“HONOUR” จาก “ภัทรา พอร์ซเลน” จาน-ชามเพื่อช่วยเหลือผู้สูงวัย

“HONOUR”  จาก “ภัทรา พอร์ซเลน” จาน-ชามเพื่อช่วยเหลือผู้สูงวัย

เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” “ภัทรา พอร์ซเลน” ขอคารวะผู้สูงวัยในคอลเลคชั่น “HONOUR” ภาชนะใส่อาหารออกแบบพิเศษ เพื่อให้ผู้สูงวัยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้

คุณเรย์มอนด์ ฮาน (Raymond Han) รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ภัทรา พอร์ซเลน จำกัด แนะนำ จาน-ชาม-แก้วน้ำ คอลเลคชั่น HONOUR ที่ใช้เวลาในการวิจัยและพัฒนานาน 4 ปี เป็นเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารสำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่ประสบปัญหากล้ามเนื้อมือหรือแขนอ่อนแรง ให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ สร้างความภาคภูมิใจและรู้สึกมีคุณค่าในตนเองมากขึ้น

“HONOUR”  จาก “ภัทรา พอร์ซเลน” จาน-ชามเพื่อช่วยเหลือผู้สูงวัย ผู้บริหาร ภัทรา พอร์ซเลน เสริมว่า

“เนื่องในโอกาสที่ ภัทรา พอร์ซเลน ดำเนินกิจการมาครบ 40 ปีในปีนี้ เราจึงต้องการทำสิ่งที่พิเศษ เราเป็นผู้นำด้านการผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ประเภท พอร์ซเลน (Porcelain) และโบนไชน่า (Bone China) โดยคอลเลคชั่นล่าสุด HONOUR ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้สูงอายุ ได้แก่ จาน ชาม และแก้วน้ำ ที่ผ่านการศึกษา วิจัย และออกแบบมาเพื่อให้ผู้สูงอายุใช้งานได้ง่ายขึ้น

“HONOUR”  จาก “ภัทรา พอร์ซเลน” จาน-ชามเพื่อช่วยเหลือผู้สูงวัย   เรย์มอนด์ ฮาน

คอลเลคชั่นนี้ใช้เวลามากกว่าทุกคอลเลคชั่นที่เคยผลิต โดยโจทย์ที่ตั้งขึ้นมานั้นไม่เพียงแต่เป็นเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารที่มีความสวยงามเท่านั้น แต่ต้องออกแบบให้ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน และที่สำคัญต้องไม่ทำให้รู้สึกเหมือนอุปกรณ์บำบัด ดังนั้นทีมวิจัยและพัฒนาฯ จึงร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเพื่อหาข้อมูลพื้นฐานจากทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงวัยเป็นจำนวนมาก

“HONOUR”  จาก “ภัทรา พอร์ซเลน” จาน-ชามเพื่อช่วยเหลือผู้สูงวัย โจทย์นี้ท้าทายมากเพราะฟังก์ชั่นเยอะมาก ทีม R&D จะต้องใส่ใจทุกรายละเอียดที่จะนำมาออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นด้านสรีระวิทยา กายภาคศาสตร์ จิตวิทยา ในที่สุดก็ได้ HONOUR Collection ชุดอุปกรณ์สำหรับรับประทานอาหารจำนวน 12 ชิ้น ประกอบด้วย จาน ชามและแก้วน้ำ แต่ละชิ้นมีฝาครอบมาเป็นคู่ มีให้เลือก 4 สี คือ ขาว เหลือง ฟ้า และแดง”

เรย์มอน ฮาน กล่าวเสริมว่า “ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคของสังคมผู้สูงอายุ หรือ Aging Society ดังนั้นเราจึงควรมีการเตรียมความพร้อมในการเสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้สูงวัยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสามารถในการดูแลตนเองและดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติ

“HONOUR”  จาก “ภัทรา พอร์ซเลน” จาน-ชามเพื่อช่วยเหลือผู้สูงวัย รวมไปถึงการสร้างทัศนคติในสังคมที่มีต่อผู้สูงวัยก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ ที่เรามองว่าผู้สูงวัยนั้นมีศักยภาพ และการจะไปถึงจุดนั้นเราก็ต้องสร้างทัศนคติของผู้สูงวัยที่มีต่อตนเองก่อน

 

“HONOUR”  จาก “ภัทรา พอร์ซเลน” จาน-ชามเพื่อช่วยเหลือผู้สูงวัย การเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางสังคมดังกล่าว ทำให้เราต้องหันมาพิจารณาถึงการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่คนกลุ่มนี้ ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยี สาธารณูปโภค ตลอดจนของใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้พวกเขาดูแลตัวเองได้ เกิดความภาคภูมิใจ รู้สึกมีคุณค่ามากขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น”

“HONOUR”  จาก “ภัทรา พอร์ซเลน” จาน-ชามเพื่อช่วยเหลือผู้สูงวัย ทีมงานออกแบบลงพื้นที่ศึกษาวิจัย และเก็บข้อมูล พบว่า ปัญหาสำคัญของผู้สูงวัยคือ การรับประทานอาหาร ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานที่เราทุกคนควรช่วยเหลือตนเองได้ แต่ด้วยวัยที่มากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับภาวะต่าง ๆ ทั้งทางด้านกายภาพและจิตภาพ รวมไปถึงโรคต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว เช่น อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน ซึ่งมีผลกับการเคลื่อนไหวในอิริยาบถต่าง ๆ ทำให้มีปัญหาในการหยิบจับสิ่งของหรือภาชนะ ที่จะตกหล่นหรือทำอาหารหกออกมาข้างนอก ส่งผลให้ผู้สูงอายุรับประทานได้น้อยลง

“HONOUR”  จาก “ภัทรา พอร์ซเลน” จาน-ชามเพื่อช่วยเหลือผู้สูงวัย “ดังนั้นเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารจึงควรออกแบบมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาในด้านนี้ ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์รูปแบบดังกล่าวยังไม่มีให้เลือกมากนัก ด้วยความตระหนักถึงปัญหาในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุในด้านนี้ และมีความเชื่อมั่นว่าด้วยเทคโนโลยีในการผลิตอันทันสมัย บวกกับความชำนาญของ ภัทรา พอร์ซเลน จะสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเหลือผู้สูงอายุ รวมไปถึงผู้ที่ประสบปัญหาดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับจุดยืนของบริษัทฯ ว่า We make good life possible”

“HONOUR”  จาก “ภัทรา พอร์ซเลน” จาน-ชามเพื่อช่วยเหลือผู้สูงวัย ผู้บริหาร ภัทรา พอร์ซเลน ตอกย้ำถึงความสำคัญของภาชนะบรรจุอาหาร ซึ่งบางคนอาจมองข้าม

“นอกจากนี้ HONOUR ยังวางโพสิชั่นนิ่งว่าเป็น ภาชนะที่ยั่งยืน ที่จะมาแทนภาชนะพลาสติกและเมลามีนที่นิยมใช้ในร้านอาหารและโรงพยาบาล เพราะพอร์ซเลนเป็นวัสดุที่มีอายุการใช้งาน 10 ปีขึ้นไป ขณะที่ภาชนะพลาสติกจะมีอายุการใช้งานที่สั้น 1 – 3 ปี ก็ต้องเปลี่ยนเพราะสีที่ซีดลง รอยขีดข่วนบนภาชนะเป็นที่สะสมของเชื้อโรค และเรายังออกแบบให้มีฝาปิดเพื่อสุขอนามัย แทนการใช้พลาสติกแร็ปอาหารที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งเป็นการเพิ่มขยะให้กับสิ่งแวดล้อม”

“HONOUR”  จาก “ภัทรา พอร์ซเลน” จาน-ชามเพื่อช่วยเหลือผู้สูงวัย “HONOUR”  จาก “ภัทรา พอร์ซเลน” จาน-ชามเพื่อช่วยเหลือผู้สูงวัย   ขอบและก้นชามออกแบบให้ตักอาหารง่ายขึ้น

ในแง่การออกแบบ ฟังก์ชั่นการใช้งานของชุดถ้วยชาม HONOUR ออกแบบตามหลักสรีระศาสตร์ ทั้งชามมีองศาความโค้งของถ้วยที่ช่วยในด้านการตักอาหาร (Scooping Curve) ทำให้ผู้ใช้สามารถตักอาหารได้ด้วยมือเพียงข้างเดียว

ขอบป้องกันการหก (Anti-spill Rim) ขอบสำหรับการยกหรือประคอง (Holding Rim) ฝาที่สามารถใช้สำหรับปิดหรือเป็นจานรอง แก้วที่มีหูจับขนาดใหญ่จนผู้ใช้สามารถสอดมือเข้าไปเพื่อประคองการถือหรือยกได้อย่างมั่นคง และไม่เพิ่มภาระให้กับข้อมือ

“HONOUR”  จาก “ภัทรา พอร์ซเลน” จาน-ชามเพื่อช่วยเหลือผู้สูงวัย   ขอบป้องกันการหก และประคองได้ง่ายขึ้น

ในแง่การใช้งานจริง ขณะรับประทานอาหาร ออกแบบให้จัดเก็บได้ง่าย โดยสามารถวางซ้อนกันได้อย่างมั่นคง (Stacking Lock) เหมาะสมกับการจัดวางบนถาดอาหารที่สามารถวางซ้อนกันได้ ด้วยการออกแบบฝาแบบมีวงแหวน Foot Lock ตอบโจทย์ระบบรถเข็นส่งอาหารทั้งในโรงพยาบาล สถานดูแลคนชรา ตลอดจนโรงแรม และร้านอาหาร

“HONOUR”  จาก “ภัทรา พอร์ซเลน” จาน-ชามเพื่อช่วยเหลือผู้สูงวัย นอกจากนี้ด้วยวัสดุพอร์ซเลนอย่างดี ทำให้ชุดภาชนะบนโต๊ะอาหารนี้ดูแลรักษาง่าย เป็นรอยได้ยาก และสามารถใช้งานกับไมโครเวฟได้

เบื้องหลัง HONOUR Collection นักออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Designer) ของ ภัทรา พอร์ซเลน คุณมด – ภัทริน ผลเพิ่ม เปิดใจว่า

“HONOUR”  จาก “ภัทรา พอร์ซเลน” จาน-ชามเพื่อช่วยเหลือผู้สูงวัย     ภัทริน ผลเพิ่ม Product Designer

“จุดเริ่มต้นมาจากเราอยากทำผลิตภัณฑ์เพื่อตอบแทนสังคม และวางทาร์เก็ตกรุ๊ปที่เกี่ยวกับ Age Society ผู้สูงอายุและผู้ป่วย และเป็นการตลาดในอนาคตด้วย ใช้เวลา 4 ปี เพราะเราทำรีเสิร์ช ทดสอบและทดสอบ จนใช้งานได้จริง

ตั้งแต่ผุดโปรเจคนี้ เราต้องดูคอนเซปต์ว่าจะเป็นอะไรได้บ้าง จากชื่อ HONOUR หมายถึง “เกียรติยศ” เราอยากให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ มีความภูมิใจ ก็สะท้อนกลับมาเป็นแนวคิดในการออกแบบ เราพบว่าปัญหาหลักของผู้สูงวัยมี 2 อย่างคือ ความต้องการด้านภายภาพ การใช้งานกล้ามเนื้อ การใช้ชีวิต การที่เขาไม่สามารถทำได้สมบูรณ์เหมือนสมัยเป็นหนุ่มสาว และปัญหาอีกอย่างคือเรื่องของ Mental Health ยกตัวอย่างคำว่า ถ้าป่วยแต่ใจเราไม่ป่วยก็จะหายเร็วขึ้น

“HONOUR”  จาก “ภัทรา พอร์ซเลน” จาน-ชามเพื่อช่วยเหลือผู้สูงวัย

   หูจับแก้วน้ำช่วยให้หยิบจับและยกง่ายขึ้น

ปัญหาของผู้สูงวัยนอกจากเรื่องกายภาพ อีกเรื่องเมื่อมองลึกลงไปคือปัญหาด้านกำลังใจ เราก็แค่มีอุปกรณ์ที่ช่วยให้มีกำลังใจในการใช้ชีวิตมากขึ้น ผลิตภัณฑ์นี้อาจไม่ได้ช่วยซัพพอร์ต 100% เหมือนอุปกรณ์บำบัดหรืออุปกรณ์ด้านกายภาพ แต่ช่วยได้เมื่อประสิทธิภาพการใช้มือลดลง ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงวัยพอช่วยเหลือตัวเองได้ ทำให้เกิดกำลังใจและความรู้สึกที่ดีขึ้น

“HONOUR”  จาก “ภัทรา พอร์ซเลน” จาน-ชามเพื่อช่วยเหลือผู้สูงวัย    ฝาครอบยกใช้งานง่ายขึ้น

เนื่องจาก ภัทรา พอร์ซเลน ไม่เคยมีทาร์เก็ต elderly มาก่อน คอลเลคชั่นนี้จึงออกแบบอย่างเฉพาะเพื่อซัพพอร์ตสรีระศาสตร์ และต้องออกแบบให้สามารถใช้กับระบบในโรงพยาบาลได้อย่างสมบูรณ์แบบ

เพราะต้องรีเสิร์ชกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้ป่วย เราทำรีเสิร์ชตั้งแต่คนดูแลในโรงพยาบาล, ระบบจัดซื้อ, ระบบเสิร์ฟ และผู้ใช้งานจริงคือผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ ไปถึงระบบจัดเก็บ จัดล้าง และนำมาใช้ใหม่ ต้องออกแบบทั้งไซเคิลเลย ทำให้ใช้เวลานาน เราต้องคุยกับหลายคน หาปัญหาแต่ละส่วน จากนั้นก็เอามารวมกันให้ใช้งานได้จริง ทดสอบ ๆ และพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดเป็นไฟนอลโปรดัก

“HONOUR”  จาก “ภัทรา พอร์ซเลน” จาน-ชามเพื่อช่วยเหลือผู้สูงวัย

ความนานอยู่ที่การทดสอบด้วย  เพราะเราต้องนำโปรดักไปใช้งานจริงกับโรงพยาบาลหลายรอบ เพื่อดูปัญหาและแก้ไข

ส่วนที่คิดว่ายากที่สุดคือ ส่วนที่ต้องดีไซน์ทำให้เกิดฟังก์ชั่นใช้งานได้จริง เพราะปัญหาเยอะนะคะ เวลาเราไปใช้งาน จะเห็นปัญหาโน่นนี่ เราก็เอามากรองหาปัญหาอะไรที่แก้ได้ อะไรที่ยากไปต้องตัดออก จากนั้นกรองเอาสิ่งที่ใช้งานได้จริง ก็มี element เยอะมาก อันนั้นก็อยากได้อันนี้ก็อยากได้ เราก็พยายามดีไซน์ให้ทุกอย่างอยู่ได้ในโปรดักชิ้นเดียว ถือว่าเป็นขั้นตอนที่ยากที่สุด

“HONOUR”  จาก “ภัทรา พอร์ซเลน” จาน-ชามเพื่อช่วยเหลือผู้สูงวัย ความยากอีกอย่างคือ ถ้าเอาทุกอย่างมารวม ๆ กันจะออกมาคล้าย ๆ กับโปรดักเอเลี่ยนเลยค่ะ จะดูเหมือนอุปกรณ์บำบัด ความยากคือต้องออกแบบให้ simple และใช้งานได้

เราต้องทำดีไซน์หลายเวอร์ชั่น พอสเก็ตช์แรกออกมาเอามารวมกันจะออกมาคล้ายกับโปรดักพวก Iron man ในเวอร์ชั่นแรกที่เทอะทะหน่อย เราก็ต้องค่อย ๆ ปรับดีไซน์ให้เป็น Iron man ที่สวยงาม อันนี้คือยากเพราะต้องผ่านขั้นตอนที่ปรับเยอะ คิดเยอะ

พอได้ไฟนอลแล้วก็ต้องเอาไปทดสอบ อันนี้คือยากรองลงมา และการ adjust เล็ก ๆ น้อย ๆ ให้มันดีขึ้น ถ้าปรับตรงนี้ดีขึ้นก็สวยขึ้นอีกหน่อย  เรารีเสิร์ชกับโรงพยาบาล 3 ที่ ศิริราช บำรุงราษฎร์ สำโรง เราดูทาร์เก็ตหมดทั้งเอกชนและรัฐ เข้าไปคุยว่าทุกที่ที่เขามีอะไรที่เหมือนกันและอะไรที่ไม่เหมือนกัน เพราะเราอยากออกแบบให้ดีที่สุด สามารถใช้งานได้ในทุก ๆ ที่

“HONOUR”  จาก “ภัทรา พอร์ซเลน” จาน-ชามเพื่อช่วยเหลือผู้สูงวัย สุดท้ายพอร์ซเลน แม้จะแตกหักง่าย แต่ข้อดีคือเรื่องความสะอาดเป็นหลัก และตลาด hospitality ระดับพรีเมี่ยมจะเลือกพอร์ซเลน ที่คำนึงถึงเรื่องสุขอนามัย และเรื่องของความหรูหรา ถ้าสังเกตในโรงพยาบาล ห้องวีไอพี จะใช้พอร์ซเลน จะไม่มีพลาสติก เมลามีน มาเกี่ยวเลย

ในแง่ลดโลกร้อน พอร์ซเลน ช่วยลดปริมาณขยะ เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไลฟ์ลอง ถ้าไม่ทำแตกนะคะ พวกนักสะสมก็จะเก็บชานชาม ถ้าใช้งานถูกวิธี ไม่ทำแตกก็จะอยู่ได้เป็นร้อยสองร้อยปี มันนานมาก ๆ

ยกตัวอย่าง Royal Crown Derby เป็นพอร์ซเลนที่ใช้สมัยไททานิค พอเรือจมจานชามจมไปด้วย แต่ปัจจุบันมันก็ยังอยู่สมบูรณ์ใต้ทะเล ถ้าไม่แตกคือใช้ได้เรื่อย ๆ ในแง่ลดโลกร้อนคือไม่สิ้นเปลือง ถ้าใช้ถูกต้องก็จะอยู่กับเรานานหลายชั่วอายุคน”

“HONOUR”  จาก “ภัทรา พอร์ซเลน” จาน-ชามเพื่อช่วยเหลือผู้สูงวัย

คอลเลคชั่น HONOUR ประกอบด้วย

1.       ชุดจานขนาด 23.5 ซม. พร้อมฝาครอบ

2.       ชุดจานขนาด 20 ซม. พร้อมฝาครอบ

3.       ชุดชามขนาด 20 ซม. 500 ซีซี พร้อมฝา

4.       ชุดชามขนาด 16.5 ซม. 350 ซีซี พร้อมฝา/จานรอง

5.       ชุดชามขนาด 13 ซม. 270 ซีซี พร้อมฝา/จานรอง

6.       ชุดแก้วหูจับ ขนาด 300 ซีซี พร้อมฝา/จานรอง

ราคาจำหน่ายใน Box set ไวท์พอร์ซเลน 1,299 บาท (ในกล่องมี  8 ชิ้น รวมฝา) กับพอร์ซเลนเคลือบสี 1,799 บาท (8 ชิ้นในกล่อง)

“HONOUR”  จาก “ภัทรา พอร์ซเลน” จาน-ชามเพื่อช่วยเหลือผู้สูงวัย

ชุดถ้วยชาม HONOUR วางจำหน่ายต้นเดือนมีนาคม 2565 ในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ หรือสั่งซื้อผ่านอีเมลที่ [email protected], www.patraporcelain.com, FB:/ PatraPorcelain