ย้อนรอย 'ไฟไหม้' กิ่งแก้ว ถอดบทเรียน 'เคลมประกัน' เหตุวินาศภัย

ย้อนรอย 'ไฟไหม้' กิ่งแก้ว ถอดบทเรียน 'เคลมประกัน' เหตุวินาศภัย

ชวนถอดบทเรียนวิธีการ "เคลมประกัน" ของผู้เสียหายจากกรณี "ไฟไหม้" โรงงานย่านกิ่งแก้วเมื่อต้นเดือน ก.ค.64 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นกรณีศึกษาให้คนไทยได้รู้ขั้นตอนต่างๆ เอาไว้ เผื่อเกิดเหตุวินาศภัยอื่นๆ อีกในอนาคต

จากกรณี "ไฟไหม้" โรงงานย่านกิ่งแก้ว หรือ บริษัท หมิงตี้ เคมีคอล จำกัด จ.สมุทรปราการ เมื่อต้นเดือน ก.ค.64 ที่ผ่านมา ถือเป็นเหตุวินาศภัยที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก โดยมีนักดับเพลิงอาสาเสียชีวิต 1 ราย และเจ้าหน้าที่ดับเพลิง-กู้ภัยต่างได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก รวมไปถึงบ้านเรือน รถยนต์ สิ่งของของประชาชนในละแวกนั้นต่างก็เสียหายหนักไปตามๆ กัน

หลังจากเหตุเพลิงไหม้สงบลง การเยียวยาและชดใช้ค่าเสียหายก็ต้องตามมา โดยเฉพาะประชาชนใกล้เคียงจุดเกิดเหตุในรัศมี 5 กม. ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งหลายคนที่ทำประกันภัยไว้ และอยากรู้ว่าต้องดำเนินการ "เคลมประกัน" อย่างไร รวมไปถึงคนที่ไม่มีประกันใดๆ เลย แบบนี้จะได้รับการเยียวยาหรือชดเชยอย่างไรบ้าง? มาหาคำตอบไปพร้อมกัน

นายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผยว่า เหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว ของหมิงตี้ เคมีคอล ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ที่อยู่อาศัยและทรัพย์สินของประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงเป็นจำนวนมาก สมาคมประกันวินาศภัยไทยขอแนะนำแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ได้รับความเสียหาย ดังต่อไปนี้

1. กรณีความเสียหายต่อชีวิต/บาดเจ็บต่อร่างกาย

ให้ดำเนินการและจัดเตรียมเอกสารเบื้องต้นดังต่อไปนี้

- ไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและตรวจรักษา

- ขอใบรับรองแพทย์

- ขอใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล

- ในกรณีเสียชีวิต ให้เตรียมใบมรณบัตรที่ระบุสาเหตุการเสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และเอกสารแสดงการเป็นทายาทตามกฎหมาย

กรณีที่เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน เช่น รถยนต์ อาคาร บ้านพักอาศัย ให้ดำเนินการและจัดเตรียมเอกสารเบื้องต้นดังต่อไปนี้

- ถ่ายภาพของทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายโดยละเอียด เพื่อให้เห็นความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด

-จัดทำรายการความเสียหายของทรัพย์สินทั้งหมด

- ให้ช่างหรือผู้รับเหมาประเมินราคาค่าเสียหายของทรัพย์สินที่เกิดขึ้นทั้งหมด

-หากมีการจ่ายเงินค่าซ่อมแซมหรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับความเสียหาย ให้เก็บใบเสร็จรับเงินไว้ให้ครบถ้วน

-เตรียมเอกสารที่แสดงความเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย

162789298316

3. สำหรับผู้ที่มีประกันต่างๆ 

หากท่านมีประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลหรือประกันภัยสุขภาพ หรือรถยนต์ของท่านทำประกันภัยประเภท 1 ไว้ หรือบ้าน/อาคารของท่านทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย/ประกันอัคคีภัย (กรณีมีความคุ้มครองภัยระเบิด)/ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (Industrial All Risks) ไว้ ให้แจ้งเหตุแก่บริษัทประกันวินาศภัยที่ท่านได้ทำประกันภัยไว้

4. สำหรับผู้ที่ไม่มีประกันใดๆ

หากท่านไม่ได้ทำประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล/ประกันภัยสุขภาพ หรือทรัพย์สินของท่านไม่ได้ทำประกันภัยไว้ ให้รอผลการสอบสวนของพนักงานสอบสวนว่าสาเหตุของการเกิดไฟไหม้ในครั้งนี้เกิดจากการกระทำหรือความประมาทของผู้ใด เพื่อจะได้ดำเนินการเรียกร้องความเสียหายจากผู้รับผิดชอบต่อไป

162789313647

--------------------------

ที่มา : 

สมาคมประกันวินาศภัยไทย (8 ก.ค.64)

springnews