โครงการ MORE การค้นหาศักยภาพ ‘ขยะ’ ผ่านนวัตกรรม การออกแบบ งานดีไซน์ โดย ปตท.

โครงการ MORE การค้นหาศักยภาพ ‘ขยะ’ ผ่านนวัตกรรม การออกแบบ งานดีไซน์ โดย ปตท.

ปตท. ค้นหาศักยภาพ ‘ขยะ’ ในฐานะวัสดุไม่ไร้ค่า ผ่านโครงการ MORE ความพยายามนำสิ่งที่คนมองว่าเป็น ‘ของเสีย’ แปลงเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยนวัตกรรม การออกแบบ และงานดีไซน์ ลดปัญหาโลกร้อน

“เราพยายามมองหาว่าปัจจุบัน waste (ของเสีย) ที่มีอยู่ในประเทศไทย ตัวไหนที่มีปัญหาแล้วไม่มีทางออกบ้าง โครงการพยายามเอาพวกนั้นกลับมาชุบชีวิตให้กลายเป็นวัสดุและผลิตภัณฑ์ทางเลือกใหม่ ลดปัญหาเรื่อง waste” 

จิระวุฒิ จันเกษม หัวหน้าโครงการ MORE (มอร์) กล่าวถึงแนวคิดของ ผลิตภัณฑ์ ที่นำมาจัดแสดงเป็นนิทรรศการ Waste is More by MORE ใน เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2566 หรือ Bangkok Design Week 2023

โครงการ MORE การค้นหาศักยภาพ ‘ขยะ’ ผ่านนวัตกรรม การออกแบบ งานดีไซน์ โดย ปตท. เศษใบอ้อยที่มักเผาทำลายกลายเป็นมลภาวะทางอากาศ

แนวคิดของโครงการ MORE คือ การค้นหาศักยภาพของ ‘ขยะ’ หรือ ของเสีย (waste) ในฐานะ ‘วัสดุไม่ไร้ค่า’ ตามความเชื่อที่ว่า ‘ไม่มีของเสีย มีเพียงทรัพยากรที่มีคุณค่า’ สิ่งที่มองว่าเป็น waste ก็เพราะยังหาวิธีที่จะนำ waste นั้นกลับมาใช้ประโยชน์ไม่เจอ

“โครงการ MORE อยู่ภายใต้บริษัทลูกของบริษัท การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. เรากำลังทำเป็นแบรนด์ชื่อ MORE ให้แบรนด์นี้เป็นตัวบอกว่า ปตท.ให้การสนับสนุนในการปลุกชีวิตสิ่งที่เป็น waste”

ในนิทรรศการครั้งนี้ โครงการ MORE นำผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นใหม่จากการนำ waste มาพัฒนาเป็นวัตถุดิบ เพื่อให้ นักออกแบบ ออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ จำนวน 8 ผลิตภัณฑ์ด้วยกัน

โครงการ MORE การค้นหาศักยภาพ ‘ขยะ’ ผ่านนวัตกรรม การออกแบบ งานดีไซน์ โดย ปตท. วัสดุปิดผิวจากเศษใบอ้อย

โครงการ MORE การค้นหาศักยภาพ ‘ขยะ’ ผ่านนวัตกรรม การออกแบบ งานดีไซน์ โดย ปตท. งานจักสานจากเศษใบอ้อย

ยกตัวอย่างเช่น เศษใบอ้อย (Sugarcane Tops) ของเหลือทิ้งจำนวนมากในภาคเกษตรกรรมที่เกษตรกรมักเผาทำลาย ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะทางอากาศ กระทบคุณภาพชีวิตโดยตรง ทั้งๆ ที่รัฐบาลก็รณรงค์ให้เลิกการเผาใบอ้อย

โครงการ MORE นำเสนอทางออกด้วยการนำลักษณะโดดเด่นของ ‘เส้นใย’ ในใบอ้อยมาแปรรูป แล้วทำงานกับชุมชนและดีไซเนอร์พัฒนาเส้นใยออกมาเป็นงานจักสาน 

โครงการ MORE การค้นหาศักยภาพ ‘ขยะ’ ผ่านนวัตกรรม การออกแบบ งานดีไซน์ โดย ปตท.

เยื่อกาแฟ

เยื่อกาแฟ (Coffee Chaff) เป็นของเหลือทิ้งที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการคั่วเมล็ดกาแฟจากโรงคั่วกาแฟ เป็น waste ที่ทิ้งไปปีละ 20-30 ตัน และกระทบต่อระบบนิเวศ

โครงการ MORE การค้นหาศักยภาพ ‘ขยะ’ ผ่านนวัตกรรม การออกแบบ งานดีไซน์ โดย ปตท. เก้าอี้มุกมุก

โครงการ MORE นำเยื่อกาแฟมาพัฒนาเป็น ‘แผ่นพลาสติก’ แล้วให้ดีไซเนอร์ออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ โดยทำงานร่วมกับ Kitt-Ta-Khon (ฆิด-ตา-โขน) ออกแบบเป็นเก้าอี้นั่งเดี่ยว

ฆิด-ตา-โขน นำดีไซน์ของเก้าอี้ Photography Chair ที่โด่งดังและอยู่ใน pop culture มาออกแบบใหม่ ให้ชื่อว่า เก้าอี้มุกมุก (Mook Mook Chair)

ด้านหลังทรงสูงของ 'เก้าอี้มุกมุก' ตัวนี้ ทำด้วยเยื่อกาแฟที่ผ่านกระบวนผลิตให้ดูคล้าย ‘เส้นหวาย’ ออกแบบให้มีความกว้างจะเล็กไปใหญ่ แสดงเทคนิคการขดของเส้นหวายที่มีคุณสมบัติการสปริงตัว ขณะเดียวกันก็มีสีสันที่โดดเด่นของเยื่อกาแฟที่ยากเลียนแบบด้วยวัสดุอื่น

โครงการ MORE การค้นหาศักยภาพ ‘ขยะ’ ผ่านนวัตกรรม การออกแบบ งานดีไซน์ โดย ปตท. วัสดุที่ได้จากนวัตกรรมจัดการแยกชั้นอะลูมิเนียม ฟอยล์

อะลูมิเนียม ฟอยล์ (Aluminium Foil) จากกล่องประเภท ยูเอชที (ultra-high-temperature processing) ที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวัน กลายเป็นขยะเหลือทิ้งจากการจัดการถึง 75,000 ตัน/ปี

เนื่องจากวัสดุที่ซ้อนกันถึง 6 ชั้น ระหว่างกระดาษ พลาสติกโพลิเอทีลีน และอะลูมิเนียมฟอยล์ ที่ประสานกันเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล่อง UHT สร้างความลำบากต่อการนำไปจัดการต่อ

บริษัท Advance Mat ใช้นวัตกรรมจัดการแยกชั้นส่วนประกอบกล่อง UHT เหลือทิ้ง แปรรูปเป็นวัสดุที่งดงาม แวววาว น้ำหนักเบา แต่คงความแข็งแรงทนทาน

โครงการ MORE การค้นหาศักยภาพ ‘ขยะ’ ผ่านนวัตกรรม การออกแบบ งานดีไซน์ โดย ปตท. วัสดุหุ้มกระถางต้นไม้ทำจาก 'อะลูมิเนียม ฟอยล์' ในกล่อง UHT

โครงการ MORE ร่วมกับ mitr. กลุ่มเพื่อนนักออกแบบรุ่นใหม่ นำวัสดุนั้นมาทดลองขุด เจาะ เซาะร่อง ด้วยมือและเครื่องจักร จนได้มาเป็นผลิตภัณฑ์ SHIMMER  หรือ ‘ตัวครอบกระถางต้นไม้’ ภายใต้แนวคิดการออกแบบชิ้นงานที่สามารถปรับเปลี่ยนชิ้นส่วน ถอดแยก ประกอบเพื่อซ่อมแซม หรือแม้แต่นำไปเข้ากระบวนการรีไซเคิลต่อไปได้อย่างไม่รู้จบ

“วัสดุฟอยล์ เราทำงานร่วมกับบริษัทภายนอกที่มี knowhow (ความรู้เชิงขั้นตอน) อยู่แล้ว เราเอาของเขามาช่วยกันแล้วต่อยอด โครงการเราคงไม่สามารถทำ waste ทุกอย่างได้ อันไหนมีคนทำแล้วเราชวนเขามาทำด้วยกัน แต่ละคนใช้เวลากับสิ่งต่างๆ เหล่านั้นมาพอสมควรแล้ว เพราะเรามองว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนี่ง แต่เราต้องหาคนมาช่วยกันทำ” คุณจิระวุฒิกล่าว

โครงการ MORE การค้นหาศักยภาพ ‘ขยะ’ ผ่านนวัตกรรม การออกแบบ งานดีไซน์ โดย ปตท. ฝุ่นไม้

โครงการ MORE การค้นหาศักยภาพ ‘ขยะ’ ผ่านนวัตกรรม การออกแบบ งานดีไซน์ โดย ปตท. Timber Bench

ฝุ่นไม้ (Sawdust) เกิดจากขั้นตอนการผลิตเฟอร์นิเจอร์ เป็นเศษเหลือทิ้งเกือบ 1 ตัน/เดือน ปลายทางถูกกำจัดเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ หรือนำไปขึ้นรูปใหม่เป็น ‘ธูป’ ที่เราใช้กันทางศาสนา

โครงการ MORE หาวิธีทำงานกับ ‘ฝุ่นไม้’ ด้วยการดึงเอาศักยภาพออกมาเปิดเผยและสัมผัสกับความยอดเยี่ยมของวัสดุเหลือทิ้งประเภทนี้ ออกมาเป็น ‘แผ่นวัสดุจากฝุ่นไม้’ แล้วประกอบขึ้นเป็น Timber Bench ผลงานการออกแบบของ o-d-a แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ผู้เชี่ยวชาญงานไม้ซึ่งมีแนวคิดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

o-d-a เคยโชว์งานดีไซน์เก้าอี้ที่นำเศษไม้ท่อนเหลือทิ้งตามธรรมชาติมาต่อเป็นเก้าอี้นั่งสบาย

Timber Bench เป็นม้านั่งที่มีรูปลักษณ์คล้ายท่อนซุง บอกเล่าที่มาของ ‘ฝุ่นไม้’ ของเหลือทิ้งที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ แต่สามารถนำมาให้คุณค่าและใช้งานได้อีกครั้ง

โครงการ MORE การค้นหาศักยภาพ ‘ขยะ’ ผ่านนวัตกรรม การออกแบบ งานดีไซน์ โดย ปตท.

โคมไฟจากวัสดุใหม่ของฝุ่นผ้าทอ

Waste อีก 1 อย่างคือ ฝุ่นผ้าทอ (Fabric Dust) เกิดขึ้นจากขั้นตอนในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมากกว่า 4,829 โรงงานทั่วประเทศ มักกำจัดด้วยการนำไปเป็นเชื้อเพลิงและฝังกลบ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ขณะนี้มีผู้คิดค้นนวัตกรรมสามารถแปรรูป ‘ฝุ่นผ้าทอ’ ผลิตเป็นแผ่นวัสดุและเส้นหวายที่มีเอกลักษณ์สวยงามไม่แพ้ผ้าผืน

นิทรรศการนี้ Takorn Textile Studio นำวัสดุทดแทนดังกล่าวไปทดลองด้วยกระบวนต่างๆ แม้ยังไม่ให้ความอ่อนนุ่มเหมือนเส้นใยผ้าปกติ แต่สามารถจัดการด้วยกระบวนการทางสิ่งทอเหมือนกับผ้าจริง

จึงเกิดเป็นแนวคิดที่ต้องการนำเสนอผลงานในรูปแบบ organic form ลดการฝืนให้วัสดุทำในสิ่งที่ออกแบบมากเกินไปจนทำให้ผลงานเสียรูปทรง แต่น่าจะตอกย้ำแก่นชองผลลัพธ์จากการทดลองวัสดุ การออกแบบ และพัฒนาฝุ่นผ้า สู่ผลงานที่เป็นไปได้มากกว่า

โครงการ MORE การค้นหาศักยภาพ ‘ขยะ’ ผ่านนวัตกรรม การออกแบบ งานดีไซน์ โดย ปตท. เครื่องประดับจากฝาขวดพลาสติก

โครงการ MORE ระบุว่า ประเทศไทยผลิตขวดพลาสติกประมาณ 4,400 ล้านขวดต่อปี แต่มีเพียง 21% ของขยะพลาสติกเท่านั้นที่นำไปรีไซเคิลเนื่องจากข้อจำกัดในการคัดแยกประเภท สีสัน และการปนเปื้อน
ทำให้มี ฝาขวด (Bottle Cap) มากมายถูกทิ้ง เนื่องจากไม่สามารถรีไซเคิลได้

แต่ด้วยความพิเศษของฝาพลาสติกที่ทนทาน ยืดหยุ่น มีความเบา ทำให้เห็นโอกาสและคุณค่าที่จะเปลี่ยนรูปลักษณ์ฝาขวดให้กลายเป็นวัสดุทางเลือกที่มีความทนทาน สีสันสดใส และนำเสนอความโดดเด่นของวัสดุเดิม

ในนิทรรศการนี้ ฝาขวดพลาสติกกลายเป็นเครื่องประดับจากฝีมือของ นุตร์ อารยะวานิชย์ สร้างสรรค์ผลงานด้วยแนวคิด ‘การเดินทางของวัสดุ’ ที่สอดคล้องกับขั้นตอนการแปรรูปวัสดุทางเลือก 4 ขั้นตอน คือ ‘ตั้งต้น ย่อยสลาย ละลาย เกิดใหม่’ ทั้งสวยงามและชวนผู้สวมใส่ย้อนนึกถึงกระบวนการระหว่างทางในการพัฒนาจนเกิดเป็นวัสดุทางเลือกจากฝาขวดน้ำที่น่าสนใจ

โครงการ MORE การค้นหาศักยภาพ ‘ขยะ’ ผ่านนวัตกรรม การออกแบบ งานดีไซน์ โดย ปตท. เปลือกไข่เหลือทิ้ง

'ไข่' เป็นวัตถุดิบหลักในการปรุงอาหารทั่วโลก แต่น้อยคนที่รู้ว่าปริมาณ เปลือกไข่ เหลือทิ้งทั้งหมดต่อปีเทียบเท่ากับขยะพลาสติกที่ไหลลงสู่มหาสมุทร 

โครงการ MORE การค้นหาศักยภาพ ‘ขยะ’ ผ่านนวัตกรรม การออกแบบ งานดีไซน์ โดย ปตท. Eggsperiment จากเปลือกไข่เหลือทิ้ง

ด้วยมุมมองของ Spirulina Society และนวัตกรรมการพัฒนาเส้นวัสดุทางเลือกจาก ‘เปลือกไข่’ ที่สามารถนำไปเข้าสู่กระบวนการพิมพ์ 3 มิติ ทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ Eggsperiment คือ ชุดผลิตภัณฑ์บนโต๊ะอาหาร ประกอบด้วย ภาชนะอเนกประสงค์ เชิงเทียน ที่วางไข่ ชาม และห่วงผ้าเช็ดปาก ที่วางมีด ที่วางตะเกียบ 

รูปทรงของชิ้นงานเกิดจากเทคนิคเป่าลมร้อนและจัดรูปทรงใหม่ด้วยมือ จากความตั้งใจในการเสาะหาความเป็นไปได้ของวัสดุจาก ‘เปลือกไข่’ ผ่านการชุบชีวิตใหม่จากของเหลือใช้ และเป็นแรงกระเพื่อมในการจัดการเศษอาหารให้กลายเป็นสิ่งที่ธรรมดาแต่น่าสนใจ

โครงการ MORE การค้นหาศักยภาพ ‘ขยะ’ ผ่านนวัตกรรม การออกแบบ งานดีไซน์ โดย ปตท.

วัสดุเสริมพื้นผิวจากเศษแผ่น PVC

ด้วยความพิเศษของวัสดุทางเลือกจาก เศษแผ่น PVC (PVC Edge Banding) ที่ถูกเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตเฟอร์นิเจอร์พาร์ติเกิลบอร์ด เมื่อได้รับการแปลงให้กลายเป็นวัสดุทางเลือก ทำให้วัสดุเกิดสีสันและลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ 

นักออกแบบในนาม Designerd จึงเลือกใช้ความพิเศษนี้เป็นแนวคิดหลักในการสร้างสรรค์ผลงานร่วมกับเทคนิคภาพ Glitch ที่ช่วยส่งเสริมพื้นผิวที่มีลวดลายของวัสดุอย่างสมบูรณ์

นิทรรศการ Waste is More by MORE ใน เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2566 หรือ Bangkok Design Week 2023 จัดแสดง ณ โถงใหญ่ไปรษณีย์กลาง บางรัก กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 4-12 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11.00-22.00 น.