"ตรุษจีน 2566" เสริมดวง ไหว้ศาลเจ้าที่ไหนได้บ้าง

"ตรุษจีน 2566" เสริมดวง ไหว้ศาลเจ้าที่ไหนได้บ้าง

"ตรุษจีน 2566" มีวันสำคัญ 3 วัน วันจ่าย วันไหว้ วันเที่ยว ตรงกับวันอะไร ,ฤกษ์ไหว้เจ้าตรุษจีน ,ข้อห้ามในช่วงเทศกาลตรุษจีน และศาลเจ้าที่ควรไปกราบไหว้สักการะกว่า 20 แห่งทั้งในกรุงเทพฯและปริมณฑล

ล่วงเข้าปีใหม่ 2566 ตามปฏิทินสากลทั่วโลก แต่ในความเชื่อของชาวจีนจะยังคงเป็นปีเก่า จนกว่าจะผ่านพ้นวันตรุษจีน 2566 ตรงกับวันที่ 22 มกราคม ไปเสียก่อน ซึ่งในช่วงเทศกาลตรุษจีน จะมีวันสำคัญ 3 วัน คือ

วันจ่าย ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม 2566 ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปหาซื้ออาหาร ผลไม้ เครื่องเซ่นไหว้ มาเตรียมไว้

 

วันไหว้-วันสิ้นปี ตรงกับวันตรงกับวันที่ 21 มกราคม 2566 ทุกคนต้องไหว้เทพเจ้า ด้วยอาหาร ผลไม้ และเครื่องเซ่นไหว้ 

วันเที่ยว-วันขึ้นปีใหม่ ตรงกับวันที่ 22 มกราคม 2566 ทุกคนต้องแต่งกายสวยงามสีสันสดใส ออกไปเที่ยว ไปไหว้ขอพรจากญาติผู้ใหญ่ ทำตัวดีๆ พูดจาดีๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อไปทั้งปี

"ตรุษจีน 2566" เสริมดวง ไหว้ศาลเจ้าที่ไหนได้บ้าง Cr.Kanok Shokjaratkul

  • ฤกษ์ไหว้เจ้า ตรุษจีน 2566

ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ช่วงเช้ามืด 06.00-07.00 น. เพื่อขอบคุณเทพเทวดาผู้คุ้มครองบ้านเรือน ไหว้เสร็จ ให้รอสักครู่แล้วเผากระดาษเงินกระดาษทอง หรือไม่เผาจะได้ไม่มี PM 2.5

ไหว้บรรพบุรุษ ช่วงสาย 10.00-11.00 น.เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที ไหว้บรรพบุรุษตั้งโต๊ะไหว้ไม่เกินเที่ยง รอจนธูปหมด ก็นำของไหว้มารับประทานร่วมกัน

ไหว้สัมภเวสี ช่วงบ่าย 14.00-16.00 น. ไหว้เสร็จ ให้จุดประทัดขับไล่สิ่งชั่วร้ายและต้อนรับความเป็นสิริมงคลของวันตรุษจีน

ไหว้เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ย เทพแห่งโชคลาภ ช่วงดึก ในยามแรกของปี คือ เวลา 23.00- 05.00 น. ตั้งโต๊ะหันไปทางทิศตะวันออก อัญเชิญเทพเจ้าแห่งโชคลาภลงมาประทับในบ้านของเรา เพื่อความเป็นสิริมงคล

"ตรุษจีน 2566" เสริมดวง ไหว้ศาลเจ้าที่ไหนได้บ้าง Cr.Kanok Shokjaratkul

  • ข้อห้ามในเทศกาลตรุษจีน

1)พูดแต่สิ่งที่ดี ถ้าพูดดี ชีวิตจะดีทั้งปี ส่งเสริมให้พบเจอแต่เรื่องดี ๆ

2)แต่งกายด้วยชุดสีแดง สีมงคล หรือเสื้อผ้าสีสดใส หลีกเลี่ยงสีดำและสีขาว

3)ยิ้มแย้มแจ่มใส ห้ามร้องไห้เด็ดขาด เพราะจะทำให้โศกเศร้ามีเรื่องเสียใจทั้งปี

4)เก็บเงินขวัญถุง ตั้งแต่วันแรกของวันปีใหม่ เพื่อดึงดูดเงินให้เข้ามา

5)จุดประทัดให้เทพเทวดารับรู้ มองเห็นความกตัญญูและอำนวยพรให้ตลอดทั้งปี

6)ประดับบ้านด้วยของสีแดง เสริมสิริมงคลให้กับคนในบ้าน ขับไล่ภูตผีปีศาจออกนอกบ้าน

7)ให้ผลไม้แก่แขกคนแรกที่มาบ้าน เชื่อว่าเป็นผู้นำโชคลาภมาให้ มักเตรียมผลไม้มงคลไว้มอบให้แขกคนแรกเสมอ

8)เก็บทรัพย์ไว้ในบ้าน ไม่ทำความสะอาดบ้าน ห้ามจับไม้กวาด จะทำให้กวาดทรัพย์สินเงินทองออกนอกบ้าน

9)แจกอั่งเปาให้เด็กๆ ผู้มีจิตใจบริสุทธิ์ เป็นการเริ่มต้นปีด้วยความบริสุทธิ์ ส่วนการยื่นโชคลาภให้ผู้อื่นจะทำให้โชคดีทั้งปี

"ตรุษจีน 2566" เสริมดวง ไหว้ศาลเจ้าที่ไหนได้บ้าง Cr.Kanok Shokjaratkul

  • ศาลเจ้า ย่านเยาวราช

เริ่มต้นด้วย การเดินทางที่สามารถไปได้ง่ายๆ ด้วยรถไฟฟ้า MRT ในกรุงเทพฯ ย่านเยาวราชมีศาลเจ้ามากมาย 

1)วัดมังกรกมลาวาส หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ วัดแรกที่ทุกคนนึกถึงเมื่อจะมาแก้ชง มังกรเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ มีส่วนหัว ส่วนตัวและส่วนหาง วัดเล่งเน่ยยี่ถือว่าเป็นวัดมังกรส่วนหัว

สร้างปี พ.ศ. 2414 สถาปัตยกรรมเแบบจีนตอนใต้สกุลช่างแต้จิ๋ว ตามแบบวัดหลวง มีวิหารท้าวจตุโลกบาล ตรงกลางเป็นพระอุโบสถ ข้างหลังเป็นวิหารเทพเจ้า ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธาน 3 องค์

คือ พระโคตมพุทธเจ้า, พระอมิตาภพุทธะ, พระไภษัชยคุรุพุทธะ (ซำป้อหุกโจ้ว) พระอรหันต์ 18 องค์ เทพเจ้าต่างๆ เช่น เทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตา (ไท้ส่วยเอี๊ยะ) เทพเจ้าแห่งยา (หั่วท้อเซียงซือกง) เทพเจ้าแห่งโชคลาภ (ไฉ่ซิ้งเอี๊ยะ) 

ที่ตั้ง : 423 ถนนเจริญกรุง เขตป้อมปราบ กรุงเทพฯ เปิด : 7.00-18.00 น การเดินทาง: ลง MRT สถานีวัดมังกร เดิน 230 เมตร

2) ศาลเจ้าแม่กวนอิม มูลนิธิเทียนฟ้า สร้างปี พ.ศ.2445 ประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิมปางประทานพร แกะสลักจากไม้จันทร์หอม สีทอง รูปแบบราชวงศ์ถัง อัญเชิญมาจากประเทศจีนปี พ.ศ.2501 เป็นโรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ รักษาแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน 

ที่ตั้ง: 606 ถนนเยาวราช เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ เปิด : 24 ชั่วโมง การเดินทาง: MRT สถานีวัดมังกร เดิน 550 เมตร

3)ศาลเจ้าไต้ฮงกง มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สถาปัตยกรรมจีนตอนใต้ สร้างปี พ.ศ.2452-2461 โดยชาวจีนอพยพที่ศรัทธา หลวงปู่ไต้ฮงกง พระภิกษุชาวจีนที่ช่วยเหลือประชาชนเจ็บป่วยและบำเพ็ญกุศลฌาปนกิจศพไร้ญาติ เกิดเป็นคณะเก็บศพไต้ฮงกง ปัจจุบันคือมูลนิธิป่อเต็กตึ้ง 

ที่ตั้ง: 326 ถนนเจ้าคำรพ เขตป้อมปราบ กรุงเทพฯ เปิด : 6.00-20.00 น.การเดินทาง: ลง MRT สถานีวัดมังกร เดิน 400 เมตร

4)ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ ศาลเจ้าแต้จิ๋วอายุกว่า 300 ปี สร้างสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พ.ศ.2331 สถาปัตยกรรมแบบจีน มีเสามังกร มีแท่นบูชาเทพเจ้าหางมังกรและฮูหยิน

มีแท่นบูชาเทพเจ้ากวนอู พระแม่สวรรค์ มีระฆังโบราณสมัยราชวงศ์ชิง มีจารึกโบราณ 2 แผ่นสมัยจักรพรรดิกวังซฺวี่ ราชวงศ์ชิงและจารึกราชวงศ์หมิง ให้เขียนฮู้ไปผูกกับขาโต๊ะรูปมังกรที่ตั้งกระถางธูป 

ที่ตั้ง: ซอยเจริญกรุง 16 ตรอกอิสรานุภาพ เยาวราชซอย 6 เขตสัมพันธ์วงศ์ กรุงเทพฯเปิด : 7.00-17.00 น.การเดินทาง: ลง MRT สถานีวัดมังกร เดิน 150 เมตร

5)ศาลเจ้าหลีตี๊เมี้ยว ศาลเจ้าลื้อตี่เบี่ย สร้างขึ้นปี พ.ศ.2445 ผสมผสานระหว่างศาลเจ้าและพระราชวัง มี 4 ชั้น ชั้นล่างประดิษฐานพระสังกัจจายน์ ชั้นสองประดิษฐานองค์หลีไทตี้ ชั้นสามประดิษฐานองค์พระอรหันต์ ชั้นสี่เป็นศาลเง็กเซียนฮ่องเต้

ที่ตั้ง: ถนนพลับพลาไชย เขตป้อมปราบ กรุงเทพฯ เปิด : 7.00 – 17.00 น. การเดินทาง: ลง MRT สถานีวัดมังกร เดิน 150 เมตร

"ตรุษจีน 2566" เสริมดวง ไหว้ศาลเจ้าที่ไหนได้บ้าง Cr.Kanok Shokjaratkul

  • นอกจากเยาวราช ยังมีศาลเจ้าอีกหลายแห่ง 

1)ศาลเจ้าเล่าปุนเถ้ากง ถนนทรงวาด อายุร้อยกว่าปี เป็นเทพเจ้าคุ้มครองรักษาชุมชน เดิมเป็นสถาปัตยกรรมสกุลช่างแต้จิ๋วแบบซี่เตี้ยมกิม แต่ปัจจุบันบูรณะใหม่ปี พ.ศ.2460 

ที่ตั้ง : 833 ซอยอิศรานุภาพ ถนนทรงวาด เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ เปิด : 07.00-17.00 น.

2)ศาลเจ้ากวนอู และ เทพเจ้าม้า ทุกเดือนสิงหาคมของทุกปีจะมีงานเทศกาลวันเกิดเทพเจ้ากวนอู 

ที่ตั้ง : ตรอกโรงโดม ถนนเยาวราช ซอยอิสรานุภาพ (เยาวราช 11) กรุงเทพฯ (ตลาดเก่าเยาวราช)

3)ศาลเจ้าแม่ประดู่ ศาลเจ้าเล่าปิงเถ่าม่า ศาลเจ้าเก่าแก่ในชุมชนตลาดเก่า เยาวราช มีอายุยาวนานกว่า170 ปี 

ที่ตั้ง : 60 ถนนเยาวพานิช แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ เปิด : 07.00-17.00 น.

4)ศาลเจ้าพ่อเห้งเจีย ไต่เสี่ยฮุกโจ้ว สร้างสมัยรัชกาลที่ 2 ประดิษฐานเจ้าพ่อเห้งเจีย ปางสำเร็จเป็นอรหันต์ ประทับนั่งขัดสมาธิบนดอกบัว 

ที่ตั้ง : 66 ถนนพระราม 4 เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ เปิด : 08.00-16.00 น.

5)ศาลเจ้ากวางตุ้ง (สมาคมกว๋องสิว) สร้างสมัยรัชกาลที่ 5 ประดิษฐานซำป้อหุกโจ้ว พระไตรรัตนพุทธ เจ้าแม่กวนอิมปางประทานพรเทพเจ้ากวนอู เทพเจ้าขงจื๊อ เทพเจ้าเหงินฉ่างตี้ชุน (เง็กเซียนฮ่องเต้) เทพเจ้าลู่ปาน

เดิมเป็นสมาคม สร้างเป็นศาลเจ้าพ.ศ.2423 อัญเชิญเทพเจ้ามาจากประเทศจีน 

ที่ตั้ง: ถนนเจริญกรุง แยกแปลงนามกับถนนพลับพลาไชย กรุงเทพฯ เปิด : 7.00 – 20.00 น.

6)วัดไตรมิตรวิทยาราม วัดสามจีนใต้ ประดิษฐานพระสุโขทัยไตรมิตร พระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพระพุทธทศพลญาณ เป็นพระประธาน มีพิพิธภัณฑ์วัดไตรมิตร 

ที่ตั้ง: ถนนมิตรภาพไทย-จีน แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ เปิด 08:00-17:00 น.

"ตรุษจีน 2566" เสริมดวง ไหว้ศาลเจ้าที่ไหนได้บ้าง Cr.Kanok Shokjaratkul

  • ศาลเจ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑล

นอกจากย่านเยาวราชแล้วในกรุงเทพฯและปริมณฑลยังมีศาลเจ้าอีกหลายแห่ง เช่น

1)ศาลเจ้าพ่อเสือ ศาลเจ้าลัทธิเต๋า คนจีนเรียก “ตั่วเล่าเอี้ย” ประดิษฐานเฮี้ยงเทียนเซียงตี่, เจ้าพ่อเสือ, เจ้าพ่อกวนอู, เจ้าแม่ทับทิม 

ที่ตั้ง : 468 ถนนตะนาว เขตพระนคร กรุงเทพฯ เปิด : 06.00-17.00 น.

2)วัดทิพยวารีวิหาร (วัดกัมโล่วยี่) สร้างสมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2319 ประดิษฐานองค์เทพบุ่งเชียง, เทพไท้อิม (จันทราเทพ), เทพไท้เอี๊ยง (สุริยะเทพ), เทพฮั่วท้อ, เทพฮั้วกวงไต่ตี่ (เทพสามตา), เทพไท้เอี๊ยง, เทพมังกรเขียว 

ที่ตั้ง: 119 ซอยทิพยวารี ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ เปิด : 06.00-18.00 น.

3)ศาลเจ้าพ่อกวนอู เทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ ประดิษฐานองค์ไฉ่ซิงเอี๊ย, เจ้าพ่อเสือ 

ที่ตั้ง: ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในชุมชนสมเด็จย่า ใกล้กับสวนสมเด็จย่า หลังวัดอนงคาราม ย่านคลองสาน ฝั่งธนบุรี กรุงเทพฯ

4)วัดโพธิ์แมนคุณาราม (วัดโพวมิ้งปออึงยี่) วัดจีนในพุทธศาสนานิกายมหายาน ผสมผสานศิลปะจีน-ไทย-ทิเบต สร้างพ.ศ.2502 มีซุ้มประตูม้า 5 ตัวกำลังลากราชรถ ที่มีพระศรีศากยมุนี มีวิหารบูรพาจารย์ ประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อน มีพระคัมภีร์วัชรยาน (ทิเบต) นิกายมนตรายาน ที่สมบูรณ์ที่สุดในโลก 

ที่ตั้ง : 323 ซอยสาธุประดิษฐ์19 (นราธิวาสฯ 24) ถนนสาธุประดิษฐ์ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ เปิด : 08.30-15.30 น.

5)วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (วัดเล่งเน่ยยี่ 2) สถาปัตยกรรมคล้ายพระราชวังต้องห้ามในประเทศจีน เป็นวัดพุทธนิกายมหายานในอุปถัมภ์คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย ประดิษฐานองค์ไท้ส่วยเอี๊ย, องค์แป๊ะกง, เจ้าแม่กวนอิม, เทพฮั่วท้อ 

ที่ตั้ง : 959 หมู่ 4 ถนนเทศบาล 9 ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เปิด : 09.00-18.00 น.

"ตรุษจีน 2566" เสริมดวง ไหว้ศาลเจ้าที่ไหนได้บ้าง Cr.Kanok Shokjaratkul

  • ศาลเจ้าในจังหวัดต่างๆ

1)วัดจีนประชาสโมสร (วัดเล่งฮกยี่) ถือเป็นวัดมังกรส่วนท้อง ประดิษฐานองค์ไฉ่ซิงเอี้ย เทพแห่งโชคลาภ องค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 

ที่ตั้ง : 291 ถนนศุภกิจ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา (ตรงข้ามตลาดบ้านใหม่ 100 ปี) เปิด : 08.00-17.00 น.

2)วัดมังกรบุปผาราม (วัดเล่งฮัวยี่) ถือเป็นวัดมังกรส่วนหาง สถาปัตยกรรมพุทธศิลป์ไทย-จีนภาคใต้ ด้านหน้าเป็นวิหารท้าวจตุโลกบาล ประดิษฐานพระศรีอารยเมตไตรยโพธิสัตว์และท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่

เช่นเดียวกับวัดเล่งเน่ยยี่และวัดเล่งฮกยี่ มีอุโบสถทรงจีนหลังคาซ้อน 3 ชั้น ประดิษฐานพระพุทธปฏิมาประธานสามพระองค์ 

ที่ตั้ง: ริมถนนสุขุมวิท ตำบลพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี

3)วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม (ศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ) เป็นวิหาร 4 ชั้น สถาปัตยกรรมจีน มีศิลปวัตถุรูปปั้นมังกร 2,840 ตัว กระถางธูปศักดิ์สิทธิ์ เสาฟ้าดิน มีองค์ไท้ส่วยเอี้ย (ดาวเทพคุ้มครองดวงชะตาประจำปีเกิดของมนุษย์) ครบ 60 องค์ และองค์เทพเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ 

ที่ตั้ง : 1/13 หมู่ 5 ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เปิด : 08.00-17.00 น.

4)ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี อุทยานมังกรสวรรค์ มีเทวรูปพระนารายณ์สององค์ สลักจากหินเขียว มีอาคารรูปมังกรขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านมังกรสวรรค์ 

ที่ตั้ :491/1 ถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เปิด: 07.00-17.00 น.

5)ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ เจ้าแม่ทับทิม ปากน้ำโพ อายุกว่า130 ปี เดิมเป็นศาลไม้ใต้ถุนสูงริมต้นน้ำเจ้าพระยา สร้างใหม่พ.ศ. 2452 ประดิษฐานเทพเจ้าบุ๊นเถ่ากง, เทพเจ้ากวนอู, เจ้าแม่ทับทิม 

ที่ตั้ง : 469 ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เปิด : 08.00-17.00 น.

6)ศาลเจ้าแสงธรรม อ๊ามเต่งก้อง สร้างพ.ศ.2434 สถาปัตยกรรมจีน มีรูปปั้นมังกรและตุ๊กตาประดับบนหลังคา มีเทพเจ้าหลายองค์ มีภาพจิตรกรรมฝาหนังบอกเล่าประวัติศาสตร์จีน มีภาพจิตรกรรมขาวดำอายุร้อยกว่าปี 

ที่ตั้ง: ถนนพังงา ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

7)ศาลเจ้าปุงเถ่ากง จ.เชียงใหม่ อายุกว่า 139 ปี สถาปัตยกรรมจีน ประดับตกแต่งด้วยปูนปั้นและจิตรกรรมแบบจีน ชาวจีนในเชียงใหม่นิยมมากราบไหว้แก้ชง 

ที่ตั้ง : 64-66 ถนนไปรษณีย์ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เปิด : 07.00-18.00 น.