"พญ.ปิยะนุช รักพาณิชย์" ใครว่า "อัลไซเมอร์" รักษาไม่ได้...

"พญ.ปิยะนุช รักพาณิชย์" ใครว่า "อัลไซเมอร์" รักษาไม่ได้...

ทุกคนรู้จักผู้รอดชีวิตจากมะเร็ง แต่ไม่มีใครรู้จักผู้รอดชีวิตจาก "อัลไซเมอร์"...คำกล่าวนี้คือแรงบันดาลใจที่ “พญ.ปิยะนุช รักพาณิชย์” สนใจศึกษา-รักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์

"อัลไซเมอร์ ภัยเงียบที่ป้องกันได้” พญ.ปิยะนุช รักพาณิชย์ แห่ง สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก กล่าวไว้ โดยเฉพาะเมื่อประเทศเรากำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ อัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อมจะมีอัตราเกิดสูงขึ้น เป็นโรคที่ (เคยเชื่อว่า) ไม่มียารักษา แม้กระทั่งโรคที่เกี่ยวกับเส้นเลือดในสมองตีบ หลอดเลือดแตก เนื้อสมองตาย คุณหมอเชื่อว่าสามารถฟื้นฟูได้

วันนี้ จุดประกาย ขอความรู้เกี่ยวกับ อัลไซเมอร์ โรคที่หลายคนเชื่อว่าเป็นแล้วไม่มียารักษา และวิธีป้องกันการเกิดอัลไซเมอร์ ที่เริ่มต้นได้ตั้งแต่วันนี้ (ไม่ว่าจะอยู่วัยไหน)

\"พญ.ปิยะนุช รักพาณิชย์\" ใครว่า \"อัลไซเมอร์\" รักษาไม่ได้...     สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก 

แต่ก่อนเราเชื่อกันว่า “อัลไซเมอร์” เป็นแล้วเป็นเลย ไม่มียารักษา

“ใช่ค่ะ แต่งานวิจัยยุคใหม่พบว่า สมองสามารถฟื้นฟูได้ คนเป็นอัลไซเมอร์ และโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบ เนื้อสมองที่ตายแล้วก็ฟื้นฟูให้ดีขึ้นได้ เพราะสมองมีความยืดหยุ่น สามารถส่งสัญญาณสื่อสารกัน ความสำคัญคือเราจะทำยังไงให้เกิดการสื่อสารเชื่อมต่อกัน

การศึกษาล่าสุดพบว่า สมองจะพัฒนาและยืดหยุ่นได้ เรียกว่า Neuroplasticity (ความสามารถของสมองในการเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่องหรือสมองมีความยืดหยุ่น) สร้างแนวคิดใหม่ในวงการแพทย์ทั่วโลก แม้กระทั่ง โรคอัลไซเมอร์ ที่คิดว่าสมองเสียไปแล้วแก้ไขไม่ได้ แต่แนวคิดใหม่นี้ต้องแก้หลายปัจจัยที่เป็นต้นเหตุ”

\"พญ.ปิยะนุช รักพาณิชย์\" ใครว่า \"อัลไซเมอร์\" รักษาไม่ได้...    อวสานอัลไซเมอร์ น.พ.เดล อี. เบรเดเซน (สำนักพิมพ์อมรินทร์)

มีแนวทางการรักษา-ฟื้นฟูอย่างไร

“เป็นการรักษาที่แตกต่างไปจากที่เคยมี เนื่องจากคุณหมอเดล (Dr.Del E.Brendensen ผู้เขียนหนังสือเรื่อง “อวสานอัลไซเมอร์”) มีแนวคิดที่ต่างไปว่า อัลไซเมอร์ เป็นโรคที่เกิดจากหลายปัจจัย ซึ่งแต่ละคนมีปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดอัลไซเมอร์ไม่เหมือนกัน ดังนั้นการจะป้องกันหรือรักษาอัลไซเมอร์ เป็น Multi-factorial คือต้องไปจัดการกับปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่เป็นสาเหตุ (จากการศึกษานี้คุณหมอเดล พบปัจจัยเบื้องต้น 36 ปัจจัย) และไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวสำหรับผู้ป่วยทุกคน แต่จะเป็นเรื่องที่ต้องตรวจหาเฉพาะบุคคล (Personalized medicine) การให้ยาตัวเดียวแล้วหวังจะให้ผู้ป่วยหายจากโรคนี้นั้นเป็นไปไม่ได้

 

\"พญ.ปิยะนุช รักพาณิชย์\" ใครว่า \"อัลไซเมอร์\" รักษาไม่ได้...    สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก

ที่ สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก การรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์จึงเป็น Individual มาก ไม่มีแพ็คเกจอะไรเลย มาถึงแพทย์ต้องประเมินก่อนว่าเป็นอะไร ต้องการอะไร เป้าหมายคืออะไร และใช้เวลาในการรักษาอย่างไร ต้องเก็บข้อมูลและคุยกับคนไข้เป็นชั่วโมง ๆ”

งานวิจัยของ Dr.Del จึงเป็นการปฏิวัติแนวทางการรักษาอัลไซเมอร์

“หมอเองในฐานะแพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู ผสมผสานกายภาพบำบัดและดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เป็นหนึ่งในหมอ 2 คนแรกในประเทศไทยที่เป็น Registered Physician อย่างเป็นทางการของคลินิก Apollo Health ของ Dr.Dale Bredesen แพทย์ระบบประสาท มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย อเมริกา ผู้ทำวิจัยและรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์แนวใหม่ที่มีชื่อเสียงระดับโลก

จากความเชื่อแต่เดิมว่า “อัลไซเมอร์ เป็นโรคที่ยายังรักษาไม่ได้” การแพทย์แนวหลัก (Conventional medicine) เชื่อกันว่าอัลไซเมอร์เป็นแล้วไม่มีทางรักษา ยาที่มีในปัจจุบันเป็นยาที่บรรเทาอาการของโรคเท่านั้น

\"พญ.ปิยะนุช รักพาณิชย์\" ใครว่า \"อัลไซเมอร์\" รักษาไม่ได้... จนกระทั่งเมื่อ 5 ปีที่แล้ว คุณหมอเดล ได้ทำการวิจัยและรักษาแนวใหม่ให้กับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ 10 ราย และพบว่า เกือบทุกรายอาการดีขึ้น และบางรายหายจากโรคนี้ได้ จากแนวคิดของคุณหมอเดลว่า อัลไซเมอร์เป็นโรคที่เกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน

ที่น่าสนใจคือ ปัจจัยหลายอย่างที่คุณหมอเดลพบ เป็นเรื่องของการ ปรับไลฟ์สไตล์ที่ดี แม้ว่าอีกหลายปัจจัยจะต้องใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ หรือเอ็กซ์เรย์ แต่ที่หมอบอกล้วนเป็นปัจจัยที่เราทำได้เองทั้งสิ้น ถ้าตั้งใจทำ ตั้งแต่ปรับไลฟ์สไตล์และปรับเรื่องอาหาร”

\"พญ.ปิยะนุช รักพาณิชย์\" ใครว่า \"อัลไซเมอร์\" รักษาไม่ได้...     พญ.ปิยะนุช รักพาณิชย์

ทำไมคุณหมอถึงสนใจอัลไซเมอร์

“เพราะเรากำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงวัย ในต่างประเทศเขาเกิดขึ้นแล้ว อีกไม่เกินสิบปี ประเทศไทยจะมีผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 และอีกยี่สิบปีข้างหน้าคาดว่า สัดส่วนผู้สูงอายุอาจเพิ่มขึ้นเกือบถึง 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งปัจจุบันอายุขัยเฉลี่ยของคนไทยก็เพิ่มมากขึ้นเป็น 76 ปี ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 16 ปี เมื่อเทียบกับ 50 ปีที่แล้ว ที่อายุขัยเฉลี่ยอยู่ที่ 60 ปี

เมื่อก้าวเข้าสู่วัยกลางคนขึ้นไป ช่วงที่ร่างกายเริ่มดูเหมือนไม่เป็นดั่งใจ ไม่เหมือนวัยรุ่นแล้ว หลายคนเริ่มคิดว่าอายุจะยืนยาวเท่าไหร่ไม่สำคัญเท่ากับการ ขอให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งสำหรับผู้สูงอายุก็ยากขึ้นเนื่องจากสมองทำหน้าที่ผิดเพี้ยนไป เช่น เกิดโรคความจำเสื่อม เป็นภาวะผิดปกติที่เรามักเข้าใจกันว่าเป็นเรื่องธรรมดา จะมากับอายุที่มากขึ้น แต่ความจริงแล้วอายุที่มากขึ้นไม่จำเป็นต้องความจำเสื่อม ในทางกลับกันมีคนจำนวนไม่น้อยที่อายุน้อยกว่า 65 ปี ก็มีภาวะความจำเสื่อม

หมอถึงบอกว่า อัลไซเมอร์ คือภัยเงียบของชาวโลก เมื่อเราพบว่าความจำเสื่อมเป็นอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เป็นปัญหาสุขภาพของคนทั่วโลก ในอเมริกามีสถิติพบว่าทุก 65 วินาที มีผู้ป่วยอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้น 1 คน ถึงวันนี้คาดว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคนี้มากกว่า 40 ล้านคน และอาจเพิ่มขึ้นกว่า 70 ล้านคนในอีก 10 ปีข้างหน้า”

\"พญ.ปิยะนุช รักพาณิชย์\" ใครว่า \"อัลไซเมอร์\" รักษาไม่ได้...     ในสวนสุขภาพอรุณสหคลินิก ที่ให้คนไข้ฝึกเดิน

ปัจจุบันพบว่า โรคสมองเสื่อมไม่ได้เกิดเฉพาะกับผู้สูงวัย

อัลไซเมอร์ ตอนนี้เป็นโรคท็อปฮิต อีกไม่กี่ปีคนเป็นอัลไซเมอร์จะล้นโลก มีทั้งที่เป็นแล้ว และที่เป็นน้อย ๆ มีอีกเยอะ เมื่อต้นปีเราทำแบบสอบถามประเมินอาการให้คนมาทดสอบฟรีกับคนวัยหนุ่มสาว เชื่อมั้ยพบ 10-20% ที่ผิดปกติ คำว่า “ผิดปกติ” ไม่ได้หมายถึงเขาเป็นอัลไซเมอร์ แบบออกจากบ้านแล้วหายไปจำทางไม่ได้ แต่เขาจะหลงลืมบ้าง หรือรู้สึกว่าจำบางสิ่งไม่ได้ ฉะนั้นจึงควรรู้จักวิธีดูแลสมองให้ดี เพื่อป้องกันไว้ก่อน”

\"พญ.ปิยะนุช รักพาณิชย์\" ใครว่า \"อัลไซเมอร์\" รักษาไม่ได้... การปรับไลฟ์สไตล์ป้องกันอัลไซเมอร์ได้อย่างไร

“ใช้คำว่า “ปรับไลฟ์สไตล์ ห่างไกลอัลไซเมอร์” จากงานวิจัยพบว่า อาหาร ซึ่งอยู่ในไลฟ์สไตล์ของคนทุกวัยเป็นปัจจัยสำคัญ สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก ได้นำแนวคิดการปรับไลฟ์สไตล์จากงานวิจัยของ ดร.เดล มาปรับให้เข้ากับการรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ พร้อมกับการฟื้นฟู การใช้ยา การตรวจรักษาทางห้องปฏิบัติการ

แนวคิดคือทำอย่างไรให้คนไข้หาย ไม่ใช่แค่ลดอาการ อย่างที่เราทำกายภาพบำบัด วารีบำบัด Recreation ต่าง ๆ พาไปออกกำลังกาย ยกแขนขา จริง ๆ ไม่ได้ทำแค่นั้น สิ่งที่เราทำคือทำยังไงให้เซลล์ที่ตายแล้วมีสุขภาพดีขึ้น สมองต้องดีขึ้นด้วย ไม่ใช่แค่ลุกเดินได้ เราฝึกให้คนไข้กระตุ้นสมองสั่งการเดิน ถ้าไม่ใช้จะจำไม่ได้ การฟื้นฟูในปัจจุบันเปลี่ยนคอนเซปต์ไปแล้ว แต่ต้องทำให้ครบและทำให้ถูกต้อง

หมอยกตัวอย่างคนไข้หลอดเลือดสมองตีบ แขนขาอ่อนแรง มาฟื้นฟู 1ใน 3 หายเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ คนที่ไม่หายก็มี ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย และตำแหน่งที่คนไข้เกิดอาการ การรักษาในปัจจุบันเราทำมากกว่าให้ลุกนั่งเดินได้”

\"พญ.ปิยะนุช รักพาณิชย์\" ใครว่า \"อัลไซเมอร์\" รักษาไม่ได้...     มาเสะโซบะ เป็นอาหารคีโต ไร้แป้ง น้ำตาลต่ำ

หนึ่งในไลฟ์สไตล์คืออาหารที่ต้องปรับ สำคัญแต่ทำยาก

“ใช่ การปรับเรื่องการกินยากที่สุด สำหรับการป้องกันอัลไซเมอร์ ยกตัวอย่างคนไข้ที่มาเข้าโปรแกรมฟื้นฟู ต้องเริ่มด้วยอาหาร น้ำตาลคือตัวอันตรายที่สุดสำหรับสมอง เวลาน้ำตาลสูงในสมองจะเกิดการอักเสบ มีการเชื่อมต่อกัน อันดับแรกต้องลดน้ำตาล ต้องกินโลว์แคลอรี่ เพื่อให้สมองเราใช้พลังงานจากไขมันให้เป็น แต่ก่อนสมองคนยุคดึกดำบรรพ์คือใช้พลังงานจากไขมัน แต่ยุคที่ถูกแวดล้อมด้วยอาหารที่น่ากินอย่างนี้มาหลายร้อยปี ทำให้มนุษย์เปลี่ยนไป เรื่องเกี่ยวกับสมองจึงต้องฝึกอีกมาก”

\"พญ.ปิยะนุช รักพาณิชย์\" ใครว่า \"อัลไซเมอร์\" รักษาไม่ได้...    ผัดไทยใช้เส้นมะละกอกับกุ้งสด

นอกจากน้ำตาลแล้ว ควรปรับการกินอะไรบ้าง

สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก ออกแบบโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อต้านอัลไซเมอร์หรือ  Anti-Alzheimer’s diet อย่างแรกคือ ลดน้ำตาลและแป้ง น้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวมีผลต่อการดื้อของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนควบคุมน้ำตาล และการเกิดการอักเสบในร่างกายและสมองได้ ให้เลือกรับประทานอาหารแบบค่าดัชนีไกลซีมิกต่ำ และอาหารต้านการอักเสบ

การ Fasting หรืออดอาหาร หรือ IF (Intermittent Fasting) ให้มีช่วงท้องว่าง 12 ชั่วโมงในช่วงกลางคืน และรับประทานอาหารมื้อเย็นก่อนเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง ซึ่งเป็นผลดีต่อฮอร์โมนอินซูลินในร่างกาย และช่วยลดโปรตีนเบต้าแอมีลอยด์ที่สะสมในสมอง ซึ่งเป็นพยาธิสภาพผิดปกติของสมองที่ตรวจพบในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ และช่วยกระตุ้นการซ่อมแซมและกำจัดเซลล์ไม่ดีของตัวเอง (Autophagy)

\"พญ.ปิยะนุช รักพาณิชย์\" ใครว่า \"อัลไซเมอร์\" รักษาไม่ได้...    ข้าวผัดใช้ดอกกะหล่ำผัดแทนข้าว

จากรายงานของคุณหมอเดล พบว่า วิตามิน เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระหลายอย่างจะช่วยรักษาหรือป้องกันอัลไซเมอร์ได้ แต่แนะนำให้พบแพทย์และตรวจก่อนว่าเรามีความผิดปกติตรงไหน เช่นตรวจเลือดดูระดับโฮโมซิสเตอีน ตรวจโลหะหนักที่อาจสะสมเป็นพิษในร่างกาย เป็นต้น

เพราะร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่าง วิตามิน เกลือแร่ ที่ช่วยบำรุงเซลล์สมอง และเพิ่มความเชื่อมต่อของเซลล์สมอง ได้แก่ วิตามินบี 6, 9, 12 วิตามินดี วิตามินอี วิตามินเค 2 โคเอนไซม์คิว 10 สารสกัดจากขมิ้น สารสกัดจากองุ่น เช่น เรสเวอราทรอล และไขมันดี เช่น ดีเอชเอ ไขมันเอ็มซีที เป็นต้น”

นอกจากอาหารแล้ว ไลฟ์สไตล์ด้านอื่นต้องแก้ไขอย่างไร

“การปรับไลฟ์สไตล์คือวิถีการดำเนินชีวิตของเราทั้งหมด นอกจากอาหารแล้ว การออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยกระตุ้นการเชื่อมต่อการทำงานของเซลล์สมองได้อย่างดี แนะนำให้ทำ 30-60 นาที 4-6 วันต่อสัปดาห์ เลือกการออกกำลังกายประเภทที่ตัวเองชอบ หรือสามารถทำต่อเนื่องได้อย่างสม่ำเสมอ ความสำคัญคือให้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องจนเป็นนิสัย

\"พญ.ปิยะนุช รักพาณิชย์\" ใครว่า \"อัลไซเมอร์\" รักษาไม่ได้...    เต้นเข้าจังหวะเพื่อออกกำลังกาย เป็นหนึ่งในกิจกรรมบำบัด

การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 ชั่วโมง และระวังเรื่องคุณภาพการนอน เช่น บางคนอาจมีภาวะขาดออกซิเจนในขณะนอนหลับ หรือ Sleep apnea ต้องแก้ไข ในกรณีที่มีปัญหาเรื่องการนอน เมลาโทนินหรือทริฟโตแฟน อาจช่วยได้

ลดความเครียดด้วย เลือกวิธีที่เหมาะกับตัวเอง จะฟังเพลง อ่านหนังสือ ไปเที่ยว ทำสมาธิ ฯลฯ จะช่วยลดฮอร์โมนคอร์ติซอล หรือฮอร์โมนความเครียดที่มีผลทำลายสมองได้

ฝึกเกมกระตุ้นสมอง การฝึกสมองในส่วนที่เราไม่ถนัดจะกระตุ้นให้เซลล์สมองของเราให้เชื่อมต่อสื่อสารกันได้ดีขั้น สมองด้านที่จะเสื่อมไปก่อนมักเป็นสมองส่วนที่เราไม่ค่อยได้ใช้ หรือไม่ชอบที่จะใช้

ดังนั้นจึงต้องฝึกทำกิจกรรมใหม่ ๆ ให้สมอง ยกตัวอย่างใครที่ไม่ชอบคิดเลข ใครไม่ชอบภาษา ไม่ชอบศิลปะหรือดนตรีเลย ก็ฝึกภาษาใหม่ ๆ เล่นดนตรี ฟังเพลง เป็นต้น

\"พญ.ปิยะนุช รักพาณิชย์\" ใครว่า \"อัลไซเมอร์\" รักษาไม่ได้...     สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก

ปัจจุบันเกมฝึกสมองในแอพพลิเคชั่นมีเยอะ สามารถช่วยกระตุ้นสมอง อย่างง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน คือ หัดคิดเลขบ่อย ๆ หรือลองแปรงฟันมือซ้าย ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดทำกิจวัตรอื่น ๆ

ฝึกสมาธิก็ดีมาก การฝึกสมาธิเป็นประจำจะช่วยให้สมองหลั่งสารที่กระตุ้นการพัฒนาของเซลล์สมองและระบบประสาทเพิ่มมากขึ้นได้

การปรับไลฟ์สไตล์ไม่ใช่ว่าป่วยมาแล้วถึงทำ จริง ๆ เริ่มได้ไม่ว่าจะอยู่วัยไหน ยิ่งเริ่มเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดีต่อสมอง เป็นการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีคุณภาพ

\"พญ.ปิยะนุช รักพาณิชย์\" ใครว่า \"อัลไซเมอร์\" รักษาไม่ได้...    พญ.ปิยะนุช รักพาณิชย์

เพราะสมองมีความยืดหยุ่นและเชื่อมโยงถึงกัน ยังไม่เป็นผู้สูงอายุวันนี้ก็เตรียมตัว หรือป้องกันอัลไซเมอร์ไว้ก่อน โดยดูแลสมองให้ดี ผลพลอยได้คือร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง”

\"พญ.ปิยะนุช รักพาณิชย์\" ใครว่า \"อัลไซเมอร์\" รักษาไม่ได้...    สแกนเพื่อทดสอบภาวะสมอง

เข้ารับคำปรึกษาและประเมินความเสี่ยงและความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ โรคอัลไซเมอร์ ได้ที่ สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก (ในหมู่บ้านธารารมณ์ ถ.รามคำแหง) โทร.0 2717 4441, 09 4812 7722, www.arunhealthgarden.com,  LINE Official : @arunhealthgarden https://lin.ee/kVkb3zA