“เทศกาลทุเรียนปากช่องเขาใหญ่” กว่าจะเป็น "ทุเรียน GI"

“เทศกาลทุเรียนปากช่องเขาใหญ่” กว่าจะเป็น "ทุเรียน GI"

เป็นครั้งแรกของงาน “เทศกาลทุเรียนปากช่องเขาใหญ่” วันที่ 15-16 ก.ค. ณ ฟาร์มโชคชัย ชิม “ทุเรียน GI” พันธุ์หมอนทอง เนื้อเนียน แน่นหนึบ กลิ่นหอมอ่อน ๆ รสชาติหวานมัน

ปากช่อง ปลูกทุเรียนตั้งแต่ปี พ.ศ.2517 บริเวณเทือกเขาดงพญาเย็น แหล่งโอโซนระดับ 7 ของโลก ได้ ทุเรียน GI จำนวน 39 สวน

กรมทรัพย์สินทางปัญญา นิยาม ทุเรียนปากช่องเขาใหญ่ ว่าหมายถึง ทุเรียนหมอนทอง มีเนื้อสัมผัสเนียน แน่นหนึบ แห้ง ละเอียด เส้นใยน้อย มีสีเหลืองอ่อนสม่ำเสมอทั้งผล กลิ่นหอมอ่อน ๆ รสชาติหวานมัน ปลูกในเขตพื้นที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

“เทศกาลทุเรียนปากช่องเขาใหญ่” กว่าจะเป็น \"ทุเรียน GI\"    ทุเรียนปากช่อง (Credit ภาพ: lanlom)

ปัจจุบัน กรมทรัพย์สินทางปัญญา ขึ้นทะเบียน GI (หนังสือรับรองตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) ให้แก่ทุเรียนในแหล่งต่าง ๆ รวม 11 แห่ง และที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร คือ ทุเรียนหมอนทองปากช่อง

คุณมาโนช รูปสมดี ผู้ปลูกทุเรียนเจ้าของ “สวนอัมพร” ประธานวิสาหกิจชุมชนทุเรียนและพืชสวน อ.ปากช่อง และเป็นหนึ่งในผู้ผลักดันจนได้ ทุเรียน GI เล่าว่า

ทุเรียนปากช่อง จ.นครราชสีมาไ ด้ชื่อว่าเป็นทุเรียนคุณภาพ ลักษณะเด่นคือรสชาติอร่อย สีสวย เนื้อแน่นกรอบ ไม่หวานจนเกินไป และกลิ่นไม่แรง

“เทศกาลทุเรียนปากช่องเขาใหญ่” กว่าจะเป็น \"ทุเรียน GI\"    คุณมาโนช รูปสมดี เจ้าของสวนอัมพร

ปัจจุบันเกษตรกรร่วมกันจัดตั้งเป็น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทุเรียนและพืชสวน อ.ปากช่อง รวม 39 ราย โดยมีพื้นที่ปลูกอยู่ใน ต.กลางดง ต.หนองน้ำแดง ต.ปากช่อง และ ต.คลองม่วง กว่า 2,000 ไร่

ปีนี้ทุเรียนปากช่องให้ผลผลิตมากพอสมควร เนื่องจากสมาชิกแต่ละสวนมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดีด้วยระบบอินทรีย์ทุกขั้นตอน

เฉพาะสวนอัมพรปลูกไว้ 15 ไร่ รวม 350 ต้น มีทั้งหมด 8 สายพันธุ์ คือ หมอนทอง, หลงลับแล, หลินลับแล, มูซังคิง, หนามดำ, ก้านยาว, เม็ดในยายปราง และทองหลินจง ปีนี้เก็บผลผลิตได้แล้ว 2 สายพันธุ์ คือหมอนทอง และหลงลับแล”

“เทศกาลทุเรียนปากช่องเขาใหญ่” กว่าจะเป็น \"ทุเรียน GI\"     ห่อด้วยถุง magik growth

การดูแลรักษา ตั้งแต่การปลูกจนถึงช่วงติดผล เจ้าของสวน “อัมพร” บอกว่ามีเทคนิคก่อนเก็บเกี่ยวคือ เกษตรกรจะห่อลูกด้วยถุง magik growth สีแดง เป็นวัสดุเสริมการเพาะปลูกชนิดนอนวูฟ ช่วยป้องกันแมลงต่างๆ ทำให้ผลทุเรียนมีสีสวย ช่วยเพิ่มคุณค่าทุเรียนได้มากกว่า 30%

 

“เทศกาลทุเรียนปากช่องเขาใหญ่” กว่าจะเป็น \"ทุเรียน GI\"

“ก่อนจะทำสวนอัมพร ผมเคยทำสวนทุเรียนอีกสวนหนึ่ง เมื่อปี 2529 แต่เมื่อก่อนปลูกให้เทพารักษ์ดูแล ไม่ได้ตั้งใจเต็มที่นัก เพราะเมื่อก่อนสภาพดินดี น้ำดี ปลูกยังไงก็ได้กิน พอมาปี 2540 ผมเจอหนอนเจาะต้น มันเจาะตายทั้งสวนเลย ทั้งสวนไม่ต่ำกว่า 100 ต้น ตอนนั้นผมขายได้โลละ 70 บาท ไม่ธรรมดานะ สำหรับการขายอยู่ในปากช่อง ผมก็มาเริ่มปลูกใหม่เมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา เพื่อจะทำทุเรียนปากช่องให้มันกลับมาเกิด”

“เทศกาลทุเรียนปากช่องเขาใหญ่” กว่าจะเป็น \"ทุเรียน GI\"

   ทุเรียนต้นแรก ๆ ที่ปากช่อง

หากทุเรียนต้นแรกในปากช่อง เกิดมานานจะ 50 ปีแล้ว เจ้าของสวนอัมพร เล่าว่า

“ประวัติทุเรียนปากช่อง จริง ๆ เกิดมาตั้งแต่ปี 2517 แต่เรายังไม่ได้ GI เมื่อเปรียบเทียบกับทุเรียนศรีสะเกษ ซึ่งเขาได้แล้ว ผู้ว่าก็รับทราบ และเห็นสมควร เพราะว่าการได้ GI เรามี Story ว่าเกิดก่อนเขาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถตรวจ DNA ต้นแรก ซึ่งทุเรียนต้นนี้ยังอยู่ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐธิยา เบือนสันเทียะ (หัวหน้าศูนย์วิจัย BCG เพื่อเศรษฐกิจชนบทยั่งยืน สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี) ช่วยผลักดันเต็มที่

“เทศกาลทุเรียนปากช่องเขาใหญ่” กว่าจะเป็น \"ทุเรียน GI\"

    ทุเรียนปากช่อง เนื้อเนียนแน่นหนึบ กลิ่นไม่แรง

โดยอาจารย์ได้นำเนื้อทุเรียนปากช่องไปวิจัย เอาไปตรวจ ช่วยเขียนคำร้องร่วมกับ กลุ่มวิสาหกิจกลุ่มทุเรียนและพีชสวนอำเภอปากช่อง และกลุ่มทุเรียนวิสาหกิจคลองม่วง มสส. เกษตรอำเภอ โดยมีท่านผู้ว่าเป็นผู้ยื่นเรื่องขอจดทะเบียน GI

การขอจด GI มันไม่ใช่เรื่องง่ายนะครับ ต้องผ่านกรรมการระดับจังหวัด ผมต้องตอบคำถามเยอะว่า มันดียังไง อะไรยังไง กว่าจะผ่านได้ ต้องแก้ไขข้อความ เข้าไปทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาก็กลับมาแก้ไขอีก ใช้เวลาร่วม 2 ปี รวม ๆ แล้วกลุ่มทุเรียนปากช่องใช้เวลาในการสร้าง GI ประมาณ 3 ปี”

“เทศกาลทุเรียนปากช่องเขาใหญ่” กว่าจะเป็น \"ทุเรียน GI\"    เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน สวนอัมพร (Credit: lanlom)

ปัจจุบัน ทุเรียนปากช่องได้มาตรฐาน GAP และ GI จำนวน 39 สวน

“สมาชิกของเราในกลุ่มวิสาหกิจ มี 2 กลุ่ม มีสมาชิกกลุ่มละประมาณ 30 คน ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI และได้ผลผลิตแล้ว 39 สวน ในปีต่อไปก็จะมีเพิ่มขึ้น แต่เราไม่ได้เน้นว่าจะต้องเฉพาะ 2 กลุ่มนี้ เราเน้นชาวสวนทั่วทั้งอำเภอปากช่อง ที่สามารถขอใช้ตราสัญลักษณ์ GI และขอมาตรฐาน GAP เพราะในอนาคตถ้าไม่ได้มาตรฐานก็จะไม่ได้ส่งออก

ทุเรียนในเขตจังหวัดนครราชสีมา มีไม่น้อยกว่า 6 อำเภอ เราต้องเน้นตลาดส่งออกเท่านั้น เราถึงจะไปรอด ถ้าไม่มีมาตรฐาน GAP ก็ส่งออกไม่ได้ เบื้องต้นจึงขอมาตรฐาน GAP ก่อนแล้วขอ GI หรือจะขอพร้อมกันได้เลย จากนั้นก็ให้เป็นขั้นตอนตามระเบียบของทางราชการ”

เมื่อขอ GI ได้ก็ใช่ว่าทุกอย่างเป็นเรื่องฉลุย ชาวสวนยังคงทำงานหนักเพื่อรักษาคุณภาพของทุเรียน

“เทศกาลทุเรียนปากช่องเขาใหญ่” กว่าจะเป็น \"ทุเรียน GI\"

     (Credit ภาพ: lanlom)

มาตรฐาน GI คือรักษาคุณภาพ เพราะของเราเนื้อแห้ง เนียนนุ่ม ละมุนลิ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับการจัดการเรื่องน้ำ ธาตุอาหาร เราต้องเข้มข้นกับสมาชิก เราต้องหาองค์ความรู้มาให้เขาตลอดเวลา

สิ่งที่น่ากลัวที่สุดตอนนี้ ในอนาคตของทุเรียน เราจะทำยังไงให้ต้นทุนไม่เกิน 50 บาท เพื่อให้เราอยู่รอด เพราะเราไม่รู้ว่าในอนาคต จีนจะทำได้ต่ำกว่า 100 ไหม เพราะถ้าต้นทุนการผลิตไม่เกิน 50 บาท ต่อกิโลกรัม เรายังรอด แต่ทุกวันนี้ตัวเลขที่ทำไว้กับสมาชิก ต้นทุนต่อกิโลกรัมเท่าไหร่

เพราะฉะนั้นต้องมาพูดคุยกันว่าทำได้เท่าไหร่ และถ้าทำไม่ได้ เราต้องทำยังไงให้มันได้ เราต้องไปหาองค์ความรู้กับคนที่เขาทำสำเร็จแล้วมาเป็นวิทยากร ส่วนนี้ผมประสานไว้หมดแล้ว เพียงแค่หาเวลาและโอกาส และหาทุนทรัพย์ในการจัดกิจกรรม

“เทศกาลทุเรียนปากช่องเขาใหญ่” กว่าจะเป็น \"ทุเรียน GI\"

ผมมีแนวความคิดว่าจะผลักดันทุเรียนปากช่อง ให้เหมือนทางนนทบุรีว่า มีครั้งหนึ่งที่ออกจากโลกโซเชียลที่ดังมากว่า ทุเรียนนนทบุรี ประมูลกันลูกละ 8 แสนบาท ผมก็มีความคิดว่า ปีหน้าจะพยายามผลักดัน ให้มีการประกวดทุเรียนคุณภาพของ GI ผลผลิตที่สวย แล้วหานายทุนมาประมูล เพื่อให้ได้ราคาแพง ๆ

และผลักดันสู่โลกโซเชียล โดยนำรายได้เหล่านั้นคืนสู่สังคม หรือให้กลุ่มวิสาหกิจทั้งสองกลุ่มเพื่อใช้ในการบริหารจัดการ พัฒนาเพิ่มองค์ความรู้ให้กับสมาชิก ผมพยายามผลักดันเรื่องนี้ให้มันเกิดขึ้น ปีหน้าถ้าไม่พลาดอะไรก็จะผลักดันเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นให้ได้ครับ”

“เทศกาลทุเรียนปากช่องเขาใหญ่” กว่าจะเป็น \"ทุเรียน GI\"

กว่าจะเป็น ทุเรียน GI จึงไม่ง่าย ตามด้วยการรักษามาตรฐานที่อาจยากยิ่งกว่า...

“ผมพูดได้ว่า ทุเรียน เรียนไม่จบ เพราะอะไร คนที่เป็นครูภาคตะวันออกเขาบอกว่า ถ้าตั้งใจจริง มันต้องจบ แต่สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ไม่ได้เป็นแหล่งทุเรียน แต่เป็นทุเรียนนอกเขต

แหล่งทุเรียนจริง ๆ มันต้องได้ความชื้นสัมพัทธ์ที่สูง ความอุดมสมบูรณ์ของน้ำต้องดี แต่เขตพื้นที่ปากช่องเป็นพื้นที่ร้อนและแห้งมากกว่า ทุเรียนก็ต้องปรับสภาพ กว่าจะอยู่ตัวได้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็เป็นจุดเด่นว่าเนื้อจะแห้งกว่าภาคตะวันออก

“เทศกาลทุเรียนปากช่องเขาใหญ่” กว่าจะเป็น \"ทุเรียน GI\"

สภาพของดินด้วยบางส่วน ความเป็นกรดเป็นด่างมีผลต่อการเติบโตของทุเรียน องค์ความรู้สมาชิกต้องมี เกิดการอบรม เบื้องต้น ค่าดินเท่าไหร่ น้ำที่รดเป็นยังไง โรคแมลง ใช้ยาตัวไหน เพลี้ยจักจั่นฝอย

ทำสวนทุเรียนต้องรู้น้ำ รู้ดิน รู้ศัตรูของทุเรียนว่ามีอะไรบ้าง รู้จักสารเคมี ตัวยาไหนที่ต้องใช้ รู้จักวิธีสลับกลุ่มยา เพื่อที่จะไม่ให้เกิดการดื้อยา รู้เรื่องของโรค ว่าเกิดแล้วมันจะแสดงอาการยังไง เป็นพื้นฐานที่สมาชิกต้องรู้

“เทศกาลทุเรียนปากช่องเขาใหญ่” กว่าจะเป็น \"ทุเรียน GI\"

มาตรฐาน GI ในบันทึกจะบอกว่า เราบำรุงต้นเมื่อไหร่ ทำอะไรกับต้นนั้นบ้าง ทุกต้นมีชื่อหมด ทุกต้นมีการติดแทกติดป้ายกำกับ ทำทุเรียนปลอดภัยหมายความว่า ระยะเวลาหลังจาก 45 วันสุดท้าย มันจะปลอดสารเคมีแล้ว

เพราะฉะนั้น ทุเรียนส่วนใหญ่ ใช้สารเคมีเยอะไม่ได้ มันจะเป็นอินทรีย์เคมี แต่ส่วนใหญ่ 45 วันสุดท้าย เราจะทำทุเรียนปลอดภัย ให้มีความมั่นใจ ให้ GI ตัวนี้เป็นตัวช่วย ผสมกับ GAP มาตรฐานผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร 2 ตัวร่วมกันก็สร้างความมั่นใจได้”

อาชีพทำสวนผสานกับจัดอบรมเพิ่มความรู้ ขาดไม่ได้

“ผมจัดอบรมสมาชิกมาเรื่อย ๆ และก็ยังไม่จบ ยังต้องจัดเสริมองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง เพราะบางคนเข้าหูซ้ายออกหูขวา บ้างยังไม่ประสบปัญหา พอเจอปัญหาก็เริ่มมาถามกัน ยังเชิญอาจารย์ นักวิชาการ ต่าง ๆ มาเป็นที่ปรึกษา

ตั้งแนวคิดว่าเราจะโตไปด้วยกัน องค์ความรู้ต้องเสริมตลอดเวลา ต้องเข้มข้น อย่าอ่อนซ้อม”

เจ้าของสวนทุเรียน บอกว่า มาตรฐาน GI ให้ไว้ 2 ปี เมื่อครบกำหนดก็ต้องยื่นขอใหม่ โดยเจ้าหน้าที่จะมาตรวจ เพื่อให้ชาวสวนรักษาคุณภาพตามมาตรฐาน

“เทศกาลทุเรียนปากช่องเขาใหญ่” กว่าจะเป็น \"ทุเรียน GI\"

ทุเรียนปากช่องของเรา เหมือนที่สโลแกนว่าไว้...เนื้อแห้ง ละมุนลิ้น กลิ่นไม่แรง มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากทุเรียนที่อื่น”

เทศกาลทุเรียนปากช่องเขาใหญ่

ทุเรียน อ.ปากช่อง มีพื้นที่ปลูกรวม 10,000 ไร่ ให้ผลผลิตแล้ว 4,000 ไร่ ขึ้นทะเบียน GI 39 ราย (สวน) รวมพื้นที่ 2,000 ไร่

เจ้าของสวนอัมพรและกลุ่มสมาชิกผู้ปลูกทุเรียน อ.ปากช่อง 39 ราย ได้รับหนังสือรับรองตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย GI จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2565 

“เทศกาลทุเรียนปากช่องเขาใหญ่” กว่าจะเป็น \"ทุเรียน GI\"

สมาคมท่องเที่ยวเขาใหญ่และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ประกาศจัด เทศกาลทุเรียนปากช่องเขาใหญ่ ครั้งที่ 1 ในวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.00 – 17.00 น. ณ ฟาร์มโชคชัย ริมถนนมิตรภาพ (ขาเข้ากรุงเทพฯ) อ.ปากช่อง นครราชสีมา สอบถามโทร.08 9209 8058, 09 4516 6864