เหล่าทาสต้องระวัง!! “ฮีทสโตรกในสัตว์เลี้ยง” โรคที่มาพร้อมอากาศร้อน

เหล่าทาสต้องระวัง!!  “ฮีทสโตรกในสัตว์เลี้ยง”  โรคที่มาพร้อมอากาศร้อน

เมื่ออุณหภูมิอากาศของประเทศไทย พุ่งทะลุไปกว่า 40 องศาในทุกๆ วัน ไม่ใช่เพียงคนเราเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่เจ้าสัตว์เลี้ยง นายท่านทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น หมา แมว หรือสัตว์เลี้ยงขนปุยทั้งหลายร้อนกว่าคนเรามากยิ่งนัก

KEY

POINTS

  • ปกติสุนัขและแมวจะมีต่อมเหงื่อบริเวณฝ่าเท้าและจมูกเท่านั้น การระบายความร้อนจึงต้องอาศัยการหายใจและการหอบเป็นหลัก หากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ทันจะเกิดภาวะฮีทสโตรก
  • 6 อาการเบื้องต้นที่เหล่าทาสควรรู้  อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 41 องศาเซลเซียส อาการหอบ หายใจเร็ว  น้ำลายไหล จมูกและปากเปียก เหงือกสีแดงเข้ม และมีอาการชัก หมดสติ 
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อน้องหมาและน้องแมว มีอาการฮีทสโตรก เริ่มจากย้ายไปในที่ปลอดโปร่ง เช็ดตัว เปิดพัดลมจ่อที่ตัวสุนัข อย่าให้ยาลดไข้แอสไพรินหรือพาราเซตามอลแก่สัตว์เลี้ยง

เมื่ออุณหภูมิอากาศของประเทศไทย พุ่งทะลุไปกว่า 40 องศาในทุกๆ วัน ไม่ใช่เพียงคนเราเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่เจ้าสัตว์เลี้ยง นายท่านทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น หมา แมว หรือสัตว์เลี้ยงขนปุยทั้งหลายร้อนกว่าคนเรามากยิ่งนัก

นอกจากสัตว์เลี้ยงจะมีขนปกคลุมทั่วร่างกายที่ทำให้ร้อนได้ง่ายแล้วนั้น ยังอาจอยู่ในสถานการณ์อันตรายที่เหล่าเจ้าของไม่ทันระวัง จนเกิดภาวะฮีทสโตรกได้อีกด้วย

ฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือ โรคลมแดด ฮีทสโตรกในสัตว์เลี้ยง เป็นภาวะที่ร่างกายของสัตว์ไม่สามารถระบายความร้อนออกมาได้ ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงกว่าปกติ คือ สูงกว่า 41 องศาเซลเซียส ความร้อนที่เพิ่มมากขึ้นจะส่งผลเสียต่อการทำงานของอวัยวะภายในต่าง ๆ

แถมโรคนี้ยังเกิดขึ้นได้กับสัตว์เลี้ยงทุกชนิดโดยเฉพาะ น้องหมา น้องแมว เพราะปกติหมาแมวจะมีต่อมเหงื่อบริเวณฝ่าเท้าและจมูกเท่านั้น การระบายความร้อนจึงต้องอาศัยการหายใจและการหอบเป็นหลัก หากร่างกายของพวกเขาไม่สามารถระบายความร้อนได้ทันก็จะเกิดภาวะฮีทสโตรกขึ้น

เหล่าทาสต้องระวัง!!  “ฮีทสโตรกในสัตว์เลี้ยง”  โรคที่มาพร้อมอากาศร้อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

สูงวัยเช็กด่วน! เครื่องคัดกรองกระดูกพรุนแบบพกพา' ตรวจได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง

“หมา-แมว” เลี้ยงระบบปิดก็มีสิทธิติด “โรคพิษสุนัขบ้า”

อาการ โรคฮีทสโตรก ในสัตว์เลี้ยง 

โรคลมแดด หรือ โรคฮีทสโตรก เป็นภาวะที่ร่างกายของสัตว์ไม่สามารถระบายความร้อนออกมาได้ทันถ่วงที ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงกว่าปกติ (สูงกว่า 41 องศาเซลเซียส) จึงทำให้ความร้อนในร่างกายสูงขึ้น ไปกระทบต่อการทำงานต่างๆของระบบร่างกายนั่นเอง

โดยธรรมชาติปกติสุนัขและแมวจะมีต่อมเหงื่อบริเวณฝ่าเท้าและจมูก การระบายความร้อนจึงต้องอาศัยการหายใจและการหอบเป็นหลัก หากร่างกายของพวกเขาไม่สามารถระบายความร้อนได้ทัน ก็จะเกิดภาวะฮีทสโตรก ขึ้นได้

อาการโรคลมแดด หรือ โรคฮีทสโตรก ในสัตว์เลี้ยง

1.อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 41 องศาเซลเซียส หรือ 106 องศาฟาเรนไฮต์

2.มีอาการหอบ หายใจเร็ว หายใจลำบาก หรือหายใจรุนแรงกว่าปกติ

3.หัวใจเต้นเร็วผิดปกติหรือเต้นผิดจังหวะ

4.น้ำลายไหล จมูกและปากเปียก

5.เหงือกสีแดงเข้ม

6.มีอาการชัก กล้ามเนื้อสั่นเกร็ง หมดสติ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

เหล่าทาสต้องระวัง!!  “ฮีทสโตรกในสัตว์เลี้ยง”  โรคที่มาพร้อมอากาศร้อน

5 โรคยอดฮิตของสัตว์เลี้ยงที่มากับสายลมฮอต

1. โรคฮีทสโตรก หรือโรคลมแดด

โรคนี้เกิดได้มากในสัตว์เลี้ยงที่มีต้นกำเนิดมาจากเมืองหนาว ไม่ว่าจะหมา แมว หรือแม้แต่กระต่ายก็เสี่ยงโรคนี้ได้เหมือนกัน ซึ่งภาวะฮีทสโตรกในสัตว์เลี้ยงนั้นจะเกิดในสภาวะแวดล้อมที่มีอากาศร้อน มีอุณหภูมิพุ่งสูงจัดเกินไป จนอุณหภูมิในตัวสัตว์สูงขึ้นมากกว่าปกติ สามารถสูงถึง 40.5 – 42 องศาเลยทีเดียว ทำให้สัตว์ไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายได้อย่างรวดเร็ว และอวัยวะภายในล้มเหลวเฉียบพลันในท้ายที่สุด 

วิธีดูแลน้องหมาน้องแมวเบื้องต้นที่เจ้าของสามารถทำได้ง่าย ๆ คือ หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง และพาสัตว์เลี้ยงของคุณไปอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่มีแดดส่อง มีลมผ่านตลอดเวลา แต่ไม่ควรเปิดแอร์หรือพัดลมจ่อ คอยป้อนน้ำให้น้องบ่อย ๆ และอาจใช้ผ้าขนหนูห่อตัวเพื่อช่วยระบายความร้อน แต่ห้ามใส่น้ำแข็งหรือใช้น้ำที่เย็นจัดเพราะอาจเสี่ยงทำให้ช็อกได้

2. พยาธิเม็ดเลือด

ปัญหากวนใจน้องหมาและเจ้าของหนีไม่พ้นเลยคือ “เห็บ” ตัวการร้ายที่ทำให้น้องหมาเกิดอาการคัน และนำไปสู่โรคร้ายหรือพยาธิเม็ดเลือดได้อีกด้วย โรคนี้สามารถพบได้ในน้องหมาทุกเพศ ทุกวัย ทุกสายพันธุ์ หรือจะแทบทุกตัวบนโลกนี้เลยก็ว่าได้ ซึ่งถ้าน้องหมาเกิดติดเชื้อแล้ว จะทำให้มีไข้สูง ซึม ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลด หากอาการรุนแรงอาจถึงขั้นอัมพาตขาหลังและเสียชีวิตได้

ความยากของโรคนี้อีกอย่างหนึ่งก็คือเป็นโรคที่สังเกตได้ยากมาก ดังนั้นคนรักสัตว์เลี้ยงควรที่จะกำจัดเห็บหมัดให้สิ้น และพบสัตวแพทย์อย่างสม่ำเสมอพร้อมกับปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเข้มงวด หากน้องติดเชื้อแล้วก็ควรที่จะดูแลสังเกตอาการ ติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญการจัดอาหารที่เหมาะสม อุดมไปด้วยแร่ธาตุ สารอาหารที่เพียงพอ ก็จะช่วยให้น้องหมาฟื้นฟูร่างกายกลับมาแข็งแรงขึ้นได้แล้ว

เหล่าทาสต้องระวัง!!  “ฮีทสโตรกในสัตว์เลี้ยง”  โรคที่มาพร้อมอากาศร้อน

3. โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ

"โรคพิษสุนัขบ้า"ไม่ได้เกิดแค่กับน้องหมาอย่างเดียวนะ แต่สามารถเกิดทั้งในแมว กระต่าย หนู กระรอก แต่จากข้อมูลแล้วพบว่าหมาและแมวสามารถนำโรคนี้ติดต่อสู่คนได้มากที่สุดและพบบ่อยที่สุด ซึ่งการติดต่อของโรคพิษสุนัขบ้ามักมาจากการสัมผัสกับน้ำลายจากการถูกกัด ข่วน หรือเลียบริเวณที่มีรอยแผล บริเวณเยื่อบุปาก หรือตา เป็นต้น และเมื่อคนติดเชื้อแล้วไม่สามารถรักษาให้หายได้ และต้องเสียชีวิตทุกราย

ส่วนอาการของสัตว์ คือ มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด กัดทุกสิ่งที่ขวางหน้า น้ำลายไหลมากผิดปกติ ไม่กินข้าวไม่กินน้ำ ขาอ่อนเปลี้ยเดินตุปัดตุเป๋ และนำไปสู่อัมพาตทั้งตัวอย่างรวดเร็วและทำให้น้องหมาเสียชีวิตในที่สุด ฟังอย่างนี้แล้วเจ้าของควรดูแลสัตว์เลี้ยงของคุณให้ดี ไม่ปล่อยให้ไปข่วนหรือกัดคนอื่นได้ ควรพาไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุขนัขบ้าอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และควรฉีดกระตุ้นจากเข็มแรก 1-3 เดือน โรคพิษสุขนัขบ้านี้เป็นภัยร้ายใกล้ตัวที่ต้องระวังทั้งคนและสัตว์เพราะเป็นอันตรายแก่ชีวิตเลยทีเดียว

4. โรคหัดสุนัข

อีกหนึ่งโรคที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงควรระวังและสังเกตนั่นก็คือ โรคหัดสุนัข ที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งพบได้มากในน้องหมาอายุ 3-6 เดือน เป็นช่วงที่ภูมิคุ้มกันลดลง โรคนี้น่ากลัวตรงที่ว่าบางสายพันธุ์แทบจะไม่แสดงอาการ หรือหากแสดงอาการก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้สมองอักเสบ ผอมแห้ง มีไข้สูง ทำให้อัตราการตายนั้นสูงมาก

แม้ว่าเทคโนโลยีการแพทย์ในปัจจุบันจะก้าวไกลมาก ก็ยังไม่มีทางรักษาที่หายขาดได้เลย แต่เป็นการรักษาตามอาการเพื่อให้บรรเทาลง ฉะนั้นในฐานะคนรักสัตว์เลี้ยงก็ควรจะป้องกันโดยการพาลูกหมาไปรับวัคซีนให้ครบ และฉีดวัคซีนอื่น ๆ เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันอยู่เสมอ แต่ถ้าหากพบว่าติดเชื้อแล้วให้รีบพาน้องหมาแยกออกจากฝูงและนำไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน

5. โรคท้องเสีย

วันดีคืนดีสัตว์เลี้ยงของคุณอาจเกิดอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวขึ้นมาได้ ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้เจ้าของอาจตกใจเพราะไม่รู้ว่าต้นตอปัญหาเกิดจากอะไรกันแน่ สาเหตุของโรคท้องเสียนั้นมีมากมาย เช่น ช่วงอายุ การได้รับวัคซีนไม่ครบ กินอาหารที่มันมากและมีกากใยมากเกินไป หรืออาหารที่ไม่สะอาด แต่อีกปัจจัยหนึ่งก็คืออากาศนั่นเอง สภาพอากาศที่ร้อนจัดสามารถทำให้เชื้อแบคทีเรียร้ายในอาหารเติบโตได้เร็วมากยิ่งขึ้น และอากาศที่ร้อนระอุนี้ยังทำให้สัตว์เลี้ยงกินน้ำมากผิดปกติส่งผลให้ถ่ายเหลวมากกว่าที่ควร

ดังนั้นถ้าน้องป่วยเป็นโรคท้องเสียแล้วล่ะก็ คุณควรที่จะงดให้อาหารชั่วคราวประมาณ 6-12 ชั่วโมงเพื่อพักการทำงานของลำไส้ อาจเสริมด้วยน้ำเกลือแร่หรือของหวานเพื่อทดแทนแร่ธาตุที่สูญเสียไป แต่ถ้าอาการของน้องไม่ดีขึ้นก็ควรพาไปพบสัตวแพทย์ทันที

เหล่าทาสต้องระวัง!!  “ฮีทสโตรกในสัตว์เลี้ยง”  โรคที่มาพร้อมอากาศร้อน

วิธีการปฐมพยาบาลโรคลมแดด หรือ โรคฮีทสโตรก เบื้องต้น

สิ่งที่สำคัญที่สุด ของการช่วยปฐมพยาบาลให้กับสัตว์เลี้ยงที่กำลังเป็นภาวะฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด นี้ คือ การระบายความร้อนจากร่างกายให้ลดลง แต่อย่าให้ลดลงเร็วจนเกินไป เป็นอันตรายแทนนะคะ โดยมีคำแนะนำจากสัตว์แพทย์ดังนี้

1.ถ้าสัตว์เลี้ยงของเราอยู่ในที่อากาศร้อน สถานที่แออัด ควรนำสัตว์เลี้ยงออกมายังบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก และปลดสิ่งที่พันธการออก ไม่ว่าจะเป็น ปลอกคอ สายจูง หรือเสื้อผ้าของเค้า เพื่อให้การหายใจสะดวกขึ้น และช่วยระบายความร้อน

2.ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว และบริเวณจุดอับต่างๆ เช่น รักแร้ ขาหนีบ หรือใต้ฝ่าเท้า เพื่อช่วยระบายความร้อนอีกทาง ระวังอย่าใช้น้ำที่เย็นจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการช็อคได้ ทางที่ดีควรใช้น้ำที่อุณหภูมิห้องจะดีที่สุดค่ะ

3.นวดบริเวณขาเพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด

เมื่อปฐมพยาบาลเสร็จควรรีบนำสัตว์เลี้ยงไปโรงพยาบาลเพื่อให้สัตวแพทย์ได้ทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างละเอียด

สพ.ญ. วลัยพร เรืองชัยปราการ หน่วยเวชศาสตร์ฉุกเฉินและหออภิบาลสัตว์ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  แนะนำวิธีการปฐมพยาบาลหมาแมวเมื่อมีอาการฮีทสโตรก มีดังนี้ 

  • ย้ายหมาแมวออกจากบริเวณที่มีอากาศร้อน ไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อากาศปลอดโปร่ง มีร่มเงา หรืออยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ
  • ให้ถอดเสื้อออกจากตัวสุนัข หากสุนัขสวมใส่เสื้ออยู่
  • เช็ดตัวลดไข้ โดยใช้น้ำอุณหภูมิปกติเช็ดตัวสุนัข เน้นบริเวณปลายเท้า ขาหนีบ และใบหู
  • ไม่ควรใช้น้ำเย็นจัดหรือน้ำแข็งเช็ดตัว
  • ไม่ควรห่มผ้าให้สุนัข เพราะจะเป็นการกักเก็บความร้อนไว้ในร่างกาย
  • อย่าให้ยาลดไข้แอสไพรินหรือพาราเซตามอลแก่สุนัข
  • เปิดพัดลมจ่อที่ตัวสุนัข เพื่อช่วยระบายความร้อน และลดอุณหภูมิในร่างกายของสุนัข
  • เช็ดตัวและดูอาการ ถ้ามีปรอทให้ใช้ปรอทวัดอุณหภูมิของสุนัขซ้ำเป็นระยะ ถ้าอุณหภูมิร่างกายของสุนัขไม่ลดลง หรือสุนัขมีอาการแย่ลงหรือหอบมากขึ้น ให้รีบนำสุนัขไปพบสัตวแพทย์ทันที

เหล่าทาสต้องระวัง!!  “ฮีทสโตรกในสัตว์เลี้ยง”  โรคที่มาพร้อมอากาศร้อน

อ้างอิง: โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน , โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยplearn-plearn , hospetal