'คริสต์มาส' 2563 ชวนรู้จักที่มาวันสำคัญของชาวคริสต์ 25 ธันวาคม

'คริสต์มาส' 2563 ชวนรู้จักที่มาวันสำคัญของชาวคริสต์ 25 ธันวาคม

เปิดประวัติ "คริสต์มาส" ซึ่งตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม ของทุกๆ ปี ชาวคริสต์เชื่อกันว่าเป็นวันประสูติของพระเยซู อีกทั้งเป็นเทศกาลแห่งความสุขที่มีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ไปทั่วโลก

เชื่อว่า "คริสต์มาส" เป็นเทศกาลสุดโปรดของใครหลายคน เพราะเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขส่งท้ายปีที่ได้เฉลิมฉลองยาวไปจนถึง "ปีใหม่ 2564" อีกทั้งยังเป็นเทศกาลแห่งการชมไฟประดับสวยงามตามสถานที่ต่างๆ พร้อมสีสันเขียว-แดงสดใสอันเป็นเอกลักษณ์

แต่ก่อนจะไปฉลองคริสต์มาส ในวันพรุ่งนี้ อยากชวนมารู้จักต้นกำเนิดของเทศกาลนี้ให้มากขึ้น กรุงเทพธุรกิจออนไลน์รวบรวม 10 ข้อน่ารู้เกี่ยวกับวันคริสต์มาสมาฝากกัน ดังนี้

1. "Christ's Mass" ถูกบันทึกครั้งแรกในปี 1038

คำว่า "คริสต์มาส" หรือ Christ's Mass มาจากคำประสม คำว่า “Christ's Mass” ซึ่งมีรากคำมาจากคำว่า Christemasse ของภาษาอังกฤษยุคกลาง และคำว่า Cristes mæsse จากภาษาอังกฤษโบราณ ซึ่งมีการบันทึกคำดังกล่าวครั้งแรกไว้ในปี 1038 ในยุคต่อๆ มา นิยมสะกดเป็น Christmas เรื่อยมาจนมาถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งที่มา ระบุว่ามีจุดเริ่มต้นจากคำว่า Cristes มาจากพระเยซูคริสต์ของกรีก และคำว่า mæsse มาจากหนังสือสวดมนตร์ของชาวละติน ในภาษากรีกตัวอักษร X เป็นตัวอักษรแรกของคำว่า “Christ” จึงมีการใช้ X แทน Christ ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 16 ดังนั้นชาวกรีกจึงนิยมใช้คำว่า Xmas แทน Christmas

160864045062

2. คริสต์มาส = วันประสูติของพระเยซู

พระคัมภีร์ไบเบิลเล่มใหม่ ไม่ได้ระบุถึงวันประสูติของพระเยซูเอาไว้แน่ชัด อย่างไรก็ตามใน Chronographai หนังสืออ้างอิงซึ่งเผยแพร่ในปี 221, Sextus Julius Africanus ได้บรรยายไว้ว่า การตั้งครรภ์พระเยซูเกิดขึ้นในฤดูใบไม้ผลิของวันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน นั่นคือวันที่ 25 มีนาคม ทำให้เข้าใจกันว่าการประสูติจะอยู่ในเดือนธันวาคม และกลายเป็นแนวคิดที่แพร่หลายออกไปว่า วันประสูติพระเยซูคือวันที่ 25 ธันวาคม ตามปฏิทินของชาวโรมัน อีกทั้งมีการค้นพบเอกสารที่อ้างอิงว่าพระเยซูประสูติในวันที่ 25 ธันวาคม ใน the Chronography of 354 ซึ่งเป็นต้นฉบับที่รวบรวมไว้ในกรุงโรมเมื่อปี 354 

ในปี 1743 Paul Ernst Jablonski ชาวเยอรมันที่นับถือคริสต์นิกายโปแตสแตนซ์ ให้ความเห็นว่าวันคริสต์มาสนั้นระบุให้ตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม เพื่อให้สอดคล้องกับวันหยุด Roman Solar Holiday Dies Natalis Solis Invicti 

ในปี 1889 Louis Duchesne นักเขียนชาวคริสเตียน กล่าวว่าวันคริสต์มาสถูกคำนวณจากวัน Annunciation ไปอีก 9 เดือน โดยวัน Annunciation ตรงกับวันที่ 25 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่ระลึกถึงการกลับชาติมาเกิดของนางฟ้ากาเบรียล ซึ่งจุติเป็นพระแม่มารี ซึ่งตามประเพณีแล้วถือว่าเป็นวันแห่งการลงมาจุติยังโลกมนุษย์

3. คริสต์มาสรุ่งเรืองที่สุดช่วงยุคกลางของอังกฤษ

คริสต์มาส กลายเป็นเทศกาลที่มีการเฉลิมฉลองเป็นประจำในช่วงยุคกลางซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองของอังกฤษ ซึ่งมักมีบุคคลสำคัญมาจัดพิธีเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ เช่น ครั้งหนึ่งกษัตริย์ริชาร์ตที่ 2 แห่งอังกฤษ ได้จัดงานเลี้ยงคริสต์มาสในปี 1377 ซึ่งในงานมีการกินเลี้ยงวัว 28 ตัว และแกะอีก 300 ตัว

อีกทั้ง "หมูป่า" ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของงานฉลองคริสต์มาสในยุคกลาง การร้องประสานเสียงเริ่มได้ความนิยมมากขึ้น แล้วก็เป็นจุดเริ่มต้นของนักเต้น ซึ่งสมาชิกก็มาจากกลุ่มนักร้องประสานเสียงนั่นเอง โดยวงจะประกอบไปด้วยนักร้องนำและมีนักเต้นซึ่งจะล้อมรอบนักร้องนำเป็นผู้ร้องประสานเสียงด้วย

160864422796

 

4. ธรรมเนียมการแลกของขวัญคริสต์มาส

เทศกาลคริสต์มาสในช่วงยุคกลางของอังกฤษ เป็นเทศกาลระดับชาติที่รวมเอาไม้เลื้อย ต้นฮอลลี และพืชใบเขียวอื่นๆ มาประดับตกแต่งตามสถานที่ต่างๆ ส่วนการแลกของขวัญคริสต์มาสในยุคกลางนั้น จะมีก็แต่เฉพาะกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์กันทางกฎหมายเท่านั้น เช่น ผู้เช่ากับผู้ให้เช่า ต่อมาเริ่มมีการจัดงานเลี้ยง งานร้องรำทำเพลง เล่นกีฬา หรือเกมส์ไพ่มากขึ้นเรื่อยๆ ในวันคริสต์มาส จนกระทั่งศตวรรษที่ 17 เทศกาลคริสต์มาสก็เริ่มมีงานเลี้ยงที่หรูหราฟุ่มเฟือย การประกวดหน้ากาก และการเล่นละครในคืนวันคริสต์มาส เป็นต้น

5. คริสต์มาสเกือบเลือนหายไปจากโลก

ราวๆ ทศวรรษที่ 1820 ความเข้มงวดของลัทธิต่างๆ ในสหราชอาณาจักรเริ่มเสื่อมลง นักเขียนทั้งหลายรวมถึงวิลเลียม วินสแตนลี เริ่มกังวลว่าคริสต์มาสจะสูญสลายไป พวกนักเขียนจึงพยายามหาวิธีต่างๆ เพื่อฟื้นฟูเทศกาลนี้ จนกระทั่งเมื่อนวนิยายเรื่อง A Christmas Carol ของ Charles Dickens ได้ถูกตีพิมพ์ในปี 1843 ซึ่งช่วยฟื้นฟูจิตวิญญาณแห่งวันคริสต์มาสและเทศกาลแห่งความรื่นเริง วันคริสต์มาสจึงกลับมามีบทบาทสำคัญอีกครั้ง เพราะเป็นเทศกาลที่เน้นความสำคัญของครอบครัว ความปราถนาดี และความเห็นอกเห็นใจ

160864045171

6.  ต้นคริสต์มาส เริ่มมีในปี 1800

ในประเทศอังกฤษ ต้นคริสต์มาส ได้ถูกนำเข้ามาเผยแพร่ในตอนต้นปี 1800 โดยเป็นช่วงที่ "พระนางวิคตอเรีย" อภิเสกสมรสกับ "เจ้าชายอัลเบิร์ท" ซึ่งเป็นพระญาติชาวเยอรมันของพระองค์ ต่อมาในปี 1841 พบว่าเกิดประเพณีการตกแต่งต้นคริสต์มาสขึ้น และขยายวงกว้างออกไปทั่วประเทศ ภาพลักษณ์ของราชวงศ์อังกฤษกับต้นคริสต์มาสที่พระราชวังวินเซอร์ เป็นภาพลักษณ์ที่ทรงอิทธิพลมาก โดยมีการตีพิมพ์ภาพเหมือนลงในหนังสือ ลอนดอน นิวส์ เมื่อเดือนธันวาคม ปี 1848 อีกด้วย

7. เพลงประสานเสียงคริสต์มาส เริ่มในปี 1880

การร้องเพลงประสานเสียงในโบสถ์ในคืนก่อนวันคริสต์มาส พบว่าเริ่มมีมาตั้งแต่ ปี 1880 ในเมืองทรูโร แคธีดรอล รัฐคอนวอล ประเทศอังกฤษ (คำกลอน และ เพลงร้องประสานเสียงอย่างละ 9 บท) ซึ่งปัจจุบันสามารถพบเห็นกิจกรรมดังกล่าวได้ในทุกโบสถ์ทั่วโลก

8. คริสต์มาสในอเมริกา เริ่มมีในปี 1820

ในอเมริกานั้น ความสนใจในเทศกาลคริสต์มาสได้เริ่มขึ้นในปี 1820 เกิดจากการที่มีเรื่องสั้นหลายเรื่องของ Washington Irving ถูกตีพิมพ์ลงในหนังสือที่เขาเป็นเจ้าของชื่อ The Sketch Book of Geoffrey Crayon และ "Old Christmas" ซึ่งเขาได้ใช้เรื่องราวประเพณีพื้นบ้านของเทศกาลคริสต์มาสดั้งเดิมของชาวอังกฤษมาดัดแปลง เขาได้พรรณนาถึงเทศกาลและประเพณีที่แสดงออกถึงความสามัคคี และความมีจิตใจดี ซึ่งเขาอ้างว่าสังเกตการณ์มาจากประเทศอังกฤษ ต่อมาการฉลองคริสต์มาสก็แพร่หลายในอเมริกา

160864044798

9. การเฉลิมฉลองคริสต์มาสทั่วโลก

แม้ว่าวันคริสต์มาสจะเป็นเทศกาลของชาวคริสต์ แต่ในหมู่คนที่ไม่ใช่ชาวคริสต์ก็มีการเฉลิมฉลองกันอย่างแพร่หลายเช่นกัน ซึ่งการเฉลิมฉลองนั้นมีทั้งแบบสมัยใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาเลย กับอีกแบบคือแบบดั้งเดิมที่อิงตามความเชื่อทางศาสนาคริสต์ 

การฉลองแบบดั้งเดิม : ชาวคริสต์จะนิยมไปโบสถ์ จัดงานเลี้ยงฉลองในโบสถ์ รับประทานอาหารมื้อพิเศษ มีต้นคริสต์มาสประดับ และประกอบพิธีกรรมอื่นๆ เช่น ก่อนหน้าวันคริสต์มาส โบสถ์ออโทด๊อกซ์ตะวันออกจะฝึกฝนตนเองในพิธีกรรม Nativity Fast (ฝึกฝนการบังคับใจตนเองและสำนึกบาป) เพื่อรอคอยเวลาประสูติของพระเยซู ส่วนโบสถ์ชาวตะวันตก จะเฉลิมฉลองการปรากฎตัวของพระเยซู บางนิกายก็จะมีเด็กๆ ทำการแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับการประสูติของพระเยซูหรือร้องเพลงประสานเสียง 

การฉลองแบบสมัยใหม่ : ตกแต่งประดับประดาสถานที่ต่างๆ ด้วยต้นคริสต์มาส ดวงไฟประดับ พวงดอกไม้ ต้นมิสเซิลโท และต้นฮอลลี่ มีผู้คนแต่งตัวเป็นซานตาคลอสเดินแจกขนม มีการมอบของขวัญ อีกทั้งเครื่องประดับตกแต่งสถานที่ที่นิยมกัน ได้แก่ ระฆัง กระดิ่ง เทียนไข ทอฟฟี่มีรูปร่างเป็นแท่งลายขาวแดง ถุงเท้ายาว เทพยาดา (Angel) เป็นต้น

10. ธรรมเนียมการประดับตกแต่งวันคริสต์มาส

ธรรมเนียมปฏิบัติในการตกแต่งเครื่องประดับที่สวยงามในเทศกาลคริสต์มาส มีประวัติอันยาวนานนับตั้งแต่ยุคก่อนคริสตศักราช พืชใบเขียวถูกนำมาใช้ประดับอย่างต่อเนื่อง ธรรมเนียมปฏิบัตินี้ได้ถูกดัดแปลงให้เหมาะสมกับยุคสมัยมาเรื่อยๆ ในศตวรรษที่ 15 ได้มีการบันทึกไว้ว่า บ้านทุกหลังที่ลอนดอนปฏิบัติตามประเพณีของเทศกาล และทุกๆ โบสถ์ของที่นี่ก็ประดับประดาเต็มไปด้วยไม้ฮอลลี่ ต้นไอวี่ ต้นอบเชย และพืชในฤดูกาลที่เป็นสีเขียว ซึ่งมีความหมายต่างๆ ดังนี้

ต้นไอวี่ : รูปทรงหัวใจของใบไอวี่ ถือเป็นสัญลักษณ์ของการมาเยือนโลกของพระเยซู

ต้นฮอลลี่ : เป็นเครื่องรางป้องกันความชัวร้ายจากพวกนอกรีตและแม่มด

พืชมีหนามและผลไม้ลูกเล็กๆ สีแดง : ถูกเปรียบเปรยว่าเป็น Crown of Thorns ที่พระเยซูสวมใส่ในขณะที่ถูกตรึงอยู่บนกางเขนจนตาย

------------------------

อ้างอิง : sites.google.com/site/gewggse