มีไปก็ไร้ประโยชน์! 6 อวัยวะที่ไม่จำเป็นของมนุษย์

มีไปก็ไร้ประโยชน์! 6 อวัยวะที่ไม่จำเป็นของมนุษย์

‘อวัยวะ’ บางอย่างในร่างกายมนุษย์ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรม, หมอ, นักวิจัย ต่างถกเถียงกันตลอดหลายปีที่ผ่านมาว่าอวัยวะเหล่านั้นของมนุษย์ไม่จำเป็นต้องมี เพราะมองไม่เห็นประโยชน์ใดๆ จากพวกมันเช่น ฟันคุด ไส้ติ่ง

การมีอยู่ของบางสิ่งบางอย่าง นอกจากความเคยชิน สิ่งเหล่านั้นอาจจะไม่มีประโยชน์เสมอไป! โดยเฉพาะกับ ‘อวัยวะ’ บางอย่างในร่างกายมนุษย์ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรม, หมอ, นักวิจัย ต่างถกเถียงกันตลอดหลายปีที่ผ่านมาว่าอวัยวะเหล่านั้นของมนุษย์ไม่จำเป็นต้องมี เพราะมองไม่เห็นประโยชน์ใดๆ จากพวกมันเช่น ฟันคุด ไส้ติ่ง

 

6 อวัยวะที่ไม่จำเป็นของมนุษย์

  1. ไส้ติ่ง

ไส้ติ่งมีลักษณะ เป็นท่อตันที่แยกออกมาจากลำไส้ใหญ่ส่วนต้น  โดยจะอยู่บริเวณท้องน้อยทางด้านขวา 

หน้าที่ของไส้ติ่ง คือเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่สลายและดักจับเซลลูโลสในพืชที่เรากินเข้าไป เมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์กินพืชไส้ติ่งจะมีขนาดใหญ่กว่ามนุษย์หลายเท่าตัว ปัจจุบันมีนักวิจัยหลายคนออกมาบอกว่าไส้ติ่งไม่จำเป็นสำหรับมนุษย์อีกต่อไป เพราะในอดีตที่มนุษย์มีไส้ติ่งก็เพื่อช่วยการย่อยพืชที่เป็นอาหารหลัก แต่ ณ ปัจจุบันอาหารหลักของมนุษย์คือโปรตีน บทบาทการทำหน้าที่จึงลดลงอย่างเห็นได้ชัด และกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค สำหรับใครที่เคยตัดไส้ติ่งก็ไม่ส่งผลต่อระบบร่างกายมากนัก แล้วเราจะมีไส้ติ่งเพื่อให้ปวดท้อง และไปผ่าเพื่ออะไร!

  1. ฟันคุด

ฟันคุด หรือ ฟันกรามซี่ที่ 3 คือมรดกโครงสร้างร่างกายตั้งแต่มนุษย์ยุคดึกดำบรรพ์โดยจะโผล่พ้นเหงือกมาช่วยเคี้ยวอาหารที่เหนียว แข็ง ตามบริบทของอาหารยุคก่อน แต่ทุกวันนี้อาหารมนุษย์เคี้ยวง่าย และอ่อนนุ่มกว่าในอดีตมากๆ โดยเฉพาะการปรับแต่งพันธุกรรมข้าว ข้าวโพด ที่เป็นพืชอาหารหลักของมนุษย์โลก ฟันกรามซี่ที่ 3 จึงไม่จำเป็น อีกต่อไป รวมถึงวิวัฒนาการของกราม และหัวมนุษย์เล็กลงจากมนุษย์ยุคแรกมากๆ และการที่มีอยู่ของฟันซี่ที่ 3 นี้ก็กลายเป็นฟันคุดที่ออกมาเบียดชุดฟันซี่อื่นๆ จนเกิดการเจ็บปวด และต้องผ่าออกในที่สุด ปัจจุบันนี้ฟันคุดจึงไม่มีประโยชน์อะไรทั้งสิ้น

 

  1. ต่อมทอนซิล

ในทางวิชาการ ต่อมทอนซิล ถูกหยิบยกถกเถียงถึงประโยชน์คล้ายๆ กับไส้ติ่ง เพราะถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์ในด้านการดักจับ ฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ที่หลุดเข้าไปในช่องคอ เช่น เชื้อแบคทีเรีย แต่โทษของการมีต่อมทอนซิลกลับมากกว่าประโยชน์ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพที่รุนแรง หากว่าต่อมทอนซิลติดเชื้อและอักเสบขึ้น การมีอยู่ของต่อมทอนซิลจึงเปรียบเสมือนเพื่อนรักเพื่อนร้ายของมนุษย์

  1. กล้ามเนื้อหู  (Auricular Muscles and Darwin’s Tubercle)

คุณกระดิกหูได้ไหม?... ถ้ากระดิกได้ก็คงเป็นความสามารถที่มีอยู่ประมาณ 20% ของคนทั้งโลก ซึ่งกระดูกหูเป็นอวัยวะที่คนส่วนใหญ่ควบคุมไม่ได้ กระดูกหูมีความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในด้านการหันหูหาที่มาของเสียง และดักจับทิศทางเสียงได้ดีขึ้น เปรียบเทียบกับแมวที่กระดิกใบหูหาเสียงหนู หรือของเล่นพร้อมทำหน้าฉงน แต่สำหรับมนุษย์ที่มีวิวัฒนาการมากกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ การกระดิกหูหาเสียง หรือเพื่อหาเหยื่อจึงไม่จำเป็นอีกต่อไป รวมถึงมนุษย์มีประสาทตาที่ดี และคอที่หันหาเสียงได้แทนการหันหู ดังนั้นแล้วกล้ามเนื้อหูจึงไม่มีประโยชน์สำหรับมนุษย์

 

  1. ติ่งเนื้อเล็กๆ สีชมพูที่หัวตา

plica semilunaris หรือ เยื่อบุตา, เปลือกตาที่สาม  ถ้าให้สังเกตง่ายที่สุดคือตรงติ่งเนื้อเล็กๆ สีชมพูที่หัวตา

เปลือกตาที่สามทำหน้าที่กะพริบกรองฝุ่น และดักจับสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาในดวงตา  เปรียบเทียบกับเปลือกตาของงู ฟังดูแล้วอวัยวะส่วนนี้มีประโยชน์ไม่น้อย แต่การใช้เปลือกตาที่สามนี้จะทำหน้าที่ในลักษณะกะพริบแนวนอน ซึ่งตาของมนุษย์นั้นมีลักษณะการกะพริบแนวตั้ง ดังนั้นแล้วอวัยวะส่วนนี้จึงไม่ถูกใช้งานเลยตั้งแต่มนุษย์เกิด

 

  1. กระดูกชิ้นเล็กๆ ที่เข่า

Fabella หรือกระดูกทรงเม็ดถั่วเล็กๆ ที่ติดอยู่กับเส้นเอ็นหลังกระดูกเข่า อวัยวะส่วนนี้ถูกพบในมนุษย์เพียงแค่ 11% จากคนทั้งโลก และดูเหมือนจะมีในมนุษย์น้อยลงตั้งแต่ปี 1918 แต่ปัจจุบันอวัยวะส่วนนี้กลับพบในมนุษย์เพิ่มมากขึ้นกว่า 40%

ในอดีตอวัยวะชิ้นนี้เคยหายไปช่วงหนึ่ง ซึ่งประโยชน์คือการทำหน้าที่คล้ายแผ่นป้องกันการบาดเจ็บที่หัวเข่าให้กับมนุษย์ในสมัยก่อน ดังนั้นการกลับมามีอวัยวะนี้จึงมีความเป็นไปได้ว่าที่กระดูกชนิดนี้มีแนวโน้มที่จะกลับมาในปัจจุบัน อาจจะมาจากการที่คนเรามีอาหารการกินที่ดีขึ้นจนร่างกายใหญ่และมีน้ำหนักมากขึ้นก่อให้เกิดภาระกับหัวเข่า จนร่างกายต้องนำกระดูกตัวนี้กลับมาเพื่อเสริมการป้องกันหัวเข่าของเราก็เป็นได้

แต่ทั้งนี้อวัยวะทุกส่วนล้วนทำหน้าที่ประสานกัน และบางอย่างที่กล่าวว่าไร้ประโยชน์ก็เป็นการถกเถียงกันในเชิงวิชาการ ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน

 

-----------------------------------------

ที่มา : promegaconnectionsicr.orgsciencealertruamphat.com/