40 ชิ้นงานแสงไฟบันดาลใจ Awakening Bangkok 2022 เทศกาลแสงไฟกรุงเทพฯ งามแปลกตา

40 ชิ้นงานแสงไฟบันดาลใจ Awakening Bangkok 2022 เทศกาลแสงไฟกรุงเทพฯ งามแปลกตา

Awakening Bangkok 2022 แสงไฟแห่งแรงบันดาลใจ 40 ชิ้นสว่างวาบแปลกตา 22 จุดแสดงย่านเจริญกรุง-ตลาดน้อย ปลุกเศรษฐกิจชุมชน มุ่งส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมสู่การขับเคลื่อนด้านสังคมและเศรษฐกิจยั่งยืน ยกระดับสู่ “จุดหมายปลายทาง” การท่องเที่ยวระดับนานาชาติ

เริ่มแล้วงาน Awakening Bangkok 2022 หรือ เทศกาลแสงไฟประจำปีกรุงเทพฯ ศิลปะแห่งแสงไฟครั้งนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 5 เป็นแสงไฟที่ออกแบบและจัดแสดงภายใต้คอนเซปต์ “Endless Tomorrow เพื่อพรุ่งนี้ และตลอดไป” มีการแสดงแสงไฟจำนวน 40 ชิ้นงาน ใน 22 จุดแสดงใน ย่านเจริญกรุง - ตลาดน้อย ย่านเก่าแก่ของกรุงเทพฯ เมื่อมีแสงไฟร่วมสมัยเข้าไปจัดแสดง ทำให้เกิดมุมมองใหม่ ความคึกคักทางการค้าขายของชุมชน และนำมาซึ่งเศรษฐกิจยั่งยืน

งาน Awakening Bangkok จัดโดย Time Out Bangkok (ไทม์เอาต์ กรุงเทพฯ) ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.), สํานักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ, สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA และบริษัท ดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่ (ประเทศไทย) จำกัด ตลอดจนพันธมิตรภาครัฐและเอกชน

นายพงศ์สิริ เหตระกูล กรรมการบริหาร Time Out Bangkok (ไทม์เอาต์ กรุงเทพฯ) และ Festival Director งานเทศกาล Awakening Bangkok ขยายความคอนเซปต์ Endless Tomorrow ซึ่งใช้เป็นโจทย์ในการออกแบบการแสดงแสงไฟในปีนี้ว่ามาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19

“ช่วงโควิดเป็นช่วงเวลาที่ทำให้ทุกคนตระหนักถึงคุณค่าของวันพรุ่งนี้ และตระหนักถึงความพยายามของมนุษย์ที่จะมีชีวิตอยู่ เราจะอยู่กันต่อไปอย่างไร อนาคตที่เราอยากทำให้ยั่งยืนสำหรับทุกคน และยืนยาวสำหรับคนรุ่นถัดไป เป็นเรื่องราวที่เราสื่อสารผ่านชิ้นงานในปีนี้”

40 ชิ้นงานแสงไฟบันดาลใจ Awakening Bangkok 2022 เทศกาลแสงไฟกรุงเทพฯ งามแปลกตา งานแถลงข่าวการจัดงาน Awakening Bangkok 2022

ความพิเศษของการจัดงาน Awakening Bangkok 2022 ในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่มีการจัด 2 เส้นทางสำหรับ 2 ธีมย่อย ประกอบด้วย 

  • ทิศใต้ เส้นทางบางรักในธีม “Sustainability” กับชิ้นงานที่สะท้อนแนวคิดเรื่องความยั่งยืน 
  • ทิศเหนือ เส้นทางตลาดน้อย ในธีม “Living Evidence” กับชิ้นงานที่สะท้อนแนวคิดเรื่องการปรับตัวเพื่ออยู่รอด

40 ชิ้นงานแสงไฟบันดาลใจ Awakening Bangkok 2022 เทศกาลแสงไฟกรุงเทพฯ งามแปลกตา แสงไฟธีมแรกของชิ้นงาน To the Wonder

40 ชิ้นงานแสงไฟบันดาลใจ Awakening Bangkok 2022 เทศกาลแสงไฟกรุงเทพฯ งามแปลกตา แสงไฟธีมที่สองของชิ้นงาน To the Wonder

40 ชิ้นงานแสงไฟบันดาลใจ Awakening Bangkok 2022 เทศกาลแสงไฟกรุงเทพฯ งามแปลกตา กลุ่มศิลปิน M.O.O

To the Wonder
ศิลปิน : M.O.O
Location : Photohostel & Photocafe (ตลาดน้อย)

ศิลปินตีความคำว่า “พรุ่งนี้” คือโลกในฝันที่ไม่มีเรื่องให้ต้องกังวล รวมกับ “ทฤษฎีรูหนอนของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” คือการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง จึงออกแบบแสงไฟเป็น 2 ธีม 

ธีมแรก ถ้าไม่มีการขยับเข้าไปในพื้นที่จัดแสดง แสงไฟก็จะฉายเป็นรูปดวงดาวเคลื่อนที่ไปมาสื่อถึงอวกาศหรือจักรวาลปกติ

ธีมที่สอง เมื่อผู้ชมงานเดินเข้าไปในพื้นที่จัดแสดง แสงไฟก็จะเปลี่ยนเป็นภาพแฟนตาซี สื่อถึงอวกาศในจินตนาการที่สื่อถึงความสวยงามสดใสผ่านแสงไฟรูปดอกไม้หลากสี และวาฬกับแมงกะพรุนที่ปกติอาศัยอยู่ในน้ำ แต่แปลงให้เป็นความเหนือจริง ให้รู้สึกตื่นตาตื่นใจ

ผลงานแสงไฟ To the Wonder ออกแบบโดย มิ้น-นภัทร, ออน-ธัญชนก และ ออม ณภัทร นิสิตชั้นปีที่ 3 ภาควิชานิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมกลุ่มกันในนาม M.O.O

40 ชิ้นงานแสงไฟบันดาลใจ Awakening Bangkok 2022 เทศกาลแสงไฟกรุงเทพฯ งามแปลกตา

งานแสดงแสงไฟ Aroon-Sawat (อรุณสวัสดิ์)

Aroon-Sawat (อรุณสวัสดิ์)
ศิลปิน : 305Stop
Location: Warehouse 30

เสียงไก่ขันเป็นเหมือนนาฬิกาปลุกจากธรรมชาติที่คอยปลุกให้คุณตื่นขึ้นมาเริ่มต้นวันใหม่กับพลังแห่งสีสันของแสงแดดยามเช้าและบอกคุณว่าทุกชีวิตยังมีหวังกับเช้าวันใหม่เสมอ

"ผลงานผมชื่อ 'อรุณสวัสดิ์' ยามเช้าของเราเหมือนความหวังใหม่ สมัยเราอยู่ต่างจังหวัด ยามเช้าได้ยินเสียงไก่ขัน ผมมองว่าเสียงไก่ขันเป็นเหมือนสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของการเริ่มต้นวันใหม่ของเรา ทำให้เราได้ออกมาสู้กับงาน ได้ออกมาใช้ชีวิต" 305Stop กล่าวกับ "กรุงเทพธุรกิจ" 

ด้วยโจทย์ที่ได้มาคือ Endless Tomorrow ศิลปินมองว่ายามเช้านี่แหละคือความหวัง คือสิ่งที่ไม่สิ้นสุด วันนี้เราเหนื่อย เราพักผ่อน พรุ่งนี้เราก็ตื่นขึ้นมาสู้กันใหม่ มาเจออะไรใหม่ๆ จึงแปลงเสียงไก่ขันและยามเช้าออกมาเป็นสีสันและสัญลักษณ์มากมาย

“สีเหลือง-แดงก็มาจากพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า ชีวิตยามเช้าเป็นชีวิตที่สดใสมาก เจอแสงแดด ซึ่งมีวิตามิน ไก่บ้านเราก็มีขนสีแดงๆ ส่วนสีเขียวที่ตัดเข้าไป ผมอยากให้เป็นธรรมชาติมากขึ้น การทำอาร์ตที่เป็น mapping หรือการยิงวิชวล และการทำสิ่งพิมพ์ การใช้สีมันต่างกัน ถ้าเราอยากให้คนสนุกกับงานเรา สีเราต้องสนุกมากขึ้น ถ้าเราตื่นมาในต่างจังหวัด เราเจอแสงแดด พระอาทิตย์ ธรรมชาติ ผมก็มองถึงสีเหลือง สีแดง สีส้ม และสีเขียว น่าจะทำให้เราเห็นถึงธรรมชาติได้”

40 ชิ้นงานแสงไฟบันดาลใจ Awakening Bangkok 2022 เทศกาลแสงไฟกรุงเทพฯ งามแปลกตา 'อรุณสวัสดิ์' อยู่บนตัวเรา

ศิลปิน กล่าวถึงถึงลายกราฟิกที่เห็น ว่าคือการตัดทอนรูปทรงเรขาคณิต เช่น ลดทอนหัวไก่หน้าไก่มาเป็นลายกราฟิก พร้อมกับมีลายไทยบ้างด้วยความที่เขาเป็นคนไทย รวมกับการหมุนภาพ สื่อถึงวัฏจักรที่หมุนไปตลอด 24 ชั่วโมงแล้วก็หมุนกลับมาเหมือนเดิม ชีวิตคนเราก็เป็นเช่นเดียวกัน วันนี้เราเหนื่อยล้า เราก็หมุนกับชีวิตเราไป

คุณ 305Stop เลือกการทำ mapping ลงบนพื้นถนนหน้า “แวร์เฮาส์ 30” ในเรื่องนี้เขามองว่า

"ศิลปะอยู่ตรงไหนก็ได้ แต่คุณสนุกกับเขาหรือเปล่า ผมอยากให้คนอื่นมาสนุก มาวิ่ง ให้ศิลปะมาอยู่รอบตัวๆ เอาตัวเองไปอยู่ในพื้นที่งานแล้วถ่ายรูป ศิลปะเราก็จะติดตัวเขาไป อย่างน้อยเขาก็มีความสุข สนุกไปกับสีสันลวดลาย"

40 ชิ้นงานแสงไฟบันดาลใจ Awakening Bangkok 2022 เทศกาลแสงไฟกรุงเทพฯ งามแปลกตา งานแสดงแสงไฟ Infinity Years

Infinity Years
ศิลปิน: h-lab
Location: Old Fiat Car (ตลาดน้อย)

ผลงานประติมากรรมอินเทอร์แอ็กทีฟว่าด้วยสิ่งที่วนเวียนแบบไม่มีสิ้นสุดในห้วงเวลาที่เดินทางไปข้างหน้าเรื่อยๆ จากวินาทีเป็นนาที เป็นชั่วโมง เป็นวัน เดือน และปี เเต่สิ่งเหล่านี้ก็จะยังคงวนเวียนคงอยู่อย่างนั้นตลอดไป

40 ชิ้นงานแสงไฟบันดาลใจ Awakening Bangkok 2022 เทศกาลแสงไฟกรุงเทพฯ งามแปลกตา การแสดงแสงไฟ Interactive Projection Mapping

KEEP WALKING and carry on reusing
ศิลปิน : 27 June
Location: บ้านเหลือง (บ้านทอง บ้านจอนนี)

ภายใน “บ้านเหลือง” หรือ Yellow House ตึกแถวริมถนนเจริญกรุง ระหว่างไปรษณีย์กลางบางรักและซอยเจริญกรุง 36 มีผลงานสร้างสรรค์ถึง 8 จุด นำเสนอ Endless Tomorrow ผ่านปรัชญา Sustainability 

จุดแรก Take Bold Steps with Sustainability ใช้การเดินย่ำเท้า หรือ Keep Walking สื่อถึงก้าวสู่เส้นทางแห่งความยั่งยืน เมื่อย่ำเท้าแล้วก็จะเห็นว่าเส้นทางสู่ Sustainability ต้องผ่านองค์ประกอบอะไรบ้าง

จุดที่สอง KEEP WALKING and carry on reusing ผลงานสร้างสรรค์จากการนำลังพลาสติกมาใช้ซ้ำ (Reuse) ในรูปแบบใหม่ๆ เช่น เรียงเป็นฉากกั้น เรียงเป็นที่นั่ง เรียงเป็นเคาน์เตอร์บาร์ เมื่อใช้งานแล้วสามารถรื้อออกไปใช้ประโยชน์อื่นได้โดยไม่ต้องทำลายเป็นขยะ เพราะการใช้ซ้ำ ไม่จำเป็นต้องจำกัดความหมายแค่การใช้งานแบบเดิมเพียงอย่างเดียว

จุดที่สาม Interactive Projection Mapping นำเสนอ "การเดิน" เป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เพราะการเดินไม่ก่อให้เกิดคาร์บอนฟุตปรินต์ เมื่อเข้าไปเดินในพื้นที่จัดแสดง แสงไฟแบบอินเตอร์แอคทีฟจะแหวกออก ทำให้การเดินสนุกขึ้น หรือสนุกที่จะเดิน

“เราอยากชวนทุกคนมาเดิน เราอาจจะเริ่มต้นสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยการเดินไปในระยะที่เดินถึง แทนการใช้รถ เพื่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของตัวเองด้วย” ติ๊ดตี่ ปวิมล สามเสน ดีไซเนอร์และผู้ร่วมก่อตั้ง  27 June กล่าวกับ “กรุงเทพธุรกิจ”

40 ชิ้นงานแสงไฟบันดาลใจ Awakening Bangkok 2022 เทศกาลแสงไฟกรุงเทพฯ งามแปลกตา การแสดงแสงไฟ Sound of The Ocean?

จุดที่สี่ Bottle Forest for Forest จากขวดแก้วที่ใช้แล้วนำมาประกอบร่างเป็นงานศิลปกรรมไฟที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากต้นไม้ในป่าใหญ่เพื่อสื่อถึงการให้ความสำคัญเรื่องทรัพยากรธรรมชาติของ Johnnie Walker ที่พยายามหาวิธีลดการใช้ขวดแก้วแต่ได้คุณภาพเท่าเดิม ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

จุดที่ห้า Flower Field จากพลังงานแสงอาทิตย์ นำเสนอเรื่องราวพลังงานแสงอาทิตย์ (solar energy) ไม่จำเป็นต้องลงทุนก้อนโต แต่มีผลิตภัณฑ์ในตลาดที่ซื้อได้ง่ายและใช้งานได้ในครัวเรือน

“พื้นที่จัดแสดงตรงนี้เราใช้ไฟหิ่งห้อยที่สว่างจากโซลาร์เซล ออกแบบเป็นทุ่งดอกไม้ เหมือนกำลังเดินเล่นในทุ่งดอกไม้ที่สว่างเรืองรองเพราะได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดจากบนฟากฟ้า”

จุดที่หก SUN{LIGHT} ผลงานสร้างสรรค์ที่นำฝาขวด Johnnie Walker มาประกอบกันบนแผ่นซีดีเป็นรูปทรงกลมแล้วใช้ไฟสีเหลืองส่องให้เกิดแสงสะท้อนเพื่อสื่อถึงพลังอันยิ่งใหญ่ของดวงอาทิตย์ที่สาดส่องมายังพื้นโลกให้ทุกชีวิตได้เติบโตและออกไปใช้ชีวิต

40 ชิ้นงานแสงไฟบันดาลใจ Awakening Bangkok 2022 เทศกาลแสงไฟกรุงเทพฯ งามแปลกตา การแสดงแสงไฟ Miss. Fireflies

40 ชิ้นงานแสงไฟบันดาลใจ Awakening Bangkok 2022 เทศกาลแสงไฟกรุงเทพฯ งามแปลกตา

จุดที่เจ็ด Sound of The Ocean? พูดเรื่องขยะพลาสติกในทะเล ใช้ถุงพลาสติกแบบ single used มาผูกเข้าด้วยกันให้มีรูปทรงคล้ายเกลียวคลื่น แล้วมีพัดลมเป่า ทำให้เกิดเสียงคล้ายเสียงคลื่นทะเล
“เป็นการตั้งคำถามเปรียบเปรยเชิงย้อนแย้ง เสียงที่ได้ยินคือเสียงคลื่นพลาสติก ถ้าเสียงทะเลกลายเป็นเสียงจากคลื่นพลาสติกไปหมด โลกเราจะเป็นอย่างไร” ติ๊ดตี่ ปวิมล กล่าว

จุดที่แปด Miss. Fireflies พูดถึง “หิ่งห้อย” สัญลักษณ์สิ่งมีชีวิตที่มีชีวิตอยู่ในในสิ่งแวดล้อมที่มีความอุดมสมบูรณ์ ระบบนิเวศที่มีความสมดุล แต่ตอนนี้หิ่งห้อยแทบจะหาไม่ได้แล้ว  

กิจกรรมแห่งแสงไฟในจุดที่แปดนี้คือ ชวนกันมาก้าวต่อไปเพื่อโลก  จากห้องที่ดูว่างเปล่า ทุกครั้งที่คุณก้าวเท้าเดินไปบนแท่นที่เตรียมไว้ จะเป็นการเรียก ‘หิ่งห้อย’ สัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติให้ปรากฏตัวบนฉากโฮโลแกรม ยิ่งย่ำก็ยิ่งทำให้ทั่วทั้งห้องเต็มไปด้วยหิ่งห้อย สร้างสีสันให้ค่ำคืนอันมืดมิดอีกครั้ง

40 ชิ้นงานแสงไฟบันดาลใจ Awakening Bangkok 2022 เทศกาลแสงไฟกรุงเทพฯ งามแปลกตา การแสดงแสงไฟ Tomorrow I Wish

Tomorrow I Wish
ศิลปิน: Alt+r
Location: The East Asiatic Company

ก้าวแรกสําหรับวันพรุ่งนี้ที่ดีเริ่มต้นจากการมีสภาพแวดล้อมที่ดี ที่เอื้อให้เราได้ออกมาใช้ชีวิต Tomorrow I wish... ร่วมแชร์เมืองที่น่าอยู่ของพวกเราเป็นแบบไหน สิ่งไหนที่เราต้องการ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคตของทุกคนผ่านเทคนิค Interactive Mapping

40 ชิ้นงานแสงไฟบันดาลใจ Awakening Bangkok 2022 เทศกาลแสงไฟกรุงเทพฯ งามแปลกตา ทีมงาน Soul Studio กับผลงานแสดงด้านข้าง

Yourself in tomorrow’s tomorrow’s tomorrow.
ศิลปิน : Soul Studio
Location: Royal Orchid Sheraton

“ผมพยายามสื่อสารถึงการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเรามันเหมือนกับการวนอยู่เรื่อยๆ ผมอยากสร้างพื้นที่ที่สามารถทำให้คนตระหนักรู้ไปช่วยปลอบประโลมมนุษย์ เหมือนเราไปหยุดเวลาแล้วฉายภาพในแต่ละวันของเราด้วยฉากของวันนี้ ฉากของพรุ่งนี้ และฉากพรุ่งนี้ของพรุ่งนี้ไปเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด” หนึ่งในทีมงาน Soul Studio ให้สัมภาษณ์

พร้อมกับถามกลับไปยังคนที่มาดูงาน ว่าคุณอยากบอกอะไรกับตัวเองในวันพรุ่งนี้ไหม เพื่อสร้างข้อสังเกตกับตัวเองว่าอยากทำอะไรกับเวลาที่จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้

“ถ้าสำหรับผม ผมก็อยากเป็นคนที่ดีขึ้น ทำตัวเองให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ เพื่อพัฒนาตัวเองต่อไป ผมอยากให้มนุษย์ทุกคนเจอแต่สิ่งดีๆ ลองหาสิ่งดีๆ ให้กับตัวเอง” ผู้ออกแบบชิ้นงาน กล่าว

40 ชิ้นงานแสงไฟบันดาลใจ Awakening Bangkok 2022 เทศกาลแสงไฟกรุงเทพฯ งามแปลกตา การแสดงแสงไฟ Alone together

Alone together
ศิลปิน : iLight Sigapore
Location: Warehouse 30

ย้อนกลับไปสัมผัสความรู้สึกเปลี่ยวเหงาที่เรามีร่วมกันจากประสบการณ์การใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยวในช่วงโรคระบาดผ่านผลงานที่ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพช่องหน้าต่างของหมู่บ้านในสิงคโปร์

การแสดงแสงไฟชุดนี้เป็นครั้งแรกที่เปิดความร่วมมือระหว่างประเทศกับเทศกาล iLight Singapore ที่ส่งชิ้นงานจากการจัดงานครั้งก่อนมาร่วมแสดง และเปิดโอกาสให้ผลงานจาก Awakening Bangkok มีโอกาสไปยังจัดแสดงยังประเทศสิงคโปร์ในเทศกาล iLight Singapore ครั้งต่อไป

40 ชิ้นงานแสงไฟบันดาลใจ Awakening Bangkok 2022 เทศกาลแสงไฟกรุงเทพฯ งามแปลกตา

การแสดงแสงไฟ Live The Life

Live The Life
ศิลปิน : VICHAN
Location: ท่าเรือด่วนสี่พระยา

ในช่วงเวลาที่ยากลำบากการมีจิตใจที่เข้มแข็งและคิดบวกก็เหมือนกับมี ‘ห่วงชูชีพ’ สีสันสดใสที่ช่วยให้เราสามารถลอยตัวผ่านพ้นสถานการณ์เลวร้ายต่างๆ ไปได้

40 ชิ้นงานแสงไฟบันดาลใจ Awakening Bangkok 2022 เทศกาลแสงไฟกรุงเทพฯ งามแปลกตา การแสดงแสงไฟ Midnight Garden

Midnight Garden
ศิลปิน : กชกานต์ คุ้มไพโรจน์
Location: Royal Orchid Sheraton

สวนดอกไม้เที่ยงคืนแห่งนี้คือเสียงสะท้อนของเหยื่อความรุนแรงของผู้ที่เข้าถึงอาวุธได้โดยง่าย โดยใช้ดอกไม้หลากสีแทนการระบุตำแหน่งบนเรดาร์ดักจับการรุกราน เพื่อบอกว่าเราคือผู้บริสุทธิ์ไม่ใช่ศัตรู

40 ชิ้นงานแสงไฟบันดาลใจ Awakening Bangkok 2022 เทศกาลแสงไฟกรุงเทพฯ งามแปลกตา การแสดงแสงไฟ Gas Tank

Gas Tank
ศิลปิน : AangWaang
Location: บ้านริมน้ำ (ตลาดน้อย)

ความสัมพันธ์ของสิ่งของกับสภาพแวดล้อมอาจสร้างความตึงเครียดให้มนุษย์ เช่น เมื่ออยู่ใกล้ถังแก๊สคุณอาจรู้สึกกังวล แต่ถังแก๊สระยิบระยับที่ลอยอยู่ในห้องและทำให้เกิดแสงสะท้อนไร้ระเบียบอาจทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย

นี่เป็นเพียงบางส่วนของการแสดงแสงไฟจำนวน 40 ชิ้นงานใน "เทศกาลแสงไฟกรุงเทพฯ" หรือ Awakening Bangkok 2022 บนพื้นที่ย่านเจริญกรุง-ตลาดน้อย กรุงเทพฯ แต่ละแห่งอยู่ไม่ไกลกัน ผู้สนใจสามารถเดินชมได้ระหว่างวันที่ 16-25 ธันวาคม 2565 เวลา 18.00-23.00 น.