'สายตาสั้นในเด็ก' ไม่ใช่เรื่องเล็ก ชะลอค่าสายตา ลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน

'สายตาสั้นในเด็ก' ไม่ใช่เรื่องเล็ก ชะลอค่าสายตา ลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน

ภาวะสายตาสั้น ถือเป็นปัญหาระดับโลก โดยเฉพาะในเด็กที่ อาจนำไปสู่ความบกพร่องในการมองเห็น การที่สามารถชะลอการเพิ่มของค่าสายตา จะสามารถลดความเเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนทางตาได้ในอนาคต

Key Point :

  • การมองเห็นที่ดี ส่งผลต่อประสิทธิภาพทางการเรียนและการทำกิจกรรมต่างๆ ของเด็ก พ่อแม่จึงไม่ควรเพิกเฉยต่อการดูแลสายตาของลูกน้อยตั้งแต่ยังเป็นทารก
  • ภาวะสายตาสั้น ถือเป็นวิกฤตประชากรทั่วโลก WHO คาดว่า ภายในปี 2050 ครึ่งหนึ่งของประชากรโลกจะมีภาวะสายตาสั้น
  • ปัจจุบัน มีการพัฒนาเลนส์สายตา สำหรับเด็ก ที่มีประสิทธิภาพในการช่วยชะลอการเพิ่มของค่าสายตาได้กว่า 67% 

 

 

"สายตาสั้นในเด็ก" ในวัยเยาว์นับวันจะมีมากขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการใช้ชีวิตในร่ม ซึ่งมีการเคลื่อนไหวน้อยลงและใช้เวลาเพิ่มมากขึ้นกิจกรรมใกล้ตัว ยิ่งเด็กเริ่มมีภาวะสายตาสั้นในอายุที่น้อย สายตาสั้นก็จะพัฒนามากขึ้นและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน "ภาวะสายตาสั้นสูง" อาจนำไปสู่ความบกพร่องในการมองเห็นที่รุนแรง เพิ่มความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนทางตาในช่วงต่อมาของชีวิต

 

ข้อมูลจาก สถาบันราชานุกูล อธิบายถึง ภาวะสายตาสั้นในเด็กกับปัญหาต่อสมอง พบว่า การมองเห็นที่ดี ส่งผลต่อประสิทธิภาพทางการเรียนและการทำกิจกรรมต่างๆ ของเด็ก พ่อแม่จึงไม่ควรเพิกเฉยต่อการดูแลสายตาของลูกน้อยตั้งแต่ยังเป็นทารก เพราะอาจเกิดโรคร้ายทางตาที่อาจเกิดขึ้นได้ ถึงแม้เป็นอาการเล็กๆ น้อยๆ อย่างการสายตาสั้นในระยะแรก ก็อาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

 

 

การมองเห็นของเด็กจะพัฒนาจนสมบูรณ์ใช้เวลาตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 6 ขวบ ดังนั้น ช่วงเวลาดังกล่าวหากมีปัญหาที่ทำให้เด็กไม่สามารถมองเห็นภาพที่ชัดเจนได้ การพัฒนาการมองเห็นของเด็กก็จะไม่เกิดด้วย เพราะพัฒนาการมองเห็นที่ว่านี้ จะประกอบด้วยปัจจัยทั้งทางด้านสายตาและสมอง ซึ่งก็คือศูนย์รับภาพการมองเห็น ถ้าพัฒนาการนี้ไม่เกิด ก็แสดงว่าเด็กคนดังกล่าวจะไม่สามารถมองเห็นได้ตามปกติ

 

สายตาสั้น ปัญหาระดับโลก

ดร.มายูมิ ฟาง นักทัศนมาตรและผู้จัดการฝ่ายวิชาการและการอบรม ไทย บริษัท เอสซีลอร์ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในงานแถลงข่าว เปิดตัวเลนส์ STELLEST นวัตกรรมล่าสุดที่ชะลอสายตาสั้นในเด็ก โดยระบุว่า ภาวะสายตาสั้นถือเป็นวิกฤตประชากรทั่วโลก องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่า ภายในปี 2050 ครึ่งหนึ่งของประชากรโลกจะมีภาวะสายตาสั้น แต่หากดูกันจริงๆ แล้ว เด็กในวันนี้มีค่าสายตาสั้นมากกว่า 50% ขึ้นอยู่กับประเทศ

 

ดังนั้น ภาวะสายตาสั้นถือเป็นเรื่องใกล้ตัว มีผลกระทบทุกประเทศและทุกทวีป สิ่งที่น่าตกในมากกว่านั้น คาดการณ์ว่า คนที่มีภาวะสายตาสั้นมาก คือ ค่าสายตาเกิน 500 จะมีมากถึง 1,000 ล้านคนในอีก 20 กว่าปีข้างหน้าอย่างมีนัยสำคัญ

 

สำหรับ ภาวะสายตาสั้น เป็น สภาวะการมองเห็น เกิดจากความยาวของดวงตาที่เพิ่มขึ้น หรือกระจกตาหรือเลนส์ที่โค้งมากเกินไป ดังนั้น แสงจากวัตถุที่อยู่ไกลจึงมาโฟกัสที่ด้านหน้าของจอประสาทตา ทำให้มองเห็นไม่ชัด แต่มองเห็นได้ชัดเจนเมื่อมองวัตถุที่อยู่ใกล้

 

 

“เด็กที่มีภาวะสายตาสั้น ยิ่งอายุน้อยเท่าไร ค่าสายตาของเด็กก็จะยิ่งเพิ่มเร็วขึ้นเท่านั้น ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดภาวะสายตาสั้นมาก การดูแลโดยเร็วที่สุด ช่วยลดภาวะได้อย่างมาก โดยความเสี่ยงของสายตาสั้น หลักๆ คือ พันธุกรรม ประวัติผู้ปกครอง เชื้อชาติ และอิทธิพลทางสรีระดวงตาและสภาพแวดล้อม โดยประชากรในภูมิภาคเอเชีย มีภาวะสายตาสั้นมากกว่าฝั่งยุโรป”

 

ทั้งนี้ ผลกระทบจากสายตาสั้นไม่ว่าระดับใดก็ตาม จะเพิ่มความเสี่ยงของสภาวะทางตา เมื่อเทียบกับสายตาปกติ แต่ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ เมื่อถึงระดับสายตาสั้นมาก โดยเฉพาะความเสี่ยงต่อ จอประสาทตาเสื่อม จอประสาทตาหลุดลอก ต้อกระจก และต้อหิน เมื่อเด็กมีมากขึ้น สายตาสั้นมากขึ้น ความเสี่ยงยิ่งเพิ่มทวีคูณ ดังนั้น การชะลอการเพิ่มขึ้นของค่าสายตาเพียงนิดเดียวก็สามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคได้

 

แก้ไข ชะลอภาวะสายตาสั้น

ดร.มายูมิ อธิบายต่อไปว่า ปัจจุบัน วิธีการแก้ไขและชะลอภาวะสายตาสั้นในตลาด มีด้วยกัน 3 แนวทาง คือ

1) เลนส์แว่นตา จุดเด่น คือ หาซื้อได้ง่าย ไม่ได้สัมผัสกับด้วยตาโดยตรง ปลอดภัย

2) คอนแทคเลนส์ ต้องพบแพทย์ และต้องใช้เลนส์ประเภทพิเศษ ที่ผลิตโดยเฉพาะการควบคุมสายตาสั้น และต้องให้ความสำคัญกับการระวังการติดเชื้อโดยเฉพาะเด็ก

3) ยาหยอดตา แต่มีผลข้างเคียง และต้องอยู่ภายใต้การดูแลของจักษุแพทย์

 

"อย่างไรก็ตาม การแก้ไขในลักษณะนี้อย่างเดียว ไม่เพียงพอในการช่วยควบคุมภาวะสายตาสั้น การชะลอการเพิ่มขึ้นของค่าสายตาสั้น จึงเป็นสิ่งที่พึงกระทำควบคู่กับการแก้ไข โดยราวๆ 30-40 ปีที่ผ่านมา มีความสำเร็จในการพัฒนา 'เลนส์แว่นตาชะลอการเพิ่มค่าสายตาสั้น' และมีการพัฒนาเรื่อยมา กระทั่งถึงเจนล่าสุด อย่างเลนส์แว่นตา STELLEST ที่มีโครงสร้างการออกแบบ ผลิตเลนส์ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพชะลอค่าสายตาที่มีประสิทธิภาพ"

 

เลนส์แว่นตาชะลอค่าสายตา

เนื่องจาก เลนส์แว่นตา STELLEST ถือเป็นเลนส์ Clinical จึงต้องผ่านการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในประเทศไทยเรียบร้อยแล้วก่อนวางจำหน่าย โดยในเอเชีย มีจำหน่ายในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และจีน ซึ่งต้องได้รับการรับรองจาก อย. ของแต่ละประเทศเช่นกัน

ผลการวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเลนส์ STELLEST ในเด็ก 167 คน อายุ 8-13 ปี ระยะเวลา 2 ปี ในประเทศจีน โดยให้เด็กครึ่งหนึ่งใช้ เลนส์ STELLEST และอีกครึ่งใช้เลนส์ทั่วไป ในประเทศจีน พบว่า เด็กที่สวมเลนส์แว่นตา STELLEST สามารถชะลอการเพิ่มของค่าสายตาสั้น โดยเฉลี่ย 67% หากสวมใส่วันละ 12 ชั่วโมงต่อวันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลังจากปีแรก การเติบโตของลูกตาของเด็ก 9 ใน 10 คน ที่สวมใส่เลนส์แว่นตา Essilor Stellest ใกล้เคียงหรือช้ากว่าเด็กที่ไม่มีค่าสายตาสั้น และ 100% ของเด็ก สามารถปรับตัวได้ภายใน 1 สัปดาห์

 

ทฤษฎี ตุลยอนุกิจ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เอสซีลอร์ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเสริมว่า นวัตกรรมล่าสุดของเลนส์สายตาสำหรับเด็กวัย 8-13 ปี ช่วยชะลอภาวะสายตาสั้นโดยเฉลี่ย 67% ด้วยการใช้ติดต่อกันอย่างน้อย 12 ชั่วโมง ลดความเสี่ยงของโรคต่างๆ ที่จะส่งผลต่อการเติบโต การเรียนรู้ และพัฒนาการของเด็กในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นโรคต้อหิน จอประสาทตาลอก โรคจอประสาทตาเสื่อม

 

ทั้งนี้ อยากแนะนำผู้ปกครองหมั่นพาลูกหลานตรวจค่าสายตาประจำปี เพราะเด็กๆ มีการใช้สายตาตลอดเวลาทั้งการเรียนในห้องเรียน มองกระดานที่ครูสอน การมองจอไอแพด มือถือ คอมพิวเตอร์ ไปจนถึงการเล่นเกมจากจอ ฯลฯ หากมีการชะลอการเพิ่มค่าสายตาสั้นในเด็กแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะนำไปสู่การเกิดโรคความบกพร่องทางการมองเห็นได้ 

 

ทั้งนี้ เลนส์แว่นตา STELLEST มีจำหน่ายในร้านแว่นตา 20 สาขา และตั้งเป้าขยายให้ครบ 100 สาขาในอนาคต