'กฟผ.' ดำน้ำ เก็บขยะ วางลูกถ้วยเป็นบ้านปลา ใน 'EGAT TOGETHER'

'กฟผ.' ดำน้ำ เก็บขยะ วางลูกถ้วยเป็นบ้านปลา ใน  'EGAT TOGETHER'

กฟผ. โดย โครงการ EGAT TOGETHER นำนักดำน้ำ ทำประโยชน์เพื่อท้องทะเลไทย อนุรักษ์ระบบนิเวศใต้ทะเลอย่างยั่งยืน ด้วยวัสดุลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า มาทำเป็นบ้านปลา และแหล่งอาศัยให้กับปะการัง

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดโครงการ EGAT TOGETHER โดย กลุ่มนักดำน้ำจิตอาสา กฟผ. ร่วมกับเครือข่าย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.), กองทัพเรือ และภาคเอกชน

จัดกิจกรรมดำน้ำเก็บขยะ ตัดอวน บริเวณพื้นที่โครงการวางบ้านปลาปะการังเทียมจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าของ กฟผ. ในจังหวัดชลบุรีและจังหวัดภูเก็ต

 

 

เพื่อช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลของประเทศไทย สร้างความตระหนักรู้ด้านอนุรักษ์ท้องทะเลไทยอย่างยั่งยืน ให้กับเยาวชน นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไป

โดยมี ไพทูล แพนชัยภูมิ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.), นักดำน้ำจิตอาสา กฟผ. กลุ่ม SEA SPARK, กลุ่ม Save The Planet Associate (SPA),

 

นักประดาน้ำจากกรมสรรพาวุธทหารเรือ กองทัพเรือ, ชมรมผู้ประกอบการท่องเที่ยวดำน้ำแบบเดินใต้ทะเล Sea walker และบริษัท เอวันพัทยา จำกัด

\'กฟผ.\' ดำน้ำ เก็บขยะ วางลูกถ้วยเป็นบ้านปลา ใน  \'EGAT TOGETHER\'

ร่วมสนับสนุนกิจกรรมครั้งนี้ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ณ เกาะล้าน เกาะสาก อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี และวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 ณ หาดป่าตอง อำเภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต

นำพล โพธิวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์ความยั่งยืน (อกย.) กฟผ. กล่าวว่า กฟผ. ดำเนินโครงการ EGAT TOGETHER นี้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานมีจิตสาธารณะและมีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)

"ที่ผ่านมา จิตอาสา กฟผ. ทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ ได้ร่วมกันสนับสนุนกิจกรรม CSR ที่ กฟผ. จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จัดตั้งกลุ่มจิตอาสาเพื่อทำกิจกรรม CSR ช่วยเหลือสังคม และประชาชน ในสถานการณ์ปกติและในช่วงวิกฤตการณ์"

\'กฟผ.\' ดำน้ำ เก็บขยะ วางลูกถ้วยเป็นบ้านปลา ใน  \'EGAT TOGETHER\'

  • นักดำน้ำจิตอาสา

ธนิดา ประจวบเหมาะ หัวหน้ากลุ่มนักดำน้ำจิตอาสา กฟผ. กล่าวว่า กลุ่ม SEA SPARK เป็นการรวมกลุ่มกันของนักดำน้ำจิตอาสาของ กฟผ.

"หลายคนไม่ทราบว่า กฟผ. มีวิชาชีพนักประดาน้ำ ทำหน้าที่ซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ใต้น้ำของเขื่อนและโรงไฟฟ้า ฝึกฝน จนเชี่ยวชาญ มีทักษะในการดำน้ำ นำความรู้ด้านช่างลงไปทำงานใต้น้ำ

ทีมนักประดาน้ำ กฟผ. กลุ่มนี้ ยังเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจสำคัญมากมาย อาทิ การช่วยเหลือค้นหาทีม 13 หมูป่า ณ ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย ที่ผ่านมา

\'กฟผ.\' ดำน้ำ เก็บขยะ วางลูกถ้วยเป็นบ้านปลา ใน  \'EGAT TOGETHER\'

กฟผ. มีกิจกรรม CSR วางบ้านปลา ปะการังเทียมจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และกองทัพเรือ ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง

โดยนำปะการังเทียมจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าไปวางไว้ใต้ท้องทะเลไทย ตั้งแต่ปี 2554 ในพื้นที่ต่าง ๆ ได้แก่ ชลบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, สงขลา, ปัตตานี, นราธิวาส, พังงา และภูเก็ต เพื่อช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศและอนุรักษ์ท้องทะเลไทยให้มีความอุดมสมบูรณ์ยั่งยืน

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตามหลัก Circular economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน บริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ หมุนเวียนทรัพยากรนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่ง กฟผ. ให้ความสำคัญมาตลอด"

\'กฟผ.\' ดำน้ำ เก็บขยะ วางลูกถ้วยเป็นบ้านปลา ใน  \'EGAT TOGETHER\'

  • ปะการังเกิดขึ้นมากมาย จากลูกถ้วย

สมเกียรติ พนัญชัย ผช.ผู้ว่าการปฏิบัติการ และบริหารสินทรัพย์ระบบขนส่ง กฟผ. กล่าวว่า กิจกรรมครั้งนี้ เราได้ส่งมอบวัสดุลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าที่หมดอายุจากการใช้งาน

"ปกติทาง กฟผ. จะเอาไปฝังกลบ แต่เนื่องจากวัสุดเป็นเซรามิค กฟผ.เคยดำเนินงานเอาลูกถ้วยนี้มาทำเป็นบ้านปลาปะการังในช่วงแรก ๆ เมื่อปี 2556 ปรากฎว่า มีปะการังเกิดขึ้นมากมาย และกลายเป็นบ้านปลา

\'กฟผ.\' ดำน้ำ เก็บขยะ วางลูกถ้วยเป็นบ้านปลา ใน  \'EGAT TOGETHER\'

ในช่วง 3 ปีหลัง เราจึงร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) นำความรู้เรื่องเอาปะการังมาเกาะกับลูกถ้วยไฟฟ้า ซึ่งได้ผลดีมากกว่าที่เราจะเอาไปวางไว้เฉย ๆ ให้เป็นปะการังเทียม

เป็นการเอาวัสดุที่เรามีอยู่ ซึ่งไม่เป็นพิษและไม่ได้เอามากำจัด แต่นำมาใช้ประโยชน์ให้ตัวอ่อนประการังได้เกาะอาศัย เป็นการเพิ่มบ้านปลาและแหล่งที่อยู่อาศัยให้กับปะการังต่อไป"