เปิดรายชื่อตัวเต็งรอบแรก ชิง 10 สาขา "ออสการ์ 2022"

เปิดรายชื่อตัวเต็งรอบแรก ชิง 10 สาขา "ออสการ์ 2022"

บียอนเซ, เจย์ ซี, อารีอานา กรานเด, บิลลี อายลิช, หนังมาร์เวล, สารคดีเน็ตฟลิกซ์ ผ่านการคัดเลือกรอบแรกเข้าชิงรางวัล “ออสการ์ 2022” แต่น่าเสียดาย “ร่างทรง” ภาพยนตร์ตัวแทนประเทศไทยและเอเชีย ไม่ผ่านเข้ารอบ 15 เรื่องสุดท้าย ชิงสาขาภาพยนตร์ต่างประเทศ

วันที่ 22 ธ.ค. 64 “สถาบันศิลปะและวิทยาการภาพยนตร์” หรือ “แอมพาส” (The Academy of Motion Picture Arts and Sciences: AMPAS) ได้ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกในรอบแรก หรือที่เรียกว่า “ออสการ์ ชอร์ตลิสต์” (Oscars Shortlists) สำหรับงานประกาศผลรางวัลอะคาเดมี อะวอร์ด (Academy Awards) หรือ ออสการ์ครั้งที่ 94 (Oscars 2022) ประจำปี 2565 จำนวน 10 สาขา ได้แก่ ภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม (Documentary Feature), สารคดีสั้นยอดเยี่ยม (Documentary Short Subject) ภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม (International Feature Film) การแต่งหน้าและออกแบบทรงผมยอดเยี่ยม (Makeup and Hairstyling) ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Music: Original Score) เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Music: Original Song) ภาพยนตร์แอนิเมชันสั้นยอดเยี่ยม (Animated Short Film) ภาพยนตร์เหตุการณ์สั้นยอดเยี่ยม (Live Action Short Film) บันทึกเสียงยอดเยี่ยม (Sound) และเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม (Visual Effects)

รายชื่อดังกล่าวนี้มาจากการพิจารณาของคณะกรรมการ เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการจำกัดวงรายชื่อภาพยนตร์ให้เหลือแคบลง ก่อนที่มีการโหวตในรอบต่อไปในช่วงวันพฤหัสบดีที่ 27 ม.ค. ถึง วันอังคารที่ 1 ก.พ. 2565

สำหรับสาขาที่น่าสนใจนั้น คงจะหนีไม่พ้น สาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Original Song) ที่รายชื่อผู้ผ่านเข้ารอบในปีนี้ มีศิลปินเพลงป๊อปชื่อดังหลายคน ได้รับผ่านเข้ามาในรอบนี้ ไม่ว่าจะเป็น อารีอานา กรานเด (Ariana Grande), บิลลี อายลิช (Billie Eilish), เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน (Jennifer Hudson), เจย์ซี (Jay-Z) และ บียอนเซ (Beyoncé) หลายฝ่ายคาดว่าอาจะเป็นเพราะทางผู้จัดงานต้องการเรียกเรตติ้งงานประกาศรางวัลให้มีผู้ชมสูงยิ่งขึ้น โดยรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกในสาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม มีดังนี้

  • “So May We Start?” จาก “Annette” (Amazon Studios) ประพันธ์โดย Ron Mael, Russell Mael (Sparks)
  • “Down To Joy” จาก “Belfast” (Focus Features) ประพันธ์โดย Van Morrison
  • “Right Where I Belong” จาก “Brian Wilson: Long Promised Road” (Screen Media Films) ประพันธ์โดย Brian Wilson, Jim James
  • “Automatic Woman” จาก “Bruised” (Netflix) ประพันธ์โดย H.E.R. (other songwriters to be added)
  • “Dream Girl” จาก “Cinderella” (Amazon Studios) ประพันธ์โดย Idina Menzel, Laura Veltz
  • “Beyond The Shore” จาก “CODA” (Apple Original Films) ประพันธ์โดย Nicholai Baxter, Matt Dahan, Sian Heder, Marius de Vries
  • “The Anonymous Ones” จาก “Dear Evan Hansen” (Universal Pictures) ประพันธ์โดย Benj Pasek, Justin Paul, Amandla Stenberg
  • “Just Look Up” จาก “Don’t Look Up” (Netflix) ประพันธ์โดย Nicholas Britell, Ariana Grande, Scott Mescudi, Taura Stinson
  • “Dos Oruguitas” จาก “Encanto” (Walt Disney Pictures) ประพันธ์โดย Lin-Manuel Miranda
  • “Somehow You Do” จาก “Four Good Days” (Vertical Entertainment) ประพันธ์โดย Diane Warren
  • “Guns Go Bang” จาก “The Harder They Fall” (Netflix) ประพันธ์โดย Jeymes Samuel, Scott Mescudi, Shawn Carter
  • “Be Alive” จาก “King Richard” (Warner Bros) ประพันธ์โดย Beyoncé Knowles-Carter, Dixson
  • “No Time To Die” จาก “No Time to Die” (MGM/United Artists Releasing) ประพันธ์โดย Billie Eilish, Finneas O’Connell
  • “Here I Am (Singing My Way Home)” จาก “Respect” (MGM/United Artists Releasing) ประพันธ์โดย Jamie Alexander Hartman, Jennifer Hudson, Carole King
  • “Your Song Saved My Life” จาก “Sing 2” (Illumination/Universal Pictures) ประพันธ์โดย Bono, The Edge, Adam Clayton, Larry Mullen, Jr.

จากการที่เจย์ซี และ บียอนเซ มีรายชื่อผ่านเข้ารอบมา นี่จึงอาจจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ออสการ์ ที่คู่สามีภรรยามาแข่งขันกันเองในสาขาเดียวกัน

ขณะที่ เฮอร์ (H.E.R.) เจ้าของรางวัลออสการ์ในสาขานี้เมื่อปีที่แล้วจากเพลง “Fight For You” ก็ไม่พลาดที่จะผ่านเข้ารอบในปีนี้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังมี ไดแอน วอร์เรน (Diane Warren) ผู้ที่เข้าชิงรางวัลออสการ์มาแล้ว 12 ครั้ง แต่ยังไม่สามารถคว้ารางวัลไปครองได้เลย ไม่แน่ว่าในปีนี้อาจจะถึงคราวของเธอแล้วก็เป็นได้

ปิดท้ายที่ ลิน-มานูเอล มิแรนดา (Lin-Manuel Miranda) ถ้าหากสามารถชนะรางวัลในปีนี้ได้ ก็จะส่งผลให้เขาเป็นอีกคนที่คว้า 4 รางวัลใหญ่ของวงการบันเทิง ได้แก่ รางวัลเอ็มมี รางวัลแกรมมี รางวัลออสการ์ และ รางวัลโทนี ได้ครบ หรือที่เรียกว่า (EGOT) ซึ่งมีเพียงไม่กี่คนในวงการที่สามารถทำได้

สาขาต่อมาคือ ภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม (Documentary Feature) ในปีนี้ยังคงมีภาพยนตร์สารคดีจากหลากหลายค่ายชั้นนำที่ได้ผ่านการคัดเลือก ไม่ว่าจะเป็น Apple Original Films, HBO Documentary Films, Netflix และ National Geographic ซึ่งมีผู้ผ่านการคัดเลือกในสาขาภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยมดังนี้

  • “Ascension” (MTV Documentary Films) – กำกับโดย Jessica Kingdon
  • “Attica” (Showtime) – กำกับโดย Stanley Nelson
  • “Billie Eilish: The World’s a Little Blurry” (Apple Original Films) – กำกับโดย RJ Cutler
  • “Faya Dayi” (Janus Films) – กำกับโดย Jessica Beshir
  • “The First Wave” (National Geographic) – กำกับโดย Matthew Heineman
  • “Flee” (Neon) – กำกับโดย Jonas Poher Rasmussen
  • “In the Same Breath” (HBO Documentary Films) – กำกับโดย Nanfu Wang
  • “Julia” (Sony Pictures Classics) – กำกับโดย Julie Cohen, Betsy West
  • “President” (Greenwich Entertainment) – กำกับโดย Camilla Nielsson
  • “Procession” (Netflix) – กำกับโดย Robert Greene
  • “The Rescue” (National Geographic) – กำกับโดย Jimmy Chin, Elizabeth Chai Vasarhelyi
  • “Simple as Water” (HBO Documentary Films) – กำกับโดย Megan Mylan
  • “Summer of Soul (…Or, When the Revolution Could Not Be Televised)” (Hulu/Searchlight Pictures) – กำกับโดย Quest Love
  • “The Velvet Underground” (Apple Original Films) – กำกับโดย Todd Haynes
  • “Writing with Fire” (Music Box Films) – กำกับโดย Rintu Thomas

สิ่งที่น่าสนใจจากรายชื่อผู้เข้าชิงรางวัลภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยมทั้ง 15 เรื่องของปีนี้คือ สารคดีจาก Apple Original Films ทั้ง 2 เรื่องล้วนเป็นสารคดีเกี่ยวกับวงการเพลง ได้แก่ Billie Eilish: The World’s a Little Blurry และ The Velvet Underground และมีสารคดีตัวเต็งจากฝั่ง HBO Documentary Films 2 เรื่อง อย่าง Simple as Water กำกับโดย เมแกน ไมลาน (Megan Mylan) เจ้าของรางวัลออสการ์ ปี 2551 ในสาขาภาพยนตร์สารคดีสั้นยอดเยี่ยม และ In the Same Breath ที่กำกับโดย หนานฟู หวาง (Nanfu Wang) ผู้กำกับสารคดีชื่อก้องโลกอย่าง “One Child Nation”

ส่วนภาพยนตร์สารคดีที่หลุดโผเข้าชิงอย่างน่าเสียดาย ได้แก่ “Pray Away” จาก Netflix, “Who We Are: A Chronicle of Racism in America” ของ Sony Pictures Classic, “The Sparks Brothers” ที่กำกับโดย “เอ็ดการ์ ไรท์” (Edgar Wright) 

สำหรับสาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม (International Feature) มีภาพยนตร์ผ่านการคัดเลือกทั้งสิ้น 15 เรื่อง ประกอบไปด้วย

  • “Great Freedom” จาก ออสเตรีย (Austria) – กำกับโดย Sebastian Meise
  • “Playground” จาก เบลเยี่ยม (Belgium) – กำกับโดย Laura Wandel
  • “Lunana: A Yak in the Classroom” จาก ภูฏาน (Bhutan) – กำกับโดย Pawo Choyning Dorji
  • “Flee” จาก เดนมาร์ก (Denmark) – กำกับโดย Jonas Poher Rasmussen
  • “Compartment No. 6” จาก ฟินแลนด์ (Finland) – กำกับโดย Juho Kuosmanen
  • “I’m Your Man” จาก เยอรมนี (Germany) – กำกับโดย Maria Schrader
  • “Lamb” จาก ไอซ์แลนด์ (Iceland) – กำกับโดย Valdimar Jóhannsson
  • “A Hero” จาก อิหร่าน (Iran) – กำกับโดย Asghar Farhadi
  • “The Hand of God” จาก อิตาลี (Italy) – กำกับโดย Paolo Sorrentino
  • “Drive My Car” จาก ญี่ปุ่น (Japan) – กำกับโดย Ryusuke Hamaguchi
  • “Hive” จาก โคโซโว (Kosovo) – กำกับโดย Blerta Basholli
  • “Prayers for the Stolen” จาก เม็กซิโก (Mexico) – กำกับโดย Tatiana Huezo
  • “The Worst Person in the World” จาก นอร์เวย์ (Norway) – กำกับโดย Joachim Trier
  • “Plaza Catedral” จาก ปานามา (Panama) – กำกับโดย Abner Benaim
  • “The Good Boss” จาก สเปน (Spain) – กำกับโดย Fernando León de Aranoa

ภาพยนตร์ที่เป็นตัวเต็งในสาขานี้ไม่ว่าจะเป็น Flee จาก เดนมาร์ก, Drive My Car จาก ญี่ปุ่น, The Worst Person In The World จาก นอร์เวย์ และ A Hero จาก อิหร่าน ต่างได้รับการคัดเลือกเข้ามาในรอบนี้อย่างครบถ้วน ขาดแต่เพียง “Titane” ภาพยนตร์ตัวแทนจากฝรั่งเศสที่กำกับโดย “จูเลีย ดูโกร์นัว” (Julia Ducournau) กลับหลุดโผไปอย่างน่าเสียดาย ทั้งที่ภาพยนตร์เรื่องนี้พึ่งได้รับรางวัล ปาล์มทองคำ (Palme d’Or) รางวัลใหญ่ที่สุดจากจากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ (Cannes Film Festival) เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทำให้จูเลียเป็นผู้กำกับหญิงคนที่สองที่ได้รับรางวัลนี้

ขณะเดียวกัน มีนักวิจารณ์หลายคนคาดการณ์ว่า Titane อาจจะไม่ได้ถูกคัดเลือกเข้าชิงออสการ์ เนื่องจากเป็นแนวภาพยนตร์ที่ไม่โดนใจคณะกรรมการออสการ์เท่าใดนัก รวมถึง “ร่างทรง” ภาพยนตร์แนวสยองขวัญจากค่าย “จีดีเอช 559” (GDH 559) ตัวแทนประเทศไทยที่รับนิยมอย่างมากทั้งในประเทศ และเอเชียก็ยังไม่ได้รับคัดเลือกเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ยังมีภาพยนตร์ที่กำกับโดยผู้กำกับหญิงผ่านเข้ามาด้วยกัน 4 เรื่อง คือ Playground, I’m Your Man, Hive และ Prayers for the Stolen

นอกจากนั้น ปีนี้ยังเป็นปีแรกที่ภาพยนตร์จากประเทศภูฏาน, โคโซโว และ ปานามา ได้รับการคัดเลือกเข้ามาถึงรอบนี้เป็นครั้งแรกด้วย

ในส่วนของฟรี Flee ยังเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในประวัติศาสตร์ที่มีสิทธิ์เข้าชิงในสาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม ภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม และภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม

ส่วนสาขาอื่น ๆ มีภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ที่ได้รับการคัดเลือกด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ดูน (Dune), เดอะ เมทริกซ์ เรเซอเร็คชั่นส์ (The Matrix Resurrections), ก็อดซิลล่า ปะทะ คอง (Gozilla vs. Kong) รวมไปถึง ภาพยนตร์จากมาร์เวล สตูดิโอ (Marvel Studios) ทั้ง แบล็ก วิโดว์ (Black Widow) และ ชาง-ชีกับตำนานลับเท็นริงส์ (Shang-Chi and the Legend of the Ten Rings) และ สไปเดอร์แมน: โน เวย์ โฮม (Spider-Man: No Way Home) ก็มีรายชื่อเข้าชิงด้วยเช่นกัน

สำหรับการประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงรางวัลทั้งหมดอย่างเป็นทางการในวันอังคารที่ 8 ก.พ. 2565 

ส่วนพิธีประกาศรางวัลจะมีขึ้นในวันคืนวันอาทิตย์ที่ 27 มี.ค. 2565 ณ ดอลบี เธียเตอร์ (Dolby Theatre) นครลอสแองเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐ

------------------

อ้างอิง

https://www.oscars.org/news/94th-oscarsr-shortlists-10-award-categories-announced

https://ew.com/awards/2022-oscars-shortlist-nominations/

https://variety.com/2021/awards/news/2022-oscars-shortlist-beyonce-spiderman-jonny-greenwood-documentary-1235141206/