"บางกอกกำลังดี...ที่ฝั่งธน" ต้นแบบสร้างกรุงเทพฯ สังคมแห่งการเรียนรู้นอกห้องเรียน

"บางกอกกำลังดี...ที่ฝั่งธน" ต้นแบบสร้างกรุงเทพฯ สังคมแห่งการเรียนรู้นอกห้องเรียน

แม้ว่าการเรียนรู้แบบออนไลน์เข้ามามีความสำคัญมากขึ้นสำหรับเด็กและเยาวชนยุคนี้ แต่อีกด้านก็มีส่วนทำให้เด็กใช้ชีวิตอยู่หน้าจอมากขึ้น แน่นอนว่าย่อมส่งผลต่อแนวโน้มของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของคนยุคใหม่ที่เริ่มมีช่องว่างมากขึ้น จนเกิดภาวะการเรียนรู้ถดถอย

สำหรับยุคที่เด็กไทย โดยเฉพาะเด็กในเมืองขาดสถานที่เอื้อต่อการส่งเสริมพัฒนาการด้วยกิจกรรมกลางแจ้ง ทั้งพื้นที่เล่นพื้นที่เรียนรู้ที่ปลอดภัยในชุมชนและกิจกรรมสร้างสรรค์ที่จะทำให้เด็กพัฒนาทั้งร่างกาย สติปัญญา และทักษะทางสังคม แนวคิด "พื้นที่สร้างสรรค์มีชีวิต" ต้นแบบการเรียนรู้ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายบางกอกกำลังดี ได้ริเริ่มขึ้น

เทศกาล "บางกอกกำลังดี...ที่ฝั่งธน" ถือเป็น 1 กิจกรรมจากอีกหนึ่งพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้ ทั้ง 66 พื้นที่ที่กำลังเกิดขึ้นด้วยหวังชิงเวลาหน้าจอ มุ่งเสริมพัฒนาการรู้เท่าทันโลกยุค VUCA World

\"บางกอกกำลังดี...ที่ฝั่งธน\" ต้นแบบสร้างกรุงเทพฯ สังคมแห่งการเรียนรู้นอกห้องเรียน

ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. กล่าวว่า ยุค VUCA World ที่มีความผันผวนอย่างรวดเร็ว ไม่แน่นอน ซับซ้อน และส่งผลกระทบรุนแรง ที่สำคัญคือ ขาดสถานที่เอื้อต่อการส่งเสริมพัฒนาการด้วยกิจกรรมกลางแจ้ง ทั้งพื้นที่เล่นพื้นที่เรียนรู้ที่ปลอดภัยในชุมชนและกิจกรรมสร้างสรรค์ที่จะทำให้เด็กพัฒนาทั้งร่างกาย สติปัญญา และทักษะทางสังคม สสส. มุ่งให้ความสำคัญต่อการสร้างประสบการณ์จริงในการเรียนรู้ ด้วยการลงมือปฏิบัติ มีประสบการณ์จริงนอกห้องเรียน เพื่อสร้างทักษะที่พร้อมจะรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ และสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนให้มีภูมิคุ้มกันในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

"สสส. สนับสนุนให้เกิดพื้นที่ต้นแบบและรูปแบบความร่วมมือของทุกภาคส่วน เทศกาล บางกอกกำลังดี...ที่ฝั่งธน มีการจัดการให้เกิดพื้นที่การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) เรียนรู้ผ่านฐานชุมชน การเรียนรู้ภาคปฏิบัติเรื่องศิลปวัฒนธรรมในชุมชนที่น่าสนใจและสร้างชีวิตชีวาสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัวในชุมชน ถือเป็นต้นแบบการทำงานที่สามารถนำไปขยายผลให้เด็กๆ ได้รับประโยชน์อย่างถ้วนหน้า สอดรับกับทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ที่ให้ความสำคัญของการพัฒนาทักษะชีวิต" ณัฐยา กล่าว

โชคดีที่แนวคิดดังกล่าว สอดคล้องกับการทำงานของ กทม. ที่มุ่งทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่น่าอยู่ ล่าสุด เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2565 ที่สวนบางขุนนนท์เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ จึงมีผู้ใหญ่ใจดีที่เห็นความสำคัญในเรื่องพื้นที่สุขภาวะอย่าง รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้

\"บางกอกกำลังดี...ที่ฝั่งธน\" ต้นแบบสร้างกรุงเทพฯ สังคมแห่งการเรียนรู้นอกห้องเรียน

รศ.ดร.ชัชชาติ เอ่ยว่า การเพิ่มพื้นที่การเรียนรู้ พื้นที่สร้างสรรค์ให้เด็กเยาวชน ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า กทม. พร้อมผลักดันนโยบายที่ส่งเสริมให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ พัฒนาพื้นที่สาธารณะให้เป็นพื้นที่เรียนรู้อีก 50 แห่งในกรุงเทพฯ ที่ใกล้ชุมชน สะดวก และปลอดภัย โดยบูรณาการการทำงานทุกภาคส่วน จัดตั้งคณะทำงานร่วมในการขับเคลื่อนพื้นที่เรียนรู้ได้จริงและยั่งยืน มุ่งสร้างเด็กให้มีคุณภาพ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความก้าวหน้าในชีวิตและสังคมไทย

เสริมด้วยเสียงสะท้อนจาก เชษฐา มั่นคง ผู้แทนภาคีเครือข่าย บางกอกกำลังดี...ที่ฝั่งธน กล่าวว่า กิจกรรม บางกอกกำลังดี...ที่ฝั่งธน มุ่งพัฒนาและสร้างทักษะของเด็กและเยาวชน ผ่านการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในชุมชน มีลานดนตรี เวทีวัฒนธรรม รำโทน เชิดสิงโต กลองยาว นิทานใบไม้ รวมถึงเวิร์กช็อปศิลปะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ เน้นฟื้นฟูภาวะความรู้และพัฒนาการที่ถดถอยในเด็ก สอดรับกับทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศที่ให้ความสำคัญของการพัฒนาทักษะชีวิต โดยกิจกรรมเกิดขึ้นจากความร่วมมือของเครือข่ายฝั่งธน ทั้งบางกอกนี้ดีจัง คลองเตยดีจัง เครือข่ายคนไร้บ้าน มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก สำนักงานเขตบางกอกน้อย มุ่งเป้าหมายเดียวกันในการขับเคลื่อนเรื่องพื้นที่เรียนรู้ สร้างสรรค์ และกิจกรรมสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชน ทำให้เกิดแกนนำชุมชน เยาวชนวัดโพธิ์เรียง เยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง กลุ่มฝั่งธน ร่วมสานพลังทำงานพัฒนาชุมชนให้เป็นพื้นที่เรียนรู้และสร้างสรรค์ที่มีชีวิตชีวา

\"บางกอกกำลังดี...ที่ฝั่งธน\" ต้นแบบสร้างกรุงเทพฯ สังคมแห่งการเรียนรู้นอกห้องเรียน \"บางกอกกำลังดี...ที่ฝั่งธน\" ต้นแบบสร้างกรุงเทพฯ สังคมแห่งการเรียนรู้นอกห้องเรียน