“จันต์สุดา ธนานิตยะอุดม” แห่ง "แกร็บ" เปิดแนวรบ “ฟู้ดเดลิเวอรี”

“จันต์สุดา ธนานิตยะอุดม” แห่ง "แกร็บ" เปิดแนวรบ “ฟู้ดเดลิเวอรี”

“จันต์สุดา ธนานิตยะอุดม” ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและพันธมิตรทางธุรกิจ "แกร็บ" ประเทศไทย (Grab) แพลตฟอร์มส่งอาหารถึงบ้าน เปิดแนวรบใหม่ของ “ฟู้ดเดลิเวอรี” ที่ไม่จำกัดแค่ในมือถือ

แพลตฟอร์มส่งอาหารในยุคดิจิทัล จะมีอะไรมากไปกว่ากด-โทร-สั่ง-รอ...ต้องให้เธออธิบาย

นิยามของอาหารในยุคดิจิทัล คืออะไร

“อาหารเป็นกิจกรรมสำคัญในชีวิตคนไทย จากการสำรวจเมื่อหลายปีมาแล้วพบว่า คนไทยทานอาหารและของว่างถึง 7 ครั้งต่อวัน และตอนนี้อาจจะมากกว่านั้นด้วยซ้ำ เนื่องจากเราสามารถเข้าถึงอาหารได้สะดวกมากยิ่งขึ้นขึ้น

“จันต์สุดา ธนานิตยะอุดม” แห่ง \"แกร็บ\" เปิดแนวรบ “ฟู้ดเดลิเวอรี”    จันต์สุดา ธนานิตยะอุดม

และทุกวันนี้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีอิทธิพลอย่างมากในวิถีชีวิตของคนไทย ผลสำรวจพบว่าโดยประเทศไทยมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (Internet Penetration) 80% และคนไทยมีโทรศัพท์มือถือถึง 90 ล้านเครื่อง ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านวัฒนธรรมหลัก ๆ ใน 3 ด้าน”

โทรศัพท์มือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมการกิน

“ใช่ค่ะ ในเมื่อการค้นหาอาหารย้ายมาอยู่บนโลกดิจิทัล จึงทำให้อาหารเป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะ ทั้งทางปากและทางตา คนชอบอาหารเพราะอร่อยและสวยงามควบคู่กันไป จนเกิดประโยคฮิตว่า Camera eats first ซึ่งสะท้อนถึงการที่คนเรามักหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาถ่ายรูปอาหารก่อนเริ่มรับประทานเสมอ และก่อให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ ๆ เช่น Cafehopping และ Fine Dining เป็นต้น

“จันต์สุดา ธนานิตยะอุดม” แห่ง \"แกร็บ\" เปิดแนวรบ “ฟู้ดเดลิเวอรี” และเมื่อไม่นานมานี้ เกิดการเติบโตของ Cloud Kitchen หรือธุรกิจร้านอาหารที่ไม่ได้มีหน้าร้าน แต่ทำขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าจากเดลิเวอรี โดยมีทั้งรายย่อยที่ทำครัวที่บ้าน และขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งรวมหลาย ๆ ร้านไว้ด้วยกัน เช่น GrabKitchen ซึ่งเป็นเหมือนฟู้ดคอร์ท สำหรับเดลิเวอรี่

ที่สำคัญคือ ร้านอาหารปรับตัวมาก ถึงไม่มีโควิด ร้านอาหารก็ผันตัวขึ้นมาอยู่บนแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสตรีทฟู้ดเก่าแก่  หรือร้าน chain ขนาดใหญ่ ไปจนถึงร้านดังที่ได้ดาวมิชลิน ทำให้แต่ละร้านต้องปรับแนวทางในการวางแผนต้นทุนราคา ไปจนถึงการสร้างสรรค์เมนูที่เหมาะกับฟู้ดเดลิเวอรี่”

เช่นเดียวกับที่ “แกร็บ” ต้องปรับตัวเหมือนกัน

แกร็บมีร้านอาหารอยู่บนแพลตฟอร์มหลายแสนร้าน เราเติบโตเรื่อย ๆ ทั้งจำนวนร้าน และพื้นที่บริการ ปัจจุบันครอบคลุม 60 หัวเมืองทั่วประเทศ

“จันต์สุดา ธนานิตยะอุดม” แห่ง \"แกร็บ\" เปิดแนวรบ “ฟู้ดเดลิเวอรี”    เชฟเทเบิ้ล ผสานแสงสี

หลังจากทำธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรีมาหลายปี ตอนนี้เริ่มปรับตัวสนับสนุนธุรกิจอาหาร เราทำหลายอย่าง เช่น อำนวยความสะดวกให้แก่ร้านอาหารในการเปิดร้านบนแพลตฟอร์มอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และร่วมกับร้านค้าในการสร้างสรรค์เมนูพิเศษที่มีบนแกร็บฟู้ดเท่านั้น เช่น ร้าน Gaggan,โคตรยำ และ Hong Bao

นอกจากนี้ยังจัดแคมเปญเพื่อกระตุ้นยอดขายตลอดทั้งปี เช่น ไอคอนพิเศษ “ร้านเล็กดีลเด็ดลดทั้งร้าน” เพื่อสนับสนุนร้านอาหารเล็ก ๆ ที่มีสาขาเดียว และแคมเปญ Mega Sales

อีกอย่างที่เราทำคือ ให้ความรู้ผ่านคอร์สออนไลน์ GrabAcademy เช่น การทำโปรโมชันเพื่อกระตุ้นยอดขาย การถ่ายรูปและเขียนคำอธิบายที่ดึงดูดผู้บริโภค รวมถึงคัดเลือกร้านที่มีคุณภาพ เรตติ้งดี ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคไว้ในโครงการ #GrabThumbsUp ร้านอร่อยยกนิ้ว

ล่าสุด ให้การบริการด้านการเงิน สำหรับร้านค้าที่ต้องการเสริมสภาพคล่อง จนถึงการเข้าร่วมงาน Awakening Bangkok 2022

“จันต์สุดา ธนานิตยะอุดม” แห่ง \"แกร็บ\" เปิดแนวรบ “ฟู้ดเดลิเวอรี”

บริการฟู้ดเดลิเวอรี จึงไม่ใช่แค่รอคำสั่งซื้ออาหารเท่านั้น

“โดยเฉพาะเมื่อเกิดสถานการณ์โควิด ทุกธุรกิจต้องปรับตัวอย่างมาก จากจุดเริ่มต้นของแกร็บคือ เกิดขึ้นจากแพลตฟอร์มออนไลน์ หลังจากที่เริ่มธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ในไทยมาได้ 3-4 ปี (ตั้งแต่ปี 2018) และก้าวเป็นผู้นำ เราจึงต้องการสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างและทำให้กว้างไกลไปกว่าโลกออนไลน์ เพื่อยกระดับแบรนด์ให้เข้าถึงผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น

ล่าสุดในงาน Awakening Bangkok 2022 เป็นหนึ่งในอีเวนท์หลักของปีที่มีคนชมงานเป็นแสนคน เราจึงอยากร่วมสร้างความตื่นเต้นให้กับร้านอาหารและผู้บริโภค”

แกร็บเกี่ยวข้องกับงานศิลปะอย่างไร

“หลายคนสงสัยนะคะว่า แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรีทำอะไรกับงานแสดงศิลปะ อยากเล่าถึงไฮไลท์ของแกร็บที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับงานนี้ มี 3 ส่วน

ส่วนที่ 1. ทำเชฟเทเบิ้ล (Immersive Digital Mapping Chef’s Table) โดยร่วมมือกับเชฟชื่อดังของไทยในการสร้างสรรค์อาหารเมนูพิเศษ และประสบการณ์แบบ Chef’s Table ที่มีเชฟมาแนะนำอาหารด้วยตัวเอง ท่ามกลางบรรยากาศแสงสี

“จันต์สุดา ธนานิตยะอุดม” แห่ง \"แกร็บ\" เปิดแนวรบ “ฟู้ดเดลิเวอรี” จัดดินเนอร์โดยเชฟคนไทย ได้แก่ เชฟต้น (ร้านนุสรา), เชฟบิ๊ก (ร้านอยากทำแต่ไม่อยากกิน), เชฟปริญญ์ (สำรับสำหรับไทย), เชฟตาม (บ้านเทพา) และเชฟแบล็ค (Blackitch) เชฟทั้ง 5 คนมาครีเอทเมนูพิเศษ ผสมผสานเข้ากับงานศิลปะแสงสี จัดไพรเวทดินเนอร์วันละ 28 ที่นั่ง (8 วัน) ที่ห้องอาหาร Giorgios’s โรงแรมรอยัล ออร์คิด เชอราตัน อันเป็นที่มาของนิยามว่า Edible Art

“จันต์สุดา ธนานิตยะอุดม” แห่ง \"แกร็บ\" เปิดแนวรบ “ฟู้ดเดลิเวอรี”    งานศิลปะแสงไฟ

ส่วนที่ 2. Foodie Night Market รวมร้านอาหารเด็ดจาก #GrabThumbsUp ร้านอร่อยยกนิ้วที่ได้รับความนิยมสูงสุดบนแพลตฟอร์มของแกร็บ จำนวน 27 ร้าน ยกทัพมาเสิร์ฟความอร่อยถึงที่พร้อมกันเป็นครั้งแรก

ส่วนที่ 3. งานศิลปะแสงไฟ (Fooditude Art Installation)  อธิบายว่า งานศิลปะสะท้อนวัฒนธรรมการรับประทานอาหารของคนยุคปัจจุบัน ที่นิยมเสาะแสวงหาอาหารอร่อย ผ่านประสบการณ์การเดินทางตามแสงไฟที่ฉายลวดลายกราฟิก

ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากตัวเลข Latitude และ Longtitude ของสถานที่ตั้งร้านอาหารอร่อยจาก #GrabThumbsUp ร่วมออกเดินทางตามแสงไฟยามค่ำคืนทั่วย่านเจริญกรุงด้วยกัน ที่หน้าไปรษณีย์กลางบางรักและพื้นที่แถบนั้น”

“จันต์สุดา ธนานิตยะอุดม” แห่ง \"แกร็บ\" เปิดแนวรบ “ฟู้ดเดลิเวอรี”

บริการอาหารส่งถึงบ้านเลี่ยงไม่ได้กับปัญหาบรรจุภัณฑ์ มีแนวทางรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างไร

“เรามีฟีเจอร์งดรับช้อนส้อมพลาสติกแบบอัตโนมัติ (Auto Opt-Out) เปิดใช้บริการในประเทศไทยตั้งแต่ปลายปี 2562 โดยหากผู้ใช้งานกดใช้ฟีเจอร์นี้ ในการสั่งครั้งต่อ ๆ ไปก็จะขึ้นโดยอัตโนมัติ ปัจจุบันพบว่ามีอัตราการใช้ฟีเจอร์นี้ถึง 82% จากยอดการสั่งอาหารทั้งหมด

แนวทางอีกอย่างคือ ลดคาร์บอนในทุกการเดินทาง โดยผู้ใช้งานสามารถกดเลือกเพื่อบริจาคเงินในทุกการเดินทาง เพื่อสมทบในโครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้ในประเทศไทย เมื่อผู้ใช้งานกดเข้าร่วมกิจกรรม ทุกครั้งที่จองการเดินทางจะมีการหักเงินเพิ่ม 2 บาท (รถยนต์) หรือ 1 บาท (จักรยานยนต์)  เพื่อนำไปบริจาคในโครงการปลูกต้นไม้ของ Grab ซึ่งร่วมมือกับ Ecomatcher และ Conserve Natural Forests ที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในภาคเหนือของประเทศไทย

“จันต์สุดา ธนานิตยะอุดม” แห่ง \"แกร็บ\" เปิดแนวรบ “ฟู้ดเดลิเวอรี” และที่ทำอยู่คือ ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนพาร์ทเนอร์คนขับ-ผู้จัดส่งอาหารที่ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ให้ได้ 10% ของพาร์ทเนอร์คนขับทั้งหมด ภายในปี 2569”

โดยส่วนตัวสั่งอาหารผ่านแพลตฟอร์มบ่อยหรือเปล่า

“ชอบทานอาหารแบบไปทานที่ร้านมากกว่าค่ะ ถ้ามีโอกาสหรืองานไม่ยุ่งจนเกินไป ชอบไปชิมร้านใหม่ ๆ ด้วย อีกอย่างไปนั่งทานที่ร้านก็จะได้สัมผัสถึงบรรยากาศของร้าน แต่บางครั้งก็สั่งมาทานที่บ้านเพราะสะดวกรวดเร็ว ตอบโจทย์วิถีชีวิตการทำงาน

“จันต์สุดา ธนานิตยะอุดม” แห่ง \"แกร็บ\" เปิดแนวรบ “ฟู้ดเดลิเวอรี” อาหารที่ชอบคืออาหารอิตาเลียน ร้านโปรดคือ Via Emilia และชอบอาหารอีสานด้วยค่ะ ส้มตำ ข้าวเหนียว เนื้อย่าง มีร้านโปรดเหมือนกันนะคะ ชื่อ สมยง ตำซั่ว