ปัจจัยเสี่ยงการเกิด"โรคร้ายแรง" เรื่องที่คนรุ่นใหม่ควรรู้

ปัจจัยเสี่ยงการเกิด"โรคร้ายแรง" เรื่องที่คนรุ่นใหม่ควรรู้

แม้จะดูแลสุขภาพร่างกายดีขนาดไหน ก็ไม่สามารถรู้ได้เลยว่า มี"โรคร้ายแรง"อะไรซ่อนอยู่ โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต

เรื่องสุขภาพประมาทไม่ได้ หันมาใส่ใจสุขภาพ เพื่อรู้ถึงความเสี่ยง ยิ่งรู้ก่อน ยิ่งป้องกันได้ไว โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ โหมออกกำลังกาย

อย่างที่เห็นกันตามข่าวอยู่ทุกวัน ทั้งนักกีฬานักวิ่งที่สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ดี ๆ จู่ ๆ ก็เสียชีวิตแบบไม่ทันตั้งตัว นักเดินทางชาวไทยที่ชื่นชอบการเดินป่า ปีนเขาที่พากันไปเสียชีวิตกันที่เทือกเขาหิมาลัย ประเทศเนปาล

หรือคุณหมอที่ยังหนุ่มยังแน่นตรวจพบ โรคร้ายในร่างกาย ตำรวจหนุ่มกล้ามโต หรือแม้แต่เทรนเนอร์ฟิตเนทเองก็ตาม แม้จะดูแลสุขภาพร่างกายให้ขนาดไหน ก็ไม่สามารถรู้ได้เลยว่าในร่างกายมีโรคร้ายอะไรซ่อนอยู่

 

ปัจจุบันโลกกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและเกิดโรคระบาดแปลกใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้คนส่วนใหญ่หันมาใส่ใจดูแลตัวเองมากขึ้น จนกลายเป็นเทรนด์สุขภาพ เพราะไม่อยากเจ็บป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ จนทำให้คนหันมาให้ความสนใจ Healthcare and Wellness อย่างมีนัยยะสำคัญ

เพราะโรคภัยเหล่านี้หากรู้ตัวก่อนก็สามารถป้องกันได้และสาเหตุของการเสียชีวิตในอันดันต้น ๆเสียชีวิตเยอะจากโรคติดต่อไม่เรื้อรัง

แต่ทว่าหนึ่งในโรคที่คนเสียชีวิตมากจนน่าตกใจ ก็คือ NCDs โรคติดต่อไม่เรื้อรัง ไม่ร้ายแรง แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตหลายสิ่งหลายอย่าง ที่ปฏิบัติซ้ำ ๆ มาเป็นเวลานาน 

ปัจจัยเสี่ยงการเกิด"โรคร้ายแรง" เรื่องที่คนรุ่นใหม่ควรรู้

เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งก็อาจจะมาจากน้ำหนักตัวที่ค่อนข้างเยอะ การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง การสูบบุหรี่ การทานอาหารที่มีรสเค็มมาก ๆ และอาจจะเกิดจากพันธุกรรม หรือกรรมพันธุ์ ซึ่งบางทีปัจจัยเหล่านี้ ก็จะส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ขึ้นในระยะเวลาที่แตกต่างกัน

อันดันต้นๆการเสียชีวิตจากโรคติดต่อไม่เรื้อรัง

บางคนก็อาจจะเกิดจากปัจจัยหลายอย่างเป็นตัวเร่ง ทำให้เกิดอาการของโรคได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งบางทีปัจจัยเหล่านี้ก็จะมีผลต่อการเร่งให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ในระยะเวลาที่แตกต่างกัน

นพ.อกนิษฐ์ ศรีสุขวัฒนา หรือหมอแอร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์ อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ และโรงพยาบาลยันฮี ให้ข้อมูลว่า 

บางคนใช้ชีวิตแบบมีปัจจัยที่เป็นตัวเร่งหลายอย่าง ก็จะเกิดโรค พบอาการของโรคเร็วขึ้น บางครั้งบางคนก็มาเจอตอนที่อายุมากแล้ว แน่นอนว่าต่อให้ร่างกายแข็งแรงแค่ไหน แต่พฤติกรรมในการดำรงชีวิตที่ปฏิบัติซ้ำ ๆ ก็จะมีความเกี่ยวข้องด้วยทั้งหมด ดังนั้น เราจึงต้องดูแลร่างกายตัวเองควบคู่กันไปด้วย

 แม้จะเป็นคนที่อายุน้อยแล้วไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ แต่ก็ยังจากไปก่อนวัยอันควร ก็เพราะว่ามีระดับไขมันในเลือดสูง มีประวัติครอบครัว มีโอกาสที่ทำให้เกิดโรคหัวใจได้โดยไม่รู้ตัว 

ประวัติกรรมพันธุ์ต้องระมัดระวังให้ดี ๆ อาจเป็นสาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด เป็นเพราะไม่รู้ตัวมาก่อน การใช้ชีวิตจึงขาดการระมัดระวัง การดูแลเอาใจใส่ใจในสุขภาพ การควบคุมอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ”

ปัจจัยเสี่ยงการเกิด"โรคร้ายแรง" เรื่องที่คนรุ่นใหม่ควรรู้ นพ.อกนิษฐ์ ศรีสุขวัฒนา

ออกกำลังกายประจำ ก็เป็นโรคหัวใจได้

แม้ว่าจะออกกำลังกายเป็นประจำ ก็สามารถเกิดโรคหัวใจได้ โดยสาเหตุหลัก คุณหมอแอร์ให้ข้อมูลว่า มาจากการสูบบุหรี่ , ไขมันในเลือดสูง และปัจจัยทางกรรมพันธุ์

"หากมีคนในครอบครัว มีประวัติกรรมพันธุ์ พ่อ แม่เคยเป็นโรคหัวใจ เคยต้องทำบายพาสเส้นเลือดหัวใจ ตอนที่ยังอายุไม่เยอะมาก ก็จะมีความเสี่ยงมากขึ้น ก็ต้องระมัดระวังตัวเองให้ดี 

โดยสามารถรีเช็คตัวเองได้จากอาการ เหนื่อยง่ายกว่าปกติ แม้ว่าจะออกกำลังกายอยู่เป็นประจำ จากที่เคยออกกำลังกายได้สบาย ๆ ก็กลายเป็นต้องพักบ่อย ๆ

นั่นแปลว่าเริ่มมีสัญญาณเตือนมาแล้วและต่อมาอาการเตือนที่รุนแรงขึ้นคือ อาการเจ็บหน้าอก นั่นแปลว่าเส้นเลือดหัวใจเริ่มมีอการตีบตัน จะเริ่มเจ็บที่บริเวณกลาง ๆ หน้าอก ร้าวไปจนถึงบริเวณไหล่

อาการเจ็บจะมีความสัมพันธ์กับการออกแรง ให้สงสัยได้เลยว่านี่เป็นอาการเริ่มต้นของเส้นเลือดหัวใจตีบ สุดท้ายคืออาการเวียนหัว หน้ามืด จะเป็นลม ใจสั่น นี่คืออาการของหัวใจเต้นผิดจังหวะ

เมื่อเรามีอาการใดอาการหนึ่งของทั้งสามอาการนี้ เราต้องรีบเช็คร่างกายดูว่า โรคหัวใจที่ซ่อนอยู่ในร่างกายของเรา กำลังแสดงอาการอยู่ไหม ต้องอย่าละเลยการป้องกันที่สามารถทำได้ง่าย ๆ คือ การตรวจสุขภาพประจำปี "

  • มั่นตรวจเช็คสุขภาพร่างกาย

คุณหมอแอร์แนะนำว่า สำหรับคนทั่วไปที่สุขภาพโดยรวมดี เมื่ออายุสักประมาณ 35 ปี ก็ควรจะเริ่มตรวจสุขภาพแบบลงละเอียดได้แล้ว ตรวจเช็คสุขภาพให้ชัดเจน ระดับน้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด ค่าไต ค่าตับ คลื่นหัวใจ การX-Rayปอดและหัวใจก็ควรทำ

 “ในร่างกายของเรา อาจมีโรคอะไรที่ซ่อนอยู่ ตรวจเช็คให้ดี มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ในชีวิต บางคนคิดว่าตัวเองเป็นนักกีฬาร่างกายแข็งแรง ละเลยการตรวจสุขภาพ ทำให้ไม่รู้ว่าร่างกายตัวเองเป็นอะไร ไม่ควรเพิกเฉย

โรคบางโรคหากเกิดขึ้นแล้ว ไม่สามารถย้อนเวลากลับไปแก้ไขได้ การตรวจเช็คร่างกายสามารถทำให้ทราบถึงสภาวะร่างกายของตัวเราเอง ว่ามีภาวะของโรคอะไรที่ซ่อนอยู่บ้าง

มันสามารถบอกเราได้ จึงสำคัญต่อการใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง และทำให้เราดำรงชีวิตต่อไปได้ร่างราบรื่น ไม่มีอะไรต้องวิตกกังวล” คุณหมอยอดนักกีฬากล่าวทิ้งท้าย