"พระนอนเมืองเสมา" อายุเท่าไหร่ มากกว่าพระพุทธเจ้า? กรมศิลป์มีคำตอบ

"พระนอนเมืองเสมา" อายุเท่าไหร่ มากกว่าพระพุทธเจ้า? กรมศิลป์มีคำตอบ

ฮอตโซเชียล "พระนอนเมืองเสมา" อายุเท่าไหร่ มากกว่าพระพุทธเจ้า? กรมศิลป์มีคำตอบต้องคำอธิบายชาวโซเชียลให้เข้าใจ

"พระนอนเมืองเสมา" อายุเท่าไหร่ มากกว่าพระพุทธเจ้าจริงหรือ? กำลังเป็นกระแสในสื่อสังคมออนไลน์ ทั้งเฟซบุ๊กเเละทวิตเตอร์ หลังจากที่มีแฟนเฟซบุ๊กหนึ่ง นำเสนอว่า พระนอนเมืองเสมา มีอายุถึง 3,000 ปี ซึ่งในเวลาต่อมาได้ดำเนินการแก้ไขแล้ว เเต่หลายวันมานี้ พระนอนเมืองเสมา ยังคงเป็นกระเเสและถูกพูดถึงอยู่เรื่อย ๆ จึงเป็นโอกาสดีที่จะพาทุกท่านไปรู้จัก พระนอนเมืองเสมา ว่าแท้จริงแล้ว อายุ 3,000 ปี หรือ 1,300 ปี กันเเน่

\"พระนอนเมืองเสมา\" อายุเท่าไหร่ มากกว่าพระพุทธเจ้า? กรมศิลป์มีคำตอบ

สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา ชี้แจงว่า พระนอนเมืองเสมา ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ นอกเมืองโบราณเสมา สร้างขึ้นในวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-16 และจากการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบศิลปกรรม เเละวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดีที่พบจากการขุดค้น จึงสันนิษฐานว่า พระนอนองค์นี้ ถูกสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 หรือประมาณ 1,300 ปีมาเเล้ว จึงนับได้ว่า พระนอน หรือพระพุทธรูปปางไสยาสน์ เมืองเสมา เป็นพระนอนที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย 

\"พระนอนเมืองเสมา\" อายุเท่าไหร่ มากกว่าพระพุทธเจ้า? กรมศิลป์มีคำตอบ

จากการดำเนินงานโบราณคดีใน ปี พ.ศ. 2533-2534 โดยหน่วยศิลปากรที่ 6 นครราชสีมา (ขณะนั้น) ทำให้ได้หลักฐานสำคัญหลายประการเกี่ยวกับองค์พระนอน ดังนี้

  • พบหลักฐานส่วนอาคารที่เป็นโครงสร้างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยอิฐ ขนาดกว้าง 6.50 เมตร ยาว 26 เมตร เพื่อประดิษฐานพระนอน ได้พบหลักฐานโบราณวัตถุประเภทต่าง ๆ ประกอบไปด้วย เศษภาชนะดินเผาแบบทวารวดี เศษภาชนะดินเผาแบบเขมร พระพุทธรูปสำริด ประติมากรรมสำริดรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร โบราณวัตถุประเภทหิน ได้แก่ ธรรมจักรและกวางหมอบ

\"พระนอนเมืองเสมา\" อายุเท่าไหร่ มากกว่าพระพุทธเจ้า? กรมศิลป์มีคำตอบ

  • บริเวณองค์พระนอน พบหลักฐานว่า องค์พระนอน (พระพุทธรูปไสยาสน์) ประกอบด้วยหินทรายสีแดงอยู่ในลักษณะเดิมเกือบทุกส่วน ยกเว้นส่วนพระเศียรและส่วนพระบาท ซึ่งถูกขุดหาโบราณวัตถุกันมาก ทำให้ชั้นดินบริเวณดังกล่าวสับสนและมีเศษอิฐปนอยู่ในชั้นดินมาก
  • รวมทั้งมีหินทรายที่แตกออกมาจากชิ้นส่วนขนาดใหญ่ เป็นต้นว่า ส่วนพระศอ ส่วนพระพาหาและส่วนของพระกรที่รองรับพระเศียรมากองอยู่ด้านหน้าพระพักตร์และมีชิ้นส่วนของพระเศียรอีกหลายชิ้นปนอยู่ในชั้นดินด้วย
  • นอกจากนี้ได้พบส่วนพระบาทอีกชิ้นหนึ่งในชั้นดิน วางนอนต่อกับส่วนชายจีวร ซึ่งสลักด้วยหินทรายเป็นแผ่นตั้งขึ้นด้านหน้าสลักตามรูปแบบการครองผ้า ส่วนด้านในสลักเป็นร่องสองร่อง เป็นเดือยสำหรับสวมพระบาทเข้าไป ส่วนด้านหลังขององค์พระนอนนั้นบางช่วงได้ก่อสร้างง่าย ๆ โดยใช้หินเป็นแกนแล้วก่ออิฐปิดเป็นแผ่นหลัง ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนตรงส่วนพระอังศาล่าง ยังคงมีแนวอิฐก่อโค้งรับกับพระศออยู่ พร้อมกับใช้ปูนขาวฉาบผิวอีกชั้นหนึ่ง
  • ยังพบที่ส่วนพระโสนีอีกด้วย รูปแบบของพระนอนหรือพระพุทะไสยาสน์นี้ ได้รับอิทธิพลของศิลปแบบทวารวดี ที่มีอิทธิพลของศิลปะแบบพื้นเมือง คงสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 13 เป็นต้นมา ใกล้เคียงกับชุมชนสมัยทวารวดีภายในเมืองโบราณเสมานั้นเอง

\"พระนอนเมืองเสมา\" อายุเท่าไหร่ มากกว่าพระพุทธเจ้า? กรมศิลป์มีคำตอบ

พระนอนเมืองเสมา ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดธรรมจักรเสมาราม เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ภายในวัดยังมีพิพิธภัณฑ์ซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากร และวัดธรรมจักรเสมาราม โดยจัดเเสดงโบราณวัตถุ ตลอดจนบอกเล่าพัฒนาการทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์เมืองโบราณเสมา ให้ทุกท่านได้ชมพร้อมกับการเรียนรู้กันอีกด้วย และก่อนเดินทางกลับก็ขอเชิญชวนให้ทุกท่านเเวะชมเมืองโบราณเสมา ซึ่งมีโบราณสถานภายในเมืองกว่า 9 แห่ง เพื่อให้การเดินทางมาในครั้งนี้ จะได้รู้จักโบราณสถาน โบราณวัตถุ เเละซึมซับความรู้ เกี่ยวกับเมืองโบราณเสมา เเละพระนอนเมืองเสมาให้มากยิ่งขึ้น

\"พระนอนเมืองเสมา\" อายุเท่าไหร่ มากกว่าพระพุทธเจ้า? กรมศิลป์มีคำตอบ

สามารถติดต่อสอบถามข้อมูล และการเดินทางเข้าสู่แหล่ง ได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 044-471-518 หรือ DM มาที่ Facebook fanpage สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา

อ้างอิงข้อมูล

ทนงศักดิ์ หาญวงษ์. (2534). "พระนอน วัดธรรมจักรเสมาราม" ศิลปากร 34, 6: 60-70

หน่วยศิลปากรที่ 6. (2534). รายงานการบูรณะพระนอนวัดธรรมจักรเสมาราม อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. เอกสารอัดสำเนา. นครราชสีมา: หน่วยศิลปากรที่ 6 กองโบราณคดี.

\"พระนอนเมืองเสมา\" อายุเท่าไหร่ มากกว่าพระพุทธเจ้า? กรมศิลป์มีคำตอบ

ดาวน์โหลดเอกสารข้อมูลพระนอนเมืองเสมา เเละเมืองโบราณเสมา โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย

ขอบคุณข้อมูลและภาพ สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา