'HACK ใจ'โชว์ 8 นวัตกรรมฮีลใจ สร้างพื้นที่ปลอดภัย ไปต่อได้ถ้าใจไม่ป่วย

'HACK ใจ'โชว์ 8 นวัตกรรมฮีลใจ สร้างพื้นที่ปลอดภัย ไปต่อได้ถ้าใจไม่ป่วย

“สุขภาพจิต” ประเด็นปัญหาที่พบมากในวัยทำงาน และมีแนวโน้มสูงขึ้น  ถือเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและสูญเสียอันดับต้น ๆ ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก

KEY

POINTS

  • 'วัยทำงาน'ประสบปัญหาสุขภาพจิตจำนวนมากเพราะป็นเรื่องของความรู้สึกไม่ได้มีบาดแผล หรืออาการทางร่างกายที่แสดงออกชัดเจน ทำให้วัยทำงานมองข้ามปัญหาสุขภาพจิต
  • กรมสุขภาพจิต ร่วมกับไทยพีบีเอส และภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม “HACK ใจ”ระดมไอเดียโชว์นวัตกรรมฮีลใจ ส่งเสริมป้องกันสุขภาพจิต
  • 8 นวัตกรรมฮีลใจ ไอเดียจาก 8 องค์กร เพื่อนำไปปรับใช้ให้เกิดผลลัพธ์ด้านการส่งเสริมป้องกันสุขภาพจิต

“สุขภาพจิต” ประเด็นปัญหาที่พบมากในวัยทำงาน และมีแนวโน้มสูงขึ้น  ถือเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและสูญเสียอันดับต้น ๆ ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก

สุขภาพจิต” ประเด็นปัญหาที่พบมากในวัยทำงาน และมีแนวโน้มสูงขึ้น  ถือเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและสูญเสียอันดับต้น ๆ ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก      ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิตในวัยทำงาน ได้แก่ ความเครียดจากงาน สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม การไม่มีสมดุลงานและชีวิต Work-life Balance และความไม่ลงตัวระหว่าง

ความคาดหวังในงานและอำนาจการควบคุมงานที่ทำให้เกิดความกดดัน ความเครียดที่ส่งผลต่อสุขภาพ ปัญหาสุขภาพยังเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคล เป็นเรื่องของความรู้สึกและไม่ได้มีบาดแผลหรืออาการทางร่างกายที่แสดงออกโดยชัดเจน ด้วยเหตุนี้ ปัญหาสุขภาพจิตของพนักงานจึงมักถูกมองข้ามไป

กรมสุขภาพจิต ร่วมกับไทยพีบีเอส และภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม “HACK ใจ” ระดมไอเดียโชว์  8 นวัตกรรมฮีลใจ เพื่อสุขภาวะทางจิตที่ดี ส่งเสริมป้องกันสุขภาพจิต กับ 8 องค์กรจากภาครัฐและเอกชน ผ่านกระบวนการแฮกกาธอน ปลุกองค์กรแห่งความสุขสร้างพลังใจ ด้วยโจทย์ที่ท้าทาย 8 โจทย์ จาก 8 กลุ่มผู้เข้าร่วมจากทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องด้านการส่งเสริมป้องกันสุขภาพจิต

8 นวัตกรรมฮีลใจปลุกองค์กรแห่งความสุขสร้างพลังใจ

สำหรับกิจกรรม “HACK” ใจ จัดขึ้นเพื่อรวบรวมไอเดียด้านการส่งเสริมป้องกันสุขภาพจิตอย่างยั่งยืน เป็นพื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และทักษะของแต่ละองค์กร นำไปปรับใช้ให้เกิดผลลัพธ์ด้านการส่งเสริมป้องกันสุขภาพจิต รวมถึงสร้างเครือข่ายการพัฒนาโครงการ เจตจำนง หรือนโยบายด้านการส่งเสริมป้องกันสุขภาพจิต โดยแบ่งเป็น  8 โจทย์ ได้แก่

1. นวัตกรรม (Innovation) 

2. เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital economy)

3. ระบบยุติธรรม (Justice system) 

4. ผู้บังคับใช้กฎหมาย (Law enforcer)

\'HACK ใจ\'โชว์ 8 นวัตกรรมฮีลใจ สร้างพื้นที่ปลอดภัย ไปต่อได้ถ้าใจไม่ป่วย

5. การสื่อสาร (Communication)

6. การออกแบบเมือง (Property & Urban)

7. ธุรกิจประกัน (Insurance) 

8. องค์กรแห่งความสุข (Food)

ทำไม?ต้องดูแลสุขภาพจิตทุกวัย

1.ใจฟู Community หัวข้อ “นวัตกรรม (Innovation)” เจ้าของโจทย์ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) 

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เป็นส่วนหนึ่งในการวิจัยสุขภาพจิตไทย ออกแบบนวัตกรรม “ใจฟู Community” สุขภาพจิตดีเริ่มที่ทุกคน โดยมีเป้าหมายพัฒนาชุมชนให้มีศักยภาพด้วยตนเองในการเป็น Buffer Community สำหรับการให้บริการสุขภาพจิต ในการส่งเสริม สนับสนุน ป้องกันและฟื้นฟูเยียวยา อีกทั้งยังช่วยลดภาระของบุคคลากรทางการแพทย์สร้างสังคมที่มีสุขภาพใจที่ดีอย่างยั่งยืน

ผ่านนวัตกรรมของ NIA ที่มีชื่อว่า Groom Grant Growth  โดยใช้ Creator ต่าง ๆ ในการแฮกใจเพื่อสร้าง “ใจฟู Community” ไม่ว่าจะเป็น เยาวชนคนรุ่นใหม่, influencer, บ้าน,วัดและโรงเรียน ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความคิดและเข้าใจเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

2.ฟังกันก๊อนน หัวข้อ “องค์กรแห่งความสุข (Happy Work)” เจ้าของโจทย์  Food passion 

องค์กรแห่งความสุขมีเป้าหมายหลักในการส่งเสริมสุขภาพใจในองค์กรสืบรุ่นต่อรุ่น จากปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน โลกแห่งดิจิตอลที่ส่งผลทั้งทางบวกและทางลบกับสุขภาพจิต รวมไปถึงความรู้และความเข้าใจในเรื่องสุขภาพจของคนในองค์กรยังไม่เพียงพอ ทำให้ Food passion หรือ บาบิก้อน คิดโครงการที่มีชื่อว่า “ฟังกันก๊อน” เป็นตัวแทนในการรับฟังพนักงานในองค์กรในเรื่องสุขภาพจิต

มีแผนดำเนินการแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ Shot term การเก็บข้อมูลพนักงาน , Mid term การวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งระดับปัญหา หาแนวทางแก้ปัญหาแต่ละด้าน Long term ติดตามและเช็คสุขภาพจิตร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ และเป้าหมายในปี 2025 ทางองค์กรมีความคาดหวังว่า จะสร้างนักฟังที่ไม่ได้ฟังแค่เสียงธรรมดา แต่จะฟังด้วยหัวใจพร้อมแก้ปัญหาสุขภาพจิตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน

3.Transformative Training Center "ศูนย์ฝึกแห่งการเปลี่ยนแปลง" หัวข้อ ระบบยุติธรรม (Justice System) เจ้าของโจทย์ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

กรมพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีหน้าที่ควบคุมดูแล บำบัดและฟื้นฟูเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีที่กระทำความผิด มีเด็กมากถึง 85 %  ที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไเมื่อผ่านกระบวนการฝึกและอบรมมาแล้ว แต่ไม่ใช่กับเด็กทุกคนที่จะสามารถปฏิบัติตามกฏระเบียบหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดเหตุทะเลาะวิวาทเกิดขึ้นได้อีกหลายครั้ง ทางกรมพินิจจึงจำเป็นต้องมี “ศูนย์ฝึกแห่งการเปลี่ยนแปลง” สำหรับเด็กที่มีพฤติกรรมรุนแรง

สำหรับแผนดำเนินการที่จะขับเคลื่อนวางไว้ใน 3 ส่วน คือ Training , Systems และ Policy ในการขับเคลื่อนระบบให้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ภายใต้ 3 S คือ Safety ความปลอดภัย , Success ความสำเร็จ , Sustainability ความยั่งยืน ในการดูแลเด็ก เพื่อให้ได้มาซึ่งบุคลากรที่มีความพร้อม

เปลี่ยนจากการทำงานด้วยความกลัวเป็นการทำงานอย่างมีความสุข นำไปสู่การจัดการเชิงระบบต่อไป ให้เจ้าหน้าที่มีทักษะในการบริหารจัดการการดูแลเด็กที่มีความเฉพาะเจาะจง เช่น ความรุนแรง ให้ศูนย์ฝึกแห่งนี้มีความมั่นคงและปลอดภัย

\'HACK ใจ\'โชว์ 8 นวัตกรรมฮีลใจ สร้างพื้นที่ปลอดภัย ไปต่อได้ถ้าใจไม่ป่วย

สุขภาพใจวัยทำงาน Happy งานออกมา Happy

4.Happy ฮับ ทำงานที่นี่ แฮปปี้จังฮับ หัวข้อ “เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital economy)” เจ้าของโจทย์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

จากวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมาทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง พนักงงาน 47 %  รู้สึกเหนื่อยล้าและอยากลากออก จากผลสำรวจพบว่า กลุ่มประชากรวัยทำงานใน Gen Y และ Gen Z ถึง 71 % ต้องการที่จะพักใจ

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ คิดโครงการสุขภาพใจวัยทำงานแห่งอนาคต เพื่อสร้างบรรทัดฐานใหม่ของการทำงาน ในยุค E-Working เพื่อให้คนทำงานมีความสุขไปพร้อมกับงานที่สำเร็จตามเป้าหมาย โดยการสร้าง Trust Mark ที่มีชื่อว่า “Happy ฮับ ทำงานที่นี่ แฮปปี้จังฮับ”

แผนการดำเนินงานเป็นการสร้าง Sand Box รวบรวมภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมกัน “ลดกฎ เพิ่มGain” ในการทำงาน ลดกฎเกณฑ์ที่ปิดกั้นอิสรภาพและความสุขในการทำงาน เพื่อให้ได้ Trust Mark ที่การันตีมาตรฐานองค์กรในการใส่ใจดูแลสุขภาพใจกับพนักงาน เพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจวัยทำงานเข้ามาสู่องค์กรมากยิ่งขึ้น

5.อุ่นใจ เตือนภัย มิจจี้ หัวข้อ การสื่อสาร (Communication) เจ้าของโจทย์ แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) AIS

ข้อมูลในปี2566 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีภัยทางไซเบอร์มากถึง 400,002 คดี    คิดเป็นมูลค่าความเสียหายมากถึง 53,876,411,222 บาท ที่เกิดจากการหลอกลวงทาง SMS โทรศัพท์และทางเพจปลอม เป็นผลให้ทาง AIS ร่วมมือกับตำรวจไซเบอร์และกรมสุขภาพจิต จัดทำ One Stop Service อุ่นใจ เตือนภัย มิจจี้ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกัน และให้ความรู้ เพื่อเตือนภัยทางไซเบอร์ ผ่านแพลตฟอร์ม “Alert”  ที่เป็นการแจ้งเตือนสายโทรเข้า เพื่อตัวสอบว่าสายนั้นมีพฤติกรรมต้องสงสัยเป็นมิจฉาชีพหรือไม่ อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางการแจ้งความสำหรับผู้ที่ถูกหลอก

โดยทาง AIS จะประสานงานกับตำรวจไซเบอร์และธนาคารในการอายัดบัญชีพร้อมทั้งติดตามสถานะของคดีความ ให้ผู้ใช้งานทราบถึงขึ้นตอนการทำดำเนินงาน รวมถึงยังมีการให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่ถูกหลอกทั้งด้านการเงินและด้านจิตใจ

6.Hack Jai Insurrance หัวข้อ “ธุรกิจประกัน (Insurance)” เจ้าของโจทย์ กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) 

จากสถานการณ์สุขภาพจิตในไทย ปัจจุบัน มีผู้ป่วยทางจิตเวชเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลา 8 ปี แต่ในขณะเดียวกันประเทศไทยมีบุคคลากรทางสุขภาพจิตที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ตัวแทนบริษัทประกันภัย จัดทำโครงการ “Hack Jai Insurrance” โดยมีบริษัทประกันภัยเป็นผู้ริเริ่มและรับผิดชอบ

พร้อมทั้งให้ภาคเอกชนเป็นกลไกลสำคัญที่จะดึงความร่วมมือจากหลาย ๆ ภาคส่วนเข้ามา โดยมีรัฐเป็นผู้สนับสนุน และหากบริษัทใดที่ต้องการร่วมใช้ฐานข้อมูล จะต้องแบ่งปันข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ทำให้ฐานข้อมูลใหญ่ขึ้นเพื่อประกันอื่น ๆ นอกเหนือจากสุขภาพ ซึ่งเป้าหมายหลักเพื่อให้ประชาชนมีประกันสุขภาพจิต และยกระดับการเข้าถึงบริการสุขภาพจิตของประชาชน

\'HACK ใจ\'โชว์ 8 นวัตกรรมฮีลใจ สร้างพื้นที่ปลอดภัย ไปต่อได้ถ้าใจไม่ป่วย

เริ่มจาก HERO Protector สร้างเมืองแห่งความสุข

7.HERO Protector หัวข้อ บังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcer) เจ้าของโจทย์ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง

“ตำรวจ” ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ที่เรียกได้ว่าเป็นบุคคลที่ต้องบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับประชาชน พร้อมทั้งแบกรับความกดดันจากสังคม ทำงานภายใต้เงื่อนไขและเวลาที่จำกัด อีกทั้งปริมาณงานที่มากจนเกินไปตลอดจนค่านิยมขององค์กร จนทำให้เกิดความเครียดสะสมที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตได้  “HERO Protector” เป็นนวัตกรรมเพื่อให้ข้าราชการตำรวจเป็นฮีโร่ของประชาชนที่มีต้นทุนทางสุขภาพจิตที่ดี โดยการสร้างพื้นที่ “ Club House” เพื่อพูดคุยในสิ่งที่สนใจ และทราบถึงความคิดภายในจิตใจ อาจเริ่มจากกลุ่มเล็ก ๆ เช่น ตำรวจสอบสวนกลาง และขยายพื้นที่ไปในพื้นที่อื่น ที่มีความเกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความสุขและแลกเปลี่ยนความคิดอีกทั้งยังช่วยลดความกดดันในการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ

8.Smiling cities พื้นที่เมืองแห่งความสุข หัวข้อ การออกแบบเมือง (Urban Planning) จากเจ้าของโจทย์  Urban planning - Tuture Tales Lab by MQD

ประชากรไทยกว่า 13 ล้านคนกำลังวิตกกังวลต่อสภาพสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจที่ไม่มั่นคง อีกทั้งยังต้องปรับตัวให้เข้ากับโลกดิจิตอลและเทคโนโลยีที่มีความผันผวนตลอดเวลา จนทำให้ละเลยการดูแลตนเองทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และเพื่ออนาคตที่ดีขึ้นของทุกคน  “Smiling cities พื้นที่เมืองแห่งความสุข”

โดย  Urban planning - Tuture Tales Lab by MQD เป็นโครงการเมืองรูปแบบใหม่ที่มุ่งเน้นการสร้าง Smiling เป็นเมืองแห่งความสุข มีเป้าหมายหลักในการสร้างเมืองให้ปลอดภัย Urban data platfrom ป้องกันภัยพิบัติ อุบัติเหตุ อาชญากรรมและความเจ็บป่วย เมืองต้องสวยงามและน่าอยู่ Design guideline ปรับปรุงพื้นที่ให้สวยงาม โดยนำสุขภาพจิตของผู้คนเป็นที่ตั้ง และการสร้างเมืองสุขภาพจิต Mental Health Enhancement พื้นที่บริการสุขภาพจิต กิจกรรมและพื้นที่ส่งเสริม Mental Health literacy เพื่อให้คนทุกกลุ่มเข้าถึงบริการได้อย่างยั่งยืน

รศ. ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการไทยพีบีเอส  กล่าวว่า กิจกรรม HACK ใจ “เพราะสุขภาพใจเป็นเรื่องของทุกคน” ครั้งนี้ อาจจะไม่ใช่ครั้งเดียว แต่ต้องมีการจัดกิจกรรมลักษณะเช่นนี้อีก เพราะผลลัพธ์จากกิจกรรมครั้งนี้แสดงให้เห็นแล้วว่า ปัญหาสุขภาวะทางจิตมีทางออกที่เป็นรูปธรรม ในฐานะสื่อสาธารณะหวังให้เกิดผลสะเทือนกับสังคมขนาดใหญ่ 

โดยทั้ง 8 นวัตกรรม ที่ได้จากการแฮกกาธอนครั้งนี้  พร้อมมีเจ้าภาพร่วม ที่จะผลักดันขับเคลื่อนทำงานร่วมกันต่อไปในอนาคตแน่นอน ซึ่งไทยพีบีเอสจะเกาะติดตามต่อ และเชื่อว่าสามารถผลักดันต่อในเชิงนโยบาย เพื่อร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น สร้างสุขภาวะทางจิตในสังคมให้มีความแข็งแรง