MSU-8 รถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ เพิ่มโอกาสรอด ลดเสียชีวิต Stroke

MSU-8 รถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่  เพิ่มโอกาสรอด ลดเสียชีวิต Stroke

"โรคหลอดเลือดสมอง" เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตและความพิการที่สำคัญในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

KEY

POINTS

  • ความล่าช้าในการมาถึงโรงพยาบาลแต่ละครั้ง จะเสียเวลาไปประมาณ 100-120 นาที ซึ่ง 1 นาทีของผู้ป่วย Stroke จะทำให้เซลล์สมองเกือบ 2 ล้านเซลล์เสียไป
  • การรักษายิ่งเร็วยิ่งได้ผลดี ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องเป็นผู้พิการ หรือเสียชีวิต ขณะเดียวกันการช่วยลดปัญหาความล่าช้าในการมารพ. การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ และลดปัญหาการส่งต่อ
  • รถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่เป็นซีรี่ย์ที่ 8 มีการผลิตแล้ว 8 คัน และตั้งเป้าจะผลิตเพิ่ม 21 คัน เพื่อนำไปใช้ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช 21 แห่งทั่วประเทศ 

"โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)" เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตและความพิการที่สำคัญในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สถิติจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าในปี 2566 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคดังกล่าวรายใหม่ถึง 349,126 ราย มีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 10 และพิการถึงร้อยละ 60 

โดยปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดโอกาสการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต และการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ที่การ “ยิ่งรักษาเร็ว ยิ่งได้ผลดี” โดยมีระยะเวลาที่สามารถให้ยาสลายลิ่มเลือดเพียง 4 ชั่วโมงครึ่ง นับจากเริ่มมีอาการ

ศูนย์โรคหลอดเลือดสมองศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล ร่วมกับ ซีเมนส์เฮลท์ธิเนียร์ส และ อาร์เอ็มเอ ออโตโมทีฟ พัฒนาการรักษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ด้วยรถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่รุ่น MSU-8  เพื่อยกระดับมาตรฐานการวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือดสมองในขั้นตอนก่อนถึงโรงพยาบาล ให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เป็นการลดแก้ปัญหาเรื่องความล่าช้าในการมาถึงโรงพยาบาล  ลดปัญหาการส่งต่อ  และลดอัตราการพิการหรือเสียชีวิตของผู้ป่วย  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

รู้จัก'โรคโมยาโมยา' พูดไม่รู้เรื่อง กล้ามเนื้ออ่อนแรง

6 สัญญาณเตือน “โรคหลอดเลือดสมอง” มีอาการต้องไปรพ.ให้ทันใน 4.30 ชม.

รถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ ช่วยผู้ป่วย Stroke

รศ.นพ. ยงชัย นิละนนท์ ประธานศูนย์โรคหลอดเลือดสมองศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) เป็นโรคที่เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ และเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือกลุ่มโรค NCDs  ซึ่งเป็นโรคที่มีอัตราผู้ป่วยและเสียชีวิตสูงมาก ยิ่งประเทศเข้าสู่สังคมสูงวัย มีผู้ป่วยโรคNCDs มากขึ้น ในปี 2561 ศูนย์โรคหลอดเลือดสมองศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน

ได้จัดทำโครงการ Mobile Stroke Unit, Stroke One Stop (MSU-SOS) รถรักษาพยาบาลเคลื่อนที่ร่วมกับระบบปรึกษาทางไกล (Teleconsultation)สำหรับโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน หรือรถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการวินิจฉัยและการรักษาได้อย่างทันท่วงที

โดยรถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ (Mobile Stroke Unit) ประกอบด้วย รถพยาบาล เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง(CT Scanner) และทีมปฏิบัติการทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งสามารถสแกนศีรษะผู้ป่วยบนรถ ณ จุดนัดหมายที่กำหนด พร้อมเชื่อมต่อกับระบบปรึกษาทางไกล (Teleconsultation) เพื่อให้ทีมแพทย์และบุคลากรที่โรงพยาบาลตัดสินใจด้านการรักษาและให้ยาสลายลิ่มเลือดได้ทันท่วงที  

รวมถึงสามารถฉีดสารทึบรังสีบนรถในการประเมินหลอดเลือดสมอง ให้การวินิจฉัยและการรักษาเบื้องต้นที่แม่นยำ พร้อมให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาในลำดับถัดไปทันทีเมื่อถึงโรงพยาบาล ส่งผลให้ลดอัตราความพิการและการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันได้

MSU-8 รถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่  เพิ่มโอกาสรอด ลดเสียชีวิต Stroke

MSU-8 รถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่  เพิ่มโอกาสรอด ลดเสียชีวิต Stroke

Stroke ยิ่งรักษาเร็ว ยิ่งได้ผลดี

“ผู้ป่วย Stroke มีจำนวนมากขึ้น ขณะที่แพทย์ทางด้านสมองในประเทศไทย มีเพียง 740 คน และในจำนวนดังกล่าว 2 ใน3 หรือ 450 คน อยู่ในกรุงเทพฯ ส่วนที่เหลือกระจายในจังหวัดต่าง และบางจังหวัดก็ไม่มีแพทย์ทางด้านสมองโดยตรง อีกทั้งจากการสำรวจพบว่า ความล่าช้าในการมาถึงโรงพยาบาลแต่ละครั้ง จะทำให้เสียเวลาไปประมาณ 100-120 นาที ซึ่งผู้ป่วย Stroke 1 นาทีจะทำให้เซลล์สมองเกือบ 2 ล้านเซลล์เสียไป ดังนั้น การรักษายิ่งเร็ว ยิ่งได้ผลดี ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องเป็นผู้พิการ หรือเสียชีวิต” รศ.นพ. ยงชัย กล่าว

MSU-8 รถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่  เพิ่มโอกาสรอด ลดเสียชีวิต Stroke

วินิจฉัย ส่งต่อ เบ็ดเสร็จที่จุดเดียว

มีคำกล่าวไว้ว่า “การส่งต่อผู้ป่วยในประเทศไทย ต้องเป็นคนโชคดี และ VIP” ถึงจะได้รับการรักษาโดยทันถ่วงที ซึ่ง MSU-8 รถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ จะช่วยให้คำดังกล่าวหายไป 

“การวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันบนรถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่จะมีประสิทธิภาพและลดอัตราการพิการหรือเสียชีวิตของผู้ป่วยได้มากยิ่งขึ้น หากมีระบบการจัดการ Workflow ที่รวดเร็ว เทคโนโลยีภาพทางการแพทย์ (Medical Imaging)ที่มีคุณภาพและแม่นยำ รวมถึงยานยนต์ และระบบปรึกษาทางไกล(Teleconsultation) ที่มีเสถียรภาพ"รศ.นพ. ยงชัย กล่าว

ทั้งนี้ รถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่เป็นซีรี่ย์ที่ 8 มีการผลิตแล้ว 8 คัน และตั้งเป้าจะผลิตเพิ่ม 21 คัน เพื่อนำไปใช้ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช 21 แห่งทั่วประเทศ ภายใต้โครงการเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีพ.ศ. 2568-2569 เป็นการกระจายไปทุกภาคของประเทศไทย ให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ห่างไกล ได้มีโอกาสเข้ารับการรักษามากขึ้น

รศ.ดร. พรชัย ชันยากร รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การสร้างระบบปรึกษาทางไกล(Teleconsultation) ให้มีเสถียรภาพ พร้อมรถพยาบาลที่มีคุณภาพและศักยภาพสูง ถือเป็นองค์ประกอบที่มีความท้าทายและสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนารถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ เพื่อให้การเชื่อมต่อข้อมูลผู้ป่วย ผลการวินิจฉัย และการประเมินการรักษาล่วงหน้าระหว่างทีมปฏิบัติการบนรถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่และทีมแพทย์ที่โรงพยาบาล เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ราบรื่น และรวดเร็วที่สุด

MSU-8 รถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่  เพิ่มโอกาสรอด ลดเสียชีวิต Stroke

เทคโนโลยีทันสมัย เพิ่มโอกาสการรักษา

ด้าน นายคริส พอเรย์ กรรมการผู้จัดการ ซีเมนส์เฮลท์ธิเนียร์ส ประเทศไทย กล่าวว่า ซีเมนส์ เฮลท์ธิเนียร์ส เล็งเห็นความสำคัญและความเร่งด่วนของโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน จึงได้ร่วมวิจัยและพัฒนารถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่รุ่น MSU-8 โดยนำเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์(CT Scanner) รุ่น SOMATOM On.site ซึ่งเป็นเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองแบบเคลื่อนที่ 32-slice ที่ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานในสถานการณ์ฉุกเฉินแบบเคลื่อนที่ ให้ทีมแพทย์ฉุกเฉินสามารถวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำและมุ่งเน้นการรักษาอย่างตรงจุด

โดยสามารถสแกนศีรษะของผู้ป่วยในรถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว สร้างภาพถ่ายเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองได้ทั้งแบบไม่ใช้สารทึบรังสี(Non-contrast) และแบบใช้สารทึบรังสี (Contrast-enhanced) ที่มีความละเอียดสูง ลดความซ้อนของกระบวนการทำงาน 

MSU-8 รถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่  เพิ่มโอกาสรอด ลดเสียชีวิต Stroke

นายสแตนเลย์ ชาน ไว จง ผู้จัดการทั่วไป ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัท อาร์เอ็มเอ ออโตโมทีฟ จำกัดกล่าวว่าบริษัทฯ ได้ออกแบบและผลิตรถพยาบาลแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั่วโลก โดยการพัฒนาทางด้านการออกแบบและผลิตรถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่รุ่น MSU-8 มุ่งเน้นการออกแบบตัวรถและโครงสร้างที่สามารถรองรับเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและน้ำหนักเพิ่มขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าโครงสร้างและจุดยึดจะสามารถรอบรับแรงที่กระทำกับตัวรถได้ และยังใช้เทคโนโลยีวิศวกรรมขั้นสูง  และมาตรฐานสากล  

MSU-8 รถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่  เพิ่มโอกาสรอด ลดเสียชีวิต Stroke

MSU-8 รถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่  เพิ่มโอกาสรอด ลดเสียชีวิต Stroke

MSU-8 รถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่  เพิ่มโอกาสรอด ลดเสียชีวิต Stroke