“ดีเคเอสเอช” ยกระดับระบบสุขภาพ ผลักดัน Digital Transformation

“ดีเคเอสเอช” ยกระดับระบบสุขภาพ  ผลักดัน Digital Transformation

ดีเคเอสเอช ผลักดัน Digital Transformation มุ่งมั่นที่จะลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ เสริมสร้างประสบการณ์ของผู้ป่วยโดยรวม ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรม เพิ่มประสิทธิภาพ ยกระดับมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย

KEY

POINTS

  • ประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายจากการเป็นหนึ่งในประเทศที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างรวดเร็ว พร้อมกับภาวะของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่เพิ่มสูงขึ้น
  • ขณะที่บุคลากรที่มีจำกัดและภาระหน้างาน ทำให้ความสำคัญของ Digital Transformation มีบทบาทชัดเจนยิ่งขึ้น
  • DKSH มุ่งผลักดันให้เกิด Digital Transformation ลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์และเสริมสร้างประสบการณ์ของผู้ป่วยโดยรวม ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้อย่างทั่วถึง

ประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายจากการเป็นหนึ่งในประเทศที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างรวดเร็ว พร้อมกับภาวะของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่เพิ่มสูงขึ้น และความพยายามในการจัดการระบบสาธารณสุขเนื่องจากปริมาณบุคลากรที่มีจำกัดและภาระหน้างาน ทำให้ความสำคัญของ Digital Transformation จึงมีบทบาทชัดเจนยิ่งขึ้น

 

การผลักดันให้เกิด Digital Transformation จะนำมาซึ่งประโยชน์ในระบบบริการสาธารณสุข เป็นที่มาของ ดีเคเอสเอช (DKSH) ในการมุ่งมั่นที่จะลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์และเสริมสร้างประสบการณ์ของผู้ป่วยโดยรวม ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึง โซลูชัน นวัตกรรม ที่นำมาเพิ่มประสิทธิภาพ ยกระดับมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย และบรรลุเป้าหมายสูงสุดของบริษัทฯ ในการเพิ่มคุณค่าให้แก่ชีวิตผู้คน และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้อย่างทั่วถึง

 

เปิด 4 เทรนด์สุขภาพ

“แพทริค แกรนเด” รองประธานฝ่ายบริหาร ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ บริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จำกัด เผยถึง เทรนด์สุขภาพในประเทศไทย ว่า ในปี ค.ศ. 2050 ไทยจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสูดยอด โดยมีประชากรอายุ 65 ปี สัดส่วนกว่า 30% และ มากกว่า 10% อายุ 80 ปีขึ้นไป

 

ถัดมา เทรนด์ที่ 2 โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กลายเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตมากที่สุด คิดเป็นความเสียหาย 1.6 ล้านล้านบาท หรือ 9.7% ของ GDP เทรนด์ที่ 3 นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข หนึ่งในนั้น คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตอบโจทย์โรดแมปของภาครัฐ

 

และ เทรนด์ที่ 4 เทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น Home care solution ลดความแออัดใน รพ. , Supply chain Innovation การใช้นวัตกรรม เพื่อผลิต ความรวดเร็วในการจัดส่ง และ Digitalization เปลี่ยนสู่ดิจิทัล เพื่อให้คนทำงาน ดูแลผู้ป่วยได้มากขึ้น

 

“ดีเคเอสเอช” ยกระดับระบบสุขภาพ  ผลักดัน Digital Transformation

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

บริการการแพทย์ถึงบ้าน

“เทเรซ่า วอลเซอร์” ผู้อำนวยการฝ่าย eCommerce Incubation บริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า Pain Point ของระบบสาธารณสุขไทย คือ ด้านความแออัด ขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ ส่งผลต่อการเข้าถึงการแพทย์ ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ รวมถึงการเดินทาง ค่าใช้จ่าย การรอพบแพทย์เวลานาน ทำให้พบว่าหลายกรณีที่ผู้ป่วยไม่มาตามนัด ได้รับการรักษาไม่ครบถ้วน ขณะที่ผู้ป่วยที่เดินทางไป รพ. แพทย์มีเวลาไม่เพียงพอในการให้คำแนะนำ ทำให้ผู้ป่วยได้รับความรู้ไม่เพียงพอตอ่การดูแลสุขภาพระยะยาว ปัจจัยทั้งหมดส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรักษา กระทบทั้งผู้ป่วย

 

“หลังโควิด-19 มีการเก็บข้อมูลผ่านการพูดคุยกับผู้ป่วย พบว่า นอกจากผู้ป่วยในไทยให้ความสำคัญการดูแลสุขภาพแล้วยังต้องการหลีกเลี่ยงเดินทางไป รพ. เป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยมีความสนใจในการนำเทคโนโลยีมาเข้าถึงการแพทย์ ดีเคเอสเอช มองถึงการดูแลผู้ป่วยถึงบ้าน เพราะมีประสิทธิภาพสูง และเป็นการพลิกโฉมการแพทย์แบบเก่า ช่วยผู้ป่วยลดภาระค่าใช้จ่าย”

 

ในปี 2566 ดีเคเอสเอช เริ่มให้บริการ Home Healthcare ดูแลผู้ป่วยถึงบ้าน โดยมีจุดมุ่งหมายในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย ลดการเดิน ลดการรอคอย ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบุคลากรทางการแพทย์ชั้นนำได้ ในราคาที่สมเหตุสมผล เชื่อมต่อโดยตรงกับระบบจ่ายของรัฐ มีการสื่อสารอย่างใกล้ชิดกับตัวผู้ป่วยในการให้ความรู้กลุ่มโรค โดยที่ผ่านมา มีการเซ็นสัญญากับ รพ. ธรรมศาสตร์ และ รพ.รามาธิบดี ให้บริการ Home Healthcare และเพิ่มพาร์ตเนอร์รายอื่นๆ ต่อไป

 

“ดีเคเอสเอช” ยกระดับระบบสุขภาพ  ผลักดัน Digital Transformation

 

อีกทั้ง ยังขยายสู่ บริการการเจาะเลือด เก็บสิ่งส่งตรวจที่บ้าน และมีบริการที่อยู่ในขั้นตอนการขยาย เช่น การฉีดยาที่บ้าน ดูแลแผลที่บ้าน , ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังครบวงจร ตั้งแต่วินิจฉัย รับยา ติดตาม ควบคุมโรค เป้าหมาย คือ อยากให้ Home Healthcare เป็นหนึ่งในช่องทางที่ผู้ป่วยได้รับบริการเชื่อมต่อตรงกับทางโรงพยาบาล

 

“การเจาะเลือด เก็บสิ่งส่งตรวจถึงบ้าน ร่วมมือกับ สถาบันทางการแพทย์ ให้บริการ 6 จังหวัด ในกทม. และปริมณฑล ผลตอบรับตั้งแต่ปลายปี 2566 ไปในทิศทางที่ดี มีคนไข้มากกว่า 2,000 คน ที่ลงทะเบียนใช้บริการ โดยเฉพาะคนไข้ติดเตียงที่ต้องพบความยากลำบากในการเดินทาง จากการสำรวจพบว่า มีคนมากกว่า 25% กลับมาใช้บริการอีก บางคนลงทะเบียนรอบที่ 3-4 รวมถึงมีเป้าหมายขยายอย่างต่อเนื่องไปยังหัวเมืองต่างๆ” เทเรซ่า กล่าว

 

 

 

AI ระบบจัดเก็บสินค้าอัจฉริยะ

สำหรับ ดีเคเอสเอช มีศูนย์กระจายสินค้า 3 แห่ง พื้นที่รวมกว่า 6-7 หมื่นตาราเมตร ส่งสินค้ากว่า 9 แสน – 1 ล้านกล่องต่อเดือน มีรถกว่า 400 คัน ในการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้ากว่า 40,000 ราย

 

“วรพงษ์ สุรชัยกุลวัฒนา” ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่าย Supply Chain Management หน่วยธุรกิจผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ บริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า เวลา 3-4 ปี ดีเคเอสเอช ได้นำเทคโนโลยีนวัตกรรมหลายอย่างมาใช้ เช่น Vertical Lift ระบบจัดเก็บสินค้าลักษณะเชลฟ์วางสินค้า โดยตัวสินค้าจะวิ่งมาหาพนักงาน ไม่ต้องเดินไปหยิบ ทำให้การจัดส่งสินค้าได้เร็วขึ้น เพราะสินค้าและยาบางตัวมีส่วนสำคัญในการช่วยชีวิต ดังนั้น การจัดส่งต้องรวดเร็ว

 

“ดีเคเอสเอช” ยกระดับระบบสุขภาพ  ผลักดัน Digital Transformation

 

ถัดมา คือ กระบวนการเช็กสินค้า โดยเฉพาะเครื่องมือแพทย์ที่ใช้สำหรับการผ่าตัด ซึ่งมีความละเอียดค่อนข้างสูง พนักงานต้องรู้จักโปรดักส์ จากเดิมใช้คนในการเช็กนับด้วยตา แต่ ปัจจุบันใช้ระบบ AI ในการเช็ก ร่นระยะเวลาจาก 1 ชั่วโมง เหลือเพียง 15 นาที ท้ายสุด คือ การแพ็กสินค้า โดยการนำ D-Pack มาใช้ลดการใช้พลาสติก ลดการใช้ถุงลมกันกระแทก ด้วยการคำนวณขนาดกล่องให้พอดีสำหรับสินค้า

 

ขณะที่ ด้านความยั่งยืน มีการเช็กตรวจระบบแอร์ มอเตอร์เก่า เปลี่ยนเทคโนโลยี ติดตั้งโซลาร์รูฟในศูนย์กระจายสินค้า และใช้รถอีวีในการจัดส่งสินค้าและมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า สามารถลดคาร์บอนได้กว่า 4 ตัน เทียบเท่าต้นไม้ 4 หมื่นกว่าต้น ทั้งหมดเพื่อพัฒนา เสริมความแข็งแกร่งระบบสาธารณสุขของประเทศ

 

“ดีเคเอสเอช” ยกระดับระบบสุขภาพ  ผลักดัน Digital Transformation

 

ลดกระดาษ ด้วยระบบดิจิทัล

ขณะเดียวกัน ในด้านการสนับสนุน Digital Transformation และแผนผลักดันระบบชำระเงินรูปแบบดิจิทัลเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการบริหารและจัดการในธุรกิจผู้ให้บริการสุขภาพยุคใหม่

 

“ภรณี ดาลิลีโอ” รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายการเงินประเทศไทย บริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า โซลูชันการชำระเงินดิจิทัลที่ดีเคเอสเอช นำมาใช้ถูกออกแบบมาเพื่อปรับปรุงกระบวนการทำธุรกรรมทางการเงินและการจัดสรรทรัพยากรทางการแพทย์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถลดจำนวนเช็คลงได้ 1 ใน 3 และมีลูกค้ากว่าครึ่งที่เปลี่ยนมาใช้ระบบชำระเงินดิจิทัล ประหยัดเวลาลง 1 ใน 4 และ ลดคาร์บอนลงได้กว่า 1 ใน 4

 

“รพ.ศิราช เป็น รพ.รัฐเจ้าแรก ในการเปลี่ยนจากเช็ค เป็นระบบดิจิทัล ส่งผลดีในการลดต้นทุน ลดอุบัติเหตุทางท้องถนนจากการจัดส่งของแมสเซนเจอร์ เพราะการพิมพ์เอกสาร 1 ล้านแผ่น ต้นทุนการพิมพ์เท่ากับ 9 แสนบาท แต่ทำลายต้นไม้ไป 200 ต้น เท่ากับคาร์บอน 4.7 ตัน”

 

ดีเคเอสเอช ยังคงมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนนวัตกรรมและความร่วมมือในการดูแลสุขภาพ เพื่อเพิ่มการเข้าถึง ประสิทธิภาพ และคุณภาพ ของการดูแลสุขภาพสำหรับทุกคน ด้วยการเดินหน้าพัฒนาดิจิทัลโซลูชันและสร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับพันธมิตรต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างอนาคตที่สดใสสำหรับวงการสุขภาพของประเทศไทย

 

“ดีเคเอสเอช” ยกระดับระบบสุขภาพ  ผลักดัน Digital Transformation

 

“ศิริราช” ใช้ดิจิทัลลดใช้กระดาษ

เทรนด์ในเรื่องของ ESG มาแรงในทุกหน่วยงาน และหนึ่งในเรื่องที่หลายหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนเดินหน้าลดการใช้ คือ “กระดาษ” เปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล สำหรับ รพ.ศิราช ใช้กระดาษในการทำสัญญาในการจัดซื้อจัดจ้างกว่า 1.5 ล้านแผ่นต่อปี นำมาสู่ความร่วมมือกับ ดีเคเอสเอช ในการส่งเสริมและผลักดันระบบชำระเงินรูปแบบดิจิทัล ซึ่งเอื้ออำนวยให้การทำธุรกรรมมีความเชื่อมโยง คล่องตัวมากขึ้น ทั้งในด้านความสะดวกรวดเร็ว ปลอดภัย และต้นทุนที่เหมาะสม

 

“ผศ.นพ.สมเกียรติ อรุณพฤกษากุล” รองคณบดีฝ่ายทรัพย์สินและพัสดุ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า ระบบเอกสารเป็น Pain Point ของคนทำงาน ดังนั้น การนำดิจิทัลเข้ามา น่าจะลด Pain Point ได้ โดยเฉพาะของพัสดุ การจัดซื้อภาครัฐ

 

“ดีเคเอสเอช” ยกระดับระบบสุขภาพ  ผลักดัน Digital Transformation

 

จุดเปลี่ยน ในการเข้ามาสู่ดิจิทัล แม้จะมีอุปสรรคบ้างในช่วงแรก เพราะต้องทำให้ถูกต้อง และศิริราชต้องมีการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ เนื่องจาก พ.ร.บ.ธุรกรรมทางคอมพิวเตอร์ที่ออกมาในปี 2560 แต่ไม่มีกฎหมายลูกออกมารองรับ ขณะเดียวกัน ยังไม่มีหน่วยภาครัฐที่นำดิจิทัลเข้ามาทำเรื่องของพัสดุเพราะมีขั้นตอนหลายอย่าง

 

จึงเป็นความร่วมมือกับเอกชน 2-3 บริษัท และ ดีเคเอสเอช เข้ามาร่วมกับศิริราชในการพัฒนาร่วมกัน ใช้ระยะเวลาประสานงานกับกรมบัญชีกลาง สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ราว 2 ปี ปัจจุบัน ลดกระดาษ และการเซ็นสัญญาได้เร็ว จากเดิมใช้ระยะเวลาทำสัญญาเรียบร้อย 10-14 วัน ปัจจุบัน สามารถเซ็นชื่อผ่านระบบดิจิทัลได้ ในเวลาเฉลี่ยราว 4-7 วันทำการ เซ็นสัญญาไปแล้วกว่า 1,000 ฉบับ ลดเวลาคนส่งเอกสารจาก 4-5 รอบลงมาเหลือ 1-2 รอบ

 

“ความสำเร็จในครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการต่อยอดให้กับองค์กร เป็นต้นแบบให้แก่หน่วยงานอื่นๆ และสนับสนุนบริการจากภาครัฐฯ โดยเฉพาะโรงเรียนแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งการบูรณาการเทคโนโลยีและข้อมูลในระบบการชำระเงินทางดิจิทัลอย่างต่อเนื่องไม่เพียงแต่ช่วยให้กระบวนการทำงานราบรื่นขึ้น แต่ยังช่วยปรับปรุงประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย”