เปิดภาพหนึ่งเดียวในโลกจากห้องทำงานบนท้องฟ้า

เปิดภาพหนึ่งเดียวในโลกจากห้องทำงานบนท้องฟ้า

เปิดภาพหนึ่งเดียวในโลกจากห้องทำงานบนท้องฟ้า

น้อยคนหนักที่จะมีโอกาสสัมผัสความมหัศจรรย์บนท้องฟ้าเกือบทั่วทุกมุมโลก แต่หนุ่มวัย 38 ปีอาศัยว่ามีห้องทำงานที่ไม่เหมือนใคร และเติบโตมากับครอบครัวที่คลุกคลีกอยู่กับการเล่าเรื่องด้วยภาพ จึงเกิดไอเดียอยากแบ่งปันบริบทของความสวยงามบนท้องฟ้า และความรู้ของการบิน ด้วยการเล่าเรื่องราวที่ไปพบเห็นมาเป็นภาพลงในโลกออนไลน์ จนทำให้ "ไชย์สุพัชร์ มูลศรีแก้ว" กัปตันแอร์บัสa-330 สายการบินแห่งชาติของไทย กลายเป็นบล็อคเกอร์คนดังที่มีคนติดตามนับหมื่นคน เพื่อติดตามเรื่องราวของความเป็นไปของท้องฟ้า เครื่องบิน และแรงบันดาลใจในการก้าวเข้าสู่อาชีพนักบิน ในนามของ "Turn JetRider"

20170926163400406

“ผมไม่ได้ถ่ายรูปเก่ง แต่เลือกที่จะมองหาการถ่ายภาพที่แตกต่าง อย่างผมห้องทำงานจะอยู่บนเครื่องบินเดินทางไปทั่วโลก ทำอย่างไรที่จะถ่ายรูปมาเล่าเรื่องในมุมที่คนทั่วไปไม่เคยเห็นได้ทั่วไป ผ่านการถ่ายจากกล้อง DSLR และกล้องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยจะเลือกมุมมองที่ห้องนักบินมีกระจกรอบด้าน มุมที่ผู้โดยสารมองไม่เห็น อย่างภาพแสงแรกของพระอาทิตย์ หรือภาพเครื่องบินสวนกัน และที่เป็นไฮไลท์คือ ภาพบินข้ามขั้วโลกเหนือ ข้างล่างมีน้ำแข็ง สัญญานวิทยุติดต่อกันไม่ได้ ภาพเหนือฟ้าเมืองไทย ภาพทะเลออสเตรเลีย ทุกวันนี้เลยกลายเป็นอีกงานหนึ่งที่ต้องเก็บภาพดึงทุกเรื่องมาเกี่ยวกับการบิน ไม่ว่าจะเป็นระบบการบิน วันนี้เมฆเป็นอย่างไร เรดาร์เครื่องบินทำงานอย่างไร"

20170926163404714

อย่างภาพในห้องทำงานบนท้องฟ้า โดยส่วนตัวชอบมากเป็นแรงบันดาลใจให้กลับมาถ่ายรูปอีกครั้ง มีนักบินที่บินไปด้วยกันถ่ายรูปให้ "กัปตันไชย์สุพัชร์" เล่าให้ฟังว่า กว่าจะได้ภาพนี้ ไม่ง่ายเลย ไฟล์ทนี้บินออกจากกรุงเทพฯ ตั้งแต่บ่ายสอง บินไปทางทิศตะวันตก ต้องรออีกกว่า 4 ชั่วโมง เพื่อให้พระอาทิตย์เกือบลับขอบฟ้าถึงจะได้แสงสวยๆ แบบนี้ ที่สำคัญตำแหน่งที่พระอาทิตย์ตกอยู่ตรงหน้าเราพอดี หลังจากวันนั้นผมพยายามจะถ่ายภาพให้ได้แสงแบบนี้อีกก็ไม่ได้ เนื่องจากในแต่ละฤดู พระอาทิตย์ก็จะตกในเวลาไม่ตรงกัน บางทีบินไปจนเครื่องบินแลนดิ้งแล้วพระอาทิตย์ก็ยังไม่ตก

20170926163401943

ส่วนอีกภาพหนึ่งที่เชื่อว่าจะหาดูได้ยากนั่น เป็นภาพที่ถ่ายจากกล้องมือถือธรรมดา คือ ภาพบินข้าวขั้วโลกเหนือ ไม่เคยคาดคิดว่าจะมีโอกาสได้เก็บภาพนี้ มีเพียงไม่กี่คน เพราะสายการบินไม่บินผ่านเส้นทางนี้กัน มันต้องมีความยาก ไม่มีสนามบินสำรองอะไร ต้องมีบินผ่านเส้นทางที่ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์เลยก็ว่าได้ โดยคาดว่าน่าจะเป็นนักบิน 1 ใน 200 คนเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ภาพเหนือฟ้าที่เมืองไทย เชื่อว่าคนไทยทุกคนอยากเห็นว่าข้างบนมีอะไร สภาพของท้องฟ้าเป็นอย่างไร โดยแต่ละภาพนั้น จะไม่ใช้ภาษาเทคนิคที่อ่านแล้วทุกคนเข้าใจได้”

“ไชย์สุพัชร์” เล่าให้ฟังอีกว่า เวลาที่ทำงานบนท้องฟ้าไม่ได้มีเวลามากพอที่จะหยิบอุปกรณ์มาถ่ายภาพได้ ไม่มีเวลาประดิษฐ์ ไม่สามารถทำได้ เวลาอยู่บนเครื่องบินมีหน้าที่ที่ทำอยู่ จะหยิบกล้องมาถ่ายได้ ก็ต่อเมื่อมีนักบินหลายคน หรือนั่งข้างหลังจึงสามารถหยิบกล้องมาถ่ายภาพได้ โดยบางมีบางไฟลท์ที่อยากถ่ายมา คือ วันที่บินมืดกลางทะเล ข้างบนจะเห็นดาวเต็มไปหมดเลย แต่ไม่สามารถตั้งกล้องได้ ภาพดาวตก จริงๆ ถ่ายภาพบนเครื่องบินไม่ได้มีมุมเฉพาะบนท้องฟ้า แต่ยังมีภาพพระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตก ทั้งหมดจะเอามาเล่าในการบิน หรือบางครั้งบินไปญี่ปุ่น จะเห็นแสงแรกเหนือฟ้าญี่ปุ่น เวลาประมาณตีสามของประระเทศไทย เวลาขึ้นจะขึ้นตรงหน้าเราพอดีในห้องนักบิน ซึ่งประทับใจมาก

20170926163400828

ปัจจุบันนี้ พบว่าการถ่ายภาพบนท้องฟ้ามาเล่าเรื่องให้เชื่อมโยงกับทุกมิติในการบิน ผมพึ่งพอใจที่ให้ความรู้เห็นในสิ่งที่ไม่ได้เห็นในชีวิตประจำวัน ปรากฎว่ามีกระแสตอบรับค่อนข่างดี สังเกตจากการเพจที่มีเข้ามาสอบถาม และให้ไขข้อข้องใจมากพอสมควร และที่สุดมากกว่านั้น คือ กลายเป็นแรงบันดาลใจให้น้องๆ ที่มีความฝันอยากเป็นนักบินว่าจะทำอย่างไร ผมก็จะทำหน้าที่ย้อนวันแรกของการก้าวเข้าสู่อาชีพนักบินให้ฟัง จากคนที่ไม่เคยเก่งภาษาอังกฤษ ผมจบศิลป์คำนวน แต่มีการจัดเรียงลำดับความคิด และกระบวนการมีเป้าหมายในชีวิต และผมจะเวลามุ่งมั่นในการอ่านหนังสือ 2 เดือนเต็ม เพื่อสอบเป็นนักบินของการบินไทย

ข้อดีที่เป็นนักบิน ทำให้ผมถ่ายทอดภาพออกมาได้ง่าย เพราะถูกฝึกให้คิดเป็นภาพ และสิ่งที่คิดว่าใครๆก็อยากรู้ในมุมของการบินที่น้อยนักจะมีคนที่มีประสบการณ์มาเล่าเรื่องราวให้ฟังในเชิงสาธารณะ ผมจึงเริ่มเขียน "10 คำถามที่กัปตันโดนถามบ่อยมาก" ลงในเวปของ PANTIP.COM เลือกภาพที่มีเรื่องเล่ามาอธิบายภาษาเข้าใจง่ายให้คนอ่านได้เข้าถึง และคนเข้ามาอ่านเยอะมาก จึงเหมือนเป็นจุดประกายให้เล่าเรื่องจากห้องทำงานบนท้องฟ้าผ่านโลกออนไลน์ต่อด้วยการเปิดเพจ Turn JetRider หาจุดเด่น สื่อสารผ่านภาพ และวีดีโอ เพื่อเป็นอีกช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับผู้ที่สนใจ เมื่อปลายปี 2015 จนถึงปัจจุบันนี้

แรงบันดาลใจผ่านโลกออนไลน์

ผมไปสอบนักบิน เรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง ครั้งแรกผ่านรอบแรกได้จากคนสอบราวๆพันคน ผ่านการตรวจตรวจสุขภาพ และสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อดูทัศนคติความรู้ความมั่นใจ ตอนนั้นรู้เลยว่า วุฒิภาวะไม่ได้ พูดคุยคนอื่นใช้ไม่ได้ แต่ข้อดีคือ ยังมีโอกาสกลับไปแก้ไขในสิ่งที่ไม่ดี กลับมาสอบใหม่หมดเหมือนเดิม จนมาถึงรอบกัปตันเจอกัปตันคนเดิม จำได้ว่ามาสอบใหม่ และสอบติด วันที่ผมออกห้องสอบ ผมรู้ว่ายังไงก็ผ่าน เพราะเตรียมตัวมาก วัดทัศนคติ กับโปรเฟสเซอร์ เขาดูบุคลิกในการทำงานร่วมกับเพื่อน การตัดสินใจ การรักษาเวลา คนที่เอาแต่ใจ ไม่เอาคนอื่นจะไม่ผ่านตรงจุดนี้ หรือคนที่คะแนนสูงเกินไป ก็เท่ากับว่ามีความมั่นใจสูงเกินไปก็ไม่เหมาะที่จะมาทำอาชีพนี้

สิ่งที่ผมเห็นชัดคือ นักบินจะเห็นพัฒนาการของตัวเอง จากเด็กที่ไม่เคนจับเครื่องบิน ขยับมาบินกับครู และบินเดี่ยวด้วยตัวเอง ทุกอย่างเป็นวันวันที่ตัดสินใจถ้าบินได้คุณได้ไปต่อ ถ้าบินไม่ได้ก็จบทุกสิ่งทุกอย่างในวันนั้น ถึงคุณตายระหว่างฝึกบินโรงเรียนจำหน่ายตายได้โดยไม่มีความผิด เชื่อว่านักบินทุกคนจะจำวันนี้ได้เหมือนกันหมด เพราะจังหวัดที่เทคออฟแล้วดึงขึ้นเครื่อง บินไม่มองข้างนอกบังคับเครื่องย่างเดียว มันเป็นโมเมนท์ที่กุมชีวิตไว้ในมือพลาดไม่ได้ เป็นความรู้สึกบอกใครไม่ได้ ถามว่าตรงนั้นกลัวหรือไม่ มันไม่เหลือความกลัว พอผ่านจุดนั้นมาได้ คือ ภาพที่เครื่องบินเตะพื้นมีเพื่อนนักบินมายืนรอแสดงความยินดี และจากนั้นก็เข้าสู่ระบบการฝึกบินกับการสายการบิน

มีคนถามว่า นักบินทำหลายอย่างเก่งมากจริงมั๊ย อยากจะอธิบายว่า นักบินไม่ได้เก่งพร้อมกันได้เวลาเดียวกัน แต่สิ่งที่นักบินเป็นอยู่ คือ อะไรที่จะทำก่อนสำคัญอะไรที่จะทำภายหลัง นั่นคือ การรู้จักลำดับความคิด เหตุผลเครื่องบินไปข้างหน้าตลอดเวลา คุณไม่สามารถเอาความคิดไปยึดติดกับอะไรได้ เช่น เมื่อทำอะไรผิด ถ้าคิดถึงสิ่งที่พลาด ข้างหน้าคุณก็จะพลาดไปเรื่อยๆ แต่ถ้ารู้ว่าพลาดเก็บไว้ก่อน แล้วไปข้างหน้าก่อน แล้วมาแก้ไข แต่ถ้าเรากดดัน ทำอะไรผิด อาการสติแตกไม่ได้ดีต่อคนส่วนรวม สิ่งหนึ่งที่นักบินที่ต้องคือ คิดล่วงหน้า ก่อนเครื่องบินจะไปถึง เช่น เวลาฝนตก ถ้าเจอต้องแก้ไขปัญหาอย่างไร เครื่องลงเตะพื้นแล้วค่อยมาคุยกันกับปัญหาที่เกิดขึ้น

ท้ายที่สุด หลายคนอาจจะมองว่า การนำเสนอข้อมูลการบินเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แต่ผมมีกรอบของการที่จะเล่าเรื่องให้ได้ประโยชน์มากกว่าสิ่งอื่นใด เพราะโดยสัญชาตญาน ของนักบินทุกคนจะถูกฝึกมาในลักษณะมีพื้นที่ของความปลอดภัย ไม่ว่าคืออะไรก็ตามทำแล้วต้องปลอดภัย เพราะนักบินไม่มีการเดา และการเสี่ยง ด้วยภารกิจที่มีหลายร้อยชีวิตที่ต้องรับผิดชอบทุกอย่างบนพื้นฐานความรู้ ประสบการณ์ และความมีเหตุผล รวมถึงแม้แต่ศาสตร์การเรียนรู้สภาพอากาศก็ต้องลงลึกกว่าคนทั่วไป และทั้งหมดนี้คือ บางส่วนของคำบอกเล่าของ "กัปตันแอร์บัส a-330 ของสายการบินแห่งชาติไทย เจ้าของภาพหนึ่งเดียวในโลกจากห้องทำงานบนท้องฟ้า