โรคร้าวๆ เมื่อรองเท้าคู่โปรด ไม่เหมาะกับรูปเท้า พร้อมวิธีป้องก้น

โรคร้าวๆ เมื่อรองเท้าคู่โปรด ไม่เหมาะกับรูปเท้า  พร้อมวิธีป้องก้น

 “กลายเป็นกระดูกทิ่มกับพื้นทุกครั้งที่มีการเดิน” เช็ก 3 ลักษณะรูปเท้า  พร้อมแนวทางป้องกัน แผ่นเสริมเท้า วิธีเลือกรองเท้าให้เหมาะกับเท้าเรา  ไม่ใช่แค่เพราะเห็นว่าเป็นรองเท้าสุขภาพแล้วจะช่วยได้เสมอไป 

Keypoints:

  • จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าเท้าของตัวเองเป็นแบบไหน  ลองมาเช็ก 3 รูปแบบเท้า  โครงสร้างและการกระจาย้ำหนัด ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของเท้าที่แตกต่างกันออกไป
  •  เมื่อน้ำหนักมาก โครงสร้างของเท้า กล้ามเนื้อ เอ็น ผังพืดต่างๆ รับน้ำหนักไม่ไหว เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการใช้ชีวิตประจำวัน  เพราะฉะนั้น กลายเป็นกระดูกทิ่มกับพื้นทุกครั้งที่มีการเดิน
  • 5 โรคเท้าที่พบบ่อย  แนวทางการดูแลป้องกัน ไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพเท้า  แผ่นเสริมเท้าและ วิธีเลือกรองเท้าให้เหมาะสมกับตัวเอง ไม่ใช่แค่เห็นว่าเป็นรองเท้าสุขภาพ

       เท้าเป็นอวัยวะที่อยู่ส่วนล่างสุดของร่างกาย  และเป็นส่วนที่รับน้ำหนักทั้งหมดของร่างกาย  แต่น้อยคนที่จะใส่ใจในการดูแลเท้า บางคนอาจจะไม่แม้แต่จะรู้ลักษณะรูปเท้าของตัวเอง  เพื่อจะได้เลือกรองเท้าได้เหมาะสม ป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับเท้า

    3 รูปเท้าและการกระจายน้ำหนัก 

1.เท้าแบน ส้นเท้าบิดออกนอก กลางฝ่าเท้าแนบพื้น ลงน้ำหนักเต็มฝ่าเท้า

2.เท้าปกติ ส้นเท้าตรง กลางฝ่าเท้าโค้งเล็กน้อย ลงน้ำหนักฝ่าเท้าคล้ายเลข 7

3.เท้าสูง ส้นเท้าบิดเข้าใน กลางฝ่าเท้าโค้งสูง ลงน้ำหนักที่ฝ่าเท้าคล้ายวงรี 2 วง

โรคร้าวๆ เมื่อรองเท้าคู่โปรด ไม่เหมาะกับรูปเท้า  พร้อมวิธีป้องก้น

5 โรคเท้าที่พบบ่อย 

1.รองช้ำ เจ็บแปล๊บเมื่อลงน้ำหนักก้าวแรกในตอนเช้า เกิดจากเอ็นใต้ฝ่าเท้าและน่องอักเสบ

2.เอ็นเท้าอักเสบ  เจ็บตรงหลังตาตุ่มด้านในและอุ้งเท้า เกิดจากเอ็นคล้องอุ้งเท้าอักเสบ

3.นิ้วหัวแม่เท้าเก  เจ็บ บวมตรงนิ้วหัวแม่เท้า เกิดจากการใส่รองเท้า หน้าแคบหรือรองเท้าส้นสูง

4.เจ็บหน้าเท้า เจ็บ ปวด จมูกเท้าหรือบริเวณหน้าเท้า เกิดจากชั้นไขมันใต้ฝ่าเท้าสลายตัวหรือใส่ส้นสูง

5.ปมประสาทปลายเท้าอักเสบ  ชาหรือเสียวแปลบลงไปที่ปลายนิ้ว ขณะเดินยืน เกิดจากการใส่รองเท้าหน้าแคบเป็นประจำ

     ทั้งนี้ หากสังเกตเห็นความผิดปกติ ควรไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม

4 ท่าลดเจ็บเท้า

  • ยืดน่อง  มือดันผนัง ยื่นขา 1 ข้างไปข้างหน้าย่อเข่า อีกข้างยืดตรงไปด้านหลัง ฝ่าเท้าทั้ง 2 ติดพื้น เริ่มยืดโดยงอเข่าหน้าและเข่าหลังเหยียดตึง
  •  เหยียบบอล วางลูกบอลหรือลูกเทนนิสใต้ฝ่าเท้าแล้วกลิ้งคลึงไปมา
  • ยืนเขย่ง ยืนเขย่งบนปลายเท้าค้างไว้
  • ขยุ้มผ้า  วางผ้าขนหนูใต้ฝ่าเท้า แล้วใช้นิ้วขยุ้มผ้าเข้าหาตัว 

     ระยะเวลาทำท่าละ 10 ครั้ง ข้างละ 20 วินาที ทั้ง 2 ข้าง 

เมื่อกระดูกเท้าทิ่มพื้นทุกๆวัน    

        ธวัชชัย จันทร์สอาด หัวหน้างานกายอุปกรณ์  สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข อธิบายว่า  กล้ามเนื้อจะดึงโครงสร้างของเท้า  เมื่อน้ำหนักมาก โครงสร้างของเท้า กล้ามเนื้อ เอ็น ผังพืดต่างๆ รับน้ำหนักไม่ไหว เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการใช้ชีวิตประจำวัน จึงกลายเป็นกระดูกทิ่มกับพื้นทุกครั้งที่มีการเดิน  ไม่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นกับบางคนแต่เกิดกับทุกคน ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพเท้า อย่างเช่น ที่ประชาชนเป็นมาก คือโรครองช้ำ  คนที่เท้าแบน กระดูกต่างๆก็จะไปทิ่มที่พื้น เกิดการกด การเจ็บ

     “เท้าเป็นฐานของร่างกาย เมื่อเท้าผิดรูป  ก็เกิดปัญหาเรื่องเอ็นกระดูกหลังคด ปวดคอ ปวดไหล่  และสมองสั่งการอัตโนมัติให้รักษาตัวให้อยู่ในแนวระนาบ จึงต้องปรับตัว ทำให้โครงสร้างร่างกายอยู่ในท่าผิดรูป”ธวัชชัยกล่าว

แผ่นเสริมเท้าเฉพาะราย

       บางคนคิดว่าอาการปวดเท้าที่เกิดขึ้นเป็นเพราะเดินมาก แช่น้ำอุ่นก็หาย แต่ไม่หาย เพราะการที่โครงสร้างเท้า 3 แบบ คือ ปกติ แบน อุ้งสูง การแช่น้ำอุ่นจึงไม่ช่วยนอกจากทำให้สบายเท้าขึ้น แต่เมื่อลงเดินน้ำหนักก็จะปวดอีก การใส่แผ่นเสริมเท้า ที่มาใช้พื้นที่เท้าที่ไม่ได้รับน้ำหนักต่างๆ ช่วยในการรับน้ำหนักและการทรงตัว 

    สถาบันสิรินธรฯ มีการเปิดบริการคลินิกสุขภาพเท้า ซึ่งในยุโรปและอเมริกามีความเข้าใจเรื่องนี้มาเป็น 100 ปีแล้ว โดยมีการนำเทคโนโลยีมาช่วยและนำเสนอให้สังคมรับรู้ว่าสุขภาพเท้าเป็นเรื่องสำคัญ จะเลือกรองเท้าแต่ละแบบ ไม่ใช่แค่คำโฆษณาว่ารองเท้าสุขภาพแล้วจะช่วยให้หาย เพราะรองเท้าจะทำมาสำเร็จ แต่ความยาว ลักษณะอุ้งเท้า และโครงสร้างข้างในของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน  แต่ละคนไม่เหมือนกัน

        สถาบันฯจึงนำเสนอการตรวจสุขภาพเท้าด้วยเครื่อง ที่ให้เห็นว่าเท้าของแต่ละคนมีปัญหาส่วนไหน อย่างไร เพื่อให้ทุกคนตระหนักว่าเท้ามีปัญหา เพราะบางคนไม่รู้ ก็เห็นว่าเท้าปกติ ยืนเดินได้ไม่มีปัญหา ถ้ามีปัญหาเรื่องปวดเจ็บ ทำให้รู้สึกรำคาญ เวลายืนก็ต้องหาที่พิงเพราะปวดเท้า

            สถาบันฯนำเสนอแนวทางป้องกัน โดยที่ทุกคนยังมีสิทธิเลือกรองเท้าตามแบบที่ชอบเหมือนเดิม ไม่ต้องซื้อรองเท้าสุขภาพที่ใครใส่ก็เหมือนกัน แต่สามารถมีสุขภาพเท้าที่ดีขึ้นได้ด้วยรองเท้าคู่เดิม คือ การใส่แผ่นเสริมเท้า ที่สามารถนำไปใส่ในรองเท้าแต่ละคู่ได้ ซึ่งจะเป็นแผ่นเสริมเท้าที่ทำขึ้นเหมาะสมกับเฉพาะบุคคลนั้นๆ ดังนั้น ทุกคนควรจะต้องมาตรวจสุขภาพเท้าของตัวเอง ตรวจได้ตั้งแต่เด็ก จนถึงทุกช่วงวัย 

โรคร้าวๆ เมื่อรองเท้าคู่โปรด ไม่เหมาะกับรูปเท้า  พร้อมวิธีป้องก้น

      หากมีรับบริการที่สถาบันฯ เมื่อตรวจสุขภาพเท้าแล้วพบว่ามีปัญหาแบบไหน สถาบันฯมีบริการทำแผ่นเสริมเท้าของแต่ละบุคคลด้วย ราคาอยู่ที่คู่ละ 4,000 บาท สามารถมารับบริการได้ทั้งผู้ที่จ่ายเองและเบิกได้ตามสิทธิประกันสุขภาพภาครัฐทุกสิทธิ ทั้งบัตรทอง 30บาทรักษาทุกโรค ประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการ หากเข้าตามข้อบ่งชี้ที่จะต้องใช้แผ่นเสริม

     “เมื่อกล้ามเนื้อเราอ่อนตัวไปแล้ว จะทำให้กลับมาตึงตัวจะต้องมีการออกกำลังกายช่วย แต่เมื่อใส่แผ่นเสริมเท้าแล้ว จะช่วยให้หายปวดเท้า  หากไม่ใส่ก็จะปวดจึงต้องใส่ตลอด”ธวัชชัยกล่าว 

      ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ คลินิกสุขภาพเท้า งานกายอุปกรณ์ สถาบันสิรินธรฯ โทร.02-9659186-7 ต่อ 6770
วิธีเลือกซื้อรองเท้า 

  • มีส่วนกระชับข้อเท้าที่แข็งแรง
  • สามารถถอดแผ่นรองออกได้
  • พื้นรองเท้าไม่แข็งหรืออ่อนเกินไป
  • มีขอบนุ่มและกระชับ
  • สามารถปรับสายรัด เชือกให้พอดีกับขนาดเท้าได้
  • ผ้าด้านบนมีความยิดหยุ่น
  • ความกว้างของรองเท้าควรพอดีหรือใหญ่กว่าความกว้างของหน้าเท้า
  • นิ้วเท้าที่ยาวที่สุดห่างจากขอบด้านหน้า 1.5 เซนติเมตร
  • พื้นรองเท้าส่วนหน้าและส้นเท้าสูงต่างกันไม่เกิน 1 นิ้ว 
    โรคร้าวๆ เมื่อรองเท้าคู่โปรด ไม่เหมาะกับรูปเท้า  พร้อมวิธีป้องก้น