ค่า PM 2.5 (7 เม.ย.66) 10 อันดับสภาพอากาศระดับวิกฤติ เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน

ค่า PM 2.5 (7 เม.ย.66) 10 อันดับสภาพอากาศระดับวิกฤติ เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน

สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ทั่วไทย เปิด 10 จุดคุณภาพอากาศแย่ที่สุด เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอนยังวิกฤติ ดัชนีคุณภาพอากาศสูงสุด 441 AQI

สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 เว็บไซต์ IQAir รายงานคุณภาพอากาศ ประเทศที่มีมลพิษทางอากาศสูงสุดในโลกปรากฏว่าวันนี้ จ.เชียงใหม่ เป็นเมืองที่อากาศแย่ที่สุดอันดับ 1 ของโลกอย่างต่อเนื่อง วัดได้ 324 AQI ขณะที่ กรุงเทพฯ อยู่ในอันดับ 20 วัดได้ 102 AQI จากข้อมูล ณ เวลา 8.20 น.วันที่ 7 เมษายน 2566

อันดับเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดของประเทศไทย 10 อันดับแรก 

คุณภาพอากาศอยู่ในระดับสีม่วงทั้งหมด ซึ่งเป็นระดับที่มีผลกระทบเป็นอย่างมากและอันตรายต่อสุขภาพ ดังนี้

1.อำเภอแม่ริม จ.เชียงใหม่ ดัชนีคุณภาพอากาศ 441 AQI

2.อำเภอห้างฉัตร จ.ลำปาง ดัชนีคุณภาพอากาศ 425 AQI

3.อำเภอปาย จ.แม่ฮ่องสอน ดัชนีคุณภาพอากาศ 424 AQI

4.อำเภอดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ดัชนีคุณภาพอากาศ 419 AQI

5.อำเภอสันทราย จ.เชียงใหม่ ดัชนีคุณภาพอากาศ 416 AQI 

6.แม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน ดัชนีคุณภาพอากาศ 410 AQI

7.อำเภอแม่แตง จ.เชียงใหม่ ดัชนีคุณภาพอากาศ 408 AQI

8.อำเภอเวียงชัย จ.เชียงราย ดัชนีคุณภาพอากาศ 371 AQI

9.อำเภอเมืองน่าน จ.น่าน ดัชนีคุณภาพอากาศ 353 AQI

10.อำเภอเชียงของ จ.เชียงราย ดัชนีคุณภาพอากาศ 343 AQI

 

ค่า PM 2.5 (7 เม.ย.66) 10 อันดับสภาพอากาศระดับวิกฤติ เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน

 

ด้านศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 7 เมษายน 2566 ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในประเทศพบเกินค่ามาตรฐาน 35 จังหวัด ประกอบด้วย

  1. กรุงเทพฯ
  2. สมุทรสาคร
  3. สมุทรปราการ
  4. เชียงราย
  5. เชียงใหม่
  6. น่าน
  7. แม่ฮ่องสอน
  8. พะเยา
  9. ลำพูน
  10. ลำปาง
  11. แพร่
  12. อุตรดิตถ์
  13. สุโขทัย
  14. ตาก
  15. พิษณุโลก
  16. พิจิตร
  17. เพชรบูรณ์
  18. นครสวรรค์
  19. อุทัยธานี
  20. ชัยนาท
  21. สิงห์บุรี
  22. ลพบุรี
  23. สระบุรี
  24. อ่างทอง
  25. สุพรรณบุรี
  26. พระนครศรีอยุธยา
  27. ราชบุรี
  28. บึงกาฬ
  29. หนองคาย
  30. เลย
  31. นครพนม
  32. หนองบัวลำภู
  33. สกลนคร
  34. มุกดาหาร
  35. ขอนแก่น
  36. กาฬสินธุ์
  37. ชัยภูมิ
  38. อุบลราชธานี

- ภาคเหนือ เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 62-411 มคก./ลบ.ม.

- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 35-218 มคก./ลบ.ม.

- ภาคกลางและตะวันตก เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 42-75 มคก./ลบ.ม.

- ภาคตะวันออก ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ตรวจวัดได้ 21-41 มคก./ลบ.ม.

- ภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 11-24 มคก./ลบ.ม.

- กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสถานีตรวจวัดของ คพ. ร่วมกับ​ ​กทม. เกินค่ามาตรฐาน 22 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 33-88 มคก./ลบ.ม.

 

ค่า PM 2.5 (7 เม.ย.66) 10 อันดับสภาพอากาศระดับวิกฤติ เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

- ฝุ่น PM 2.5 กรุงเทพฯเกินค่ามาตรฐาน 18 พื้นที่ ตลิ่งชัน หนองแขมเฝ้าระวังพิเศษ

- ด่วน! ผู้ว่าฯเชียงใหม่ สั่งงดออกจากบ้าน เวิร์คฟรอมโฮม พิษฝุ่น PM 2.5

 

คำแนะนำทางสุขภาพ

ประชาชนทั่วไป : ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ลดเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น

ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์

สำหรับประชาชน​ที่อยู่​บริเวณพื้นที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ​(พื้นที่สีแดง)​ ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์

สามารถติดตามสถานการณ์ผ่านทางเว็บไซต์ Air4Thai.com และ airbkk.com แอปพลิเคชั่น Air4Thai และ AirBKK

 

ค่า PM 2.5 (7 เม.ย.66) 10 อันดับสภาพอากาศระดับวิกฤติ เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน

 

กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ รายงานผลการคาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ระหว่างวันที่ 8-14 เมษายน 2566 ดังนี้

- วันที่ 8-13 เมษายน 2566 เป็นต้นไปสถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลยังคงมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากสภาพอากาศที่เปิดมากขึ้น เพดานการลอยตัวอากาศที่สูงขึ้น ประกอบกับลมทางใต้ที่กำลังแรงช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่

อย่างไรก็ตามวันที่ 14 เมษายน 2566 อาจมีสภาพอากาศที่ปิดได้ในบางพื้นที่ จึงควรเพิ่มการเฝ้าระวัง

- พื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ มีแนวโน้มที่ควรเฝ้าระวังในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนโดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านในวันที่ 8-14 เม.ย.2566 โดยในช่วงหลังวันที่ 8 เมษายน 2566 เป็นต้นไปสถานการณ์ในภาคเหนือตอนบนจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศที่เปิดมากขึ้น โดยจังหวัดที่ควรเน้นการเฝ้าระวังได้แก่จังหวัดเชียงราย และน่าน

 

ค่า PM 2.5 (7 เม.ย.66) 10 อันดับสภาพอากาศระดับวิกฤติ เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน

 

ค่า PM 2.5 (7 เม.ย.66) 10 อันดับสภาพอากาศระดับวิกฤติ เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน