ไขความลับ! ทำไมจระเข้ถึงนอนอ้าปาก? สัตว์นักล่ากินเนื้อบนสุดห่วงโซ่อาหาร

ไขความลับ! ทำไมจระเข้ถึงนอนอ้าปาก? สัตว์นักล่ากินเนื้อบนสุดห่วงโซ่อาหาร

ท่องโลกธรรมชาติของ "จระเข้" สัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ สัตว์นักล่ากินเนื้อ อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร กับคำถามทำไมจระเข้ถึงนอนอ้าปาก? ร่วมเปิดความจริง ไขความลับของพฤติกรรมจระเข้ไปพร้อมกัน

ชวนท่องโลกธรรมชาติของ "จระเข้" สัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ สัตว์นักล่ากินเนื้อ อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร ที่ไม่มีศัตรูตามธรรมชาติ ยกเว้นจระเข้ในวัยอ่อน ที่ตกเป็นอาหารของสัตว์ขนาดใหญ่กว่าชนิดต่าง ๆ ได้ 

จระเข้ตัวโตเต็มวัยจะมีพฤติกรรมกินอาหารแบบหมุนตัว เมื่อจับเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ขณะอยู่ใต้น้ำและต้องการกินเหยื่อจะใช้ปากงับไว้และหมุนตัวเองเพื่อฉีกเนื้อเหยื่อออกเป็นชิ้น ส่วนเหยื่อที่มีขนาดเล็กถูกบดให้แหลกด้วยลิ้นขนาดใหญ่โดยใช้ลิ้นดันเหยื่ออัดแน่นกับเพดานของอุ้งปาก 

 

ไขความลับ! ทำไมจระเข้ถึงนอนอ้าปาก? สัตว์นักล่ากินเนื้อบนสุดห่วงโซ่อาหาร

 

เห็นจระเข้นอนไหม..ทำไมจระเข้นอนอ้าปาก?

สังเกตหลายคนคงตั้งคำถามว่าทำไมจระเข้ถึงนอนอ้าปาก? ร่วมเปิดความจริง ไขความลับของพฤติกรรมจระเข้ไปพร้อมกัน

 

ไขความลับ! ทำไมจระเข้ถึงนอนอ้าปาก? สัตว์นักล่ากินเนื้อบนสุดห่วงโซ่อาหาร

ไขความลับของพฤติกรรมจระเข้..ทำไมจระเข้ถึงนอนอ้าปาก?

การที่จระเข้นอนอ้าปากนั้น เป็นการปรับอุณหภูมิร่างกาย เนื่องจากจระเข้เป็นสัตว์เลือดเย็น มีผิวหนังที่หนาและไม่สามารถปรับอุณหภูมิในร่างกายได้ด้วยตนเอง 

 

ไขความลับ! ทำไมจระเข้ถึงนอนอ้าปาก? สัตว์นักล่ากินเนื้อบนสุดห่วงโซ่อาหาร

 

เปรียบเทียบพฤติกรรมจระเข้กับคน

จระเข้ไม่มีการระบายความร้อนในรูปของเหงื่อเหมือนคน การอ้าปากจึงเป็นวิธีการระบายความร้อน เมื่อร่างกายอบอุ่นหรือร้อนเกินไป 

นอกจากนี้ในช่วงฤดูหนาว เรายังพบว่าจระเข้ก็จะนอนอาบแดดบนบกเพื่อให้ร่างกายอบอุ่นขึ้นด้วย

 

ไขความลับ! ทำไมจระเข้ถึงนอนอ้าปาก? สัตว์นักล่ากินเนื้อบนสุดห่วงโซ่อาหาร

ไขความลับ! ทำไมจระเข้ถึงนอนอ้าปาก? สัตว์นักล่ากินเนื้อบนสุดห่วงโซ่อาหาร

ไขความลับ! ทำไมจระเข้ถึงนอนอ้าปาก? สัตว์นักล่ากินเนื้อบนสุดห่วงโซ่อาหาร

ไขความลับ! ทำไมจระเข้ถึงนอนอ้าปาก? สัตว์นักล่ากินเนื้อบนสุดห่วงโซ่อาหาร

ทำไมเราจึงพบจระเข้นอนได้อย่างสบายใจ?

ที่เห็นจระเข้นอนสบายใจได้แบบนี้ เพราะอาศัยอยู่ในพื้นที่บึงบอระเพ็ด เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ทั้งชุมชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวที่ช่วยกับดูแลระบบนิเวศ การท่องเที่ยวอย่างใส่ใจสิ่งแวดล้อม ทำให้พื้นที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด รวมถึงจระเข้น้ำจืดที่เราเห็นกันนี้ด้วย

 

อ้างอิง-ภาพ : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช , เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ , สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์)