PIPATCHARA จำแลง "พลาสติกกำพร้า" ฝาขวดน้ำดื่ม เป็นกระเป๋าแฟชั่น

PIPATCHARA จำแลง "พลาสติกกำพร้า" ฝาขวดน้ำดื่ม เป็นกระเป๋าแฟชั่น

PIPATCHARA ร่วมดึง "ขยะพลาสติก" ออกจากสิ่งแวดล้อม เลือกหยิบ "พลาสติกกำพร้า" โดยเฉพาะขยะฝาขวดน้ำดื่มไร้มูลค่า มาอัพไซเคิลใหม่เป็นกระเป๋าดีไซน์เฉียบ ลองผิดลองถูกกว่าจะได้กระเป๋าแฟชั่นทำจากพลาสติกกำพร้าทั้งใบ ถูกใจคนรักษ์สิ่งแวดล้อมต่างประเทศ

กระเป๋าถือสตรีที่เห็นนี้ ดูสวย มีสไตล์ มีความเป็นแฟชั่นเต็มที่ ถูกใจบรรดาแฟชั่นนิสต้า ยิ่งถ้าเป็นแฟชั่นนิสต้าที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมยิ่งจะน่าถูกใจขึ้นไปอีก เนื่องจากกระเป๋าดีไซน์เฉียบสไตล์นี้ทำด้วย พลาสติกกำพร้า ทั้งใบ

นี่คือกระเป๋าคอลเลคชั่น “Infinitude” ผลงานการออกแบบและสร้างสรรค์บนหลักการ “ความยั่งยืน” ของแบรนด์ PIPATCHARA (พิ-พัด-ชะ-รา) แบรนด์นี้ร่วมกันก่อตั้งโดย เพชร-ภิพัชรา แก้วจินดา และพี่สาว ทับทิม-จิตริณี แก้วจินดา สองพี่น้องซึ่งชวนกันลองนำ “แฟชั่น” มาจับกับประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมของสังคมไทย ซึ่งแบรนด์เติบโตมาครบ 4 ปีในปีนี้

PIPATCHARA จำแลง \"พลาสติกกำพร้า\" ฝาขวดน้ำดื่ม เป็นกระเป๋าแฟชั่น ทับทิม-จิตริณี แก้วจินดา และ เพชร-ภิพัชรา แก้วจินดา ผู้ก่อตั้งแบรนด์

เพชร-ภิพัชรา สำเร็จการศึกษาด้าน Fashion Design จาก Academy of Art University สหรัฐฯ และเป็นนักเรียนทุนที่ École de la Chambre Syndicale de la Couture Parisienne ใช้ชีวิตและทำงานอยู่ในฝรั่งเศส 5 ปี ก่อนกลับมาเมืองไทยเมื่อสามปีที่แล้ว

ขณะที่ ทับทิม-จิตริณี ทำงานด้าน Sustainability เรื่องพลาสติกที่บริษัทยูนิลีเวอร์ และมีประสบการณ์ทำงานอยู่ในองค์กรต่อต้านการค้ามนุษย์มานานนับสิบปี

PIPATCHARA จำแลง \"พลาสติกกำพร้า\" ฝาขวดน้ำดื่ม เป็นกระเป๋าแฟชั่น กระเป๋าคอลเลคชั่น “Infinitude”

“ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งแบรนด์ ก็คิดร่วมกับพี่สาวตั้งแต่ต้น ว่าเราอยากเป็น fashion for community (แฟชั่นเพื่อชุมชน) PIPATCHARA ทำงานกับชุมชนตั้งแต่คอลเลคชั่นแรกจนถึงคอลเลคชั่นนี้ คือสี่ปีเต็ม ทุกชิ้นงานเราอยากให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อคืนอะไรให้กับสังคมบ้าง อย่างน้อยสร้างรายได้เสริมให้กับชุมชน ฝึกสมาธิ พัฒนาฝีมือ พอดีมีบ้านอยู่ที่เชียงรายด้วย ก็เริ่มหาชุมชนที่เชียงรายก่อน ซึ่งเป็นครูบนดอย ตอนนี้ก็ยืดไปแม่ฮ่องสอนแล้ว

ทุกชิ้นงานของ PIPATCHARA จึงเป็นงานอาร์ตแอนด์คราฟต์ คือเป็น งานหัตถกรรม เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมได้ คือการถักสายกระเป๋า แต่วัสดุหนังที่ใช้ เราอิมพอร์ตทั้งหมด เพื่อให้เมืองนอกเข้าใจถึงมาตรฐาน แต่ตอนนี้เราแยกไลน์ออกมาเป็น วัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อม นั่นก็คือคอลเลคชั่น Infinitude”

PIPATCHARA จำแลง \"พลาสติกกำพร้า\" ฝาขวดน้ำดื่ม เป็นกระเป๋าแฟชั่น ฝาขวดน้ำดื่ม "พลาสติกกำพร้า" ถักเป็นกระเป๋าแฟชั่น

เพชร-ภิพัชรา กล่าวด้วยว่า “Infinitude” มาจากคำว่า Infinite ที่แปลว่า “นิรันดร์” ซึ่งสะท้อนถึงการที่แบรนด์จะมุ่งมั่น ส่งเสริม และสร้างสรรค์เรื่อง ความยั่งยืน ตลอดไปอย่างไม่สิ้นสุด

กระเป๋าคอลเลคชั่น “Infinitude” ทำจากวัสดุที่เรียกว่า พลาสติกกำพร้า คือเป็นพลาสติกชนิดที่ไม่มีมูลค่าทางการตลาด

PIPATCHARA จำแลง \"พลาสติกกำพร้า\" ฝาขวดน้ำดื่ม เป็นกระเป๋าแฟชั่น  “พลาสติกกำพร้า” ถาดพลาสติกสีดำใส่อาหาร

PIPATCHARA จำแลง \"พลาสติกกำพร้า\" ฝาขวดน้ำดื่ม เป็นกระเป๋าแฟชั่น

กระเป๋า infinitude สีดำ ทำจากกล่อง-ถาดสีดำใส่อาหาร

“จะเห็นว่าเราไม่ใช้ขวดน้ำเลย เพราะทุกวันนี้ขวดน้ำพลาสติกขายได้กิโลกรัมละ 8-14 บาท แต่ว่ากล่องหรือถาดพลาสติกสีดำใส่อาหาร ช้อนส้อมพลาสติก ฝาขวดน้ำดื่ม แทบไม่มีมูลค่า ขายไม่ได้เลย และเป็นพลาสติกที่มีเยอะมากๆ ในสังคม เป็นโจทย์ว่าเราจะเอาขยะพวกนี้แหละที่คนไม่เอา มาทำเป็นคอลเลคชั่น” ทับทิม-จิตริณี กล่าว

เพชร-ภิพัชรา เล่าว่า กว่าคอลเลคชั่น “Infinitude” จะเป็นรูปเป็นร่าง ใช้เวลากว่าสองปี เริ่มต้นจากการลองผิดลองถูกในการนำ “ฝาขวดเครื่องดื่มลิปตัน” และ “ฝาขวดน้ำดื่มสิงห์” มาแปรรูปร่วมกับซัพพลายเออร์

“ในเดือนแรกที่เราทำ ‘สีเหลือง’ (ฝาขวดลิปตัน) ยังไม่ตอบโจทย์สิ่งที่เราต้องการในด้านของดีไซน์ เราใช้เวลา 9 เดือนจึงพบว่าสามารถนำ ‘พลาสติกใส’ มาผสมได้ และสามารถก่อให้เกิดสิ่งใหม่อย่างที่เราต้องการ”

PIPATCHARA จำแลง \"พลาสติกกำพร้า\" ฝาขวดน้ำดื่ม เป็นกระเป๋าแฟชั่น ฝาขวดน้ำอัดลมก่อนแปรสภาพเป็นพลาสติกรูปทรง Infinitude

สิ่งที่คุณเพชรและคุณทับทิมทำก็คือ ให้ซัพพลายเออร์บด ฝาขวดน้ำ แล้วใช้ความร้อนเพื่อให้ฝาขวดน้ำที่บดนั้นขึ้นรูปใหม่เป็นชิ้นเล็กๆ ซึ่งซัพพลายเออร์ต้องสร้างแม่พิมพ์ขึ้นมาใหม่ตามรูปทรงที่คุณเพชรวาดแบบด้วยมือ

“มันยากมากๆ พับโปรเจคไปหลายรอบ แล้วกลับมาทำใหม่ ซัพพลายเออร์เองกว่าเขาจะทำงานกับเรา เขาก็เครียดเหมือนกัน ปกติเขาทำเฟอร์นิเจอร์พลาสติกรีไซเคิลชิ้นใหญ่ๆ แต่นี่ต้องมาทำชิ้นเล็กๆ

ทำออกมาครั้งแรกมันก็หัก เราใช้เวลา 2-4 เดือนในการค้นพบว่าฝาพลาสติกแต่ละประเภทต้องใช้ความร้อนขนาดไหน จึงจะขึ้นรูปตามแบบที่เราต้องการแล้วไม่หักหรือแตกคามือเวลาเคาะจากแม่พิมพ์ เพราะพลาสติกแต่ละประเภทมีจุดหลอมเหลวไม่เท่ากัน

ทีแรกเขาทำได้แค่วงกลม เราไม่เอาวงกลม เราอยากได้แบบนี้ มีการแลกเปลี่ยนกันตลอดสองปี จนพัฒนามาได้รูปทรงแบบนี้ เพชรเรียกรูปทรง infinitude ที่เพชรวาดมือขึ้นมาแบบนี้”

PIPATCHARA จำแลง \"พลาสติกกำพร้า\" ฝาขวดน้ำดื่ม เป็นกระเป๋าแฟชั่น แผ่นพลาสติก infinitude จากฝาขวดลิปตัน

แผ่นพลาสติก infinitude แผ่นเล็กๆ นี้เองที่คุณเพชรนำมาร้อยเชื่อมเข้าด้วยกันเป็นกระเป๋าตามแพทเทิร์นที่เธอออกแบบ และถ้าไม่ร้อยตามแพทเทิร์น ก็จะไม่ได้กระเป๋ารูปทรงนี้อีกเหมือนกัน

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ กระเป๋าคอลเลคชั่น infinitude คือกระเป๋าทั้งใบที่ทำจาก “ฝาขวดน้ำดื่ม” มีวา่งจำหน่ายไกลถึงญี่ปุ่น ดูไบ ฝรั่งเศส และที่ ‘สยามดิสคัฟเวอรี่’ ในไทย

PIPATCHARA จำแลง \"พลาสติกกำพร้า\" ฝาขวดน้ำดื่ม เป็นกระเป๋าแฟชั่น กระเป๋า infinitude สีม่วง

สีสันของกระเป๋าก็มาจากสีของฝาขวดน้ำดื่มแต่ละยี่ห้อ เช่น สีม่วง มาจากฝาขวดน้ำดื่มสิงห์รุ่นที่คอลแล็ปกับดิสนีย์ ไม่มีขายตามท้องตลาด ฝานี้จึงลิมิเต็ดมากๆ และผลิตเป็นกระเป๋าได้จำนวนจำกัด เนื่องจากไม่สามารถหาฝาสีนี้ได้อีกแล้ว โดยนำมาผสมกับฝาพลาสติกสีขาวเพื่อให้ดูเหมือนหินอ่อน

  • สีเขียว ได้จากฝาเซเว่นอัพผสมกับฝาพลาสติกใสและฝาพลาสติกขุ่น
  • สีดำ ได้จากกล่องหรือถาดสีดำสำหรับใส่อาหารขายตามซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อ 
  • สีชมพูเหลือบขาว ได้จากขวดยาคูลท์ (Yakult) 100 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่ต้องผสมกับพลาสติกอะไรเลย

PIPATCHARA จำแลง \"พลาสติกกำพร้า\" ฝาขวดน้ำดื่ม เป็นกระเป๋าแฟชั่น

กระเป๋า infinitude สีชมพู ทำจากขวดยาคูลท์

“เรื่องที่ภูมิใจมากๆ คือ พลาสติกที่ใช้ทำกระเป๋า ซัพพลายเออร์ไม่ได้เอาของไม่ผ่านคิวซีจากโรงงาน แต่มาจากคนบริจาคขยะ ขยะในครัวเรือน ขยะจากทะเล มั่นใจได้ว่าสิ่งที่เพชรได้มาคือขยะจริงๆ ไม่ใช่โรงงานเอามาให้” เพชร-ภิพัชรา กล่าว

คุณทับทิม-จิตริณี กล่าวเสริมว่า กระเป๋าทุกใบในคอลเลคชั่น Infinitude ที่ลูกค้าซื้อไป เท่ากับเขามีส่วนช่วยเอาขยะพลาสติกออกจากสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นขยะที่เกิดจากการใช้งานแล้วจากทั่วประเทศ

PIPATCHARA จำแลง \"พลาสติกกำพร้า\" ฝาขวดน้ำดื่ม เป็นกระเป๋าแฟชั่น โดนัท มนัสนันท์ ร่วมใส่ใจสิ่งแวดล้อม

PIPATCHARA จำแลง \"พลาสติกกำพร้า\" ฝาขวดน้ำดื่ม เป็นกระเป๋าแฟชั่น ชญานิษฐ์ ชาญสง่าเวช และ กัน อรรถพันธ์

“ด้วยพื้นฐานและประสบการณ์ที่ทับทิมและคุณเพชรมีต่อเรื่องพลาสติก พอมาร่วมงานกัน เราก็เลยจับเรื่องพลาสติกเป็นอย่างแรก ในอนาคตอาจมีปัญหาสังคมหรือปัญหาสิ่งแวดล้อมอะไรที่เราสนใจ และเราคิดว่าเรามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาได้ เราก็อาจนำแฟชั่นไปจับกับประเด็นอื่น” ทับทิม-จิตริณี กล่าว

อย่างน้อย แบรนด์ PIPATCHARA ร่วมทำให้เห็นไม่ว่าคุณจะประกอบอาชีพใด ก็สามารถมีส่วนทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อมได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็น ‘นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม’ เสมอไป