เช็กด่วน! 10 โรคแปลกทางจิต ที่มีอยู่จริง

เช็กด่วน! 10 โรคแปลกทางจิต ที่มีอยู่จริง

หากพูดถึงอาการทางจิตเชื่อว่าหลายคนคงกำลังคิดถึงคนบ้าที่นั่งยิ้มหรือพูดคนเดียวทั้งวันได้แบบที่คนทั่วไปไม่ทำกัน

KEY

POINTS

  • คนไทยที่ป่วยด้วยโรคจิตเวชมีจำนวนมาก ซึ่งผู้ป่วยบางรายรู้ตัวว่าตนเองป่วย บางรายก็ไม่รู้ตัว ที่สำคัญไปกว่านั้นผู้ป่วยบางรายยังสับสนในอาการป่วยทาง จิตเวช บางโรค และเข้าใจผิดคิดว่าตนเองป่วยเป็นโรคทางกาย
  • โรคแปลกทางจิต แม้ไม่ได้พบบ่อย แต่มีอยู่จริง และหลายครั้งที่ไม่รู้ว่านี่คืออาการป่วย 
  • การบำบัดรักษาโรคแปลกทางจิต ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการบำบัดด้วยเทคนิคต่างๆ เพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิต เข้าสู่สังคมได้ปกติ 

หากพูดถึงอาการทางจิตเชื่อว่าหลายคนคงกำลังคิดถึงคนบ้าที่นั่งยิ้มหรือพูดคนเดียวทั้งวันได้แบบที่คนทั่วไปไม่ทำกัน ซึ่งเอาจริง ๆ แล้วอาการทางจิตนั้นไม่ใช่อาการของคนบ้าหรือโรคจิตอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่อาการทางจิตเวชคืออาการป่วยชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นกับสมองของผู้ป่วย โดยไม่รู้ตัวและควบคุมมันไม่ได้

ปัจจุบันคนไทยที่ป่วยด้วย โรคจิตเวช มีไม่น้อย ขณะที่ผู้ป่วยบางรายรู้ตัวว่าตนเองป่วย บางรายก็ไม่รู้ตัว ที่สำคัญไปกว่านั้น ผู้ป่วยบางรายยังสับสนในอาการป่วยทาง จิตเวช บางโรค และเข้าใจผิดคิดว่าตนเองป่วยเป็นโรคทางกาย แต่เมื่อทำการตรวจร่างกายจะไม่พบความผิดปกติแต่อย่างใด จึงจำเป็นต้องให้ความรู้เกี่ยวกับ โรคจิตเวช เพื่อให้ผู้ป่วยได้สังเกตตนเอง รวมถึงการสังเกตคนรอบข้างว่าเข้าข่ายเป็นผู้ป่วยหรือไม่ สู่การรับมือและการรักษาที่ถูกต้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

อาหารที่ 'ผู้ป่วยจิตเภท'ต้องหลีกเลี่ยง!!

ทำงานหนัก-ใช้สื่อโซเชียล ปัจจัยส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิต

"โรคแปลกทางจิต" ที่มีอยู่จริง

1.Aphenphosmphobia หรือโรคกลัวการถูกสัมผัส

เป็นโรคเกี่ยวกับความวิตกกังวลที่มีลักษณะกลัวการถูกสัมผัสร่างกาย โดยเฉพาะกับเพศตรงข้าม หรือคนแปลกหน้าที่ตัวผู้ป่วยไม่ได้รับการยินยอม ทำให้เกิดความไม่สบายใจเมื่อต้องอยู่ในที่คนพลุกพล่าน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากเหตุการณ์สะเทือนจิตใจตั้งแต่เยาว์วัย หรือช่วงวัยกลางคน เช่น ถูกละเมิดทางเพศ การใช้ความรุนแรง (ทำร้ายร่างกาย)

โดยอาการนี้จะเกิดขึ้นกับคนที่ไม่อยากสัมผัสถูกมนุษย์ด้วยกันหรือให้ใครมาโดนตัว คือความรู้สึกที่ไม่ชอบกลัวอยากออกห่างส่วนคนที่เป็นหนักมาก ๆ อาจจะรวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นด้วย

  • อาการที่เกิดขึ้นเมื่อคุณโดนสัมผัสร่างกาย
  • รู้สึกกลัว วิตกกังวล และอารมณ์โกรธทันที เมื่อถูกการสัมผัส
  • เมื่อถูกสัมผัสร่างกาย จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจถี่ขึ้น
  • เหงื่อออก ร่างกายรู้สึกร้อนๆ หนาวๆ
  • เป็นลม หมดสติกะทันหัน

2.Spatial orientation phenomenon อาการมองทุกอย่างเป็นภาพหัวกลับ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมองเห็นทุกอย่างกลับหัวบนล่างสลับจากคนปกติ เช่นการอ่านหนังสือดูทีวีก็ต้องกลับหัวไม่อย่างนั้นผู้ป่วยจะดูไม่รู้เรื่อง

อาการมองทุกอย่างเป็นภาพกลับหัวเป็นอีกหนึ่งในอาการทางจิตเภทที่ยังไม่มีข้อระบุถึงสาเหตุที่แน่ชัด แต่ได้มีข้อสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากความผิดปกติทางระบบประสาท ซึ่งสาเหตุของโรคทางจิตเภททั่วไปอาจเกิดจากสาเหตุและปัจจัยดังต่อไปนี้

3. Obsessive-compulsive Disorder หรือโรคอาการย้ำคิดย้ำทำ

เช่น การเรียงของใช้ให้เป็นระเบียบบนโต๊ะ การล้างมือทั้งวัน เข้าห้องน้ำหรือทำกิจกรรมเดิม ๆ เวลาเดิมทุกครั้ง

โรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นปัญหาทางสุขภาพจิต ผู้ป่วยมีความย้ำคิดหรือมีความคิดผุดขึ้นมาเรื่อย  ๆ ซ้ำ ๆ จนนำไปสู่การย้ำทำหรือการทำอะไรซ้ำ ๆ โดยปกติแล้วการรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำนั้น ได้แก่ การเข้ารับจิตบำบัดและการรับประทานยาควบคู่กันไป 

โรคย้ำคิดย้ำทำเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย ราว 50% ของผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นจะเริ่มมีอาการในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น อายุเฉลี่ยที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการคืออายุ 19 ปี

  • อาการของโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD)

อาการย้ำคิด คือการคิดถึงสิ่งหรือภาพที่ผุดขึ้นมารบกวนจิตใจซ้ำ ๆ จนทำให้รู้สึกวิตกกังวลเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำไม่สามารถควบคุมความคิดของตนได้ และส่วนใหญ่จะทราบดีว่าความคิดเหล่านั้นไม่สมเหตุสมผล ยกตัวอย่างเช่น

  • กลัวที่จะสัมผัสกับสิ่งของ เนื่องจากเป็นกังวลห่วงเรื่องความสกปรกหรือเชื้อโรค หรือแพร่เชื้อโรค
  • วิตกว่าจะทำให้ตัวเองและผู้อื่นตกอยู่ในอันตรายถ้าไม่ระแวดระวังมากพอ
  • มีความคิดผุดขึ้นมาที่ไม่เหมาะสมเรื่องเพศ
  • กลัวว่าจะทำอะไรผิด
  • หมกหมุ่นเรื่องศีลธรรม
  • ถามซ้ำ ๆ เพราะต้องการคำยืนยันหรือต้องการได้ยินคำพูดที่สร้างความมั่นใจอยู่เสมอ
  • หมกหมุ่นเรื่องความเป็นระเบียบ สมมาตร ความเรียบร้อย และความสมบูรณ์แบบ

อาการย้ำทำ คือการทำอะไรซ้ำ ๆ ซึ่งผู้ป่วยรู้สึกว่าจำเป็นต้องทำเพื่อคลายความกังวล ผู้ป่วยไม่ชอบที่ต้องทำอะไรซ้ำ ๆ แต่การกระทำนั้นช่วยบรรเทาอาการย้ำคิดได้ชั่วคราว ยกตัวอย่างเช่น

  • ชอบจัดเรียงสิ่งของแบบใดแบบหนึ่งเป็นพิเศษ
  • ชอบอาบน้ำหรือล้างมือบ่อย ๆ
  • ชอบเก็บของที่ไม่มีคุณค่าทางจิตใจหรือมูลค่าใด ๆ
  • ชอบตรวจกลอน ประตู หรือสวิตช์ไฟ
  • มีพิธีรีตองที่เกี่ยวกับตัวเลข เช่น ต้องทำงานบางอย่างในช่วงเวลาที่กำหนด ชอบนับเลข มีความชอบหรือไม่ชอบตัวเลขใดตัวเลขหนึ่งโดยเฉพาะ
  • พูดคำหรือสวดมนต์เมื่อทำกิจกรรมที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือจับสิ่งของที่คิดว่าสกปรก

4. Paraphrenia หรืออาการเสื่อมสภาพของสติปัญญาหรือบุคลิกภาพ

การยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาก ๆ แบบที่ไม่มีใครเปลี่ยนความคิดได้ ยกตัวอย่างบางคนเชื่อว่าโลกแบนเขาก็จะเชื่อแบบนั้นและพยายามหาทางมาหักล้างแม้จะบอกเท่าไหร่ก็ไม่ฟัง

มีอาการหลายอย่างที่สามารถรบกวนอาการได้อย่างมาก การรับรู้ถึงความเป็นจริง- อาการหลงผิดเป็นลักษณะหลักของโรคกระเพาะ โดยผู้คนมีความเชื่ออันแรงกล้าซึ่งมักไม่มีพื้นฐานอยู่บนความเป็นจริง อาการหลงผิดเหล่านี้อาจเกี่ยวข้องกับประเด็นของการประหัตประหาร ความยิ่งใหญ่ บุคคลสำคัญทางศาสนา หรือเหตุการณ์ที่แปลกประหลาด บุคคลที่เป็นโรคกระเพาะอาจรู้สึกว่าตนมีความสามารถพิเศษหรือตกเป็นเป้าหมายของพลังที่มองไม่เห็น

ที่น่าสนใจคือ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยโรคจิตเภทแล้ว ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะมักจะมีความสามารถทางการรับรู้ค่อนข้างมากและมีคำพูดที่ไม่เป็นระเบียบน้อยกว่า การทำงานทางสังคมบกพร่อง- ลักษณะนี้มีส่วนทำให้เกิดความท้าทายในการแยกแยะความแตกต่างระหว่างความผิดปกติทั้งสองอย่างต่อเนื่อง

ส่วนใหญ่ ผิดปกติทางจิตการวินิจฉัยและการแทรกแซงตั้งแต่เนิ่นๆ มีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการโรคอัมพาต ในปัจจุบัน กลยุทธ์การรักษาอาการกระสับกระส่ายส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับ ยารักษาโรคจิต เพื่อบรรเทาอาการต่างๆ เช่น อาการหลงผิด และลดความทุกข์ที่เกี่ยวข้องให้เหลือน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการตอบสนองต่อยาของแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกัน ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจึงมักจำเป็นต้องปรับแผนการรักษาให้เหมาะสม

5.The Windigo Psychosis โรคอยากกินเนื้อ

คนที่มีอาการรุนแรงก็อาจจะน้ำลายไหลเมื่อเห็นร่างกายของคนที่น่ากินซึ่งในประวัติศาสตร์จริง ๆ ก็มีฆาตกรโรคจิตที่ชอบกินเนื้อมนุษย์อยู่มากมายหลายคน

6.Multiple Personality Disorder หรือโรคหลายบุคลิก

อันนี้เรามักจะเห็นได้บ่อยในภาพยนตร์ ที่ตัวละครมักจะเปลี่ยนไปเป็นบุคคลอีกคนหนึ่งทั้งท่าทางน้ำเสียงการพูดและการกระทำที่เปลี่ยนไปเหมือนเป็นอีกคน ในกรณีที่หนักหน่อยก็อาจจะมีหลายบุคลิกในคนเดียวซึ่งโรคนี้จัดว่าเป็นโรคที่หายากที่เกิดจากการถูกกระทำที่รุนแรงในจิตใจจนสมองสร้างบุคคลอีกคนขึ้นมาเพื่อปกป้องตัวเอง

โรคหลายบุคลิก เป็นโรคที่หายาก จึงมีการศึกษาน้อย และมีการทำวิจัยในบุคคลที่เป็นโรคหลายบุคลิกเพียงน้อยนิดหนึ่ง ในการศึกษาพบว่าประมาณ 1% ของผู้หญิงในชุมชนเป็นโรคหลายบุคลิก ซึ่งเรายังต้องการการศึกษาอีกมากเพื่อจะยืนยันข้อมูลนี้ แม้จะมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของการวินิจฉัยโรคหลายบุคลิก แต่อย่างไรก็ตาม มันไม่แน่ชัดว่าเกิดขึ้นเพราะความตระหนักที่มีมากขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิต หรือจากการวินิจฉัยผิด

  • อาการของโรคหลายบุคลิก

อัตลักษณ์เป็นสิ่งที่อยู่ภายในเพื่อกำหนดความเป็นตัวตนและบุคลิกภาพของแต่ละคน คนทั่วไปจะมีเพียงอัตลักษณ์เดียว แต่ในผู้ป่วยโรคหลายบุคลิกอาจมีสองอัตลักษณ์หรือมากกว่านั้นผสมกันอยู่ในตัว โดยแต่ละอัตลักษณ์ในตัวผู้ป่วยอาจมีชื่อ เพศ อายุ หรืออุปนิสัยแตกต่างกันไป และจะสับเปลี่ยนกันเข้าควบคุมความคิด การรับรู้ต่อสภาพแวดล้อม และพฤติกรรมโดยไม่รู้ตัว 

ผู้ป่วยโรคหลายบุคลิกอาจมีลักษณะอาการต่อไปนี้

  • รู้สึกว่าตนเองเป็นผู้มองดูการกระทำของตนเอง ผู้ป่วยบางรายอาจได้ยินเสียงผู้อื่นแทรกขึ้นมา อย่างเสียงเด็กหรือเสียงจากภายในที่คอยควบคุมตนเองอยู่ 
  • รู้สึกว่าตนเองไม่มีอำนาจในการควบคุมตนเองเมื่ออัตลักษณ์เปลี่ยนไป และอาจรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจ เช่น รู้สึกว่าตัวเองกลายเป็นเด็ก หรือมีร่างกายแข็งแรงขึ้นโดยที่ไม่เคยเกิดขึ้นกับอัตลักษณ์หลัก เป็นต้น
  • อัตลักษณ์รองมักปรากฏออกมาเมื่ออยู่ในสถานการณ์ตึงเครียดหรือได้รับความกดดันทางจิตใจ
  • เมื่ออัตลักษณ์เปลี่ยนแปลงไป ผู้ป่วยบางรายอาจจดจำเรื่องราวขณะนั้นได้ แต่บางรายอาจสูญเสียความทรงจำไปชั่วคราว

7.Alice in Wonderland Syndrome

คือโรคที่เกี่ยวกับการมองเห็นและประมวลผลของสมองที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวมีขนาดใหญ่โตเกินจริง หรือบางทีก็เล็กจิ๋วเหมือนกับในนิทาน Alice in Wonderland

กลุ่มอาการอลิซในดินแดนมหัศจรรย์นี้เกิดจากสมองส่วนการรับรู้เปลี่ยนแปลงไปชั่วคราว ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมก่อนเกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน หลาย ๆ คนบ่นว่ามีอาการหน้าตาตัวเองบิดเบี้ยวเปลี่ยนไป รูปร่างตัวเองโตขึ้นหรือเล็กลง หรือบางคนรู้สึกว่าหัวตัวเองเหมือนเป็นลูกโป่งที่กำลังลอยไป

นอกจากนี้ หลายรายมีความรู้สึกผิดปกติของเวลา เช่น รู้สึกว่าเหตุการณ์รอบตัวเคลื่อนไหวช้าแบบ slow motion หรือรวดเร็วเหมือนกรอเทปไปข้างหน้า มันเป็นความรู้สึกที่ประหลาด บางทีคนไข้ก็ประหลาดใจ จะเรียกมันว่ามหัศจรรย์หรือประหลาดดี

ไม่เพียงแต่จะพบเจอในโรคไมเกรนที่อาการอลิซในดินแดนมหัศจรรย์จะตามมาด้วยอาการปวดหัว แต่อีกหลาย ๆ โรคก็เกิดอาการนี้ได้เช่นเดียวกัน เช่น โรคลมชัก โดยเฉพาะโรคลมชักเหม่อ ที่คนไข้จะมีอาการตาเหม่อลอย ไม่รู้สึกตัว หรือ โรคสมองอักเสบจากเชื้อ Epstein Barr Virus (EBV) เป็นต้น หากใครมีอาการแบบนี้ พาไปพบประสาทแพทย์เพื่อเช็คสมองได้

8.Cryptomnesia

อีกหนึ่งโรคแปลก ๆ ที่หลายคนไม่คิดว่าจะมีกับโรคที่เกี่ยวกับความทรงจำที่ถูกซ้อนทับจากเดิมและถูกสร้างขึ้นมาใหม่จนกลายเป็นอีกเรื่อง โดยอาการของโรคนี้จะเกิดจากความเครียดและการถูกกระตุ้นอย่างรุนแรงที่เกิดจากสิ่งเลวร้าย หรือบางครั้งก็เกิดจากเนื้องอกในสมองหรืออาการผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งอาการรุนแรงที่เคยเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่ไม่เชื่อว่านี่คือลูกของตนเอง บางคนก็คิดไปว่าตนเองเคยเป็นทหารผ่านสงครามมาก่อนทั้งที่ความจริงไม่ใช่

9.Schizophrenia

อาการของโรคทางจิตชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยจะเห็นภาพหลอนของบุคคลที่เรารู้จักหรืออาจจะเป็นคนที่เราไม่รู้จักที่เป็นเพียงภาพในจิตนาการ ซึ่งบางคนที่มีอาการหนักก็อาจจะเห็นภาพหลอนของภูตผีปีศาจสัตว์ประหลาด หรือในบางกรณีก็อาจจะแค่ได้ยินเสียงที่ไม่มีอยู่จริงจนเกิดเป็นอาการหลอนคิดไปเอง

10.Bipolar disorder

โรคที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีกับโรคอารมณ์สองขั้วหรือที่เรามักเรียกสั้น ๆ ว่า Bipolar ที่ผู้ป่วยซึ่งเป็นโรคนี้จะมีลักษณะอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปมาระหว่างอารมณ์ซึมเศร้าสลับกับช่วงที่อารมณ์ดีมากกว่าปกติ

วิธีรักษาให้อาการบรรเทาลง เพื่อกลับเข้าสังคมได้อีกครั้ง

  • การเอาชนะความหวาดกลัว หรือวิตกกังวลไม่ใช่เรื่องยาก หากคุณกล้าที่จะเผชิญ โดยสามารถรักษาโรคกลัวการถูกสัมผัสได้ ดังนี้
  • การบำบัดด้วยเทคนิค (Cognitive behavioral therapy ; CBT) ที่นักบำบัดจะทำการพูดคุย และช่วยปรับพฤติกรรม รวมถึงกระบวนการคิดในด้านลบของคุณเมื่อถูกสัมผัส
  • การบำบัดด้วยการให้ผู้ป่วยเผชิญการสัมผัสร่างกาย โดยอาจให้คนแปลกหน้าร่วมการบำบัดสัมผัสร่างกายผู้ป่วย การรักษานี้มักใช้เวลา 1 สัปดาห์ หรืออาจเป็นเดือน และเป็นการรักษาที่ควบคุมโดยนักบำบัดอย่างใกล้ชิด ด้วยสภาพแวดล้อมรอบข้างที่ปลอดภัย
  • ฝึกการหายใจทำจิตใจให้ผ่อนคลาย โดยการออกกำลังกาย หรือนั่งสมาธิ
  • ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง
  • สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคทางจิตเภท
  • ภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์มารดา เช่น การขาดสารอาหาร การได้รับสารพิษ

อ้างอิง : โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต , hellokhunmor ,โรงพยาบาลเมดพาร์ค