'เบื่องาน' ทำยังไงดี? เปิดมุมมองใหม่สำหรับคนเบื่องาน ที่ช่วยให้สนุกกับงานมากขึ้น

'เบื่องาน' ทำยังไงดี? เปิดมุมมองใหม่สำหรับคนเบื่องาน ที่ช่วยให้สนุกกับงานมากขึ้น

เปิดทำ 3 แนวคิดที่ช่วยให้คน "เบื่องาน" ออกจากวังวนที่แสนจำเจ ให้กลายเป็นคน "สนุกกับงาน" ได้

พ้นวันหยุดยาวทีไร ก็มักจะเกิดอาการขี้เกียจยาวตามมาด้วยทุกที ยิ่งกว่าความขี้เกียจคืออาการ "เบื่องาน" ที่ตามมาติดๆ แถมรับมือได้ยากกว่าความขี้เกียจเป็นไหนๆ

"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์"วบรวมทริค และแนวคิดต่างๆ ที่ช่วยเปลี่ยนคนเบื่องาน มองงานเปลี่ยนไปจากเดิม 

คนส่วนใหญ่พยายามสู้รบกับความรู้สึกเบื่องาน ด้วยการพยายามหาเวลาว่างไปที่เหลือไปทำในสิ่งที่ชอบและเพลิดเพลิน เช่น ดูซีรีส์ เล่นเกมมือถือ เล่นโซเชียลมีเดีย ฟังเพลง หรือสไลด์หน้าจอโทรศัพท์ติดตามชีวิตของคนอื่น ฯลฯ

แต่ในความเป็นจริงแล้วมี "การแก้เบื่อ" อีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นมากกว่าการฆ่าเวลา แต่ยังอาจพัฒนาชีวิตของคนที่เคยเบื่องานไปตลอดกาล

159584112966

  •  เบื่อแบบไหน? 

ข้อมูลจากบทความของ Quartz อ้างอิงการศึกษาของมหาวิทยาลัยในฟลอริด้า โดย Erin Westgate นักจิตวิทยาสังคม ซึ่งอธิบายว่า จุดเริ่มต้นและความหมายของ "อาการเบื่อ" แบ่งออกได้ 2 แบบหลักๆ คือ

แบบแรกคือ "เราจะรู้สึกเบื่อ เมื่อเราไม่สามารถใส่ใจหรือไม่สามารถค้นหาความหมายในสิ่งที่เรากำลังทำอยู่" ความเบื่อในลักษณะนี้อาจมากจากงานที่ง่ายหรือยากเกินไป เช่น รู้สึกเบื่อที่จะป้อนข้อมูลง่ายๆ แต่ขณะเดียวกันก็เบื่อในการพยายามแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ที่ยากเป็นพิเศษ

อีกรูปแบบคือ "อาการเบื่อจากการที่เรารู้สึกว่า งานของเราไม่สำคัญ" หรือที่ David Graeber นักมานุษยวิทยาคนหนึ่งเรียกงานเหล่านี้ว่า "bullshit jobs" หรืองานที่ไร้สาระ คุณจะรู้สึกว่างานเหล่านี้ไร้ความหมาย หรือไม่สามารถเติมเต็มบางสิ่งบางอย่างให้กับชีวิตคุณได้เลย จะเกิดความเบื่อหน่าย ความเหงาเศร้า และล่องลอย เหมือนเราอยู่ในภาพยนตร์ศิลปะฝรั่งเศส แต่ไม่อาจสัมผัสสุนทรียศาสตร์ของความสวยงามได้

อย่างไรก็ตาม David Graeber มองว่าทุกๆ เรื่องสามารถบรรเทาเบาบางลงได้ แม้แต่ความเบื่อเหล่านี้ ถ้าเราเลือกวิธีแก้ปัญหาต่อต้านความเบื่อหน่ายอย่างชาญฉลาด ดังต่อไปนี้

  •  สร้างความหมายให้กับงาน 

เมื่อปัญหาที่พบคืองานในมือของคุณไม่มีความหมาย คุณอาจจะสามารถกลับมาทำงานอีกครั้งได้ โดยค้นหาจุดประสงค์ของการทำงาน นอกเหนือจากการทำงานตามคำสั่งทันที

Amy Wrzesniewski ศาสตราจารย์ด้านการจัดการของมหาวิทยาลัยเยล เรียกวิธีนี้ว่า การสร้างงานเช่น งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าภารโรงของโรงพยาบาลมีความพึงพอใจอย่างมากกับงานของพวกเขา เพราะพวกเขาเข้าใจจุดประสงค์หลักในการทำความสะอาดห้อง ว่าเป็นการเข้าไปมีส่วนร่วมกับการดูผู้ป่วย ทำให้พวกเขาทำงานต่อไปเรื่อยๆ ด้วยความเต็มใจ

159584112757

  •  เลือกสิ่งที่น่าสนใจมากกว่าความสนุกสนาน 

เราสามารถจัดการกับความเบื่อหน่ายของเราโดยการสลับงานทั้งหมด ตามสัญชาตญาณของมนุษย์ที่มักจะเปลี่ยนไปใช้สิ่งที่สนุกสนานกว่าทันที เช่น การส่องอินสตาแกรมคนอื่น การเล่นเกมในมือถือ ฯลฯ 

สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นไม่ใช่เรื่องผิด แต่กิจกรรมที่น่าพึงพอใจ หรือสนุกสนาน แต่ไม่ได้ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดใหม่ๆ จะไม่ช่วยจัดการกับความเบื่อและอาจนำไปสู่ความเบื่อหน่ายไม่สิ้นสุด โดยเปรียบเปรยว่ากิจกรรมสนุกสนานที่เข้ามาแก้ความเบื่อชั่วครั้งชั่วคราวเหมือน "อาหารขยะ" ที่ให้ความพึงพอใจในระยะสั้นและส่งผลเสียในระยะยาว

ในขณะที่งานที่ส่งเสริมด้านความรู้ความเข้าใจที่จำเป็นโดยความสนใจนั้นไปสู่การสร้างแบบแผน ความรู้ใหม่ๆ เรียนรู้ในสิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำความเข้าใจในหัวข้อที่ซับซ้อนขึ้นจะช่วยให้สมองทำงานได้ดีกว่า

กล่าวอีกนัยหนึ่งเมื่อเรารู้สึกเบื่อ "กิจกรรมแก้เบื่อ" ที่เราเลือกควรเป็นกิจกรรมที่ทำให้สมองของเราทำงานมากขึ้น ได้ใช้ความรู้ความเข้าใจ ทำความเข้าใจในหัวข้อที่มีความซับซ้อน เช่น การเลือกที่จะดูสารคดีบางอย่างที่สนใจ อ่านหนังสือ แน่นอนว่าไม่สนุกเท่ากับการเล่นเกม แต่จะทำให้มีการพัฒนามากกว่าในระยะยาว

อีกหนึ่งตัวอย่าง คือการขยายตรรกะนี้ไปสู่บริบทของการทำงาน เช่น ศาสตราจารย์ที่กำลังเบื่อหน่ายขณะที่เขียนจดหมายแนะนำสำหรับนักศึกษา พวกเขาตัดสินใจหยุดพักโดยการอ่านบทความวิจัยใหม่ในสาขาของเธอ

พฤติกรรมเหล่านี้ อาจกระตุ้นให้ศาสตราจารย์เหล่านี้ เป็นผู้มีความสามารถใหม่ๆ ประสบความสำเร็จในระดับบัณฑิตศึกษา และเปลี่ยนแนวทางของเธอเป็นคำแนะนำให้กับนักศึกษารุ่นใหม่ๆ ว่า

"ความพยายามที่จะพัฒนาทักษะใหม่และมีประโยชน์เพิ่มขึ้นจากการทำงาน มันจะสอดคล้องกับความสนใจงานมากขึ้นในอนาคต"

เมื่อความพยายามเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยๆ ร่างกายจะมีการผลิต “โดพามีนสารที่ช่วยให้กระบวนการทำงานของสมองและการเคลื่อนไหวของร่างกายเป็นไปอย่างปกติ ช่วยควบคุมอารมณ์ความรู้สึก ช่วยในเรื่องของการรับรู้ ส่งเสริมระบบความจำ และการเรียนรู้ต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น โดยทางการแพทย์ยังได้วิจัยแล้วพบว่าสารนี้ยังมีหน้าที่ในการสร้างบุคลิกของผู้คนให้กลายเป็นคนที่มองโลกในแง่ดีได้

แน่นอนว่าปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้คือเทคโนโลยีและความบันเทิงที่พยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อดึงดูดความสนใจของมนุษย์ต่อไปเรื่อยๆ

ดังนั้น สิ่งที่เราควบคุมได้ คือการดูแลตัวเองให้ใช้งานแอพพลิเคชั่นดูดเวลาชีวิตของเราให้น้อยลง หาสิ่งใหม่ๆ ที่ซ่อนอยู่ในงานเดิมๆ ที่อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการออกจากภาวะ “เบื่องานอย่างที่หลายๆ คนกำลังเป็นอยู่ในตอนนี้ก็เป็นได้

   

ที่มา : Quartz