"บิทคับ" จัดเสวนา PRIDE VOICE สัปดาห์แรก เสียงตอบรับดี

"บิทคับ" จัดเสวนา PRIDE VOICE สัปดาห์แรก เสียงตอบรับดี

เสียงตอบรับดี "บิทคับ" จัดเสวนา PRIDE VOICE สัปดาห์แรกในหัวข้อ "สมรสเท่าเทียม และโอกาสความเท่าเทียมในโลกใหม่ ด้วย Blockchain Technology"

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป เปิดพื้นที่กว่า 1,700 ตร.ม. ณ บิทคับ เอ็ม โซเชียล บริเวณชั้น 9 อาคารเดอะ เฮลิกซ์ ศูนย์การค้า ดิ เอมควอเทียร์ จัดงาน PRIDE VOICE @Bitkub M Social ในหัวข้อ "EQUALITY : สมรสเท่าเทียม และโอกาสความเท่าเทียมในโลกใหม่ ด้วย Blockchain Technology" เพื่อสนับสนุนกลุ่ม LGBTQA+ และนักกิจกรรมเพื่อสิทธิความเสมอภาคสำหรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศให้มีโอกาสสร้างคอมมูนิตี้และเปิดเวทีเสวนาหาแนวทางปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมและหาทางออกร่วมกันในประเด็นปัญหาต่างๆ ที่ยังคงทำให้เกิดความไม่เสมอภาคทั้งในสังคมและในองค์การธุรกิจ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานอย่างล้นหลาม นับได้ว่าเป็นเดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) และความภาคภูมิใจของ บิทคับ ที่ได้ร่วมเป็นกระบอกเสียงในครั้งนี้ 

\"บิทคับ\" จัดเสวนา PRIDE VOICE สัปดาห์แรก เสียงตอบรับดี

ภายในงานได้รับเกียรติจากแขกรับเชิญพิเศษ ได้แก่ ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล, ลีนา จังจรรจา หรือลีน่าจัง นักธุรกิจ ทนายความ นักการเมือง และนักแสดง, ชัญญา รัตนธาดา ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม Young Pride Club, พัสกร วรรณศิริกุล คณะกรรมการเศรฐกิจสร้างสรรค์พรรคกล้า และศิรภพ จันทรโอภาส ผู้จัดการอาวุโส ทีมการตลาด บริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด โดยมี ฐิติพงษ์ ด้วงคงหรือครูธง MUT Master นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและวัตนธรรมให้เกียรติเป็นผู้ดำเนินงานเสวนา 

ชัญญา วิเศษศิริ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและมวลชนสัมพันธ์ บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด กล่าวว่า การจัดงานเสวนาตลอดทั้งเดือนในนี้ ดำเนินภายใต้แนวคิดที่ว่า EQUALITY, RESPECTFULLY, SUSTAINABILTY โดยมีความมุ่งหวังที่จะก่อให้เกิดการขับเคลื่อนเชิงนโยบายต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่างเป็นรูปธรรม เปิดพื้นที่ให้มีการพบปะ เสวนา แสดงความคิดเห็นอย่างเปิดกว้าง และนำผลจากการเสวนามาสร้างสรรค์เป็นแผนแม่บทในการวางนโยบายองค์กรและส่งต่อถึงผู้มีอำนาจในบ้านเมืองเกี่ยวกับการสร้างโอกาส ให้ความเท่าเทียม และการมีข้อปฏิบัติที่ไม่ละเมิดสิทธิ และก่อให้เกิดจิตสำนึกในการเคารพความแตกต่างหลากหลายอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นวิถีที่องค์กรยุคใหม่และประเทศที่เจริญแล้วให้ความสำคัญ

ศิรภาพ จันทรโอภาส ผู้จัดการอาวุโส ทีมการตลาด บริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด กล่าวว่า Bitkub ตั้งใจสร้าง Bitkub Chain ขึ้นมาเพื่อเป็น infrastructure ของระบบ Blockchain ไทย ในอนาคต เราพร้อมเปิดรับและสนับสนุนไอเดียของทุกคนที่อยากจะใช้ Blockchain มาสร้างประโยชน์ให้กับคนไทยในทุกรูปแบบ ยกตัวอย่าง เรื่องสินสมรส เราสามารถพัฒนา Smart Contract เพื่อใช้ในการแบ่งสินสมรสได้อย่างเท่าเทียม และไม่มีใครเข้ามาแทรกแซงเพื่อแก้ไขมันได้

ลีนา จังจรรจา หรือลีน่าจัง นักธุรกิจ ทนายความ นักการเมือง และดารานักแสดง กล่าวว่า ถ้ากฎหมาย พรบ. สมรสเท่าเทียมฉบับนี้ผ่าน จะสามารถสร้างประโยชน์และคุณอนันต์ต่อ LGBTQA+ คนกลุ่มนี้จะได้มีชีวิต ได้รับกฎหมายคุ้มครองชีวิตเขาอย่างเต็มที่ เหมือนกับประชาชนทั่วไปในประเทศไทยทั้งหมดอีก 70 ล้านคน”

ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ผู้แทนราษฏร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานการก่อตั้งครอบครัวเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นมากับเราเลย นั่นหมายถึงเราทุกคนเกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้ วันนี้หรือในอนาคตสิทธินี้ก็ยังอยู่กับเราเสมอ ผมขอยืนยันว่านี่คือสิทธิที่เรามีอยู่แล้วติดอยู่กับตัวทุกคน แต่ว่าอย่างที่บอก Male Dominated Society เป็นคนกำหนดกฎหมาย เป็นคนที่บอกว่าอะไรที่มันถูกจารีต อะไรที่ถูกต้อง แต่ขอยืนยันว่า ทุกคนในโลกใบนี้มีสิทธิในการก่อตั้งครอบครัว และในเมื่อผู้ชายผู้หญิงทั่วไปสามารถสมรสได้ LGBTQA+ ต้องสมรสได้เหมือนกัน

พัสกร วรรณศิริกุล คณะกรรมการเศรฐกิจสร้างสรรค์พรรคกล้า กล่าวว่า “ผมคิดว่าจากการผลักดันของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการเดินขบวนพาเหรด หรือการส่งเสียงผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ อย่างไรก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นวันนี้ หรือในอนาคตข้างหน้า เพราะคนและสังคมตอนนี้ต้องการให้เกิดขึ้น”

ชัญญา รัตนธาดา ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม Young Pride Club กล่าวว่า ถ้า พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ผ่าน เราจะถือเป็นประเทศแรกในเอเชีย จะเป็นการการันตีว่าเราเป็นประเทศที่มีความเท่าเทียม ประเทศเราเจะป็นศูนย์กลางดึงดูดทุกคนเข้ามา จะสามารถช่วยผลักดันเศรษฐกิจของประเทศได้อีกด้วย

\"บิทคับ\" จัดเสวนา PRIDE VOICE สัปดาห์แรก เสียงตอบรับดี

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมสุดพิเศษ Meet & Greet กับผู้ชนะการประกวดจากเวที Universe is U ได้แก่ เน็ต วงศ์สถิตย์ ชัยเนตร Universe Is U 2022, ปุ๊กอุฟ ไกรวัฒน์ เกตุชญาคุณ รองชนะเลิศอับดับ 1, เอสเธอร์ อนุชา ศรีภูงา รองชนะเลิศอับดับ 3, แบมแบม วริษฐาศรีคราม รองชนะเลิศอับดับ 4 และ เบญหล้า เบญหล้า ชูจิตต์ ผู้เข้ารอบ 11 คนสุดท้าย มาร่วมพูดคุยในหัวข้อ "ให้โอกาส ให้ความเท่าเทียม"

วงศ์สถิย์ ชัยเนตร ผู้ชนะ Universe is U 2022 กล่าวว่า ขอขอบคุณ บิทคับ ที่ให้การสนับสนุน UIU ให้เกียรตินำภาพผู้ชนะ Universe Is U 2022 และ Bitkub ICON ที่ประกาศตัวและสนับสนุน LGBTQA+ ภายใต้แนวคิด "Unleash The Power Of Change" ขึ้นบิลบอร์ดดิจิทัลทั่วประเทศ พร้อมทั้งเปิดโอกาสและพื้นที่ให้ทุกคนมาแสดงความคิดเห็นร่วมกันเพื่อสนับสนุนกลุ่ม LGBTQA+ และร่วมเสวนาในประเด็นปัญหาต่างๆ ที่ยังคงทำให้เกิดความไม่เสมอภาคในสังคม เน็ตขอให้ทุกคนเชื่อมั่นในตัวเอง อย่าด้อยค่าตัวเอง และขอบคุณสังคมที่มองเห็นความสามารถของเราในทุกมิติ ดอกกล้วยไม้แม้จะเป็นดอกไม้ที่เบ่งบานช้าแต่เชื่อว่าสักวันหนึ่งดอกกล้วยไม้อย่างเราจะเบ่งบานเต็มทุ่งและสวยงามแน่นอน

ไกรวัฒน์ เกตุชญาคุณ รองชนะเลิศอับดับ 1 Universe is U 2022 กล่าวว่า ในประเทศเรามี LGBTQ+ เป็นคนที่มีคุณภาพจำนวนมาก เป็นนักการเมือง เป็นบุคคลต้นแบบของสังคม หรือแม้กระทั่งพระเอกซีรี่วายที่มีชื่อเสียงมาก ประเทศไทยมีการหารายได้จากซีรี่วายซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีมาก แล้วทำไมสมรสเท่าเทียมถึงไม่เปิดกว้างให้พวกเรา การสมรสจริงๆ ไม่ควรกำหนดแค่คำว่านายกับนางสาว แต่ควรเกิดขึ้นโดยใช้คำว่าบุคคลกับบุคคล เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม

อนุชา ศรีภูงา รองชนะเลิศอับดับ 3 Universe is U 2022 กล่าวว่า บางคนอาจจะคิดว่า พ.ร.บ.คู่ชีวิต และ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม มีความเหมือนกัน แต่จริงๆ แล้วมันไม่เหมือนกัน เราควรมองว่าสิทธิ์ที่เราจะได้รับในแต่ละข้อของกฎหมายนั้นมีอะไรบ้าง และมีมิติไหนที่จะสามารถช่วยเหลือเราได้บ้าง แต่ถามกลับกันทำไมในสังคมไทยถึงต้องมีการแบ่งระหว่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต กับ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม เพราะฉะนั้นจึงอยากให้พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมผ่าน เพื่อให้มนุษย์ได้สร้างความตรรหนักถึงความเท่าเทียมกันในสังคม

วริษฐา  ศรีคราม รองชนะเลิศอับดับ 4 Universe is U 2022 กล่าวว่า โลกใบนี้ไม่ควรแบ่งเพศ ในเมื่อกฎหมายบอกว่าชาย และหญิงเท่าเทียมกัน ดังนั้นไม่ควรมีช่องว่างระหว่าง LGBTQA+ ในเมื่อทุกคนเสียภาษีเท่ากันทำไม LGBTQA+ ถึงได้รับสิทธิ์น้อยกว่าคนอื่น

เบญหล้า ชูจิตต์ ผู้เข้ารอบ 11 คนสุดท้าย Universe is U 2022 กล่าวว่า จากประสบการณ์การดำเนินชีวิตเป็นกลุ่ม LGBTQA+ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการสมรสกันไม่ได้ ทำให้เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินอย่างคู่ชีวิตเข้าโรงพยาบาลก็ไม่สามารถทำการอนุมัติอะไรได้เลย เช่นนั้น พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ควรจะเกิดขึ้นจริง เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียมในสังคมไทยสักที

กิจกรรม PRIDE VOICE @Bitkub M Social  จะมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งเดือนมิถุนายน โดยจะจัดขึ้นอีกครั้งในวันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน 2565 ภายใต้หัวข้อ "RESPECTFULLY : Best Practice for LGBTQA+ at Work Space for Modern Organization" และวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน 2565 ภายใต้หัวข้อ "SUSTAINABILITY : Beyond Rainbow-Washing" 

ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดได้ที่เฟซบุ๊ก bitkubgroup และ bitkubmsocial