ้ง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

โบราณวัตถุเรือเงินเหล่านี้พบบรรจุอยู่ในภาชนะใบเดียวกันเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่ "พระธาตุจอมแจ้ง" โดยเรือเงินส่วนใหญ่ที่พบมีการจารึกชื่อผู้ถวาย คำอธิษฐานหรือ "คำผาถนา" ตลอดจนศักราชที่สร้าง

คำผาถนา ภาษาเหนือ แปลว่า "คำปรารถนา" หรือคำอธิษฐานนั่นเอง

 

\'พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน\' โฉมใหม่ เล่าประวัติเมืองน่านเชิงศาสนา – ปกครอง โมบายอักษรธรรมล้านนา เรื่อง คาถาบูชาท้าวทั้งสี่

\'พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน\' โฉมใหม่ เล่าประวัติเมืองน่านเชิงศาสนา – ปกครอง หีบพระธรรมวัดบุญยืน

  • ห้องเครื่องพุทธบูชา ๒ 

จัดแสดงโบราณวัตถุเนื่องในศาสนาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ประกอบด้วย หีบพระธรรม วัดบุญยืน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน,  พระพุทธรูปบุเงิน จากการขุดค้นเขื่อนสิริกิติ์ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ และแผ่นเงินจารึก

มีการตกแต่งบรรยากาศของห้องนิทรรศการด้วยโมบายแขวนอักษรธรรมล้านนาโดยนำมาจากเอกสารโบราณที่เก็บรักษาอยู่ในห้องคลัง 'พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน' เรื่อง คาถาบูชาท้าวทั้งสี่ (ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ของล้านนา)

 

\'พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน\' โฉมใหม่ เล่าประวัติเมืองน่านเชิงศาสนา – ปกครอง ห้องจัดแสดงเครื่องพุทธบูชา ๓ 

\'พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน\' โฉมใหม่ เล่าประวัติเมืองน่านเชิงศาสนา – ปกครอง ภาพวาดเจ้าผู้ครองนครน่านชมการจุดบอกไฟ

\'พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน\' โฉมใหม่ เล่าประวัติเมืองน่านเชิงศาสนา – ปกครอง วิหารจำลองวัดนาซาว

  • ห้องเครื่องพุทธบูชา ๓ 

จัดแสดงโบราณวัตถุเนื่องในศาสนาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา อาทิ วิหารจำลองวัดนาซาว อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ด้านหลังมีจารึกอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทย กล่าวถึงสิ่งของที่ถวายเป็นพุทธบูชา คำอธิษฐานหรือคำผาถนาของผู้สร้าง และระบุจุลศักราช ๑๒๒๙ (พุทธศักราช 2410)

โดยมีการตกแต่งบรรยากาศของห้องนิทรรศการด้วยโคมล้านนา และมีวีดีทัศน์นำเสนอโบราณวัตถุ 360 องศาที่จัดแสดงในส่วนของห้องพุทธบูชาทั้ง 3 ห้อง พร้อมข้อมูลบรรยายประกอบ จำนวน 6 จอ 

นอกจากนั้นยังมีการจำลองภาพวาดเจ้าผู้ครองนครน่านชมการจุดบอกไฟถวายเป็นพุทธบูชา ในงานประเพณีหกเป็ง พระธาตุแช่แห้ง

 

\'พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน\' โฉมใหม่ เล่าประวัติเมืองน่านเชิงศาสนา – ปกครอง ดาบฝักเงิน กระบี่พร้อมฝัก ของเจ้าอุตรการโกศล

\'พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน\' โฉมใหม่ เล่าประวัติเมืองน่านเชิงศาสนา – ปกครอง ภาพเจ้าอุตรการโกศล

  • ห้องเชื้อสายเจ้าผู้ครองนครน่าน 

จัดแสดงลำดับเจ้าผู้ครองนครน่าน 64 พระองค์ ประกอบกับโบราณวัตถุจัดแสดง อาทิ ดาบฝักเงิน กระบี่พร้อมฝัก ของเจ้าอุตรการโกศล (มหาไชย มหายศนันท์) อดีตผู้พิพากษา หัวหน้าศาลยุติธรรม จังหวัดน่าน 

ภาพเจ้าอุตรการโกศลและใบพระราชทานนามสกุล “มหายศนันทน์” และภาพหม่อมศรีพรหมา ธิดาพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 63

นอกจากนั้นยังมีวีดีทัศน์ เรื่อง “เฮือนเจ้านายเมืองน่าน” และ เรื่อง “ลำดับเจ้าผู้ครองนครน่าน” ประกอบในการจัดแสดง

 

\'พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน\' โฉมใหม่ เล่าประวัติเมืองน่านเชิงศาสนา – ปกครอง หุ่นจำลองพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ จัดแสดงใน 'ห้องหอคำนครน่าน'

\'พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน\' โฉมใหม่ เล่าประวัติเมืองน่านเชิงศาสนา – ปกครอง ภาพถ่ายเก่าหอคำในอดีตและพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ

  • ห้องหอคำนครน่าน 

จัดแสดงเรื่องราวของหอคำนครน่าน อันเป็นที่ตั้งของ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ในปัจจุบัน โดยมีการจัดแสดงภาพถ่ายเก่าของอาคารหอคำ เจ้าผู้ครองนครน่าน การขุดแต่งแนวกำแพงเดิมของหอคำในอดีต

เครื่องถ้วยเบญจรงค์ และเครื่องถ้วยต่างประเทศ ประกอบด้วยเครื่องถ้วยจีน, ญี่ปุ่น และยุโรป เป็นสมบัติของเจ้าผู้ครองนครน่านมาแต่เดิม

ประกอบกับการจัดแสดงอิฐแนวกำแพงเก่าของหอคำที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อพุทธศักราช 2547 โดยอิฐที่นำมาจัดแสดงเป็นอิฐที่มีตัวอักษรธรรมล้านนา และรอยกดประทับ 

นอกจากนั้นยังมีการจัดแสดงโมเดลจำลองแผนผังเมืองเก่าน่านเพื่อให้เห็นถึงขอบเขตพื้นที่และสถานที่สำคัญต่าง ๆ ของเมืองน่านในอดีต

 

\'พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน\' โฉมใหม่ เล่าประวัติเมืองน่านเชิงศาสนา – ปกครอง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน

  • ที่ตั้ง ถนนผากอง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
  • เปิดให้บริการทุกวันพุธ - อาทิตย์ (ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) ปิดวันจันทร์ - อังคาร
  • เวลา 09.00 - 16.00 น. 
  • ค่าเข้าชมชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท
  • สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 5477 2777